เรื่องราวดีๆ น่าอ่าน

       หนึ่งชีวิตเกิดมา แท้จริงแล้วเราต้องการอะไร เราเข้าใจ ความสุข ความทุกข์ กันอย่างไร อะไรที่ทำให้เรายังคงค้นหาคำตอบ ให้กับชีวิตไม่ได้ซะที เครื่องมือสร้างสุขให้กับชีวิตมากมาย แต่ทำไมเราถึงไม่สุขจริงๆ ทั้งๆ ที่คนทั่วๆ ไปเขาก็ทำกัน

     ความรู้มากมายจากการใช้ชีวิตมา หนังสือที่อ่านมากมายก่ายกอง สำนักธรรมที่ปฏิบัติไปอยู่ไม่ขาด บุญที่ทำ ตักบาตร อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วทำไมจิตยังเศร้าหมอง ยังคงโมโห โกรธ หงุดหงิด อิจฉาริษยา หลอกลวง สารพัดสิ่งที่ทำให้เราต้องจมอยู่กับมัน

     สุดท้ายเราก็เป็นผู้พ่ายแพ้ต่อสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง ไม่ว่าคุณจะเรียกมันว่า อะไร วิบากกรรมหรือผลแห่งการกระทำที่เราได้ทำไป ไม่มีใครรู้ได้นอกเสียจากท่านได้ลงมือปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง และต้องเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ตรงกับจริตท่านเป็นที่สุด ถึงจะพอเข้าใจได้บ้าง

     การใช้ชีวิตในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากมาย ทั้งทางด้านครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ ล้วนแล้วแต่ยิงทวีการเห็นแก่ตัว แก่งแย่งชิงดี ขัดแย้ง ข่าวทางด้านลบต่างๆ ได้ถูกยัดเหยียด ผ่านสื่อต่างๆ มากมาย จนผู้บริโภคซึมซับพฤติกรรมต่างๆ ที่ได้เห็น ไปโดยไม่รู้ตัว

        เกิดความไม่ไว้ใจในสังคม มีการแบ่งแยกทางความคิดอย่างชัดเจน เพราะต่างคนก็ต่างยึดมั่นในความคิด วิถีชีวิตตนว่าถูกกว่าอีกฝ่ายอย่างสุดโต่ง       หลายคนเลยเลือกเข้าสู่เส้นทางในการปฏิบัติธรรม ในรูปแบบที่ตัวเองพอใจและสุขใจแล้วก็เกิดสังคมใหม่ที่ไปรวมตัวกันของคนเบื่อสังคม ที่ไม่อยากอยู่กับคนการเห็นแก่ตัว  แก่งแย่งชิงดี เพราะทำให้ทุกข์ใจ จึงต้องถอยออกมาจากสังคมเหล่านั้น     

        จะเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อตนเองและคนอื่น ถ้าการปฏิบัติธรรมของคนเหล่านั้นได้ถูกนำมาพัฒนาจิตใจตนและสังคมให้น่าอยู่ โดยไม่แบ่งแยกสังคมคนปฏิบัติธรรมออกจากสังคมปกติ แล้วใช้ชีวิตกันไปตามความเข้าใจไปเองว่าสังคมตนย่อมดีกว่า เกิดค่านิยมว่า “ติดดี”

        เหตุผลของผู้เขียนที่ได้เขียนหนังสือเรื่องราวต่างๆ ของตัวเอง ขึ้นมานั้นก็เพื่อที่จะสะท้อนมุมมองอีกหนึ่งความคิดที่มีโอกาสได้ปฏิบัติธรรมแล้วมองเห็นช่องว่างระหว่างกลุ่มคนสองแนวทางนี้และผลการปฏิบัติธรรมครั้งนี้ ได้เปลี่ยนแปลงตัวผู้เขียนอย่างชนิดที่เรียกว่า พลิกฟ้าพลิกแผ่นดินเลย เพราะจากวิศวกรขี้เหล้าเมายา มาเข้าสู่ทางธรรม จนถึงขั้นเป็นอาจารย์สอนสมาธิได้นั้น เส้นทางช่างลำบากยากเย็นเข็ญใจ ซึ่งระดับเหตุผลไม่มีทางอธิบายปรากฏการณ์พิเศษเหล่านี้ได้

        ความสุขของคนเราไม่ได้หมายถึงต้องมากมายใน เรื่องของ เงิน หน้าที่การงาน ความดี ความรัก การแข่งขัน และอื่นๆ อีกร้อยแปดพันเก้า แต่มันหมายถึง ท่าน “ พอดี” แล้วหรือยัง กับสิ่งที่ท่านเป็นอยู่ พอจากหัวใจ พอจากความเข้าใจชีวิต ไม่ใช่หยุดหนีจากความยากลำบากแล้วไม่สู้ แล้วเรียกมันว่าความ “พอดี”

 

 

 

 

ความเพียรของแม่

     เริ่มต้นชีวิตของเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ที่เกิดมาในครอบครับที่ดูแล้วช่วงแรกๆ น่าจะสบายถ้า ไม่ได้เสียพ่อไปซะก่อน แต่ชีวิตมันไม่มีอะไรเป็นที่แน่นอน มีแต่ความไม่แน่นอนเท่านั้นที่แน่นอนเป็นที่สุด

     ผมเกิดมาในครอบครัวที่ใหญ่มีพี่ป้าน้าอา อาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก มีพี่น้อง 3 คน ผมเป็นคนโต มีน้องสาวหนึ่งคนและน้องชายอีกหนึ่งคน ซึ่งอายุห่างไม่มากซักเท่าไหร่ และสามคนพี่น้องก็เจอเรื่องราวต่างๆ มากมายขณะที่พ่อจากไป

     ครอบครัวใหญ่ที่อยู่รวมกันด้วยจำนวนมากมายขนาดขั้น แน่นอนย่อมเกิดปัญหาต่างๆ ที่ทุกๆ ครอบครัวก็ต้องเจอ คือ ความทะเลาะเบาะแว้งกัน และแข่งขันกันระหว่าง ลูกๆ ของพี่ป้าน้าอา ว่าใครจะดีกว่ากัน ช่วงที่พ่อยังมีชีวิตอยู่จำได้ว่า มีแต่คนเอาใจอยู่พอสมควรและดูเหมือนได้รับการใส่ใจจากญาติๆ พอสมควร แต่พอการจากไปของพ่อ ทุกอย่างเปลี่ยนไปเป็นอย่างมาก

