การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

 

หลักการและเหตุผล :

องค์กรต่างๆ หรือ องค์กรชั้นนำของโลกมากมายทั้งที่มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก อาทิเช่น Google, Apple, Phillips, P&G และ Airbnb เป็นต้น ได้นำแนวคิดนี้ไปใช้และทำให้บริษัทเติบโตและมีผลกำไรที่ดีอย่างมากมาย ผมกำลังพูดถึงหัวข้อแนวคิดวันนี้ครับ ซึ่งก็คือ  การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ตามชื่อเรื่องในวันนี้เลยครับ และก่อนที่เราจะไปเรียนรู้แนวความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เรามาดูที่มาและที่ไปของความคิดนี้ก่อนนะครับ

ก่อนที่เราจะเข้าถึงเรื่อง Design Thinking เราต้องมาทำความเข้าใจคำว่า Design หรือการออกแบบ กันใหม่ก่อน หลายคนมักมองว่า การออกแบบ คือ การสร้างสิ่งของใหม่ๆ เช่น การสร้างของใช้ การสร้างเฟอร์นิเจอร์ การสร้างบ้าน และการวาดรูป เป็นต้น ใช่ครับนั่นเป็นความเข้าใจที่ถูก แต่เป็นความเข้าใจที่ถูกเพียงส่วนเดียว Simon (1968) ได้กล่าวไว้ว่า การออกแบบ ไม่ได้เป็นแค่การสร้างสิ่งของหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เท่านั้น แต่คือความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ให้เป็นไปตามที่เราคาดหวังไว้ในอนาคต ยกตัวอย่างง่ายๆ นะครับ ในสมัยก่อนที่เรายังไม่มีเครื่องบิน เราใช้เรือหรือรถเป็นพาหนะหลักในการเดินทางไกลๆ การสร้างเครื่องบินนี่ไม่ใช่แค่การทำให้การเดินทางเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการออกแบบประสบการณ์การเดินทางแบบใหม่ แก้ปัญหาการขนส่ง และเพิ่มโอกาสต่างๆ อีกมากมายให้กับโลกใบนี้ นี่แหละครับ การออกแบบที่แท้จริงคือ การพัฒนาบางอย่างและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น

การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) คือ การคิดแก้ปัญหาที่สามารถนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ การคิดเชิงออกแบบนั้นต่างจาก “ความคิดสร้างสรรค์”(creativity) คือ Design Thinking จะคำนึงถึงองค์ประกอบ 3 อย่างประกอบกัน คือ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และ “คน” การคิดเชิงออกแบบจึงมีอีกชื่อคือ Human centered design ที่คนเป็นศูนย์กลางการแก้ปัญหา โดยเน้นทำความเข้าใจว่าคนต้องการอะไร แทนที่วิธีการแบบเดิมที่มักเริ่มต้นจาก “ปัญหา”

หรืออีกนัยยะหนึ่ง Design Thinking คือ “ กระบวนการคิดที่ใช้การทำความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง โดยเอาผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง และนำเอาความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากคนหลายๆ สายมาสร้างไอเดีย แนวทางการแก้ไข และนำเอาแนวทางต่างๆ นั่นมาทดสอบและพัฒนา เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับผู้ใช้และสถานการณ์นั้นๆ ”

Design Thinking มีหลายโมเดลด้วยกัน เพราะในแต่ละ School ก็จะมีตัว Framework ของ Design Thinking ที่ไม่เหมือนกัน อย่างที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ คือ Design Thinking Process ของ Stanford d.school และ The Double Diamond Design Process ของ UK Design Council  ซึ่งในฉบับนี้เราจะใช้หลักการ Stanford d.school ในการเรียนรู้กันครับ

Design thinking ของ Stanford d.school ได้แบ่งขั้นตอนกระบวนการคิดออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ Empathize, Define, Ideate, Prototype, และ Test จากทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ จะเห็นได้ว่า ขั้นตอนที่หนึ่งและสอง (Empathize และ Define) เป็นขั้นตอนทำความเข้าใจและตีความปัญหาอย่างลึกซึ้ง ขั้นตอนที่สาม (Ideate) คือขั้นตอนในการใช้ความคิดสร้างสรรค์และมุมมองจากหลายๆ ด้านมาสร้างไอเดีย และขั้นตอนที่สี่และห้า (Prototype และ Test) คือ ขั้นตอนในการทดสอบแนวคิดและพัฒนาต้นแบบที่เป็นตัวอย่างแนวคิด เพื่อให้ได้แนวทางหรือนวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับสถานการณ์/ปัญหาที่เกิดขึ้น

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำไปใช้งานได้

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

  

หัวข้อการอบรม

Module 1: ความหมายของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

  • การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) จะเกิดขึ้นเมื่อใด
  • เพราะอะไรเราจึงต้องใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • ความหมายของคำว่าการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • องค์ประกอบของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงาน
  • ความสำคัญของ การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการพัฒนาตนเอง
  • องค์ประกอบของความคิด ที่มาของความคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • กระบวนการของความคิด ให้ได้มาซึ่งการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

Module 2: ปัญหาและการวิเคราะห์ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน
  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้
  • เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และแนวคิดใหม่กับแนวคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
  • วิเคราะห์กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อนำไปใช้

 

Module 3: ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

  1. Empathize คือ การทำความเข้าใจจริงๆ กับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการฟังจากคนที่มีปัญหา
  2. Define คือ การนำปัญหาที่เจอแล้วดูว่ามันเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด นำมาเข้าสู่กระบวนการที่จะแก้ปัญหาก่อน
  3. Ideate (Idea + create) หรือ การ brainstorming เป็นการระดมสมอง ระดมความคิด แนวทางในการแก้ปัญหา
  4. Prototype ต้นแบบหรือเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา
  5. Test คือ ขั้นตอนใช้จริงๆ เพื่อทดสอบการใช้งานของสินค้าโดย ผู้บริโภคได้ใช้กันจริงๆ

 

Module 4: การประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงาน

  • การมององค์รวม ( Holistic view )
  • คิดอย่าง “เข้าใจ” ปัญหาอย่างแท้จริง
  • คิดแบบ “ไม่มีกรอบ” ในวิธีของ Ideate (Idea + create) หรือการ brainstorming โดยมีหลักการในการระดมสมองที่ดี คือ
  • ต้องพูดทีละคน
  • เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ
  • ออกไอเดียให้กระชับ
  • ต่อยอดไอเดียกัน
  • ส่งเสริมไอเดียบ้าๆ
  • วาดรูปก็ได้
  • อย่าออกนอกเรื่อง
  • อย่าวิจารณ์ไอเดียคนอื่น
  • คิดเร็ว ทำเร็ว นำไอเดียไปแปลงให้เป็น “ผลงาน” โดยคำนึงถึง “เวลา” และ“ ค่าใช้จ่าย ” ที่จำกัด
  • ทดลองสร้างต้นแบบ (Prototype) และยึดหลักทดลองหลายๆ ครั้ง ล้มเหลวบ่อยๆ ล้มเหลวให้เร็ว เพื่อจะได้รีบเรียนรู้ความผิดพลาด
  • Fail Cheap เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นมีราคาถูก
  • Fail Fast เพื่อให้ความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นเร็วแต่เนิ่นๆ
  • Fail forward เพื่อให้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนในการก้าวต่อไป

 

 ภาพรวมของการคิดที่ใช้ร่วมกับการคิดเชิงระบบ

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “Mind Map”

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และสามารถนำไปใช้งานได้

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                             30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop       70%