meeting-2284501__340

หลักสูตร การวางแผนและลำดับความสำคัญของงาน (Planning & Priority Setting)

หลักสูตร การวางแผนและลำดับความสำคัญของงาน (Planning & Priority Setting)

 

หลักการและเหตุผล

       การที่องค์กรต่างๆ ได้นำเอาระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่เข้ามาใช้งาน       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบการบริหารผลงาน (Performance Management System) นั้น ตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายองค์กร การกระจายเป้าหมายองค์กรสู่หน่วยงาน และกากรเชื่อมโยงถึงระบบการประเมินผลงานประจำปีของพนักงาน ถือเป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญต่อการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

      แต่ถ้าองค์กรต้องการจะให้ระบบการบริหารผลงาน ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรในทุกระดับต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่รอแต่เป้าหมายที่กระจายมาจากหัวหน้างานและองค์กรเพียงอย่างเดียว และที่สำคัญยิ่งไปกว่านี้ คือ บุคลากรในทุกๆ ระดับควรจะต้องสามารถทำแผนปฏิบัติการเพื่อรองรับเป้าหมายในการทำงานได้ เพื่อการนำแผนปฏิบัติการนั้นไปปฏิบัติงานจริงต่อไป

       ดังนั้นองค์กรอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ ในการดำเนินกิจการอยู่บ่อยครั้ง หากยังไม่สำเร็จตามเป้าหมาย และถ้ามีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ แผนการปฏิบัติงานก็ต้องปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์นั้นๆด้วย เพราะต้องทำผลงานให้ได้ตัวเลขตามตัวชี้วัด(KPI) ที่ได้กำหนดไว้ และแผนปฏิบัติงานนั้นๆ ต้องทำให้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย คือ ต้องคำนึงถึงความสำเร็จตามเป้าหมาย การประหยัดทรัพยากร เงินทุน กำลังพล เวลา และอื่นๆในส่วนของปัจจัยการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายแบบยั่งยืน

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจในหลักการกำหนดเป้าหมายระดับองค์กรและหน่วยงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถกระจายเป้าหมายที่ได้รับจากผู้บริหาร ลงสู่หน่วยงาน หรือบุคลากรในองค์กรได้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ ปัจจัยใดบ้าง ที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถวางแผนปฏิบัติงาน ให้ตอบสนองต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย และประหยัดทรัพยากร งบประมาณ บุคลากร เวลา ฯลฯ ในการดำเนินตามแผน รวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อลูกค้า องค์กร หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการ­ปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดเป้าหมายการทำงานได้ตรงตามเป้าหมายขององค์กร
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม­สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่รองรับเป้าหมายขององค์กร

 

หัวข้อการอบรม

  • ทักษะ 3 ด้านของผู้ปฏิบัติงาน
  • ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skill)
  • ทักษะด้านมนุษย์ (Human Skill)
  • ทักษะด้านความคิด (Conceptual Skill)

 

 

  • เทคนิคการวางแผนงาน (Planning Techniques)
    • ความหมายและความสำคัญของการวางแผน
    • วัตถุประสงค์ของการวางแผน
    • ประเภทของการแผนงาน
    • ประโยชน์ของการวางแผนงาน
    • กระบวนการวางแผน
    • แผนงานที่ดีต้อง SMART เป็นอย่างไร ?
    • สาเหตุที่คนไม่ชอบวางแผน ?
    • ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนงาน

 

  • การบริหารงานในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของการทำงานยุคใหม่
  • ความสำคัญและประโยชน์ของการตั้งเป้าหมาย
  • กระบวนการและขั้นตอนในการตั้งเป้าหมาย
  • เทคนิคการตั้งเป้าหมายที่ดี
  • 7M 1E และ SIPOC สัมพันธ์กันอย่างไรกับการบรรลุเป้าหมาย
  • เป้าหมายในการทำงานได้มาจากไหน มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
  • การกำหนด KPI
  • KPI กับหลักการบริหารแบบ PDCA
  • รูปแบบในการวัดผลและการรายงานผล KPI

 

  • การวางแผนงานประจำวัน (Daily Management)
    • ประเภทความสำคัญของงาน (งาน A B C D)
    • การกำหนด “จุดสำคัญ (Key Points)” ของงาน
    • แผนปฏิบัติการคืออะไร
    • แผนปฏิบัติการ เหมือนหรือต่างจากแผนงานอื่นๆ หรือไม่ อย่างไร
    • ทำไมต้องมีแผนปฏิบัติการ
    • การจัดทำแผนปฏิบัติการมีขั้นตอนอะไรบ้าง
    • การจัดทำแผนปฏิบัติการแบบ 4W 1H
    • จะประเมินจากอะไรว่าแผนปฏิบัติการมีประสิทธิภาพหรือไม่

 

  • การจัดลำดับความสำคัญและเร่งด่วนของงาน (Priority Setting)
    • งานเร่งด่วนมาก สำคัญมาก
    • งานเร่งด่วนมาก สำคัญน้อย
    • งานเร่งด่วนน้อย สำคัญมาก
    • งานเร่งด่วนน้อย สำคัญน้อย

 

  • กระบวนการในการบริหารเวลา (Time Management Process)
    • ความสำคัญของการบริหารเวลา
    • ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการบริหารเวลา
    • สาเหตุของการบริหารเวลาที่ผิดพลาด (สาเหตุเกิดจากตัวเอง คนอื่น และ   สิ่งแวดล้อม)
    • เทคนิคการบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานและการดำเนินชีวิต

 

  • ฝึกปฏิบัติ และ Workshop การวางแผนงาน
  • การจัดทำแผนงาน (Action Plan)
  • ทักษะในการปฏิบัติตามแผนงาน
  • การติดตามงานตามแผนงาน
  • Workshop และกิจกรรมการบริหารแผนงาน