     แม่ต้องทำงานคนเดียวลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด จากผู้หญิงที่ต้องเป็นแม่บ้านอยู่บ้านทำอาหารให้ครอบครัว แต่ต้องเสียหัวหน้าครอบครัวไปทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด จากที่เคยอยู่บ้านเฉยๆ ต้องออกไปทำงานเพื่อหาเงินมาเลี้ยงลูกๆ ทั้งสาม อย่างหนักหนาสาหัส เรียกได้ว่าเลือดตาแทบกระเด็นสำหรับผู้หญิงแกร่งคนนี้

     แม่ได้ทำงานหนักมากๆ เพื่อให้ลูกไม่น้อยหน้าใคร ในการที่จะส่งลูกๆ เรียนให้สูงที่สุดเท่าที่ผู้หญิงคนนี้มีกำลัง และแม่ก็ทำได้สำเร็จ ทุกๆ คนได้จบปริญญาตรีกันทั้งหมด ซึ่งถ้ามองย้อนกลับไป ดูยังไงก็ไม่มีทางจะมาถึงจุดนี้ได้เพราะมันดูหนทางมืดมนไปหมด

     ไม่ว่าอะไรก็สุดแล้วแต่ที่ทำให้ครอบครัวของเราได้เป็นเช่นนี้ เราผ่านมันมาได้ต้องเรียกว่าเป็นบททดสอบบทแรกของชีวิต ที่ทำให้ผมได้เรียนรู้ความไม่นอน ความลำบาก ความสูญเสีย ความรักที่ยิ่งใหญ่ของแม่ที่มีต่อลูก และอีกมากมายปัญหาที่ทำให้มีจิตใจที่เข็มแข็ง โดยที่เราต่อสู้กับมันอย่างเลือกไม่ได้ ที่เลือกได้คือ จะสู้กับมันอย่างไร ด้วยอะไร แล้ววิธีใด ด้วยวัยที่เป็นเด็กขนาดนั้นไม่สามารถที่จะมีความคิดที่มากมาย เพื่อจะเป็นเครื่องมือในการต่อสู้ต่อสิ่งเหล่านั้นได้

แต่มี หัวใจ ที่แข็งแกร่งและเข้มแข็งเลือดนักสู้ หัวใจที่มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่อสิ่งที่จะมาทำให้เราต้องยอมจำนนต่อฟ้าดิน โดยมี แม่ ผู้ซึ่งเป็นทุกอย่างในชีวิตเป็นแบบอย่าง ของนักสู้ชีวิตอย่างไม่หวั่นเกรงความลำบากใดๆเลย สุดท้ายก็ผ่านมันมาได้อย่างงดงามและสุขใจทุกครั้งที่ได้คิดถึงมัน เวลาแห่งความโหดร้ายที่ ณ ตอนนั้นเราเกลียดมันมาก นึกถึงทีรัย ขนลุกไปทั้งร่างกาย ภาพแห่งความทุกข์มาเหมือนตามมาหรอกหลอน ที่สุดแล้วเราก็ผ่านมันมาได้อย่างภาคภูมิใจเป็นอย่างมากo

     ไม่ว่าชีวิตมันจะตกทุกข์ได้ยากอย่างไร สิ่งหนึ่งที่อยากให้พึงระลึกไว้เสมอคือ แม่จะไม่ยอมแพ้จนกว่าลูกจะชนะ แม่อาจจะไม่เข้าใจตามเหตุผลหรอกว่าทำไมต้องชนะ แต่หัวใจแห่งนักสู้ของแม่ บอกแม่ว่าต้องสู้แล้วต้องชนะเท่านั้นเพื่อให้หลุดพ้นสภาพเช่นนี้

     แม่ได้ปฏิบัติธรรม อย่างที่ไม่ต้องเข้าใจข้อธรรมใดๆ เลย คือ วิริยะ ความเพียรต่อสิ่งกุศลใดๆ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จ (อิทธิบาท 4 คือ ธรรมเป็นเครื่องมือให้ประสบความสำเร็จต่อการงานใดๆ มี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และนักปฏิบัติ สมาธิ หรือคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทางโลกรู้ข้อนี้ดี และมี วิริยะ ความเพียรนี้เป็นคุณสมบัติของนักต่อสู้ชีวิตและผู้ที่ค้นหาคำตอบของชีวิตจริงๆ ทั้งทางโลกทางธรรม เพราะคนเหล่านี้รู้ดีว่า “ การปลูกต้นไม้และรดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน เป็นหน้าที่ของเขา ส่วนผลจะออกไม่ออกเป็นหน้าที่ของต้นไม้ “

 

 

 

ลูกไม้( ทำอย่างไรจะ) หล่นไม่ไกลต้น

     ความเพียร ความดี สิ่งดีๆ ต่างๆ รวมทั้งสิ่งไม่ดี เหล่านี้ ที่พ่อและแม่ จะส่งต่อไปให้ลูกอย่างที่ลูกไม่ต้องเรียนรู้อะไรมากเลย แค่เพียงซึมซับเรื่อยๆ ไปทุกวัน ก็เป็นพฤติกรรม และนิสัยของเด็กโดยธรรมชาติ ซึ่ง คนที่จะประสบความสำเร็จชีวิตใดๆ ก็ตาม ใส่ใจตรงจุดนี้มาก และรู้ว่าการได้อยู่ใกล้คนประเภทไหนมากๆ โอกาสจะมีวิถีชีวิต ความคิด พฤติกรรม เป็นไปตามนั้น

     ผมใช้คำว่า “ใส่ใจ” ไม่ใช้คำว่า “รู้” กับคนที่จะประสบความสำเร็จระดับไหน เรื่องไหน ก็สุดแล้วแต่ที่เข้าใจและพอใจของแต่ละคน เพราะคนที่ล้มเหลวในเรื่องต่างๆ ก็รู้เท่ากับคนที่ประสบความสำเร็จหมดทุกอย่าง แต่ ไม่มีความเพียร ตัวนี้ คือ “ใส่ใจ” นั่นก็หมายถึง การเอาใจใส่ในสิ่งดีๆ ที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้เราทำในด้วยความมุ่งมั่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาใดๆ ก็ตาม

