achievement-3387293__340

หลักสูตร ทักษะที่จำเป็นของหัวหน้างาน (Supervisory Skills)

หลักสูตร ทักษะที่จำเป็นของหัวหน้างาน (Supervisory Skills)
การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งหัวหน้างานยุคใหม่ต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำพาทีมงานไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่วางไว้

การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว กว้างขวาง และมีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม รวมถึงทุกองค์กร ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย  สามารถแข่งขันได้ และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

สิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนเป็นการเสริมสร้างทางการพัฒนาให้องค์กร คือ การที่หัวหน้างานมีทักษะของผู้นำยุคใหม่และการสร้างทีมงานที่มีการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน มีบุคลากรที่มีทักษะทางการคิดและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่อยู่เสมอ

ดังนั้นการฝึกคนในองค์กรให้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์และสรรหานวัตกรรมใหม่ ถือได้ว่าเป็นกุญแจไขไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญ รองรับการพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งหลักสูตรนี้จะช่วยให้หัวหน้างานได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ เหล่านั้น โดยเน้นการฝึกคิดออกจากกรอบประสบการณ์เดิมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง

กระบวนการทำงานแนวใหม่ จะช่วยให้หัวหน้างานสามารถจัดการกับความคิดได้อย่างมีระบบ มีแบบแผนทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในทุกๆ ด้านในที่สุด เพราะฉะนั้นหัวหน้างานยุคใหม่จึงต้องเข้าใจภาวะผู้นำในยุคใหม่ และการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพ เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและให้ธุรกิจยั่งยืนต่อไป

 

 

การพัฒนาหัวหน้างานยุคใหม่ ให้มีภาวะผู้นำนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ ทั้ง 4 ด้าน  อันได้แก่

 

1.มีความรู้ความสามารถในงานและการจัดการแก้ไขปัญหา
2.มีทักษะการคิดเชิงกลยุทธ์
3.มีการพัฒนาทักษะภาวะผู้นำและการสร้างทีมงานที่มีคุณภาพ

4.มีภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้

 

หัวหน้างานยุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีภาวะผู้นำและการสร้างานทีมงานที่มีคุณภาพ จะทำให้รู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานและทีมงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย และเมื่อพัฒนาทีมงานโดยจัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่ทรงคุณค่า

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้น จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้นำในองค์กรของตัวเองโดยการทำให้ผู้นำมี 5Q ที่สูงขึ้น

 

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

 

การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ผู้นำสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง  รวมถึงการเป็นผู้นำที่มีจิตใจที่ดีขององค์กรและเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้ผู้นำได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักการบริหารทีมที่จะให้กลายเป็นสุดยอดทีมพร้อมทั้งการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อันได้แก่ การละลายพฤติกรรมระหว่างหัวหน้างานและลูกน้อง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้
    • สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ
    • พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)
    • ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ
    • แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)
    • พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 5Q
  • Clip VDO และอื่นๆ

 หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 5Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)
  • Teamwork (การทำงานเป็นทีม)
  • Achievement Motivation (แรงจูงใจสู่ความสำเร็จ)
  • Accountability (ความรับผิดชอบอย่างผู้นำ) ซึ่งประกอบไปด้วย
  • มีวิสัยทัศน์ (Visioning Goal Setting & Leading others )
  • มีทักษะการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills)
  • สอนงานเป็นและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (Coaching & Develop others)
  • มีแนวกรอบแนวคิดในการทำงาน (Conceptual Thinking)
  • มีทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรของ (Resource Management Skill)
  • กล้าตัดสินใจ (Decision Making)
  • มีทักษะการบริหารจัดการลูกน้อง (People Management Skills)
  • สามารถจูงใจลูกน้องได้ (Motivate Subordinate)
  • การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
  • การบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร (Conflict Management)

 

  • Continuous Learning (การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)
  • Creativity (ความคิดสร้างสรรค์)
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ

 

  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หัวข้อ (Topics) ประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ (Key Points)
ช่วงที่ 1 รู้คน ·       ละลายพฤติกรรม ทำความรู้จัก Open Mind

·       นำเข้าสู่เนื้อหาหลักสูตรภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

·       5Q คืออะไร

·       การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย 5Q

·       รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q

·       ใครคือคนที่องค์กรต้องการ?

·       บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน

·       ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ

·       Work Shop เรียนรู้คน จากโมเดลสัตว์ 4 ทิศ

 

ช่วงที่ 2 : รู้งาน (เข้าใจงาน) Work Shop 1 (การมองปัญหาด้วย 5Q)

·       ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการจัดการ

·       เรียนรู้วงจรเดมิง Deming Cycle/วงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ

ช่วงที่ 3: รู้งาน (เข้าถึงงาน) Work Shop2 (การแก้ปัญหาด้วย 5Q)

·       การทำงานแบบ โฮ (HO) เรน (REN) โซ (SOU)การรายงาน-การติดต่อ-การปรึกษา

·       การวางแผน

·       การมอบหมายสั่งงาน

ช่วงที่ 4 : รู้ความต้องการขององค์กร ช่วงที่ 4 : รู้ความต้องการขององค์กร

·       อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการ

·       สรุปประเด็นสำคัญและเข้าทำความเข้าใจการบริหารแบบ 5Q อย่างลึกซึ้ง

·       Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากร

·       สร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน Commitment อำลา

·       การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย 5Q

·       ทัศนคติที่ดีในการทำงาน

·       Work Shop

·       ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม

·       ระดมสมอง และแชร์ความคิดเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

 

 

 

 

 

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

 

1.ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว

2.ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

3.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักการบริหารทีมที่จะให้กลายเป็นสุดยอดทีมพร้อมทั้งการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน

4.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข อันได้แก่ การละลายพฤติกรรมระหว่างหัวหน้างานและลูกน้อง

5.ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้

6.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

  • สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ
  • พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)
  • ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ
  • แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)
  • พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient) อย่างมีความสุข

 

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%

 

RCA

หลักสูตร การวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหา (RCA : Root Cause Analysis)

หลักสูตร การวิเคราะห์หาต้นตอของปัญหา (RCA : Root Cause Analysis)

