Presentation1

หลักสูตร การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีความสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลายด้านๆ  ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

ยิ่งในยุคปัจจุบันการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาได้นั้นล้วนแล้วเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือจะให้เรียกอีกอย่างว่า ความคิดเชิงนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะเกี่ยวข้องและใช้หลักการคิดในบริบทเดียวกัน

และการที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นั้นนอกจากความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งความคิดที่ต้องใช้ควบคู่ไปด้วย นั่นก็คือ ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

การเป็นคนคิดบวก (Positive Thinking) ทำให้สุขภาพจิตของเราดี มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้งสามแนวคิดนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่พัฒนาบุคลากรขององค์กรให้ทำงานอย่างประสิทธิภาพด้วยหัวใจเบิกบานยินดี

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

หัวข้อการอบรม

  ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                           30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

Did you enjoy this article?