    “ใจ” หรือ “จิต”  สิ่งนี้แหละครับ สำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งไม่มีใครไม่รู้ ถึงได้มีคำกล่าวที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ขึ้นมา แต่ส่วนใหญ่ขาดความ “ใส่ใจ” ในการทำเรื่องใดๆ ก็ตาม ถึงได้ไม่สัมฤทธิ์ผล หรือ ล้มเลิกในเรื่องเหล่านั้นไป

     ที่ได้กล่าวมาอย่างนั้น ก็เพียงเพื่อให้ได้เห็นว่า ปัญหาของคนเราทุกวันนี้ ไม่ใช่อยู่ที่ “ไม่รู้”

แต่อยู่ที่ “ไม่ทำ” มากกว่า เราจึงรู้ทุกอย่างแบบไม่มีประโยชน์ต่อตัวเองเลย

     ผมได้ซึมซับ ความเพียร ของแม่มาอย่างสุดหัวใจ หญิงแกร่งคนนี้ ได้ส่งผ่านความดี ความเพียร นักสู้ชีวิตและอีกมากมายมายังตัวเรา ทำให้มีเครื่องมือเหล่านี้เป็นทุนในการที่จะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องใช้มันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

    การที่ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น นั้นก็หมายถึง ลูกๆ ได้เห็นตัวอย่างของเขาก็คือ พ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ที่เขาได้สัมผัสและซึมซับพฤติกรรมต่างๆ ไป อย่างแนบเนียนและกลมกลืนโดยที่ผู้ใหญ่อย่างเราจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มันได้ส่งผ่านให้ลูกไปเรียบร้อยแล้ว

     เพราะฉะนั้นการที่ “ลูกไม้” ทำอย่างไรจะหล่นไม่ ไกลต้น นั้นไม่มีครับ อย่างไงก็ต้องหล่นบริเวณต้นไม้อยู่ดี แต่เราเลือกจะเป็น ต้นไม้ที่ ผลิตผล ที่ดีได้ เพียงแต่ ใส่ใจ สิ่งต่างๆ ที่จะส่งผ่านไปให้ลูกๆ อย่างเต็มกำลังและตระหนักถึง ผลเสียที่จะเกิดกับลูกได้นั้น เราจะไม่ต้องสนใจเลยว่า “ลูกไม้” จะหล่นไม่ไกล หรือ ไกล ต้นไม้นั้น เพราะเราได้เป็นต้นไม้แห่งความดีงามแล้ว ลูกไม้ที่หล่นมาก็ต้องเป็น “ผลผลิตที่ดีงาม” ไปด้วย อย่างไม่ต้องสงสัยเลย

     ขอบคุณแม่จังเลย ที่ส่งผ่านความดีงาม ความเพียร ความใส่ใจ และต้นแบบชีวิตนักต่อสู้มาให้ผม ทำให้ผมมีต้นทุนในการต่อสู้ชีวิต อย่างไม่เกรงกลัวต่อปัญหาชีวิตใดๆ เลย “ลูกไม้” อย่างผมหล่นไม่ไกลต้นครับ และยังคงใกล้ “ต้นไม้” แห่งความดีงามของผู้หญิงแกร่งคนนี้ ผู้หญิงที่เราเรียกเธอว่า “แม่”

 

 

 

 

 

วัคซีนชีวิต

     การได้ต้นทุนชีวิต มาดีแล้วนั้น ทำให้ผม มีเครื่องมือในการดำรงชีวิตอย่างมากมาย แม้บางครั้งจะไม่เข้าใจและอธิบายปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นได้นั้น แต่ก็ทำมันด้วยหัวใจที่เบิกบาน อย่างเป็นธรรมชาติของตัวเราที่สุด

     ในวัยเด็กผมเป็นเด็กที่ค่อนข้าง พูดเก่งมาก ชอบถาม ชอบสงสัย อยากรู้ไปเสียทุกเรื่องและเป็นเด็กที่เรียนเก่ง แต่เป็นประเภทโลกส่วนตัวสูงและมั่นใจตัวเองเป็นอย่างมาก “แข็งแกร่ง” จนเลยไปถึง “แข็งกร้าว” แต่ก็มีความมุ่งมั่นสูงมาก อยากรู้อะไร ทำอะไร ต้องไปให้สุดทางสิ่งนั้น

     ที่พูดถึง แม่ อยู่คนเดียว เพราะ พ่อ ได้เสียไปตั้งแต่ ผมเด็กมาก เลยไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับพ่อมากนักเท่าไหร่ แต่แม่ก็ได้บอกว่า เราได้พ่อมาทุกอย่างเลย ตอนเด็กๆ ผมก็งง มาก คืออะไร ? ได้พ่อมาทั้งหมดเลย แม่เล่าให้ฟังว่า พ่อเป็นคนเก่ง ขยัน รักพี่รักน้อง รักเพื่อนฝูง ทำให้พ่อมีคนรักในนิสัยที่เป็นมิตรภาพเหล่านี้ เป็นคนอัธยาศัยดี เข้ากับคนง่าย อยู่พอสมควร

     พ่อได้ทำธุรกิจและได้ไปทำงานที่ประเทศซาอุ ซึ่งต้องบอกว่าในสมัยนั้น(ช่วงปี 2525)ใครไปประเทศนี้ กลับมารวยทุกคน ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ตอนเด็กๆ  ผมได้นั่งรถเก๋งของพ่อ ซึ่งต้องบอกว่าในหมู่บ้านนั้น คนมีรถเก๋งน้อยมาก เรียกได้ว่าค่อนข้างอยู่อย่างสบายไม่ลำบากอะไรเลย ความทรงจำเกี่ยวกับพ่อคือ เป็นคนเก่ง รักครอบครัว อยากให้ลูกๆ และภรรยาได้อยู่อย่างสบายและมีความสุข พ่อจบแค่ ป.6 สามารถพูดภาษาอังกฤษได้อย่างสบาย เพราะต้องไปอยู่ประเทศซาอุ และต้องใช้ภาษาอังกฤษอยู่บ่อยๆ จึงทำให้พ่อต้องมุ่งมั่น เรียนและฟังภาษาอังกฤษอยู่ตลอดแล้วก็สามารถพูด ฟัง และอ่านได้เป็นอย่างดี