หลักการและเหตุผล/วัตถุประสงค์

เราจำเป็นต้องมีวิธีการในการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง(สาเหตุรากเหง้า)      ขุดค้นหาปัญหาซ่อนเร้น และแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางสถิติ หรือการควบคุมคุณภาพซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถได้กำไรในการผลิตที่เพิ่มขึ้น ซึ่งง่ายกว่าการขึ้นราคาสินค้ามาก การปรับปรุงขบวนการผลิต โดยใช้เครื่องมือที่ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบนั้นถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและประสบผลสำเร็จ

การใช้เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการทำงานได้อย่างเป็นระบบ จะทำให้เห็นผลได้อย่างแน่นอน อีกทั้งยังมีการรวบรวมเครื่องมือที่ใช้แก้ไขปัญหากับพนักงานในระดับปฏิบัติการ รวมไปถึงฝึกการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อช่วยกันระดมสมอง ยังช่วยในการแก้ไขปัญหาประจำวันได้เป็นอย่างดี

การวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้านั้น ผู้เข้ารับการอบรมจะได้แนวคิดที่เป็นเหตุเป็นผล งานทุกงานเป็นกระบวนการถ้ากระบวนการ (เหตุ) ดี ผลลัพธ์ หรือ ปัญหา (ผล) ย่อมดีเช่นกัน จะได้รู้จักการกำหนดปัญหาโดยการใช้ Check sheet, Pareto diagram เทคนิคในการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (สาเหตุรากเหง้า)โดยการใช้เครื่องมือ Cause and Effect Analysis (CE analysis), Why – Why analysis ในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการทดสอบสาเหตุของปัญหา เป็นการป้องกันและสกัดสิ่งบกพร่องไม่ให้หลุดไปยังกระบวนการถัดไป และแก้ไขการสูญเสียความน่าเชื่อถือ มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาเดิม

 

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงความหมายและวิธีการของการแก้ปัญหาและการแก้ปัญหาในอนาคต
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิคการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำนโยบายหรือภาระที่ได้รับมอบหมายไปใช้ในการปรับปรุงหรือดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การแก้ปัญหาร่วมกันเป็นทีมด้วยการฝึกปฏิบัติการ
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญของการกำหนดปัญหาและเจาะจงปัญหา
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และสามารถในการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (สาเหตุรากเหง้า)ได้อย่างเป็นระบบ
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการใช้เครื่องและเทคนิคในการกำหนดปัญหา การสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และการทดสอบสาเหตุของปัญหา
  8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้จักคิดในเชิงเหตุ และผล การคิดในเชิงระบบ อันเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาในเชิงป้องกัน และการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

หัวข้อการอบรม

1.แนวคิดการจัดการกระบวนการและการคิดอย่างเป็นระบบ

2.ทำความเข้าใจในเรื่องของปัญหา และสาเหตุรากเหง้า

3.การกำหนดปัญหา และเจาะจงปัญหาโดยการใช้ Check sheet และ Pareto

4.การค้นหาสาเหตุเบื้องต้นด้วยวิธีการ Change Point Management

5.การระดมสมอง

6.เครื่องมือการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า (Root Cause Analysis: RCA) ของปัญหา

  • Cause and Effect Analysis (CE analysis)
  • Why-Why
  • A3 Problem Solving Process Analysis

7.หลักการของ PDCA

– ความหมายของ PDCA

– การวิเคราะห์ต้นตอสาเหตุกับการทำงานของวงจร PDCA

8.การทดสอบสาเหตุของปัญหา

– นำปัญหาเข้าสู่การทดสอบ

– หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา

– แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง วิธีและขั้นตอนในการแก้ปัญหา

  • Histogram
  • แผนภาพการกระจาย

9.ขั้นตอนการทำ Root Cause Analysis อย่างง่าย 6 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1:     จัดตั้งทีม

ขั้นตอนที่ 2:     ระบุปัญหา

ขั้นตอนที่ 3:     ศึกษาปัญหา

ขั้นตอนที่ 4:     วิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นไปได้

ขั้นตอนที่ 5:      วิเคราะห์หาสาเหตุราก (root cause)

ขั้นตอนที่ 6:     กำหนดแผนเพื่อป้องกันเหตุการณ์เกิดซ้ำ หรือแผนพัฒนา

10.การตัดสินใจบนพื้นฐานที่แท้จริง (Management by Fact)

 

11.การกำหนดมาตรการแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำแบบถาวร (Permanent Corrective Action)

  1. 12. สรุป / ถาม-ตอบ

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงความหมายและวิธีการของการแก้ปัญหาและการแก้ปัญหาในอนาคต
  2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิคการวิเคราะห์ แก้ปัญหา ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
  3. ผู้เข้าอบรมสามารถนำนโยบายหรือภาระที่ได้รับมอบหมายไปใช้ในการปรับปรุงหรือดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การแก้ปัญหาร่วมกันเป็นทีมด้วยการฝึกปฏิบัติการ
  5. ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงความสำคัญของการกำหนดปัญหาและเจาะจงปัญหา
  6. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และสามารถในการสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (สาเหตุรากเหง้า)ได้อย่างเป็นระบบ
  7. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการใช้เครื่องและเทคนิคในการกำหนดปัญหา การสืบค้นหาสาเหตุที่แท้จริง และการทดสอบสาเหตุของปัญหา
  8. ผู้เข้าอบรมรู้จักคิดในเชิงเหตุ และผล การคิดในเชิงระบบ อันเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหาในเชิงป้องกัน และการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%

 

 

 

 

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

 

หลักการและเหตุผล :

องค์กรต่างๆ หรือ องค์กรชั้นนำของโลกมากมายทั้งที่มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก อาทิเช่น Google, Apple, Phillips, P&G และ Airbnb เป็นต้น ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้และทำให้บริษัทเติบโตและมีผลกำไรที่ดีอย่างมากมาย ผมกำลังพูดถึงหัวข้อแนวคิดวันนี้ครับ ซึ่งก็คือ  การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ตามชื่อเรื่องในวันนี้เลยครับ และก่อนที่เราจะไปเรียนรู้แนวความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เรามาดูที่มาและที่ไปของความคิดนี้ก่อนนะครับ