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรม เข้าใจในหลักการกำหนดเป้าหมายระดับองค์กรและหน่วยงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถกระจายเป้าหมายที่ได้รับจากผู้บริหาร ลงสู่หน่วยงาน หรือบุคลากรในองค์กรได้
  2. ผู้เข้าอบรม สามารถมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ ปัจจัยใดบ้าง ที่จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
  3. ผู้เข้าอบรม สามารถวางแผนปฏิบัติงาน ให้ตอบสนองต่อความสำเร็จตามเป้าหมาย และประหยัดทรัพยากร งบประมาณ บุคลากร เวลา ฯลฯ ในการดำเนินตามแผน รวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อลูกค้า องค์กร หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  4. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการ­ปฏิบัติการที่มีประสิทธิผล สามารถนำไปใช้งานได้จริง
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดเป้าหมายการทำงานได้ตรงตามเป้าหมายขององค์กร
  6. ผู้เข้าอบรม­สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ที่รองรับเป้าหมายขององค์กร

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      40 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    60%

 

kaizen2

หลักสูตร ไคเซ็นเพื่อการปรับปรุงงานและเพิ่มผลผลิตสู่ความสำเร็จขององค์กร (Kaizen for Success)

หลักสูตร ไคเซ็นเพื่อการปรับปรุงงานและเพิ่มผลผลิตสู่ความสำเร็จขององค์กร 

(Kaizen for Success)

 

หลักการและเหตุผล

          การปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของพนักงานทุกคน มิใช่เพียงทำงานตามหน้าที่ หรือขั้นตอนที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น องค์กรควรปลูกจิตสำนึกให้กับพนักงานในการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง ทีละเล็ก ทีละน้อย หรือที่เรียกว่า ไคเซ็น (Kaizen) ซึ่งเป็นกิจกรรมพื้นฐานอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีประสิทธิผล และองค์กรส่วนใหญ่นิยมนำไปใช้  ดังนั้นองค์กรควรให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างจิตสำนึกให้พนักงานทุกคน ทุกระดับ เรียนรู้วิธีการ เทคนิคการทำไคเซ็นในงานของตนเพื่อให้งานมีคุณภาพมากขึ้น

        หลักสูตรนี้จะช่วยให้ท่านได้เข้าใจการปรับปรุงงานตามแนวทางไคเซ็น เรียนรู้วิธีการค้นหาจุดที่ควรปรับปรุงและวิธีการปรับปรุง นอกจากนี้จะได้เห็นตัวอย่างการปรับปรุงงาน เพื่อนำไปการประยุกต์ในการปรับปรุงงานของตนเอง และหน่วยงานต่อไป

     ไคเซ็น หมายถึง การปรับปรุงงาน โดยไม่จำกัดวิธีการ แนวทางหรือเทคนิคที่ใช้ ซึ่งในการปรับปรุงงานนั้นสามารถปรับปรุง ได้ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัวในการทำงานอย่างค่อยเป็นค่อยไปและทำอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงเรื่องเชิงนโยบาย การบริหารจัดการ ซึ่งองค์กรโดยทั่วไปแล้วให้ความสำคัญกับการปรับปรุงอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่องเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกิจกรรมข้อเสนอแนะ 5ส กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วเป้าหมายอยู่ที่การปรับปรุงงาน โดยที่ทุกคนมีส่วนร่วมและเสริมสร้างจิตสำนึกด้านคุณภาพให้กับพนักงาน

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่ถูกต้อง ขั้นตอนการดำเนินงาน และ เทคนิคที่สำคัญที่นำมาใช้ เป็นแนวทางการพัฒนากิจกรรมไคเซ็น
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิคและวิธีการไปใช้ในการทำกิจกรรมไคเซ็นได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความคิดเชิงบวกที่เปิดกว้างต่อการทำกิจกรรม
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเขียนบันทึกและรายงานการปรับปรุงได้อย่างถูกต้องเพื่อใช้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้กลับไปพัฒนากิจกรรมการทำไคเซ็นภายในบริษัทได้

 

เนื้อหาการอบรม

  • ประวัติความเป็นมาของการทำกิจกรรม ” ไคเซ็น”
  • ความสำคัญและประโยชน์ของการดำเนินกิจกรรม
  • กิจกรรมสร้างสมาธิและการยอมรับซึ่งกันและกัน
  • ไคเซ็น (Kaizen) คืออะไร
  • จุดมุ่งหมายของกิจกรรม” ไคเซ็น”
  • หลักการและข้อเสนอแนะเบื้องต้นของไคเซ็นในการปรับปรุงงาน
  • ขั้นตอนและเครื่องมือในการปรับปรุงงาน
  • เทคนิคในการมองปัญหา
  • เทคนิคแก้ไขปัญหาและวิธีการปรับปรุงงานโดยความคิดสร้างสรรค์
  • กรณีศึกษา :: เพื่อให้ผู้เข้าสัมมนาได้เรียนรู้ถึงการวิเคราะห์ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
  • ระดับของการทำไคเซ็นตลอดจนแนวทางในการดำเนินในอนาคต

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่ถูกต้อง ขั้นตอนการดำเนินงาน และ เทคนิคที่สำคัญที่นำมาใช้ เป็นแนวทางการพัฒนากิจกรรมไคเซ็น
  2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิคและวิธีการไปใช้ในการทำกิจกรรมไคเซ็นได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีความคิดเชิงบวกที่เปิดกว้างต่อการทำกิจกรรม
  3. ผู้เข้าอบรมสามารถเขียนบันทึกและรายงานการปรับปรุงได้อย่างถูกต้องเพื่อใช้สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้กลับไปพัฒนากิจกรรมการทำไคเซ็นภายในบริษัทได้

 

รูปแบบการอบรมสัมมนา

  1. การบรรยาย 30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%

 

conference-2705706__340

หลักสูตร เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ (Train the Trainer)

หลักสูตร เทคนิคการเป็นวิทยากรมืออาชีพ (Train the Trainer)

หลักการและเหตุผล :

        การฝึกอบรมเป็นวิธีในการพัฒนา “คน”  ที่ดีที่สุดและการฝึกอบรมที่ดี จะต้องมีการวางแผนและการเตรียมการที่ถูกต้องอย่างเป็นระบบ มีวิทยากรที่มีประสบการณ์ ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้อย่างชัดเจน โดยวิทยากรต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการฝึกอบรม และแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกอบรมอย่างถูกต้อง จึงจะทำให้การฝึกอบรมดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผล

         ปัญหาประการหนึ่งสำหรับผู้ที่เป็นวิทยากรภายในหน่วยงาน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีประสบการณ์ในสายงานการปฏิบัติงาน คือ การขาดความรู้และความชำนาญด้านเทคนิควิธีการถ่ายทอดลักษณะการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรม การเตรียมแผนการสอนต่างๆ ที่เหมาะสม จึงควรมีการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากร ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาบุคลากรทั้งในด้านของความรู้ (Knowledge) ความสามารถ (Ability) ทักษะ (Skill) ทัศนคติ (Attitude) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม นำมาซึ่งการพัฒนาของบริษัทต่อไป

 

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้พัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรของตนเองและสามารถนำไปใช้ในการเป็นวิทยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้ตระหนักในความสำคัญของการเป็นวิทยามืออาชีพ
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้พัฒนาทักษะในการสอนงานและสามารถนำไปใช้อบรมพนักงานภายใต้การบังคับบัญชา ให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
  5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการเป็นวิทยากรมืออาชีพและวิทยากรในองค์กร
  6. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้ทราบถึงวิธีการเป็นวิทยากรที่ดี ตลอดจนสามารถใช้เทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกต้อง
  7. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม สามารถประยุกต์ใช้หลักการและทักษะการเป็นวิทยากร เพื่อถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เนื้อหาของหลักสูตร :

  • หลักการของการเป็นวิทยากรมืออาชีพ (To Be the Professional Trainer)
  • บทบาทและหน้าที่ของวิทยากรที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
  • คุณสมบัติที่ดีของวิทยากรมืออาชีพ
  • ทัศนคติที่ดีที่นำสู่การสอนที่มีประสิทธิภาพ
  • จิตวิทยาในการสอน (Psychology of Teaching)
  • หลักการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • การละลายพฤติกรรม (Ice Breaking)
  • การสร้างบรรยากาศที่ดีที่เอื้อต่อการเรียนรู้
  • ทำอย่างไรเมื่อกราฟตก
  • การบริหารเนื้อหา (Content Management)
  • การบริหารเวลาในการสอน บทนำ เนื้อหา บทสรุป
  • โครงสร้างของเนื้อหา
  • คิดมุมกลับ “ แล้วฉันจะได้อะไร? “ (What’s in It for Me)
  • คำพาดหัว หรือ ข้อความสำคัญ (Headline / Key Message)
  • เครื่องมือ 3P เพื่อการมีส่วนได้ส่วนเสีย
  • 5 เครื่องมือในการโน้มน้าวใจ
  • ทวน อาวุธคู่กายของผู้สอน
  • Gimmick เพื่อการจดจำอย่างยั่งยืน
  • บุคลิกภาพของวิทยากร (Smart Personality of Trainer)
  • บุคลิกภาพแห่งความน่าเชื่อถือ
  • มาดที่มีเสน่ห์ในการสอน การยืน การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้มือ การสบตา
  • เสียงที่มีพลังดึงดูด การใช้น้ำเสียง ความชัดเจนฉะฉาน จังหวะจะโคน ของการออกเสียง
  • หลักการและเทคนิคในการสอน (Principles and Training Methods)

 

ประโยชน์ที่ได้รับ :

  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของการเป็นวิทยากรมืออาชีพ
  2. ผู้เข้ารับการอบรม ได้พัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรของตนเองและสามารถนำไปใช้ในการเป็นวิทยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้เข้ารับการอบรม ได้ตระหนักในความสำคัญของการเป็นวิทยามืออาชีพ
  4. ผู้เข้ารับการอบรม ได้พัฒนาทักษะในการสอนงานและสามารถนำไปใช้อบรมพนักงานภายใต้การบังคับบัญชา ให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง
  5. ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ในการเป็นวิทยากรมืออาชีพและวิทยากรในองค์กร
  6. ผู้เข้ารับการอบรม ได้ทราบถึงวิธีการเป็นวิทยากรที่ดี ตลอดจนสามารถใช้เทคนิคและวิธีการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างถูกต้อง
  7. ผู้เข้ารับการอบรม สามารถประยุกต์ใช้หลักการและทักษะการเป็นวิทยากร เพื่อถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

รูปแบบการอบรมสัมมนา

  1. การบรรยาย 30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม 70 %
job-3241018__340

หลักสูตร หัวหน้างานกับงานบริหารคน (HR for Non HR)

หลักสูตร หัวหน้างานกับงานบริหารคน (HR for Non HR)

หลักการและเหตุผล

         เป็นที่ตระหนักดีว่า  “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์กร เพราะคนเป็นทั้งผู้สร้างสรรค์ ผู้ถ่วง หรือผู้ทำลายได้ในขณะเดียวกัน  ดังนั้น งานด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงจัดเป็นส่วนหนึ่งของขีวิตองค์กรที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริหารงานด้านอื่น ๆ

       ในแนวคิดปัจจุบันภารกิจในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จะถูกกำหนดให้เป็น Competency หนึ่งของหัวหน้าหน่วยงานซึ่งต้องมีหน้าที่ ดูแลพนักงานตั้งแต่รับเข้ามาทำงานจนถึงวันที่ลาออกหรือพ้นสภาพไป จึงกล่าวได้ว่ากระบวนการบริหารคนจะเกิดขึ้นภายในหน่วยงานนั้นเอง ปัญหาที่พบคือหัวหน้าหน่วยงานตั้งแต่ผู้จัดการลงมามักเข้าใจว่าหน้าที่นี้เป็นของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ หรือ HR เมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนไม่ว่าอัตราการลาออกสูง ขวัญกำลังใจตกต่ำ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ หัวหน้าหน่วยงานเหล่านี้มักจะโยนปัญหาให้ฝ่ายบุคคลช่วยแก้ไข ซึ่งมักจะไม่ตรงจุดเพราะปัญหาบางอย่างมักเกิดจากตัวของหัวหน้านั่นเอง