      ยังจำได้ว่าพ่อพูดภาษาอังกฤษ อัดลงในเทปคลาสเสดในสมัยนั้น แล้วมาฟัง ผมยังสนุกด้วยเลยตลอด และอยากพูดภาษาอังกฤษให้ได้อย่างพ่อจังเลย แต่ช่วงเวลานั้นมันสั้นมาก หลังจากนั้นไม่นานทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด พ่อเกิดอุบัติเหตุรถชนแล้วเสียชีวิต ทำให้ความฝัน ทุกอย่างพังทลาย แม่ต้องเลี้ยงลูก 3 คน เพียงลำพังอย่างลำบาก ซึ่งแม่ไม่เคยทำงานหนักอย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน เหนื่อยแทบขาดใจ แม่ยังสู้ไม่ถอย

     พ่อและแม่ได้ให้วัคซีนชีวิตผมมาตั้งแต่เด็กๆ พ่อได้ให้วัคซีนชีวิต ที่เรียกว่า การลงมือทำสิ่งใดก็แล้วแต่ให้ประสบความสำเร็จนั้น อย่าได้เอาเงื่อนไข ความจน จบไม่สูง อะไรต่างๆ มาฉุดรั้งความมุ่งมั่นจนทำให้เลิกล้มความตั้งใจไป เพราะสิ่งนี้จะเป็นตัวผลักดันเราให้ได้มีประสบการณ์เรียนรู้อยู่ไปเรื่อยๆ เพื่อเดินทางไปสู้เป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้

    แม่ได้ให้วัคซีน ที่เรียกว่า ความเพียร พยายาม ความแข็งแกร่ง การเป็นนักสู้ ที่จะลงมือทำอะไรแล้วท้อ เหนื่อย ไม่ไหว ให้ดูแม่ ที่เลี้ยงลูกทั้งสามมาว่า ต้องใช้ ความเพียร อดทน ยากลำบากซักเพียงไหนกว่าจะทำให้ลูกๆ ประสบความสำเร็จได้

     ผมได้ “วัคซีนชีวิต” ที่พ่อและแม่ได้ให้มาแล้ว วัคซีนที่เด็กๆ ต้องฉีดเข้าไป คือ ต้องฉีดเชื้อโรคนั้นเข้าไประดับหนึ่งเพื่อให้ร่างกายได้เรียนรู้กับโรคนั้นๆ และสร้างภูมิที่แข็งแกร่งขึ้นมาต่อสู้กับโรคเหล่านั้นถ้าได้เจอมันอีกครั้ง

     วัคซีนชีวิตก็เหมือนกัน ถ้าเราเจอเรื่องราวหนักๆ มามาก เท่ากับว่าเรามีภูมิคุ้มกันแล้วที่จะต่อสู้กับทุกสิ่งทุกอย่างที่จะเข้ามาในปัจจุบัน โรคร้ายที่น่ากลัวกว่าเชื้อโรคทั่วๆ ไป ก็คือ การไม่มีภูมิคุ้มกันความเพียร พยามยาม ต่อสู้ชีวิต เพราะฉะนั้นต้อง ฉีด “วัคซีนชีวิต” เข้าไปด่วนเลย

 

 

 

 

ธรรมะ ชนะ อธรรม ตอนไหน ?

      หลังจากที่ครอบครัวของเราได้สูญเสียพ่อไป นอกจากแม่ที่ต้องทำงานหนักแบบสุดชีวิตแล้ว ผมในฐานะพี่คนโตต้องรับบทหนักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องปรับตัวและชีวิตต้องเจอโจทย์ยากๆ อยู่แน่นอน

    ได้เจอความหนักของชีวิตอย่างที่เรียกว่า แทบเอาชีวิตไม่รอดมามากมาย การที่อยู่ครอบครัวใหญ่อยู่รวมกันนั้น ปัญหาร้อยแปดพันเก้าที่เข้ามา มันทำให้เด็กผู้ชายที่ขาดพ่อ มีแต่แม่และน้องๆ ที่ต้องดูแล ต้องใช้พลังและความอดทนในการต่อสู้ชีวิตอย่างสุดใจ

     วัคซีนชีวิต ที่ได้มาจากพ่อและแม่ ถือได้ว่าเป็นภูมิคุ้มกันได้อย่างดีเยี่ยม เราซึมซับความอดทน ความเพียร ความมุ่งมั่น ความดีงาม อีกมากมายที่รับมา มันทำให้ผมมีพลังอย่างมากมายที่จะต่อสู้กับสิ่งต่างๆ ได้ โดยที่ผมก็ไม่รู้ว่าผ่านมันมาได้อย่างไร ในเวลานั้น ซึ่งตอนเด็กก็ทำไปด้วยหัวใจที่เบิกบาน

     การที่เรามีแรงฮึด แรงเฮือกสุดท้ายของชีวิต ผมว่าคนที่ผ่านเรื่องราวร้ายๆ ลำบาก มามาก จนกว่าจะประสบความสำเร็จอะไรซักอย่าง ที่ตั้งใจหวังไว้นั้น เข้าใจมันดีว่าต้องใช้พลังกาย พลังใจมากมายแค่ไหนจึงจะผ่านมันไปได้

     การโดนดูถูก ตราหน้าว่า เอาดีไม่ได้หรอกจากญาติ บางคนที่ไม่หวังดี และคอยซ้ำเติมอยู่ตลอด ในขณะที่สูญเสียพ่อไป แรงกดดันอยู่ที่แม่ จะเลี้ยงลูกได้ดีหรือเปล่ากับสถานการณ์ ที่ต้องบอกว่ายังไงก็ไม่สามารถทำได้ แต่ท้ายที่สุดแม่ก็ทำได้ ส่วนผมก็ได้ วัคซีนชีวิต  มาตลอดจากการที่ได้สัมผัสสิ่งที่แม่ได้ทำ และซึมซับมันมาตลอด

     การถูกเปรียบเทียบของเด็ก เป็นสิ่งที่ไม่ดีอย่างมาก ที่ผู้ใหญ่ได้ยัดเหยียดให้โดยไม่รู้ตัว ความกดดันสารพัดถาถมเข้ามา มีอะไรบ้างล่ะ ที่จะทำให้เด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ไม่มีพ่อ จะมีแรงต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ มีสิ่งเดียวคือ แม่ เพราะ แม่คือ ทุกคำตอบของชีวิตผม สิ่งไม่ดีต้องแพ้พ่ายไป