ก่อนที่เราจะเข้าถึงเรื่อง Design Thinking เราต้องมาทำความเข้าใจคำว่า Design หรือการออกแบบ กันใหม่ก่อน หลายคนมักมองว่า การออกแบบ คือ การสร้างสิ่งของใหม่ๆ เช่น การสร้างของใช้ การสร้างเฟอร์นิเจอร์ การสร้างบ้าน และการวาดรูป เป็นต้น ใช่ครับนั่นเป็นความเข้าใจที่ถูก แต่เป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงส่วนเดียว Simon (1968) ได้กล่าวไว้ว่า การออกแบบ ไม่ได้เป็นแค่การสร้างสิ่งของหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่คือความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ให้เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ในอนาคต ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ ในสมัยก่อนที่เรายังไม่มีเครื่องบิน เราใช้เรือหรือรถเป็นพาหนะหลักในการเดินทางไกลๆ การสร้างเครื่องบินนี่ไม่ใช่แค่การทำให้การเดินทางเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการออกแบบประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่ แก้ปัญหาการขนส่ง และเพิ่มโอกาสต่างๆ อีกมากมายให้กับโลกใบนี้ นี่แหละครับ การออกแบบที่แท้จริงคือ การพัฒนาบางอย่างและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) คือ การคิดแก้ปัญหาที่สามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ การคิดเชิงออกแบบนั้นต่างจาก “ความคิดสร้างสรรค์”(creativity) คือ Design Thinking จะคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 อย่างประกอบกัน คือ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และ “คน” การคิดเชิงออกแบบจึงมีอีกชื่อคือ Human centered design ที่คนเป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหา โดยเน้นทำความเข้าใจว่าคนต้องการอะไร แทนที่วิธีการแบบเดิมที่มักเริ่มต้นจาก “ปัญหา”

หรืออีกนัยยะหนึ่ง Design Thinking คือ “ กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ นั่นมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ ”

Design Thinking มีหลายโมเดลด้วยกัน เพราะในแต่ละ School ก็จะมีตัว Framework ของ Design Thinking ที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ คือ Design Thinking Process ของ Stanford d.school และ The Double Diamond Design Process ของ UK Design Council  ซึ่งในฉบับนี้เราจะใช้หลักการ Stanford d.school ในการเรียนรู้กันครับ

Design thinking ของ Stanford d.school ได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test จากทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Empathize และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายๆ ด้านมาสร้างไอเดีย และขั้นตอนที่สี่และห้า (Prototype และ Test) คือ ขั้นตอนในการทดสอบแนวคิดและพัฒนาต้นแบบที่เป็นตัวอย่างแนวคิด เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้น

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำไปใช้งานได้

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

  

หัวข้อการอบรม

Module 1: ความหมายของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

  • การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะเกิดขึ้นเมื่อใด
  • เพราะอะไรเราจึงต้องใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • ความหมายของคำว่าการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • องค์ประกอบของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงาน
  • ความสำคัญของ การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการพัฒนาตนเอง
  • องค์ประกอบของความคิด ที่มาของความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • กระบวนการของความคิด ให้ได้มาซึ่งการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

Module 2: ปัญหาและการวิเคราะห์ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน
  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้
  • เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และแนวคิดใหม่กับแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • วิเคราะห์กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อนำไปใช้

 

Module 3: ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

  1. Empathize คือ การทำความเข้าใจจริงๆ กับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการฟังจากคนที่มีปัญหา
  2. Define คือ การนำปัญหาที่เจอแล้วดูว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด นำมาเข้าสู่กระบวนการที่จะแก้ปัญหาก่อน
  3. Ideate (Idea + create) หรือ การ brainstorming เป็นการระดมสมอง ระดมความคิด แนวทางในการแก้ปัญหา
  4. Prototype ต้นแบบหรือเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา
  5. Test คือ ขั้นตอนใช้จริงๆ เพื่อทดสอบการใช้งานของสินค้าโดย ผู้บริโภคได้ใช้กันจริงๆ

 

Module 4: การประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงาน

  • การมององค์รวม ( Holistic view )
  • คิดอย่าง “เข้าใจ” ปัญหาอย่างแท้จริง
  • คิดแบบ “ไม่มีกรอบ” ในวิธีของ Ideate (Idea + create) หรือการ brainstorming โดยมีหลักการในการระดมสมองที่ดี คือ
  • ต้องพูดทีละคน
  • เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
  • ออกไอเดียให้กระชับ
  • ต่อยอดไอเดียกัน
  • ส่งเสริมไอเดียบ้าๆ
  • วาดรูปก็ได้
  • อย่าออกนอกเรื่อง
  • อย่าวิจารณ์ไอเดียคนอื่น
  • คิดเร็ว ทำเร็ว นำไอเดียไปแปลงให้เป็น “ผลงาน” โดยคำนึงถึง “เวลา” และ“ ค่าใช้จ่าย ” ที่จำกัด
  • ทดลองสร้างต้นแบบ (Prototype) และยึดหลักทดลองหลายๆ ครั้ง ล้มเหลวบ่อยๆ ล้มเหลวให้เร็ว เพื่อจะได้รีบเรียนรู้ความผิดพลาด
  • Fail Cheap เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นมีราคาถูก
  • Fail Fast เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเร็วแต่เนิ่นๆ
  • Fail forward เพื่อให้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนในการก้าวต่อไป

 

 ภาพรวมของการคิดที่ใช้ร่วมกับการคิดเชิงระบบ

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “Mind Map”

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำไปใช้งานได้

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                             30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop       70%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Presentation1

หลักสูตร การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

 

หลักการและเหตุผล :

 

การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือ Bertalanfy นักชีววิทยา ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และพัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆ เช่น ฟิสิกส์ เริ่มมาจากการตั้งข้อสันนิษฐาน (Thesis) แล้วมีข้อขัดแย้งของสันนิษฐานนั้น ๆ เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด ดังนั้นจึงเกิดการสังเคราะห์ (Synthesis) สิ่งใหม่ และสิ่งเหล่านี้ได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ความรู้ต่าง ๆ จะพัฒนาเป็นแบบนี้ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทุกอย่างเคลื่อนไหว ไม่แน่นอน วิธีคิดแบบนี้มีมานานแล้ว ทุกอย่างมีมูลเหตุ ความรู้เรื่องทฤษฎีระบบเป็นการมองโลกแบบองค์รวม ดังนั้น ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์จากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่

การคิดเชิงระบบ หมายถึง วิธีการคิดอย่างมีเหตุผล ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว (Seddon)