       หลักสูตรนี้ จึงออกแบบมาเพื่อให้ผู้จัดการและหัวหน้างานในฐานะ Line Manager ได้ทราบถึงแนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่  ได้เรียนรู้และเข้าใจบทบาทการบริหารทรัพยากรบุคคลที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถนำความรู้และเครื่องมือและวิธีการต่างๆ จากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานในหน่วยงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับหน่วยงานและองค์กรโดยรวม

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจบทบาทที่สำคัญของหัวหน้างาน และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในขั้นตอนสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เสริมสร้างทักษะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของหัวหน้างานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้หัวหน้างานและ HR ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพบนเส้นทาง “เพื่อนร่วมคิด พันธมิตรร่วมทาง”

 

เนื้อหาหลักสูตร

  • หัวหน้างานกับแนวคิดการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่
  • ความท้าทายในการบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่องค์กรกำลังเผชิญอยู่
  • ปัญหาด้านการบริหารคนที่เกิดขึ้นบ่อย สาเหตุและวิธีการแก้ไข
  • ทิศทางและกระแสการบริหารคนในปัจจุบันและอนาคต
  • เทคนิคการสอนงานลูกน้อง
  • การวิเคราะห์ลูกน้อง 4 ประเภท
  • จิตวิทยาการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชา
  • CHANGE! สู่กลยุทธ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่ เพื่อมุ่งสู่องค์กร ประสิทธิภาพสูง
  • ปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจและปัจจัยที่นำองค์กรไปสู่ความสำเร็จทางธุรกิจ
  • แนวคิดและความสำคัญของบริหารทรัพยากรบุคคล
  • การบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่
  • บทบาทของ HR สมัยใหม่
  • บทบาทของ Line Manager VS ฝ่าย HR
  • หน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้างานกับงานบริหารทรัพยากรบุคคล
    • การวางแผนกำลังคน (Manpower Planning)
    • การสรรหาว่าจ้างและคัดเลือกคนเก่งคนดี (Recruitment & Selection)
    • การบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)
    • การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร (Training & Development)
    • การบริหารค่าตอบแทน (Remuneration)
    • การบริหารแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายแรงงาน

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจบทบาทที่สำคัญของหัวหน้างาน และแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในขั้นตอนสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  2. ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวคิดการบริหารทรัพยากรบุคคลสมัยใหม่
  3. ผู้เข้าอบรมได้เสริมสร้างทักษะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ของหัวหน้างานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
  5. ผู้เข้าอบรมได้เห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุนให้หัวหน้างานและ HR ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพบนเส้นทาง “เพื่อนร่วมคิด พันธมิตรร่วมทาง”

 

รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย                                   40 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 60%

 

 

 

lightbulb-3449671__340

หลักสูตร การเพิ่มผลผลิตในตนเอง ด้วย 5Q (Personal Productivity with 5Q)

หลักสูตร  การเพิ่มผลผลิตในตนเอง ด้วย 5Q (Personal Productivity with 5Q)

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติให้รู้จัก และเข้าใจตนเอง สามารถประเมินจุดเด่น จุดด้อย และ

กำหนดแนวทางให้การพัฒนาตนเองได้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การพัฒนาศักยภาพของตนเองผ่านเครื่องมือ และวิธีการต่างๆ อย่าง

เป็นระบบ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถบริหารจัดการ และวางแผนตนเองให้มุ่งสู่ความสำเร็จอย่างมีแบบแผน

5Q คืออะไร?

     การดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วย

     การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ (5Q) ของแต่ละบุคคลด้วยตัวเอง จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรของตัวเอง โดยการทำให้บุคลากรมี 5Q ที่สูงขึ้น

 

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

 

      การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้บุคคลสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นบุคลากรที่มีจิตใจที่ดีขององค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

    การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

   โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

หลักสูตรฯ ให้สิ่งใดแก่ผู้เข้าอบรม

  1. สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. ได้แนวคิดการเพิ่มผลผลิต (Productivity Concept) จากจุดเริ่มต้นที่ตัวเอง
  3. ได้กรอบแนวคิดและแนวทางในการเพิ่มผลผลิตตนเอง (Personal Productivity)
  4. เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ
  5. ได้ปรับบุคลิกภาพให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสมพร้อมทั้ง ริเริ่มตนเป็น รู้จักการกำหนดเป้าหมายตนเองการประเมินสถานการณ์ และการสร้างแรงบันดาล ใจให้ตนเอง (Self Initiation)
  6. เข้าใจแนวคิดการเพิ่มผลผลิตตนเอง (Personal Productivity)อย่างมีประสิทธิภาพ และยังมองเห็นโอกาสตนถูกการกระตุ้นจูงใจ(Self Motivation)และการบริหารเวลา (Time Management)
  7. ได้จุดร่วม และสงวนจุดต่างของการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน
  8. ค้นพบ “ตัวตน” ที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันกับแนวคิดการเพิ่มผลผลิตตนเอง (Personal Productivity)ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

 

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

-ได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา 5Q ของตนเอง

 

 ลักษณะของการอบรม

         เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 5Q
  • Clip VDO และอื่นๆ


หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 5Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของตัวเอง
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย 5Q
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • Work Shop
    • ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม In house
    • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

ความหลากหลายของกิจกรรม

– รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q

– ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)

– เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด

– Work Shop 5Q ฝึกเล่าเรื่องตามคำสั่งและการแก้ปัญหา

– การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย 5Q

– Work Shop เดาใจเพื่อนด้วยตัวเลข (สงครามตัวเลข)

– Clip VDO การเข้าใจตนเอง

– เรียนรู้การทำงานของสมอง

– คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจ

– การสื่อสารแบบปากต่อปาก (Work Shop ใบ้คำ)

– ความหมายที่แท้จริงของชีวิต

– คำพังเพยไทย (Work Shop สนุกคลายเครียด)

– WHO ARE YOU (Work Shop)

– แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ 5Q

– Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)

– คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?

