smiley-1041796__340

หลักสูตร EQ กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Emotional Quotient for Success)

หลักสูตร EQ กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Emotional Quotient for Success)

 

หลักการและเหตุผล

EQ คืออะไร?

องค์การที่ประสบความสำเร็จ ย่อมมาจากความสำเร็จในการทำงานของพนักงาน องค์กรจึงมีหน้าที่ส่งเสริม ให้พนักงานมีความรู้ความสามารถในการทำงาน แต่ความรู้อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เพราะเขาต้องทำงานร่วมกับคนอื่นๆ แผนกอื่นๆ  ดังนั้น การพัฒนาให้พนักงานมี”ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์” หรือที่เรียกว่า EQ (Emotional Intelligence) จึงมีความจำเป็นที่จะทำให้พนักงานทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน

ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (EQ  Emotional Quotient) เป็นความสามารถประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญของมนุษย์ในด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่จะกำหนดพฤติกรรมการทำงานให้เป็นเลิศได้ รู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ พนักงาน มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการทำงานเป็นทีมที่เรียกว่า“ทีมเวิร์ค จะทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจจากพนักงาน การทำงานร่วมกันเป็นเงื่อนไขแห่งความสำเร็จของการทำงานให้บรรลุถึงเป้าหมายด้วยความราบรื่น ต้องอาศัยคุณลักษณะที่เรียกว่า ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์

ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์นั้นใด้แก่การมองโลกด้านบวก การรู้จักตนเอง การเข้าใจเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา อันเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จใน การทำงาน EQ.จำเป็นต้องมุ่งเน้นในการควบคุมตนเอง โดยเฉพาะอารมณ์ของตนให้เอื้อต่อความสำเร็จในการทำงาน

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ (EQ) ของแต่ละบุคคลด้วยตัวเอง จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรของตัวเอง โดยการทำให้บุคลากรมี EQ ที่สูงขึ้น โดยที่ EQ : ความฉลาดทางด้านอารมณ์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อกับ Q อื่น อันได้แก่

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการด้วย EQ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้บุคคลสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นบุคลากรที่มีจิตใจที่ดีขององค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง EQ นั้น จะทำให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

โดยที่ EQ นั้นจะใช้ร่วมกับ Q อีก 4 ตัว และสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ EQ กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ EQ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสมโดยใช้ EQ
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วย EQ
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา EQ ของตนเอง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ ฝึกปฏิบัติ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ ด้านการสื่อสารที่สามารถลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล

 ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการ

บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 30 % : Work Shop กิจกรรม 70 %

การใช้เครื่องมือทางด้าน EQ และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น

  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย EQ
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • ความสำคัญและความหมายของความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์
  • องค์ประกอบทางจิตวิทยาของความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์
  • การสร้างความไว้วางใจ การสร้างสัมพันธ์ เพื่อบริหารความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์
  • คุณสมบัติของผู้ที่มีความสำเร็จในชีวิตจากผลงานวิจัย
  • การพัฒนา EQ
  • การเสริมสร้างความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • การทดสอย EQ
  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย EQ
  • แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ EQ
  • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
  • บทบาทหน้าที่ของตัวเอง
  • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
  • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
  • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย EQ
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • Work Shop
  • ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม In house
  • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

ความหลากหลายของกิจกรรม

– รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย EQ

– ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)

– เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด

–  การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย EQ

–  เรียนรู้การทำงานของสมอง

– คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจ

– ความหมายที่แท้จริงของชีวิต

– Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)

– คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?

 

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ EQ กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ EQ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ
  3. ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสมโดยใช้ EQ
  4. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วย EQ
  5. ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา EQ ของตนเอง
  6. ผู้เข้าอบรมได้ ฝึกปฏิบัติ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ ด้านการสื่อสารที่สามารถลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล

 

ใครควรเข้าร่วม?

  • บุคคลทั่วไปที่ต้องการเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และผู้อื่น
  • บุคคลทั่วไปที่ต้องการเตรียมพร้อมสู่การเป็นหัวหน้างาน
  • ผู้บริหาร หัวหน้างาน ระดับปฏิบัติงาน ที่ต้องการพัฒนาตนเอง

 

รูปแบบหลักสูตร

การบรรยาย                                                     30 %

เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop   70%

 

ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้ (Outcomes)

         บุคคล :

  • เรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเอง และผู้อื่นด้วย EQ
  • เข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยแบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและ EQ
  • สามารถใช้ 5Q เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
  • เข้าใจวิธีลดความตึงเครียดในการทำงานร่วมกันด้วย EQ
  • สามารถนำความรู้เรื่อง EQ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

 

ครอบครัว :