การคิดเชิงระบบ เป็นการคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบย่อย โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดยตรง และโดยทางอ้อม ทฤษฎีระบบให้แนวคิดว่า ทุกสิ่งล้วนย่อมอยู่ในเอกภพ รวมทั้งสิ่งเล็กหรือใหญ่ ล้วนเป็นระบบมีวงจรการทำงาน ปัจจัย กระบวนการ เกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วยย่อมมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กันในเวลาเดียวกัน (Gharajedaghi)

อีกทั้งเป็นการคิดที่มีความเข้าใจ เชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน ในสมองคนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถในการทำได้ดีในระดับความเข้มข้นของระบบแตกต่างกัน (Ackoff)

การคิดเชิงระบบ เป็นการมุ่งมองสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวม เป็นกรอบการทำงาน ที่มองแบบแผนและความเกี่ยวพันกัน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษคือการมองโลกแบบองค์รวมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การคิดเป็นระบบทำให้ความซับซ้อนเป็นสิ่งที่สามารถจัดการได้ (Senge, 1993: 6)

การพัฒนาบุคคลากรให้มีระบบการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพ การทำงานต่างๆ ในภาพ ใหญ่ขององค์กรสอดคล้อง สัมพันธ์กันด้วยระบบที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันรวมเป็นหนึ่ง เดียวกัน   การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่จะมองภาพใหญ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็น ปัญหาระดับองค์กร แล้ว แก้ปัญหาทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อย เชื่อมโยง สร้างสรรค์และทำงานเป็นทีมอย่างเป็น ระบบ  แล้วสามารถพัฒนาต่อเป็น“องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” แล้วต่อยอดเป็น องค์กร นวัตกรรม (Innovation Organization)  ได้  โดยการจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation  Organization) นั้น  จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กร ดังนั้นการส่งเสริมให้  บุคคลากรในองค์มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้ง ในความคิดเชิงระบบ ความสามารถที่เป็นเลิศ  ส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีม และการมองเห็นภาพวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทั้งองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้    

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบ และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงระบบ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงระบบ และสามารถนำไปใช้งานได้

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงระบบ

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

  

หัวข้อการอบรม

Module 1: ความหมายของการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

  • การคิดเชิงระบบจะเกิดขึ้นเมื่อใด
  • เพราะอะไรเราจึงต้องใช้การคิดเชิงระบบ
  • ความหมายของคำว่าการคิดเชิงระบบ
  • องค์ประกอบของการคิดเชิงระบบ
  • การคิดเชิงระบบกับการทำงาน
  • ความสำคัญของ การคิดเชิงระบบ กับการพัฒนาตนเอง
  • องค์ประกอบของความคิด ที่มาของความคิด
  • กระบวนการของความคิด ให้ได้มาซึ่งการคิดเชิงระบบ

Module 2: การแบ่งรูปแบบการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน
  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้
  • เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และแนวคิดใหม่กับแนวคิดเชิงระบบ
  • วิเคราะห์กระบวนการของการคิดเชิงระบบเพื่อนำไปใช้

 

Module 3: ขั้นตอนของความคิดเชิงระบบ

  • ยอมรับตนเองและเปลี่ยนใจตนเองให้ได้ว่าตนคือส่วนประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ
  • ฝึกการมองภาพรวมแทนสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยมองย้อยกลับ
  • เข้าใจธรรมชาติของระบบ และทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นระบบสัมพันธ์กัน
  • มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อระบบ
  • มองเห็นวัฏจักรของเหตุปัจจัย (Circles of Causality ) และการส่งผลย้อนกลับ
  • เปิดอิสระในเรื่องการคิด ไม่ตีกรอบ ครอบงำความคิดคนอื่น
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนเกิดแรงร่วมในการสร้างความสัมพันธ์
  • ฝึกการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแท้ โดยแก้ที่อาการ ที่ทำให้ เกิดปัญหา
  • ยึดหลักการเรียนรู้ในองค์กรเป็นส่วนประกอบ คือ การเป็นนายตนเอง ลบความเชื่อฝังใจ แต่อดีต สร้างความใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน (Shared Vision ) และฝึกการเรียนรู้ของทีม

 

Module 4: การขยายขอบเขตการคิดเชิงระบบ เป็นการขยายมุมมอง 5 ด้าน

1.การมององค์รวม ( Holistic view )

2.มองสหวิทยาการ หลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน

3.มองอย่างอุปมา อุปนัย เป็นการมองขยายกรอบความคิด

4.มองประสานขั้วตรงกันข้าม เป็นการมองแนวคิดหนึ่งปฏิเสธแนวคิดหนึ่ง

5.มองทุกฝ่ายมองทุกฝ่ายชนะ WIN-WIN  ครอบคลุมความพอใจทุกฝ่าย

  

 ภาพรวมของการคิดที่ใช้ร่วมกับการคิดเชิงระบบ

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “Mind Map”

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบ และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงระบบ

4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงระบบ และสามารถนำไปใช้งานได้

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงระบบ

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                             30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop       70%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

library-488690__340

หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

 

หลักการและเหตุผล

ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะแปลกกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากความรู้ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีขีดจํากัดและความรู้ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสําหรับองค์กร ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น หรือยิ่งองค์กรมีความรู้ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อนําความรู้เก่ามาบูรณาการกับความรู้ใหม่ก็ก่อให้ เกิดความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก และส่งผลให้สามารถนําความรู้นั้นมาใช้ ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย

ในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กร ที่จะสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน และประสบความสําเร็จเหนือคู่แข่งแล้วนั้น การบริหารจัดการความรู้ในองค์กรก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทําให้ได้มาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และช่วยให้องค์กรประสบความสําเร็จได้เช่นกัน

การจัดการความรู้ เป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมกันส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ ในทุกภาระงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ในประเด็นที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน โดยจะต้องดําเนินการในลักษณะที่บูรณาการเข้ากับงานประจํา และมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมความรู้ที่หลากหลาย โดยไม่ทําให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในองค์กรเกิดการแลกเปลียนเรียนรู้แก่กัน เช่น การจัดรูปแบบการทํางานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยทําให้สมาชิกในทีมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกียวข้องร่วมกันได้ สะดวกยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนนักปฏิบติ (Community of Practices : CoPs) ตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีกด้วย

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้  

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ  องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