     ธรรมมะ จะชนะ อธรรมตอนไหน ?  ไม่มีใครบอกเราได้ เพราะ ธรรมะ คือ ความดีงาม ที่ต้องเจือปนไปด้วย ความเพียร ความมุ่งมั่น ของแต่ละคนไม่เท่ากัน เรามีต้นทุนชีวิต ที่เรียกว่า วัคซีนชีวิต เราได้รับมาไม่เท่ากัน จึงทำให้ไม่ชนะ อธรรม ซะที แล้วเราก็พร่ำบ่นว่าเราช่างโชคร้าย ทำอะไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ ต่างๆ เหล่านี้พร้อมที่จะเป็นเหตุผล สนับสนุนความล้มเลวได้เป็นอย่างดี อย่างที่เราก็บอกตัวเองแล้วว่าทำดีที่สุด ที่เหลือเป็นโชคชะตากำหนด

          ธรรมมะ จะชนะ อธรรม ได้อย่างเดียวครับ คือ ความเพียร ที่เป็นกุศล คือ ทำสิ่งที่ดีงาม แล้วก็จะมีคำถามว่า อะไรคือสิ่งดีงาม ? จริงๆ ทุกคนรู้คำตอบอยู่แล้วว่าอะไร คือ สิ่งดีงาม จะเรียกภาษาธรรมะ ว่า ศีล ก็ได้ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เข้าใจกันใจ ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ “ไม่รู้” แต่มันอยู่ที่เรา”ไม่ทำ” ต่างหาก ถึงเวลานั้นถ้าเราลงมือทำ ธรรมะย่อมชนะอธรรม อยู่วันยังค่ำ

 

 

 

 

สภาวธรรม กับ สภาวะทำ

     ผมได้ใช้ชีวิตในวัยเด็กภายใต้ความกดดัน และแรงเสียดสีมาตลอด แต่ก็มีพี่ป้าน้าอา ที่ยังรักผมและครอบครัวคอยให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดมา ส่วนนี้ต้องถือว่าเป็นอีกหนึ่งแรงใจในการต่อสู้มากมาย แต่บางครั้งก็หลงลืมต่อสิ่งดีงามไปบ้าง ตามประสาวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น ที่ท้ายที่สุดก็ต้องกลับมาเหมือนเดิมได้เพราะ วัคซีนชีวิตที่ได้รับ มีเรื่องราวที่น่าจดจำและเปลี่ยนชีวิตผมอยู่มากมายแต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่เรียกว่า ผม เปลี่ยนเป็นคนละคนเลย สภาวธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว

     เรื่องมีอยู่ว่า ในสมัยที่ยังเรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคลพบุรีอยู่นั้น แม่ของผมยังทำงานเป็นลูกจ้างรายวันอยู่ที่โรงปูนแห่งหนึ่งอยู่ ซึ่งงานของแม่ค่อนข้างหนักมาก และ ยังมีอันตรายต่อสุขภาพสูงมาก (นึกถึงตอนนั้นทีรัย น้ำตาของผมก็จะไหลออกมาเองโดยไม่รู้ตัว) ความลำบากของแม่ในการทำงานนั้น คือ เป็นลูกจ้าง ที่ต้องกวาดเศษถ่านหินลิกไนต์ ลงจากรถบรรทุกซึ่งเทลงมาแล้วไม่หมดจะต้องมีคนเข้าไปกวาดมันลงมาให้หมด

         ลองนึกสภาพของถ่านหินลิกไนต์ดูว่ามันทั้งดำ ทั้งกลิ่นที่เหม็น รวมทั้งสารพิษต่างๆ อีกมากมายที่ต้องสูดดมเข้าไป ถึงจะมีหน้ากากตัวกรองก็เถอะ มันก็น่าจะเล็ดรอดเข้าสู่ร่างกายไปได้บ้าง

       ตอนเป็นวัยรุ่นเรียนอยู่ ไม่ค่อยได้สนใจงานที่แม่ทำซักเท่าไหร่ คิดว่าแม่หาเงินมาให้เราใช้และได้เรียนก็พอแล้ว       ซึ่งมันเป็นเรื่องที่แย่มากที่ลูกคนโต ดูแล้วไม่ได้มีความสำนึกอะไรได้เลย ยังใช้ชีวิตสนุกไปวันๆ โดยไม่ได้สนใจว่าแม่ต้องลำบากแค่ไหน

        เรียนอยู่ลพบุรี ผมอยู่หอ และจะกลับบ้านทุกเย็นวันศุกร์ เช้าวันจันทร์ก็จะกลับไปเรียน เป็นอย่างนี้ตลอด แม่ก็จะเอาเงินไว้ให้บนหน้าโต๊ะเครื่องแป้งทุกครั้งก่อนไปทำงาน และเหตุการณ์ที่ทำให้เราเปลี่ยนตัวเองและใช้เป็นแรงผลักดัน เพื่อที่จะต้องทำงานเลี้ยงแม่ไม่ให้แม่ต้องลำบากอีก ก็ได้เกิดขึ้น

        วันนั้นเป็นเช้าวันจันทร์ซึ่งเราก็ต้องกลับไปเรียนเหมือนทุกๆครั้งที่ผ่านมา แต่วันนั้นแม่ไม่ได้วางเงินไว้ที่หน้าโต๊ะเครื่องแป้ง ความรู้สึกแรกโมโหนิดๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นรัย ผมก็ขี่มอเตอร์ไซด์ เพื่อไปเอาเงินกับแม่ที่ทำงาน ซึ่งปกติผมไม่เคยไปที่ทำงานแม่เลย แต่ก็รู้ว่าทำอยู่ตรงไหนจึงไปถูก ความรู้สึกแรกที่ไปถึงและเห็นที่นั่น ไม่น่าเชื่อเลยมันจะสกปรก และเหม็นมากๆ แม่ทำงานที่นี้ได้อย่างไง

        ผมเดินเข้าไปและถามคนงานแถวนั้น ว่าแม่เล็ก อยู่หรือเปล่า เขาก็ไปตามแม่มาให้เรา น้ำตาผมแทบกลั้นไว้ไม่อยู่เมื่อเห็นแม่เดินออกมา ชุดที่แม่ใส่มันดำไปเพราะถ่านหินเต็มไปหมด ความเจ็บปวดหัวใจมันเกิดขึ้นมาทันที หน้าชา มึนหัว น้ำตาคลอเบ้า

       แม่เดินมาหาแล้วก็หยิบเงินให้เรา แต่ด้วยมือแม่เปื้อนถ่านหินอยู่ เลยทำให้เงินที่หยิบมามันก็เปื้อนไปด้วย เป็นเงินที่เราเรียกว่า” เงินสีดำ” ซึ่งมันเป็นสีดำจริงๆ  ผมไหว้แม่และก็ขับมอเตอร์ไซด์กลับบ้าน เพื่อขึ้นรถประจำทางไปเรียน