  • ได้ผู้นำครอบครัวและสมาชิกของครอบครัวที่เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเองและคนในครอบครัวด้วย EQ
  • จุดประกายความเข้าใจภายในครอบครัว เปิดใจ เอื้ออาทร ห่วงใยดูแลและรับฟังกันมากขึ้นเพราะมี EQ
  • สมาชิกในครอบครัวรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างเอื้ออาทรกันและกัน
  • สมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจ
  • ประชาธิปไตยและเสรีภาพบนความรับผิดชอบร่วมกันเริ่มต้นที่ในบ้าน

 

องค์กร :

  • ได้พนักงานที่มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงานด้วย EQ
  • พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  • นโยบายขององค์กรถูกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติได้เร็วขึ้น
  • ได้รับการยอมรับในเรื่ององค์กรยุคใหม่ใส่ใจในทุกๆ ด้านของผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด (ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย)
  • ผลกำไรที่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย อยู่กันอย่างเกื้อกูล
  • เป็นองค์กรที่มีความสำเร็จและความสุข
images (1)

จริยธรรมสำหรับผู้นำ (Ethical for Leadership)

 

หลักสูตร จริยธรรมสำหรับผู้นำ (Ethical for Leadership)
ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรง ทุกองค์กรธุรกิจต่างมุ่งสร้าง ผลประกอบการให้ได้มากที่สุด เพื่อการเติบโตหรือความอยู่รอด หลายครั้งที่ผู้นำองค์กร ต้องเผชิญ คือ ความกดดันซึ่งเป็นความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ของตนหรือของบริษัทที่ต้องการกับ ความถูกต้องที่ควรเป็นซึ่งถือเป็นสิ่งที่สังคมรับรู้ และต้องการ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “Ethical dilemma” ซึ่งเป็นภาวะกดดันที่ผู้นำต้องตัดสินใจเลือก เอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผลประโยชน์หรือคุณธรรมซึ่งไม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน สำหรับผู้นำที่ไม่มีคุณธรรมย่อมเลือกผลประโยชน์ที่ตนพึงได้ก่อนแน่นอนแล้ว กลบเกลื่อนพรางตาสังคมในเรื่องความ ไม่ถูกต้องให้ผ่านพ้นไปอย่างแนบเนียนหรือบางครั้งก็น้ำขุ่นๆ ดังจะเห็นได้บ่อยครั้งในสังคมที่ผู้บริโภค ถูกเอาเปรียบโดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง

เนื่องจากเรื่องของจริยธรรมเป็นความสมัครใจและเป็นคุณธรรมชั้นสูงของคนที่จะเลือกปฏิบัติ กฎหมายไม่ได้มีส่วนบังคับจริงจัง ยกเว้นสังคมจะช่วยกันสอดส่องดูแลและบอยคอด จึงพบว่าหลายธุรกิจ ก่อเกิดมาโดยฉวยเอาความเดือดร้อนของผู้คน องค์กรที่ขาดจริยธรรมก็เกิดจากคนที่ไม่มีจริยธรรม

จะเห็นว่าผู้นำองค์กรก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน ย่อมมีคุณลักษณะประจำตัว(Attribute) ที่แตกต่างกันแล้วแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมาเป็นผู้นำและบริหารองค์กรแล้ว มักมีความต้องการ ที่เหมือนกันคือ ผลประโยชน์สูงสุด หากแต่คุณลักษณะที่ต่างกันซึ่งขึ้นกับสำนึกความรับผิดชอบแยกแยะ ชั่วดีไม่เท่ากันทำให้ระดับของจริยธรรมต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างกัน

เพราะฉะนั้นการเป็นผู้นำที่ดีและมีจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้นำจะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะ ใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง จึงต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการมีจริยธรรมด้วย

การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเรื่องของจริยธรรมของผู้นำนั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตและส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่มีจริยธรรมอันดีงาม

การพัฒนาผู้นำ ให้มีภาวะผู้นำนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ ทั้ง 5 ด้าน  อันได้แก่

1.ความรู้ความสามารถในงาน
2.การคิดเชิงกลยุทธ์
3.การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้ผู้นำและนักบริหารมืออาชีพพัฒนาตัวเอง เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

4.มีภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

5.มีจริยธรรมอันดีงามและรับผิดชอบต่อสังคม

 

ผู้นำและผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีในเรื่องของจริยธรรมนั้น จะทำให้รู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย และเมื่อพัฒนาทีมงานโดยจัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่ทรงคุณค่าพร้อมทั้งมีจริยธรรมอันดีงามควบคู่ไปด้วย