หัวข้อการอบรม

  • แนวคิดการดำเนินการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กร
  • ทัศนคติที่ดีกับการจัดการความรู้สู่ความสำเร็จขององค์กร
  • ทฤษฏี หลักการ และเครื่องมือใน การจัดการความรู้ Knowledge Management
  • การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร และทักษะที่ต้องใช้ในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เรียนรู้เครื่องมือในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • เรียนรู้กระบวนการจับประเด็นความรู้ Knowledge Capture
  • เรียนรู้หลักวิทยากรกระบวนการ หลักการสนทนาอย่างสร้างสรรค์
  • ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ Community of Practice
  • เรียนรู้เครื่องมือของ COP และกระบวนการ ในการจัดการความรู้
  • ความหมายของ COP และปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  • กระบวนการสร้างคลังความรู้ และการนำความรู้มาใช้ซ้ำ
  • การประยุกต์ใช้เครื่องมือ KM COP สู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรอย่างยั่งยืน

 

หลักแนวคิดที่จะเป็นเครื่องมือของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะนำมาของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กรแบบยั่งยืน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ   องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา  งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

3.ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning  Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้

4.ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ  เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                            30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

business-561388__340

หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)

หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

นวัตกรรม (Innovation)  คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายได้

ความคิดเชิงนวัตกรรมในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

ความคิดเชิงนวัตกรรม คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากการวางแผนหรือกำหนดชี้ชัดเจนว่า จะต้องทำให้เกิดขึ้นในปีนี้หรือเดือนนี้ หากแต่เกิดจากการเตรียมพร้อมบุคคลากรให้มีทักษะ ความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกที่มีความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริงเพื่อสร้างการเติบโตในองค์กร  สิ่งสำคัญมากๆอันดับต้นๆ คือ การสร้างเสริม บ่มเพาะ บุคคลากรให้มีเข้าใจการคิดเชิงนวัตกรรม เห็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์แนวคิดในการสร้างองค์กรนวัตกรรมเช่นเดียวกับผู้นำในองค์กร จนสามารถพัฒนาการทำงาน กระบวนการทำงาน (Process Innovation) ให้ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จนสามารถต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product/Service innovation)  และท้ายสุดคือการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation) ได้

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

 

 

 

หัวข้อการอบรม

  1. ความสำคัญของนวัตกรรม
  • ความสำคัญของทักษะการสร้างนวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบัน
  1. รู้จักและเข้าใจกระบวนสร้างนวัตกรรมและทักษะของการสร้างนวัตกรรม
  • ทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต (ค้นหา) การตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม
  • ทักษะของนักคิด : การหาไอเดียใหม่และการระดมสมอง (ค้นพบ) หลังจากที่นักเก็บข้อมูลได้รวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว นักคิดจะหาคำตอบ แนวทางการแก้ไข การหาไอเดียใหม่ ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาทักษะของนักคิดคือ การหาไอเดียใหม่ การระดมสมองอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะของนักทำ : การทำต้นแบบ (ลองทำ) เนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของนักทำคือ การทำต้นแบบ (prototype) เพื่อทดสอบไอเดีย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจไอเดียได้ชัดเจนมากขึ้น เนื้อหาส่วนนี้จะอธิบายวิธีการทำต้นแบบต่างๆ และการสร้างต้นแบบอย่างง่ายของแอพในสมาร์ตโฟน
  • ทักษะของนักสื่อสาร : การนำเสนอทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต หลังจากที่สร้างผลงานแล้ว นักสื่อสารจะต้องสื่อสารผลงานหรือนวัตกรรมเพื่อให้ผู้อื่นเห็นพ้องหรือคล้อยตาม ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะทำให้ผู้เรียนฝึกนำเสนอไอเดียหรือแนวคิดของตนให้ผู้อื่นทราบอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การพัฒนานิสัยหรือโครงการนวัตกรรม : เนื้อหาส่วนนี้จะสรุปเนื้อหาและแนะนำวิธีพัฒนาโครงการนวัตกรรม และการพัฒนานิสัยของนักสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรจะมอบหมายวิธีฝึกนิสัย กิจกรรมหรือโครงงานเพื่อให้ผู้เรียนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของตนเอง

 

 

ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์

3.ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม

4.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

7.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”

8.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                           30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

Presentation1

หลักสูตร 9 ทักษะสู่การทำงานแบบมืออาชีพ (9 Soft Skills for Smart Work)

หลักสูตร 9 ทักษะสู่การทำงานแบบมืออาชีพ (9 Soft Skills for Smart Work)

หลักการและเหตุผล :

Soft Skill คืออะไร?

คำว่า “Skills” เป็นคำที่หลายคนรู้จักดีว่าแปลว่า “ทักษะ” แต่ถ้าเป็นคำว่า “Hard Skills และ  Soft Skills” แล้วเรารู้จักกันหรือไม่ และคำแปลก็ไม่ใช่แปลว่า ‘ทักษะแข็ง และทักษะนิ่ม’ ตรงๆ   แต่มันคือ ‘ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills ) และทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills)’ ซึ่งถือว่าสำคัญ มากต่อชีวิตการทำงาน และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานโลกอีกด้วย

มีบุคคลหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า “ Hard Skills ทำให้คุณได้สัมภาษณ์งาน แต่คุณจะได้งานและรักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Soft Skills ” เวลาเราเรียนหนังสือเมื่อจบหลักสูตรก็นำไปประกอบวิชาชีพ เช่น วิศวกร = สามารถสร้างตึกได้, สถาปนิก = สามารถออกแบบได้ โปรแกรมเมอร์ = สามารถเขียน code ได้ เหล่านี้ล้วนเป็นทักษะที่เรียกว่า              “Hard Skills” (ความสามารถด้านอาชีพ) ส่วนทักษะอีกด้านหนึ่งเรียกว่า “Soft Skills” (ความสามารถด้านสังคม) เช่น การใช้ภาษา, การติดต่อสื่อสาร, ความเป็นมิตร, การมองโลกในแง่ดี, การแสดงออกทางสังคม, บุคลิก เป็นต้น

จริงอยู่ที่ Hard Skills มีความสำคัญต่อการเปิดโอกาสให้คุณแต่ Soft Skills คือตัววัดว่าคุณจะสามารถเปลี่ยนโอกาสนั้นเป็นความสำเร็จได้หรือไม่??