 

 

 ใครควรเข้าร่วม?

  1. บุคคลทั่วไปที่ต้องการเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และผู้อื่น
  2. บุคคลทั่วไปที่ต้องการเตรียมพร้อมสู่การเป็นหัวหน้างาน
  3. ผู้บริหาร หัวหน้างาน ระดับปฏิบัติงาน ที่ต้องการพัฒนาตนเอง

 

รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย 30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%

 

 

ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้ (Outcomes)

         บุคคล

  • เรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเอง และผู้อื่นด้วย 5Q
  • เข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยแบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและ 5Q
  • สามารถใช้ 5Q เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
  • เข้าใจวิธีลดความตึงเครียดในการทำงานร่วมกันด้วย 5Q
  • สามารถนำความรู้เรื่อง 5Q ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

 

ครอบครัว

  • ได้ผู้นำครอบครัวและสมาชิกของครอบครัวที่เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเองและคนในครอบครัวด้วย 5Q
  • จุดประกายความเข้าใจภายในครอบครัว เปิดใจ เอื้ออาทร ห่วงใยดูแลและรับฟังกันมากขึ้นเพราะมี 5Q
  • สมาชิกในครอบครัวรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างเอื้ออาทรกันและกัน
  • สมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจ
  • ประชาธิปไตยและเสรีภาพบนความรับผิดชอบร่วมกันเริ่มต้นที่ในบ้าน

 

 องค์กร

  • ได้พนักงานที่มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน
  • พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  • นโยบายขององค์กรถูกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติได้เร็วขึ้น
  • ได้รับการยอมรับในเรื่ององค์กรยุคใหม่ใส่ใจในทุกๆ ด้านของผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด (ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย)
  • ผลกำไรที่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย อยู่กันอย่างเกื้อกูล
  • เป็นองค์กรที่มีความสำเร็จและความสุข

 

 

success-2697951__340

หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงาน ( Job Method )

หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงาน ( Job Method)

 

หลักการและเหตุผล :

         ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการแข่งขันทางธุรกิจอุตสาหกรรมทวีความรุนแรงขึ้น องค์การที่จะสามารถอยู่รอดได้นั้น จะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การดำเนินการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยให้องค์การยืนหยัดดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง ภาระหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ที่เป็นหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตก็ คือ การปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้องค์การลดความสูญเสียในทุกรูปแบบในกระบวนการทำงาน ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานให้ดีขึ้นจะทำให้การทำงานมีคุณภาพมากขึ้น ต้นทุนต่าง ๆ จะลดลงและจะนำมาซึ่งกำไรที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหัวหน้าทุกคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเพื่อความอยู่รอดขององค์การสืบไป

วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงวิธีการทำงาน
  2. เพื่อให้เข้าใจและมีทักษะในการปรับปรุงวิธีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ และปรับปรุงวิธีการทำงานในหน่วยงานได้

 

ลักษณะของการอบรม

            เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือทาง OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการอบรม

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 30 : Work Shop กิจกรรม 70
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • แบบทดสอบผู้นำสี่ทิศ
  • Work Shop : ฟันเฟืองแห่งองค์กร
  • การระดมความคิด
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

ช่วงเช้าเวลา  09.00-12.00 น.

  • คุณสมบัติและความรับผิดชอบของหัวหน้างาน
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ

 

  • ประเภทของหัวหน้างาน
  • ประเภทของหัวหน้างานจากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • ทักษะที่สำคัญของหัวหน้างานประเภทต่างๆ

 

  • หลักการปรับปรุงวิธีการทำงาน (Continuous Quality Improvement (CQI))
  • กระบวนการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร และการพัฒนาคุณภาพของงานอย่างต่อเนื่อง
    • องค์ประกอบที่สำคัญของ CQI
    • แนวคิดการทำ CQI (Continuous Quality Improvement)

 

ช่วงบ่ายเวลา  13.00-16.00 น.

 

  • การพิจารณาเลือกงานเพื่อการปรับปรุง
  • หลักในการเลือกและพิจารณางานเพื่อทำการปรับปรุง
  • งานประเภทไหนบ้างที่ควรปรับปรุงแบบเร่งด่วน
    • PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (อังกฤษ: Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ
    • การทำงานแบบ โฮ (HO) เรน (REN) โซ (SOU)การรายงาน-การติดต่อ-การปรึกษา

 

  • การใช้คำถามเพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงาน
  • หลักการตั้งคำถามเพื่อให้ลูกน้องมีวิธีการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างสร้างสรรค์
  • หลักและวิธีคิดของคำพูดที่ว่า “ดีที่สุดไม่มีที่สิ้นสุด”
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
    • Work Shop ผ่านกิจกรรมกลุ่ม
    • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

 

  • หลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การปรับปรุงงานเกิดผลสำเร็จ
  • หลักการวางแผนการดำเนินงานที่จะทำให้เป้าหมายที่ต้องการบรรลุผลสำเร็จ
  • ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ คือ หลักการที่ใช้ได้เสมอ
  • เน้นความเรียบง่ายทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในหน่วยงาน
  • หัวใจสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่เลือกใช้เท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับคนที่มีคุณภาพ และเข้าใจคุณภาพที่แท้จริง

 

  • ฝึกปฏิบัติตามหลักแนวคิดการปรับปรุงวิธีการงาน
  • สรุปและถาม ตอบ

 

businessman-2606506__340

หลักสูตร ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovation Creative Thinking)

หลักสูตร ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovation Creative Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

         ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

       ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

        นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีความสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลายด้านๆ  ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

         ยิ่งในยุคปัจจุบันการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาได้นั้นล้วนแล้วเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือจะให้เรียกอีกอย่างว่า ความคิดเชิงนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะเกี่ยวข้องและใช้หลักการคิดในบริบทเดียวกัน

          และการที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นั้นนอกจากความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งความคิดที่ต้องใช้ควบคู่ไปด้วย นั่นก็คือ ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

         การเป็นคนคิดบวก (Positive Thinking) ทำให้สุขภาพจิตของเราดี มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

         ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้งสามแนวคิดนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่พัฒนาบุคลากรขององค์กรให้ทำงานอย่างประสิทธิภาพด้วยหัวใจเบิกบานยินดี

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

หัวข้อการอบรม

  ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                        30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

face-205563__340

หลักสูตร: สุนทรียะสนทนา การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพเพื่อความสำเร็จในงานและชีวิต ( Dialogue to Success )

หลักสูตร: สุนทรียะสนทนา การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพเพื่อความสำเร็จในงานและชีวิต  ( Dialogue to Success )

 

           เป้าหมายสูงสุดของการบริหารงานได้แก่ การจัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมาย สูงสุดขององค์กร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และภารกิจที่สำคัญ ที่สุดของผู้บริหารที่จะต้องเรียนรู้ศาสตร์ในการ บริหารบุคคล ที่เน้นเรื่องการศึกษาพฤติกรรมบุคคล กลุ่มและองค์การ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบ ต่อพฤติกรรมในองค์การ เพื่ออธิบาย ทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ของการบริหารที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ความรู้ความเข้าใจแนวคิดเรื่องการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพของบุคคล จะช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชาและพร้อมที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดังกล่าว ทำงานอย่างที่เรียกว่า “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข” ที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในการ บริหารงาน

             หลักสูตรนี้ ออกแบบ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)  ในการทำงานอย่างมีความสุขและเกิดความรักในองค์กร และพร้อมที่จะเปิดใจเรียนรู้ พัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาตนเองให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ทุกคนให้เกียรติ เห็นอกเห็นใจ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

      การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)  จะช่วยให้การทำงานนั้นเป็นไปอย่างมีความสุขและเกิดความรักในองค์กร โดยมีหลักแนวคิดของ 7Q มาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อองค์ความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและลงตัว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันอีกทั้งยังได้เกิดแรงจูงใจในการทำร่วมกัน อย่างมีความสุขและมีจิตสำนึกในการรักองค์กร

         การสนทนาแบบ Dialogue เป็นการรับฟังวิธีคิด วิธีการให้คุณค่า ความหมายของคนอื่นต่อสิ่งที่พูด เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ละทิ้งสิ่งที่แต่ละคนยึดถือ เพื่อผ่าข้ามพรมแดนแห่งตัวตนไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความสามารถเฉพาะของอวัยวะรับสัมผัสที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ความสามารถของตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ของมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การที่มนุษย์มี ” ใจ ” หรือ “ สัมผัสที่หก ” ทำให้มนุษย์สามารถสัมผัสสิ่งรอบตัวได้ละเอียดลึกซึ้งกว่าสิ่งมีชีวิตแบบอื่นๆ

 

แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของ Dialogue

       หลักการของ Dialogue คือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระที่ตายตัวล่วงหน้า ไม่มีประธาน ไม่เหมือนการประชุมอย่างมีเป้าหมายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน คนในวงสนทนาสามารถพูดอะไรก็ได้ ถามอะไรก็ได้ ส่วนคนอื่นๆ จะตอบหรือไม่ตอบก็ได้

      การเข้าไปในวง Dialogue ทุกคนต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดเรื่องอะไรก็ได้ ส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำและการตอบคำถาม เพราะคำถามที่เกิดขึ้นเป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ Dialogue ไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิด

      อีกประการหนึ่งคือ การฟังให้ได้ยิน โดยไม่พยายามใส่ใจว่า เสียงนั้นเป็นเสียงของใคร แค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่าเสียงที่ได้ยินคือ เสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆ นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาอาจเป็นเสียงของตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ อาจมีความคิดบางอย่างเกิดขึ้น วาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้นอาจถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมในอนาคตก็ได้

 

7Q คืออะไร?

     การดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้น จะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วย

     การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ (7Q) ของแต่ละบุคคลด้วยตัวเอง จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรของตัวเอง โดยการทำให้บุคลากรมี 7Q ที่สูงขึ้น โดยที่ 7Q นั้นประกอบไปด้วย

IQ (Intelligent Quotient) : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ (Emotional Quotient) : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ (Adversity Quotient ) : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ (Optimist Quotient) : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ (Unity Quotient) : การเป็นบุคคลที่เข้ากับคนอื่นได้ง่าย

CQ (Creativity Quotient) : ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ

PQ (Play Quotient): ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น

 

      การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้บุคคลสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นบุคลากรที่มีจิตใจที่ดีขององค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

    การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 7Q นั้น จะทำให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น  จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

   โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 7Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางของ สุนทรียะสนทนา (Dialogue) และ 7Q เพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)   และ 7Q

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการสื่อสารและพฤติกรรมในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

 ลักษณะของการอบรม

         เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 7Q (IQ EQ OQ AQ UQ CQ PQ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 30 : Work Shop กิจกรรม 70
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 7Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 7Q
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักปฏิบัติ Dialogue
    • ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังให้ได้ยิน
    • มีความเป็นอิสระ และผ่อนคลาย
    • ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีผู้นำ และไม่มีผู้ตาม

 

  • การจัดการวงสนทนาที่ดี แบบ Dialogue
  • ใช้หลักของ SPEAKING
  • S Setting หมายถึง ฉาก สถานที่ และเวลาของการทำ Dialogue
  • P Process หมายถึง กระบวนการ Dialogue เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process Determinism)
  • E Ends หมายถึง เป้าหมาย Dialogue ไม่อนุญาตให้แต่ละคนนำเป้าหมายส่วนตัว หรือวาระส่วนตัวเข้าไปใช้ นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อการฟัง
  • A Attitude หมายถึง การมีเจตคติที่ดีต่อคนอื่น มีจิตใจที่เปิดกว้าง มีความสุขที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากผู้อื่น
  • K Key Actor หมายถึง คณะทำงานที่อยู่เบื้องหลัง ผู้ทำหน้าที่ประสานงาน สร้างฉาก และค้นหาผู้ที่เหมาะสมจะมานั่งพูดคุยกัน เพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะรวมความถึง Facilitator
  • I Instrument หมายถึง เครื่องมือของ Dialogue คือ จะต้องช่วยลดทอนความเป็นทางการของการใช้ภาษาให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงถ้อยคำแบบพิธีการ
  • N Norms of Interaction หมายถึงบรรทัดฐานของการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งจะต้องมีความเท่าเทียมกัน ทั้งในแง่ของคำพูดและการปฏิบัติ
  • G Genre หมายถึง ประเภทของการพูดคุย Dialogue ไม่ใช่การพูดคุยแบบพิจารณาถกเถียงหรือโต้แย้ง ไม่ใช้การบรรยายไม่ใช่การประชุมที่มีประธานทำหน้าที่วินิจฉัย สั่งการ