        ตลอดทาง ภาพ ที่เห็น แม่ในชุดสีดำ มันยังติดตาผมอยู่ตลอด น้ำตาไหลอยู่เป็นระยะ วันนั้นไปถึงเทคนิคลพบุรีช้าหน่อย เลยโดดเรียนครึ่งวัน พอพักเที่ยงก็ไปกินข้าวกับเพื่อนๆ ระหว่างสั่งอาหาร และควักเงินเพื่อมาจ่าย เงินที่ควักออกมามันมีสีดำของถ่านหินติดอยู่ ซึ่งเพื่อนเห็นแล้ว ร้องตะโกนว่า มรึงไปเก็บเงินมาจากถังขยะหรืองัยว่ะ ถึงได้สกปรกอย่างนี้

         แล้วทำท่ารังเกลียดเงินของผม ผมดึงคอเสื้อของเพื่อนเข้าเพื่อที่จะชกหน้ามัน แต่ก็ไม่ได้ชก และตะโกนใส่หน้ามันว่า เงินนี่มันไม่ได้เป็นเงินที่สกปรก แต่มันเป็นเงินที่สะอาดที่สุดในชีวิตกู มึงเข้าใจมั๊ย ใจกูต่างหากแมร่ง แสนจะสกปรก ที่ไม่เคยเห็นความลำบากของแม่กูเลย เพื่อน งง และตกใจมาก จึงถามเราว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับเรา ซึ่งปกติเป็นคนใจเย็นกว่านี้

      ผมได้เล่าเหตุการณ์ต่างๆ ในตอนเช้าว่าไปเจออะไรมาให้เพื่อนฟัง เพื่อนขอโทษและสัญญาว่าจะไม่พูดอย่างนั้นอีก

       เหตุการณ์นั้น มันผ่านมานานมากแล้ว หลายครั้งที่ผ่านมาผมได้นึกถึงและเสียใจตลอด ทั้งๆ ที่แม่ก็เลิกทำงานนั้นไปแล้ว จนบางครั้งถึงขั้นเกลียดตัวเอง

       แต่มาวันนี้ความรู้สึกเกลียดตัวเอง มันไม่มีอีกแล้ว ผมได้ทำงานและช่วยแม่หาเงินมาดูแลครอบครัว ส่งน้องเรียนจนจบปริญญา และได้งานทำกันทุกคน แม่สบายขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะมาก และได้มาอยู่กับผมที่กรุงเทพฯ เพื่อเลี้ยงเจ้าตัวเล็ก ลูกสาว นามว่า “ต่อกิง” ซึ่งดูแม่มีความสุขมากเมื่อได้เลี้ยงหลาน

     ความทรงจำ กับ “เงินสีดำ” มันทำให้เราคิดอะไรดีๆ ได้เยอะมาก และก็คิดว่าลูกสาวโตขึ้นก็จะนำบทความที่ได้เขียนขึ้นนี้ให้เขาอ่าน  เขาต้องรัก ย่า ของเขามากขึ้นกว่าเดิมหลายร้อยเท่า ผู้หญิงที่เป็นย่าของเธอ และเป็น แม่ ของพ่อ

      สภาวธรรมที่แท้จริงแห่งสรรพสิ่ง ผมคิดว่า มันก็คือ การที่เราเปลี่ยนจาก             สภาวะที่ “ทำไม่ดี “ มาเป็นสภาวะที่ “ทำดี” ด้วยวิธีการใดก็สุดแล้วแต่ที่เราเข้าใจมัน ที่สำคัญเป็นที่สุดก็คือ สภาวธรรม ก็คือ สภาวะที่ท่านต้องลงมือทำ ท่านถึงจะเข้าใจ สภาวธรรม

 

 

 

 

”ใกล้ธรรม” แต่ยังห่าง “ไกลธรรม”

      ผ่านร้อนผ่านหนาวในวัยเด็กและวัยรุ่น เพื่อก้าวเข้าสู่วัยทำงานอย่างมั่นใจ ด้วยชีวิตที่แข็งแกร่งกลายเป็น แข็งกร้าวโดยไม่รู้ตัว แล้วก็ส่งผลเสียต่างๆ อย่างมากมาย ผู้คนบางคนที่ไม่ค่อยชอบความมั่นใจ เกินความพอดีในความคิดเขานั้น ทำให้เราเริ่มไม่ชอบคนที่ไม่ชอบคนมั่นใจอย่างเรา

     ผมได้ลืมไปว่า คนเหล่านั้นเป็นกระจกส่องตัวเรา ได้เป็นอย่างดี เพราะคนที่ไม่ชอบเรา เขาจะหาจุดบกพร่อง หรือข้อเสียของเราได้เป็นอย่างดี แต่ตอนนั้นไม่สนใจก็ไม่ สนทนากับคนนั้นไป

     ในช่วงแรกของการทำงานนั้นผมเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะทำให้เรียนต่อวิศวะได้แล้ว  (ที่บริษัทปัจจุบัน ใช้วุฒิ อนุปริญญาตรีทำงาน ในสมัยนั้น) แต่ในขณะนั้นผมก็ต้องส่งน้องสาวเรียนปริญญาตรีด้วย ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงแห่งความลำบากมากช่วงหนึ่ง เพราะหาเงินแทบไม่ทัน แต่ก็ประคองชีวิตช่วงนั้นมาได้อย่างหืดขึ้นคอ เอาตัวแทบไม่รอด

     การทำงานในช่วงแรกๆ นั้น ก็ยังไม่ได้คิดมากมายถึงอนาคต ยังมีความสนุกสนานอยู่ไปวันๆ แต่พอนานวันเข้า มีอะไรหลายๆ อย่างเข้ามาในชีวิต ทั้งเรื่องดี ไม่ดี สุข ทุกข์ ประปน กันไปจนทำให้เราค่อนข้างเข้าใจชีวิตแต่ก็ยังไม่ทั้งหมด และเริ่มมองหาความหมายของชีวิตอย่างจริงจัง