ในทุกวันนี้การมีปริญญาถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะการไขว่คว้าหาข้อมูลสามารถทำได้อย่างสะดวกโดยเพียงไม่กี่แค่คลิกบนหน้าคอมพิวเตอร์ของคุณ เพราะฉะนั้น Hard Skills จึงไม่ใช่อะไรที่หายากในตลาดแรงงานอีกแล้ว ในทางกลับกัน Soft Skills กลับเป็นทักษะที่ขาดตลาดมากในทุกวันนี้ และเป็นที่ต้องการของทุกๆบริษัทไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม

 

แต่ทำไม Soft Skills ถึงมีความสำคัญต่อคุณ? ความแตกต่างระว่างผู้ที่มี Soft Skill ที่ดีและไม่ดีนั้นต่างกันมาก ผู้ที่มี Soft Skills นั้นคือ ผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและสามารถสื่อสารความคิดของตนให้ผู้อื่นรับรู้ได้อย่างชัดเจน  จริงอยู่ที่ Hard Skills มีความสำคัญต่อการเปิดโอกาสให้คุณ แต่ Soft Skills คือ ตัววัดว่าคุณจะสามารถเปลี่ยนโอกาสนั้นเป็นความสำเร็จได้หรือไม่ เช่น เวลาคุณสมัครงานและส่ง Resume ให้กับบริษัทแห่งหนึ่ง ถ้าเขาสนใจ ขั้นตอนต่อไปเขาจะขอสัมภาษณ์ ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้น ทางบริษัทไม่ค่อยสนใจด้าน Hard Skills ของคุณเท่าไหร่แล้วแต่จะดูที่ว่าคุณสามารถเข้ากับบริษัทได้ดีแค่ไหน ซึ่งคุณต้องแสดงความสามารถทาง Soft Skills ของคุณให้ได้มากที่สุดในช่วงเวลานั้น ยิ่งเป็นบริษัทใหญ่ๆ คุณจะเห็นได้เลยว่าจะมีการสอบสัมภาษณ์อย่างน้อย 2 ครั้ง และอาจมีข้อสอบเกี่ยวกับบุคลิกภาพอีกด้วย เพราะเหตุนี้ถึงคุณจะมี Hard Skill มากแค่ไหนและมีโอกาสมากเพียงใด ถ้าไม่มี Soft Skills คุณก็ไม่สามารถได้งานที่หวังไว้ได้

นอกจากนี้ คนที่มี Soft Skills ที่ดี จะมีแนวโน้มจะขึ้นตำแหน่งที่ก้าวหน้าได้เร็วกว่าคนที่มีแต่ Hard Skills เพราะผู้ที่มี Soft Skills จะเข้ากับคนได้ง่ายและมีความสามารถในการคิดนอกกรอบ โดยไม่ใช่แค่จะทำให้คุณเป็นที่ชอบของเจ้านายและเพื่อนร่วมงานเท่านั้น แต่ Soft Skill ยังทำให้เรามีศักยภาพในการพัฒนา Hard Skills ด้วยตนเองได้ ไม่เหมือนคนที่ไม่มี Soft Skills ที่ต้องมีคนสอนหรือป้อนข้อมูลเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ปัญหาในตลาดแรงงานโลกและโดยเฉพาะประเทศไทยในขณะนี้ คือ ผู้คนให้ความสนใจกับ Soft Skill น้อยกว่า Hard Skills มาก ซึ่งทำให้เราตีคุณค่าของ Soft Skills ต่ำกว่าที่ควร เป็นเพราะ นักศึกษาส่วนมากคิดว่าใบปริญญาจะรับประกันความสำเร็จ จึงทำให้สถาบันการศึกษาเน้นแค่ Hard Skills เพราะเป็นหลักสูตรที่ขายได้ และไม่ออกแบบหลักสูตรสำหรับการพัฒนา  Soft Skill สักเท่าไหร่

อีกไม่นาน Soft Skills จะเริ่มกลายเป็นส่วนหนึ่งของ Hard Skills สำหรับหลากหลายสาขาอาชีพ เพราะความง่ายของการเรียนรู้ทักษะแข็งในทุกวันนี้และรูปแบบการทำงานที่ต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างกันมากขึ้น โดยเฉพาะต่างเชื่อชาติและช่องทางไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยทางอีเมล และ Social Media ยิ่งไปกว่านั้น Soft Skills ทำให้เราใช้ทักษะแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทำให้การสื่อสารคล่องแคล่วระหว่างหุ้นส่วน เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า เจ้านาย ลูกน้อง และใครก็ตามที่ได้เข้ามาสัมผัสกับบริษัทแม้กระทั้งคู่แข่งก็ตาม

จากที่ได้กล่าวมา เราควรจะหันมาให้ความสนใจกับ Soft Skillsให้มากขึ้น ให้เราได้พัฒนาทั้งในด้านการงาน และยังสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์เชิงธุรกิจและสังคมอีกด้วย

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า ทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills) มี  ความสำคัญต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Hard Skills กับ Soft Skills  และใช้ประโยชน์จากทักษะทั้งสองได้เป็นอย่างดี
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ ประยุกต์ใช้ Soft Skills กับงานที่ทำและในชีวิตประจำวัน ได้เป็น อย่างดี
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ เกิดมาจาก การพัฒนา Soft Skills และจะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการและวิธีการพัฒนาตัวเองด้วย Soft Skills
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ Soft Skills และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ

 

หัวข้อการอบรม

  1. ความแตกต่างระหว่าง Technical Skills กับ Soft Skills
  2. ทำไม Soft Skills จึงเป็นเรื่องสนุกและเป็นเคล็ดลับสู่ความสำเร็จ?
  3. แบบทดสอบเพื่อสำรวจประเมิน Soft Skills
  4. กรณีศึกษาที่น่าสนใจของการใช้ Soft Skills สำหรับนักวิชาชีพ
  5. กรณีศึกษาบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ กับการใช้ Soft Skills อย่างมีประสิทธิภาพ
  6. ผลสำรวจระดับทักษะที่พบและจำเป็นต้องมีของคนทำงาน (Leadership Test)
  7. 9 Soft Skills for Professional : เทคนิคการสร้างและพัฒนา Soft Skills
  • Descriptive Writing Skills : การเขียนเชิงบรรยาย
  • Communication Skills : ศิลปะการสื่อสารเพื่อการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ

(การ Brief – การรับ Brief / การ React / การรายงาน / การสรุป)

