
หลักสูตร การป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)
หลักสูตร การป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)
หลักการและเหตุผล:
เมื่อเกิดความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจระหว่างการทำงาน ก็จะนำไปสู่ปัญหาต่างๆได้อีกมากมาย แต่อย่างไรก็ตามความผิดพลาดดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นหากต้องการแก้ปัญหาให้เหลือศูนย์ (Zero Defect) หนทางเดียวที่จะทำได้ก็คือจะต้องป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดแบบมิได้ตั้งใจมาสร้างปัญหาให้กับเรา เทคนิคนี้เรียกว่า Poka Yoke ถือเป็นระบบการป้องกันความผิดพลาดจากการพลั้งเผลอ หรือที่มักเคยได้ยินว่า Foolproof หรือ Mistake Proof ซึ่งระบบ Poka Yoke นี้ จะช่วยควบคุมให้เกิดผลงานในกระบวนการที่มีความถูกต้องเท่านั้นที่จะสามารถผ่านเข้าไปสู่กระบวนการถัดไปได้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ Poka Yoke
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง POKA YOKE มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง
5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดหลักสูตร
1.ปัญหาด้านคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตคืออะไร?
- อะไรคือ ของเสีย (Defect) Vs. ความผิดพลาด (Mistake-Error) และมีปัจจัยเกิดขึ้นได้อย่างไร?
- แนวคิดการควบคุมคุณภาพแบบความผิดพลาดเป็นศูนย์ (ZQC) คืออะไร?
- แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงงาน (Improvement) และการควบคุมสภาวะต่างๆ ในงานผลิต
- การวางแผนปรับปรุงงานด้วย PDCA และหลักการปรับปรุงงานเบื้องต้นด้วย ECRS
- ระบบการมองเห็น (Visual System)
- หลัก 8 ประการเบื้องต้น (8D) สู่การป้องกันความผิดพลาดเป็นศูนย์เพื่อให้ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)
- กระบวนการตรวจสอบและดักจับความผิดพลาดที่ต้นเหตุ (Source inspection) ก่อนเกิดของเสีย
- หลักการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดพลาดและป้องกันความผิดพลาดจากการทำงาน (Mistake-Proofing)
- แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับระบบการดักจับความผิดพลาด (Poka-Yoke)
- ระบบ Poka-Yoke ช่วยควบคุมกระบวนการได้อย่างไร ?
- หลักการและวิธีการออกแบบ Poka-Yoke
- ชนิดและประเภทของ Poka-Yoke
- เทคนิคการเลือกใช้งาน อุปกรณ์แบบต่างๆ ที่นำมาใช้ทำ Poka-Yoke
- กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice)
- สรุปการเรียนรู้และถามตอบ
ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)
2.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ Poka Yoke
3.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง POKA YOKE มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง
5.ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธี และทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
รูปแบบหลักสูตร
- การบรรยาย 40 %
- เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 60%
แนวทางการการอบรม
- การอบรมมีทั้งการบรรยาย และทดลองปฏิบัติกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นจริงในการทำ Coaching ทำให้การอบรม เป็นไปอย่างสนุกสนาน
- การฝึกอบรมเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่(Adult Learning) ซึ่งเน้นให้เกิดความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเล็งเห็นประโยชน์ของเนื้อหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
- หัวหน้างาน
- พนักงานทุกระดับ