     ตลอดเวลาที่ทำงาน ความชัดเจนของตัวเองในเรื่องวิถีในการดำเนินชีวิตเด่นชัด ความผิดหวังในเรื่องราวต่างๆ รวมทั้งเรื่องความไม่สมหวังในเรื่องของความรัก ทำให้ได้กลับมาคิดว่า ที่ผ่านมาเรา อยู่ไกลธรรมะ มากๆ ทำให้เกิดการหาทางออกของชีวิตตัวเอง เพื่อที่จะหลุดพ้นพันธนาการของความไม่แน่นอนของชีวิตอย่างที่ควรเป็น

     การเรียนรู้ตัวเองในแง่มุมต่างๆ ได้เกิดขึ้นในช่วงนี้ การอ่านหนังสือปรัชญา ต่างๆ และธรรมะ ทำให้เริ่มถอดรหัสชีวิตบางอย่างได้แต่ไม่หมด ความลับบางอย่างเลยยังไม่ถูกเปิดเผย ยังคงซ่อนตัวอยู่อย่างสงบเงียบ

     การได้พูดคุยกับผู้มีประสบการณ์ชีวิตที่มากมาย ทำให้เราเริ่มซึมซับวิธีคิด วิธีพูด และหนังสือที่คนเหล่านั้นอ่าน ทุกคนล้วนแล้วต้องอ่านธรรมะ กันทุกคน ทำให้เกิดการสงสัยว่า ธรรมะ คือ คำตอบของชีวิตจริงหรือ

     ช่วงแรกๆ ของการอ่านปรัชญา ธรรมะ รู้สึกว่าตัวเอง มีมุมมองที่เข้าใจชีวิตเป็นอย่างมาก แต่สุดท้ายเปล่าเลย เรายิ่งอ่านมันมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เกิดคำถามตามอีกมายว่า มันใช่คำตอบของชีวิตจริงๆ แล้วหรือ

    คำตอบของชีวิตมิได้เกิดขึ้นเลยในตอนนั้น เพราะวิถีชีวิตที่ยังเสเพล กินเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวผับ เที่ยวบาร์ อยู่ตลอด แล้วก็อ่านธรรมะ ไปพร้อมกันกับที่ใช้ชีวิตแบบนั้น จนมันดูขัดแย้งกันมากมายว่าเราจะดีหรือจะเลวกันแน่

    ผมสับสนในการใช้ชีวิตแบบนี้ ในขณะที่เพื่อนๆ เลือกที่จะสนุกสนานกับการ กินเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวผับ เที่ยวบาร์ อยู่ตลอด โดยไม่ต้องสนใจการอ่านธรรมะ ก็ดูเหมือนจะมีความสุขกว่าเราเสียด้วยซ้ำ

     เรายิ่งเข้าใกล้ธรรม หรือ ห่างไกลธรรมกันแน่ คำถามเริ่มผุดขึ้นมาอยู่เต็มหัว สุดท้ายผมพ่ายแพ้อย่างไม่เป็นท่า กลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมๆ อย่างสุดโต่ง กินเหล้าหัวราน้ำ อย่างไม่สนใจใยดีธรรมะในรูปแบบที่จะปฏิบัติ แต่ก็ยังคงอ่านหนังสือธรรมะเป็นเพียงแค่ปรัชญาไป ซึ่งจริงๆ แล้วผมรู้สึกว่าเริ่มเข้าใกล้ธรรมแล้วนะ แต่ไม่มีกำลังต่อสู้กับสิ่งอกุศลต่างๆ ได้ ณ ตอนนั้นไม่สามารถรู้ได้เลยว่าเพราะอะไร

     ถึงเวลานี้ ณ ปัจจุบัน ผมได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิมาสองปีแล้ว ถึงแม้ดูว่าเป็นเวลาที่ไม่มากมายซักเท่าไหร่นัก สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม แต่สำหรับผมก็มากพอที่จะสามารถอธิบายได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับเราเวลานั้นคือ การรู้ธรรม แต่ไม่ปฏิบัติธรรม ผลที่ได้ไม่ต่างอะไรกับการไม่ได้สนใจหรืออ่านหนังสือธรรมะใดๆ เลย

     ปัญหาที่สำคัญของคนสนใจธรรม คือ ไม่ปฏิบัติธรรม ความรู้ที่มีจากการอ่านหนังสือธรรมะ มิได้ทำให้เราหา “ความหมายของชีวิต”ได้ เพียงแต่ได้ “คำตอบบางอย่างของชีวิต” ซึ่งยังไม่ใช่สิ่งที่ชีวิตค้นหาอย่างแท้จริง ผมจึงเป็นผู้ “ใกล้ธรรม” แต่ยังห่าง “ไกลธรรม”  อย่างไม่รู้ตัว

 

 

 

“ก้าวแรกของการปฏิบัติ คือ ก้าวสุดท้ายของการอ่านธรรม”

     อย่างที่ได้กล่าวมาไว้แล้วว่า ปัญหาหลักของผู้สนใจธรรม คือ อ่าน แต่ไม่ลงมือปฏิบัติธรรม หรือถ้าลงมือทำจริง แต่ก็ไม่ต่อเนื่อง หมดความพยายามที่จะปฏิบัติเพราะยังไม่เห็นผลใดๆ เลย ซึ่งก็ไม่รู้เลยว่าผลให้การปฏิบัติมันกำลังก่อตัวขึ้นมา แต่ความพยายามของเรานั้นมัน หมดไปเสียก่อน ทำให้คิดไปว่ามันไม่เกิดผลใดๆ

     การปฏิบัติธรรมจากการนั่งสมาธินั้น ก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ที่เรามีหน้าที่รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย เรามีหน้าที่แค่นั้นจริงๆ ส่วนการออกดอกอกผล เป็นเรื่องของต้นไม้ เพราะท่านปลูกอะไรแน่นอนว่าท่านต้องได้ผลของ ผลไม้นั้นๆ อย่างไม่ต้องสงสัย

     ยอมรับครับว่าการอ่านธรรมะเป็นเรื่องที่ต้องทำไปด้วย แต่ประเด็นก็คือว่า ทุกครั้งที่ท่านอ่านหนังสือธรรมะอยู่นั้น ท่านก็จะเสพติดเฉพาะคำสอนที่ท่านชอบ มันโดนใจ มันตรงกับความรู้สึกช่วงนั้นๆ เป็นอย่างดี อย่างเช่น ใครมานินทาท่าน ถ้าไปอ่านเจอ เรื่องว่าการนินทาเป็นเรื่องปกติ พุทธองค์ยังโดนนินทาเลย ท่านก็จะทึกทักเอาว่าเป็นเรื่องปกติไม่ต้องไปใส่ใจ คำพูดต่างๆ เหล่านั้น