  • Technology Skills : ทักษะทางเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์และการใช้สื่อ online เพื่อ การทำงาน
  • Presentation Skills : การนำเสนอ – Advisory Skills : ทักษะในการให้คำปรึกษาแนะนำ
  • Big picture thinking Skills: การคิดเชิงภาพรวม – Analytical thinking Skills : การคิดเชิงวิเคราะห์
  • Self-confidence : การสร้างความเชื่อมั่นในตนเองและทีมงาน
  • Time management (for Team) Skills : การบริหารเวลาสำหรับทีมงาน
  1. ทำแบบทดสอบการประเมินตนเองหลังการอบรม
  2. ถาม-ตอบปัญหา

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า ทักษะด้านอารมณ์ (Soft Skills) มี  ความสำคัญต่อการทำงานและการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก
  2. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง Hard Skills กับ Soft Skills  และใช้ประโยชน์จากทักษะทั้งสองได้เป็นอย่างดี
  3. ผู้เข้าอบรมได้ ประยุกต์ใช้ Soft Skills กับงานที่ทำและในชีวิตประจำวัน ได้เป็น อย่างดี
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ เกิดมาจาก การพัฒนา Soft Skills และจะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการและวิธีการพัฒนาตัวเองด้วย Soft Skills
  6. ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ Soft Skills และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                           30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

Presentation1

หลักสูตร การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีความสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลายด้านๆ  ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

ยิ่งในยุคปัจจุบันการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาได้นั้นล้วนแล้วเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือจะให้เรียกอีกอย่างว่า ความคิดเชิงนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะเกี่ยวข้องและใช้หลักการคิดในบริบทเดียวกัน

และการที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นั้นนอกจากความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งความคิดที่ต้องใช้ควบคู่ไปด้วย นั่นก็คือ ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

การเป็นคนคิดบวก (Positive Thinking) ทำให้สุขภาพจิตของเราดี มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้งสามแนวคิดนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่พัฒนาบุคลากรขององค์กรให้ทำงานอย่างประสิทธิภาพด้วยหัวใจเบิกบานยินดี

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

หัวข้อการอบรม

  ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                           30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

Presentation1

หลักสูตร การบริหารจัดการโดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย (Management by Objective – MBO)

หลักสูตร การบริหารจัดการโดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย (Management by Objective – MBO)

หลักการและเหตุผล :

Management by Objective หรือ  MBO เป็นการบริหารซึ่งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ มาตรฐาน และเลือกปฏิบัติงาน โดยผู้ใต้บังคับบัญชามีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อวัตถุประสงค์ โดยมีผู้บังคับบัญชาสนับสนุน และกระตุ้นเพื่อให้เกิดการควบคุมตนเองฉะนั้น ความสำคัญของการวางแผน และการควบคุมจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารข้อมูลโดยการสร้างความสัมพันธ์ของระบบข้อมูลกับการวางแผน และการควบคุมสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกัน

เป็นการบริหารจัดการโดยที่ต้องมีการหันหน้าเข้าหากันระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เพื่อพูดคุยกันในเรื่องวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของงานให้มีความเข้าใจตรงกันที่ชัดเจนเสียก่อน เรียกว่าให้มีการสื่อสาร 2 ทาง ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้องในระดับต่างๆ

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ MBO นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก MBO ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ MBO ให้เหมาะสมกับองค์กร
  4. เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมการใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  5. เพื่อปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของ MBO
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่มองเห็นไม่ตรงกันในระดับต่างๆโดยไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหาโดยใช้หลักการของ MBO

 

 

 

เนื้อหาหลักสูตร

Module 1 :  ความหมายของหลักการบริหารแบบ MBO

– การบริหารแบบ MBO จะเกิดขึ้นเมื่อใด

– เพราะอะไรจึงต้องใช้หลักการบริหารแบบ MBO

– การคิดสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์

–  จุดมุ่งหมายของ MBO

 

Module 2  : หลักการบริหารแบบ MBO

กระบวนการของ MBO

  1. การกำหนดเป้าหมายขององค์กร
  2. แจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทราบ
  3. ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาตกลงกันให้ชัดเจน
  4. ปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานไปตามแผนที่ได้ตกลงกัน
  5. ผู้บังคับบัญชาตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติงาน
  6. มีระบบรางวัลรองรับ

 

Module 3  : หลักการบริหารแบบ MBO กับบทบาทหน้าที่ของผู้นำ

– การเข้าใจธรรมชาติพฤติกรรมของคน

– ประเภทและคุณลักษณะของผู้นำแบบต่างๆ

– แบบวิเคราะห์ภาวะผู้นำของตนเอง

– เทคนิคการปรับพฤติกรรมของผู้นำ

  • ผู้นำกับการสื่อสารในงาน

– กระบวนการสื่อสารแบบปฏิสัมพันธ์

– เทคนิคการสื่อสารเพื่อมอบหมายงาน

– เทคนิคการสื่อสารเพื่อการสอนงาน

– เทคนิคการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือ

– กรณีศึกษา การสื่อสารในงาน

  • ผู้นำกับการบริหารทีมงาน

– คุณลักษณะและองค์ประกอบของทีมที่มีประสิทธิภาพ

– บทบาทของผู้นำทีมงาน

– การประเมินศักยภาพของสมาชิกทีมงาน

– การสร้างและพัฒนาศักยภาพทีมงาน

– ผู้นำกับการประสานงานทีมงาน

– กรณีศึกษา การบริหารทีมงาน

 

Module 4  : ลักษณะของเป้าหมายที่กำหนดร่วมกันของการบริหารแบบ MBO

  • ทำอย่างไรเป้าหมายที่กำหนดขึ้นนั้นจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์หรือทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไป
  • วิธีการทำให้เป้าหมายมีความท้าทายและไม่ยากเสียจนทำให้ผู้ปฏิบัติท้อแท้ หรือไม่ง่ายจนไม่รู้จะกำหนดเป้าไว้ทำไม ซึ่งหัวหน้ากับลูกน้องจะต้องมาตกลงกันในเรื่องเป้าหมายเพื่อให้เข้าใจตรงกันครับ
  • การวัดผลของเป้าหมายนั้นจะต้องวัดผลได้เป็นรูปธรรม ซึ่งควรจะต้องมีการวัดผลได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกันครับ
  • มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน โดยทำให้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องรับทราบถึงกำหนดระยะเวลาในการวัดผลการดำเนินงานเพื่อติดตามและประเมินผลได้อย่างชัดเจน และทำงานได้ทันตามเวลาครับ
  • ผู้นำกับการจูงใจ