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญและจริยธรรมของผู้นำนั้น จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้นำในองค์กรของตัวเองโดยการทำให้ผู้นำมี 5Q ที่สูงขึ้น

 

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

 

การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ผู้นำสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง  รวมถึงการเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมที่ดีขององค์กรและเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้ผู้นำได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลังด้วยจริยธรรมอันดีงาม นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้นที่ประกอบไปด้วยศีลธรรมและจริยธรรม จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นและมีคุณค่าต่อสังคม

โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้ประกอบกับการเพิ่มในส่วนของจริยธรรมอันดีงาม จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดโดยใช้หลักของจริยธรรมอันดีงาม เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผลและทรงคุณค่าด้วยจริยธรรมอันดีงาม มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเรื่องจริยธรรมอันดีงาม
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเองซึ่งต้องมีจริยธรรมควบคู่ไปด้วย จึงจะสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนาจริยธรรมและ 5Q ของตนเอง

 

 

ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกันพร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องจริยธรรมไปตลอดทุกช่วงของการบรรยาย เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 5Q
  • Clip VDO และอื่นๆ

 หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยจริยธรรมและ 5Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานที่มีจริยธรรมอันดีงาม
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของคน

  1. ปัจจัยภายใน(Intrinsic factor) ได้แก่ อารมณ์ แรงปารถนาและความต้องการ(Need) และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี(Moral)
  2. ปัจจัยภายนอก(Extrinsic factor) ได้แก่ โอกาส (Oportunity) และระบบการควบคุมของสังคม (Law)สำนึกของความดีและอิทธิพลของสังคม มีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ก่อให้เกิดการกระทำที่ดี และรับผิดชอบต่อผู้อื่น (Ethical behavior) หากแต่ผู้ที่มีคุณธรรมนำการกระทำจะทำให้เกิดจริยปฏิบัติ แบบยั่งยืน ส่วนผู้ที่อิงบทลงโทษของสังคมก็สามารถเกิดจริยธรรมปฏิบัติได้แต่มักจะไม่ยั่งยืน เมื่อมีโอกาส ก็จะกลับไปทำ ผิดอีก

 

4 มุมมองของของจริยปฏิบัติ (Ethical behavior)

  1. ในมุมมองที่ถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ จริยปฏิบัติส่งผลที่ดีมากต่อผู้คนจำนวนมาก
  2. ในมุมมองจองปัจเจกบุคคล จริยปฏิบัติจะให้ผลประโยชน์ระยะยาวแก่ผู้ปฏิบัติ
  3. ในมุมมองด้านคุณธรรม จริยปฏิบัติเป็นการเคารพสิทธิพื้นฐานของมนุษย์
  4. ในมุมมองของความยุติธรรม จริยปฏิบัติจะเป็นกลาง ชอบธรรม เสมอภาคต่อผู้คน

 

  • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ

 

  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

กรอบการฝึกอบรม : รู้คน รู้งาน รู้ความต้องการขององค์กร

 

ความหลากหลายของกิจกรรม

 

  • รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q และเข้าใจเรื่องของจริยธรรม
  • ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)
  • เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด
  • Work Shop 5Q ฝึกเล่าเรื่องตามคำสั่งและการแก้ปัญหา
  • การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วยจริยธรรมและ 5Q
  • Work Shop เดาใจเพื่อนด้วยตัวเลข (สงครามตัวเลข)
  • Clip VDO การเข้าใจตนเอง
  • เรียนรู้การทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเข้าใจเรื่องจริยธรรม
  • “คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจที่มีจริยธรรมอันดีงาม”
  • การสื่อสารแบบปากต่อปาก (Work Shop ใบ้คำ)
  • ความหมายที่แท้จริงของชีวิตและจริยธรรมอันดีงาม
  • คำพังเพยไทย (Work Shop สนุกคลายเครียด)
  • WHO ARE YOU (Work Shop)
  • แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ 5Q
  • Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)
  • คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?
  • เกมนวัตกรรม ฟันเฟืองแห่งองค์กร เพื่อนำไปประยุกต์ให้ผู้เข้าอบรม สามารถมีจิตสำนึกในเรื่องของจริยธรรมอันดีงามได้ด้วยตัวเอง
  • ต้นไม้แห่งองค์กร ต้นไม้จริยธรรมอันดีงาม

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

1.ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดโดยใช้หลักของจริยธรรมอันดีงาม เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

2.ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผลและทรงคุณค่าด้วยจริยธรรมอันดีงาม มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

3.ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

4.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเรื่องจริยธรรมอันดีงาม

5.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก

6.ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเองซึ่งต้องมีจริยธรรมควบคู่ไปด้วย จึงจะสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

8.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนาจริยธรรมและ 5Q ของตนเอง