 

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 7Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของตัวเอง
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย 7Q
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • Work Shop
    • ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม In house
    • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ
  2. ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางของ สุนทรียะสนทนา (Dialogue) และ 7Q เพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ
  3. ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue) และ 7Q
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการสื่อสารและพฤติกรรมในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่ เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

 

 

 

ใครควรเข้าร่วม?

 ผู้บริหาร หัวหน้างาน ระดับปฏิบัติงาน ที่ต้องการพัฒนาตนเองด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)

 

 รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย                                 30 %
  2. กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop             70%

 

people-2270641__340

หลักสูตร: การสร้างทัศนะคติและยกระดับประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน (Attitude Advance)

หลักสูตร: การสร้างทัศนะคติและยกระดับประสิทธิภาพการทำงานร่วมกัน (Attitude Advance)

 

สังคมแห่งการแข่งขันและการทำงานภายใต้สภาวะกดดันในปัจจุบัน ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการทำงาน แม้เริ่มจากเรื่องเล็กๆ แต่หากเกิดการสะสมไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง ย่อมส่งผลให้เกิดความเสียหายต่างๆ ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวพนักงาน ต่อทีมงาน และต่อองค์การในภาพรวมด้วย

ทัศนคติเชิงบวกเป็นทักษะที่สำคัญมาก ที่ช่วยในการปรับความคิดและมุมมองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น พนักงานที่มีทัศนคติที่ดี จะสามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมั่นใจและพร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการต่างๆ ให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ให้ทีมและองค์กรได้อย่างมากมาย นอกจากนั้น ประสิทธิภาพในการสื่อสาร ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว แทบปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ความไม่เข้าใจ” ที่เกิดจากการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ แม้เริ่มจากเรื่องเล็กๆ หากปล่อยให้ถูกสะสมไปเรื่อยๆ สามารถก่อตัวเป็นสนิมกัดกร่อนจิตใจ สร้างความคับข้องหมองใจ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ส่งผลเสียหายต่อความสัมพันธ์ในการทำงาน และสร้างปัญหาต่างๆ ตามมาได้มากมาย

หลักสูตรนี้ ออกแบบ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำงานด้วยทัศนคติที่ดี พร้อมเปิดใจเรียนรู้ พัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาตนเองให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ทุกคนให้เกียรติ เห็นอกเห็นใจ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

รวมทั้งการคิดบวก คิดสร้างสรรค์ และการมีทัศนคติที่ดีได้นั้น จะมีหลักแนวคิดของ 7Q มาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อองค์ความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและลงตัว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความพร้อมในการกล้ารับมือ และผลักดันตัวเองไปสู่จุดหมาย แบบเชิงรุก (Proactive) แบบยั่งยืน

 

7Q คืออะไร?

การดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้น จะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วย

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ (7Q) ของแต่ละบุคคลด้วยตัวเอง จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรของตัวเอง โดยการทำให้บุคลากรมี 7Q ที่สูงขึ้น โดยที่ 7Q นั้นประกอบไปด้วย

 

IQ (Intelligent Quotient) : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ (Emotional Quotient) : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ (Adversity Quotient ) : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ (Optimist Quotient) : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ (Unity Quotient) : การเป็นบุคคลที่เข้ากับคนอื่นได้ง่าย

CQ (Creativity Quotient) : ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ

PQ (Play Quotient): ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น

 

การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้บุคคลสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นบุคลากรที่มีจิตใจที่ดีขององค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 7Q นั้น จะทำให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น  จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 7Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

 

หลักสูตรฯ ให้สิ่งใดแก่ผู้เข้าอบรม

  1. สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 7Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 7Q และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ
  3. ได้ปรับบุคลิกภาพให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  4. เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  5. ได้จุดร่วม และสงวนจุดต่างของการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน
  6. ค้นพบ “ตัวตน” ที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. เข้าใจหลักของ 7Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้
  • สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ
  • พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)
  • ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ
  • แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)
  • พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข
  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ด้วย CQ (Creativity Quotient)
  • มีความมั่นใจในการกล้าที่จะเล่นอย่างสร้างสรรค์ด้วย  PQ (Play Quotient)
  1. ได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา 7Q ของตนเอง

 

 ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 7Q (IQ EQ OQ AQ UQ CQ PQ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 7Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 7Q
  • Clip VDO และอื่นๆ


หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 7Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของตัวเอง
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย 7Q
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • Work Shop
    • ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม In house
    • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

ความหลากหลายของกิจกรรม

– รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 7Q

– ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)

– เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด

– Work Shop 7Q ฝึกเล่าเรื่องตามคำสั่งและการแก้ปัญหา

– การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย 7Q

– Work Shop เดาใจเพื่อนด้วยตัวเลข (สงครามตัวเลข)

– Clip VDO การเข้าใจตนเอง

– เรียนรู้การทำงานของสมอง

– คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจ

– การสื่อสารแบบปากต่อปาก (Work Shop ใบ้คำ)

– ความหมายที่แท้จริงของชีวิต

– คำพังเพยไทย (Work Shop สนุกคลายเครียด)

– WHO ARE YOU (Work Shop)

– แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ 7Q

– Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)

– คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?

 

 

 ใครควรเข้าร่วม?

