success-2697951__340

หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงาน ( Job Method )

หลักสูตร เทคนิคการปรับปรุงวิธีการทำงาน ( Job Method)

 

หลักการและเหตุผล :

         ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอย และการแข่งขันทางธุรกิจอุตสาหกรรมทวีความรุนแรงขึ้น องค์การที่จะสามารถอยู่รอดได้นั้น จะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การดำเนินการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยให้องค์การยืนหยัดดำเนินกิจการต่อไปได้อย่างมั่นคง ภาระหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้ที่เป็นหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชาทุกคนต้องเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตก็ คือ การปรับปรุงวิธีการทำงานเพื่อให้องค์การลดความสูญเสียในทุกรูปแบบในกระบวนการทำงาน ความพยายามในการปรับปรุงแก้ไขวิธีการทำงานให้ดีขึ้นจะทำให้การทำงานมีคุณภาพมากขึ้น ต้นทุนต่าง ๆ จะลดลงและจะนำมาซึ่งกำไรที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหัวหน้าทุกคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการปรับปรุงอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะเป็นหนทางที่ใช้ในการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตเพื่อความอยู่รอดขององค์การสืบไป

วัตถุประสงค์

  1. เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการปรับปรุงวิธีการทำงาน
  2. เพื่อให้เข้าใจและมีทักษะในการปรับปรุงวิธีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ และปรับปรุงวิธีการทำงานในหน่วยงานได้

 

ลักษณะของการอบรม

            เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือทาง OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการอบรม

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 30 : Work Shop กิจกรรม 70
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • แบบทดสอบผู้นำสี่ทิศ
  • Work Shop : ฟันเฟืองแห่งองค์กร
  • การระดมความคิด
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

ช่วงเช้าเวลา  09.00-12.00 น.

  • คุณสมบัติและความรับผิดชอบของหัวหน้างาน
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ

 

  • ประเภทของหัวหน้างาน
  • ประเภทของหัวหน้างานจากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • ทักษะที่สำคัญของหัวหน้างานประเภทต่างๆ

 

  • หลักการปรับปรุงวิธีการทำงาน (Continuous Quality Improvement (CQI))
  • กระบวนการเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร และการพัฒนาคุณภาพของงานอย่างต่อเนื่อง
    • องค์ประกอบที่สำคัญของ CQI
    • แนวคิดการทำ CQI (Continuous Quality Improvement)

 

ช่วงบ่ายเวลา  13.00-16.00 น.

 

  • การพิจารณาเลือกงานเพื่อการปรับปรุง
  • หลักในการเลือกและพิจารณางานเพื่อทำการปรับปรุง
  • งานประเภทไหนบ้างที่ควรปรับปรุงแบบเร่งด่วน
    • PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (อังกฤษ: Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ
    • การทำงานแบบ โฮ (HO) เรน (REN) โซ (SOU)การรายงาน-การติดต่อ-การปรึกษา

 

  • การใช้คำถามเพื่อการปรับปรุงวิธีการทำงาน
  • หลักการตั้งคำถามเพื่อให้ลูกน้องมีวิธีการปรับปรุงวิธีการทำงานอย่างสร้างสรรค์
  • หลักและวิธีคิดของคำพูดที่ว่า “ดีที่สุดไม่มีที่สิ้นสุด”
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
    • Work Shop ผ่านกิจกรรมกลุ่ม
    • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

 

  • หลักเกณฑ์ที่ช่วยให้การปรับปรุงงานเกิดผลสำเร็จ
  • หลักการวางแผนการดำเนินงานที่จะทำให้เป้าหมายที่ต้องการบรรลุผลสำเร็จ
  • ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้ คือ หลักการที่ใช้ได้เสมอ
  • เน้นความเรียบง่ายทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในหน่วยงาน
  • หัวใจสำคัญของการปรับปรุงคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่เลือกใช้เท่านั้นแต่ขึ้นอยู่กับคนที่มีคุณภาพ และเข้าใจคุณภาพที่แท้จริง

 

  • ฝึกปฏิบัติตามหลักแนวคิดการปรับปรุงวิธีการงาน
  • สรุปและถาม ตอบ