– หลักสำคัญของการจูงใจ

– ปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิผลของการจูงใจ

– การกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนา

– การควบคุมหรือลดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา

– กรณีศึกษา การจูงใจ

  • ผู้นำกับการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจ

– บทบาทของผู้นำกับการตัดสินใจ

– กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจ

– การสื่อสารผลการตัดสินใจ

– กรณีศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาและตัดสินใจ

 

  • สรุปและประเมินผลผู้เข้าร่วมสัมมนา
  • คำแนะจากวิทยากร

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ MBO นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก MBO ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ MBO ให้เหมาะสมกับองค์กร

4.เพื่อให้ผู้ฝึกอบรมการใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5.เพื่อปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของ MBO

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่มองเห็นไม่ตรงกันในระดับต่างๆโดยไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหาโดยใช้หลักการของ MBO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                     30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%

 

achievement-3387293__340

หลักสูตร เทคนิคการสอนงาน มอบหมายและติดตามงาน

หลักสูตร เทคนิคการสอนงาน มอบหมายและติดตามงาน
การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

การพัฒนาระดับความสามารถ ในด้านต่างๆ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งหัวหน้างานยุคใหม่ต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะตระหนักรู้ว่าถ้าเราไม่ยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ

ผู้บังคับบัญชาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานของตนไปถ่ายทอดและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดการ พัฒนาตนเองและองค์กรได้อย่างยั่งยืน และสร้างองค์กรให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้และเกิดผลในทางปฏิบัติได้แก่ การสอนงาน เนื่องจากการสอนงานเป็นกระบวนการในการพัฒนา   ขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากร การสอนงาน (Job Instruction) เป็นการทำงานและเรียนรู้งานไปในตัว โดยผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่สอนผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน มีการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องทำและวิธีการปฏิบัติงาน ให้ข้อแนะนำต่าง ๆ ติดตามผลและนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดต่อการปฏิบัติงาน

 

 

วัตถุประสงค์

 

  1. เพื่อให้หัวหน้างาน รู้จัก เข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างานที่มีภาวะผู้นำเพื่อสร้างการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. เพื่อให้หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการมอบหมายงาน การติดตามงาน การสอนงานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อการมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน
  5. เพื่อให้หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสอนงานและการแนะนำงานไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
  6. เพื่อให้หัวหน้างานมีทักษะในการมอบหมายและติดตามงาน และสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานของตนได้ได้อย่างมีแบบแผนขั้นตอนและเกิดประสิทธิภาพ

 

 

ลักษณะของการอบรม

 

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DISC Model และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม
  2. การใช้เครื่องมือ DISC Model และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

 

การสื่อสาร มิติที่สำคัญของภาวะผู้นำ

  • ความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร
  • การบริหารจัดการ 4 ประเภท สำเร็จได้ด้วยการสื่อสาร

 

  • วัฒนธรรมการทำงานแบบไทย ผลดี และผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

หลักพื้นฐานของการสื่อสาร

  • องค์ประกอบของการสื่อสาร
  • กระบวนการสื่อสาร
  • หน้าที่ของการสื่อสาร
  • กฎเกณฑ์ในการสื่อสารที่ดี
  • องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารระหว่างบุคคล
  • อุปสรรคในการสื่อสารระหว่างบุคคล
  • ขั้นตอนการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีประสิทธิผล
  • ทักษะสำคัญของการสื่อสารที่สำคัญเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

 

หัวหน้างานคือใคร

 

  • ความสำคัญของตำแหน่ง “หัวหน้างานยุคใหม่”

 

  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างานในฐานะผู้บริหารระดับต้นขององค์กร

 

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์กร

 

  • รู้เรา : ทําความรู้จักตัวตน และสไตล์การทำงานของตนเอง

 

  • รู้เขา : กลเม็ดและสไตล์ในการทํางานกับลูกน้อง 4 ประเภท

 

 

Workshop 1 : กลเม็ดในการบริหารลูกน้อง 4 ประเภทให้เข้ากับสไตล์การทำงานของตน  

 

เทคนิคในการสั่งงานและมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพ (Effective Directing & Delegation)

 

  • หลักในการสื่อสารและประสานงานที่มีประสิทธิผล

 

  • ประโยชน์ของการสั่งงานและมอบหมายงาน

 

  • ปัญหาที่มักพบในการสั่งงาน

 

  • องค์ประกอบในการสั่งงานและมอบหมายงาน

 

  • ขั้นตอนในการสั่งงานและมอบหมายงาน

 

  • หลักในการสั่งงานและมอบหมายงาน

 

  • เทคนิคการสั่งงานและมอบหมายงานสำหรับหัวหน้างานยุคใหม่

 

  • ตัวอย่าง : แบบฟอร์มการมอบหมายงาน

 

  • ประตูใจในการสื่อสารและสั่งงานลูกน้อง

 

Workshop 2 : Case Study การสั่งงาน 

 

Workshop 3 : Role Play ฝึกทักษะการสั่งงาน มอบหมายงานให้ได้ทั้งใจและได้ทั้งงาน 

 

 

 

เทคนิคในการติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ (Effective Follow-up)

 

  • ประโยชน์ของการติดตามงาน

 

  • หลักและวิธีการติดตามงาน

 

  • 4 เทคนิคในการติดตามงาน (Following) ให้ได้ผล

 

  • การติดตามและจัดการผลการปฏิบัติงานของพนักงานแบบวันต่อวัน

 

 

สรุปบทเรียน และถาม-ตอบ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

  1. หัวหน้างาน รู้จัก เข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างานที่มีภาวะผู้นำเพื่อสร้างการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการมอบหมายงาน การติดตามงาน การสอนงานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อการมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพ
  4. หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน
  5. หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสอนงานและการแนะนำงานไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
  6. หัวหน้างานมีทักษะในการมอบหมายและติดตามงาน และสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานของตนได้ได้อย่างมีแบบแผนขั้นตอนและเกิดประสิทธิภาพ

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง

 

วิธีการอบรม

การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม, เดี่ยว/ ทำแบบ Assessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                          30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%