  1. บุคคลทั่วไปที่ต้องการเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และผู้อื่น
  2. บุคคลทั่วไปที่ต้องการเตรียมพร้อมสู่การเป็นหัวหน้างาน
  3. ผู้บริหาร หัวหน้างาน ระดับปฏิบัติงาน ที่ต้องการพัฒนาตนเอง

 

รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย                                 30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop  70%

 

ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้ (Outcomes)

         บุคคล

  • เรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเอง และผู้อื่นด้วย 7Q
  • เข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยแบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและ 7Q
  • สามารถใช้ 7Q เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
  • เข้าใจวิธีลดความตึงเครียดในการทำงานร่วมกันด้วย 7Q
  • สามารถนำความรู้เรื่อง 7Q ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

 

ครอบครัว

  • ได้ผู้นำครอบครัวและสมาชิกของครอบครัวที่เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเองและคนในครอบครัวด้วย 7Q
  • จุดประกายความเข้าใจภายในครอบครัว เปิดใจ เอื้ออาทร ห่วงใยดูแลและรับฟังกันมากขึ้นเพราะมี 7Q
  • สมาชิกในครอบครัวรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างเอื้ออาทรกันและกัน
  • สมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจ
  • ประชาธิปไตยและเสรีภาพบนความรับผิดชอบร่วมกันเริ่มต้นที่ในบ้าน

 

องค์กร

  • ได้พนักงานที่มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน
  • พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  • นโยบายขององค์กรถูกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติได้เร็วขึ้น
  • ได้รับการยอมรับในเรื่ององค์กรยุคใหม่ใส่ใจในทุกๆ ด้านของผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด (ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย)
  • ผลกำไรที่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย อยู่กันอย่างเกื้อกูล
  • เป็นองค์กรที่มีความสำเร็จและความสุข

 

motivation-3131641__340

หลักสูตรการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน (The Power of Motivation)

หลักสูตรการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน (The Power of Motivation)

หลักการและเหตุผล
เป้าหมายสูงสุดของการบริหารงานได้แก่ การจัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมาย สูงสุดขององค์กร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และภารกิจที่สำคัญ ที่สุดของผู้บริหารที่จะต้องเรียนรู้ศาสตร์ในการ บริหารบุคคล ที่เน้นเรื่องการศึกษาพฤติกรรมบุคคล กลุ่มและองค์การ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบ ต่อพฤติกรรมในองค์การ เพื่ออธิบาย ทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ของการบริหารที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ความรู้ความเข้าใจแนวคิดเรื่องแรงจูงใจของบุคคล จะช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงความต้องการและ แรงจูงใจของผู้ใต้บังคับบัญชาและพร้อมที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดังกล่าว ทำงานอย่างที่เรียกว่า “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข” ที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในการ บริหารงาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเกิดความรักความผูกพันองค์กร รู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการสร้างแรงจูงใจเพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

รายละเอียดหลักสูตร

  1. ความหมายของแรงจูงใจ
    • องค์ประกอบที่สำคัญของแรงจูงใจ ในการทำงานของพนักงาน
    • ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงจูงใจ
    • บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ของพนักงาน
    • การจูงใจ หรือแรงจูงใจ คืออะไร
    • ทฤษฎีการจูงใจ Theories of Motivation

– ทฤษฎีการจูงใจ ของ Maslow

– ทฤษฎีสองปัจจัย ของ Herzberg

– ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของ Mcgragor

  • เทคนิคการสร้างแรงจูงใจให้ตนเองและผู้อื่น (D-R-I-V-E)

– D = Develop yourself & others การพัฒนาตนเองและผู้อื่น

– R = Relationship การสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทำงาน

– I  = Individual Motivation การสร้างแรงจูงใจของปัจเจกบุคคล

– V = Verbal Communication ความสามารถในการสื่อสาร

– E = Engagement ความผูกพันต่อองค์กร จิตสำนึกรักองค์กร

  1. การสร้างขวัญแรงจูงใจ และวินัย ในสถานประกอบการ
    • วินัย และคุณธรรมในการทำงาน
    • ทัศนคติสำหรับพนักงาน (Employee Attitude)
    • การสร้างทัศนคติที่ดี (Attitude) ในการทำงาน
  2. จิตสำนึกในการทำงาน (Work Awareness) และจงรักภักดีต่อองค์กร

Workshop: ระดมความคิดสร้าง โรงงานในฝัน

  1. หลักในการทำงานและดำเนินชีวิตให้ประสบผลสำเร็จและมีความสุข
    • ความสำเร็จในการงาน และชีวิต
    • องค์ประกอบของความสำเร็จในชีวิตการงาน
    • ความปรารถนาของนายจ้างจากลูกจ้าง
    • เคล็ดลับดีๆในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (รักษาโรคเบื่องาน)
    • วิธีทำงานอย่างมีความสุข
    • สร้างและมีมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
    • การสำรวจตัวเอง เพื่อดึงศักยภาพออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง
      – เทคนิคการส่งเสริมให้ใช้จินตนาการตนเอง
      – การสร้างแรงจูงใจด้วยตัวคุณเอง
      – วิธีการสร้างแนวคิดใหม่
      – เทคนิคการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน
      – เทคนิคการคิดและทำเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
      – สัญญาณอันตราย! และตัวชี้วัดความสำเร็จ

 

Workshop: กิจกรรมกลุ่มทำงานอย่างไรให้มีสุข

 

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ

  1. ผู้เข้าอบรมเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเกิดความรักความผูกพันองค์กร รู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน
  2. ผู้เข้าอบรมทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการสร้างแรงจูงใจเพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ
  3. ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  4. ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

แนวทางการการอบรม

  1. การอบรมมีทั้งการบรรยาย และทดลองปฏิบัติกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นจริงในการทำ Coaching ทำให้การอบรม เป็นไปอย่างสนุกสนาน
  2. การฝึกอบรมเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่(Adult Learning) ซึ่งเน้นให้เกิดความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเล็งเห็นประโยชน์ของเนื้อหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

  • ผู้บริหาร หัวหน้างาน
  • พนักงานทุกระดับ