     ถามว่า แล้วมันไม่ดีตรงไหนล่ะ ที่ไม่ต้องเก็บเอาคำพูดเหล่านั้นมาใส่ใจ ให้ตัวเองเครียด จริงๆ อยากจะบอกว่าเบื้องต้นมันดีครับ เพราะการที่เราใส่ใจในคำนินทามันเครียด ทำให้เราไม่สามารถทำสิ่งดีๆ มากมาย ณ เวลานั้น เพราะ จิต มัวแต่จดจ่อกับอารมณ์นั้นๆ

     แต่ถ้าเราใช้วิธีนี้บ่อยๆ เข้าเราจะพบว่าเราไม่ได้อะไรกับสิ่งเหล่านี้เลย ผมหมายถึงว่า การไม่ได้กลับมาดูตัวเองจริงๆ ว่าเราเป็นคนอย่างที่เขาพูดจริงหรือไม่ แน่นอนเราอาจถูก เขาผิด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าท่านจะหยุดที่กลับมาดูตัวเองด้วยเพียงเพราะเราเป็นฝ่ายถูก

     อะไรล่ะที่ทำให้เราเป็นเช่นนั้น ผมเองตกอยู่ในวังวนอย่างนี้มาเกือบสิบปี คือ ไม่ใส่ใจคำพูดนินทาใดๆ เลย สุดท้ายก็ยังเก็บมาคิดอยู่ดี สลัดมันออกไปไม่ได้ เพราะการที่เราบอกตัวเองว่าไม่ใส่ใจ จริงๆ แล้วเราให้ความสำคัญมันเลย แต่เราใช้วิธีการที่เรียกว่าเปลี่ยน “จุดโฟกัส” คือ เปลี่ยนจุดสนในเรื่องนั้นๆ ไป สิ่งที่ได้ คือ เราไม่ต้องกังวล หรือ ย้ำคิดย้ำทำ กับเรื่องเครียดนั้นๆ ทำให้จิตใจผ่องใส แล้วก็ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองตั้งใจไว้จนประสบความสำเร็จอะไรซักอย่างที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้

     เราเลยเข้าใจว่า วิธีการเปลี่ยน “จุดสนใจ”  คือ สิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เพราะมันส่งผลดีมากมาย ยิ่งไปอ่านหนังสือประเภทพัฒนาตัวเองยิ่งตอกย้ำว่า สิ่งที่ทำถูกต้องแล้ว และมีบุคคลประสบความสำเร็จทางโลก คือ ร่ำรวยมหาสาร จากการกระทำที่ได้กล่าวมา เอามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตตัวเอง

     วิธีคิดแบบนี้ ส่งผลมาถึงเวลาที่เราสนใจธรรม คือ เรามุ่งแต่อ่านหนังสือธรรมะ แล้วตีความตามความเข้าใจตัวเองโดยมิได้ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรม อย่างแท้จริง ถึงลงมือปฏิบัติจริงแต่ก็ไม่ต่อเนื่อง เพราะการปฏิบัติธรรมจริงๆ ต้องใช้ความพยายาม ความเพียร ความมุ่งมั่น ความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งยั่วยุ สูงมาก

     พอท่านไปปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ และเปลี่ยนรูปแบบ คือ เปลี่ยนสถานที่หรือสำนักปฏิบัติธรรมอยู่ตลอด หมายถึง ปฏิบัติอีกที่ได้ไม่นานและยังไม่เข้าใจและเข้าถึงวิธีการ ก็เปลี่ยนไปอีกทีแล้วก็เปลี่ยนอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เพราะได้อ่านหนังสือธรรมะหรือบุคคลอันเป็นที่น่าเชื่อถือ บอกว่าต้องหาที่ที่ตรงกับจริตของเรา คือ วิธีคิด “เปลี่ยนจุดโฟกัส”

     อ้าว ! แล้วมันไม่ดี ตรงไหนกันล่ะ ที่หาสำนักที่ตรงกับจริตตัวเอง เป็นคำถามที่คนกลุ่มนี้ใช้เป็น ข้ออ้าง เพื่อบอกว่าวิธีที่ตัวเองทำอยู่มันใช่แล้ว

     ไม่ปฏิเสธครับว่า  การหาสถานที่ปฏิบัติธรรมที่เหมาะและตรงกับจริตของตัวเอง แต่ปัญหาของท่านคือ ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องและจริงจังและมากพอ ผลที่ได้คือ สำนักนี้ไม่ตรงกับจริตของท่าน โดยที่ท่านคิดไปเอง แล้วก็อ่านหนังสือธรรมะต่อไปเรื่อยๆ โดยพยายามหาข้อธรรมที่ตรงกับความคิดท่าน แล้วหยิบข้อธรรมเหล่านั้นมาเป็นเหตุผลแล้วคิดไปเองว่าเข้าใจ “สภาวธรรม” แล้วจากการอ่านและปฏิบัติเพียงผิวเผิน

     อยากจะบอกว่านั่นคือ “สภาวะจำ” ไม่ใช่ “สภาวธรรม” คือ จำจากการได้อ่านหนังสือธรรมะมาแล้วทึกทักว่าตัวเองเข้า เข้าถึง สภาวธรรมใดๆ เหล่านั้นโดยไม่ ฉุกคิดเลยว่าแท้จริงมันคือ การหลอกของจิตตัวเองอย่างแนบเนียนที่สุด

     การอ่านหนังสือธรรมะ เป็นการดีอยู่แล้วครับ สมควรที่จะอ่านเป็นอย่างยิ่ง เปรียบเสมือนแผนที่ ที่เราจะออกเดินทางแล้วต้องดูมัน แต่ที่สำคัญและทำให้เราไปถึงที่หมายได้นั้น คือ การออกเดินทางอย่างแท้จริงอย่างมุ่งมั่น โดยมีผู้นำทาง ในที่นี้ก็คือ สำนักที่ท่านไปปฏิบัตินั่นแหละ เป็นผู้บอกว่าต้องเดินไปอย่างนี้เรื่อยๆ โดยไม่เปลี่ยนเส้นทางที่เดินกลางคัน ก็หมายถึง ท่านเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติไปเรื่อยๆ  นั่นแหละ

     ออกเดินทางในการปฏิบัติธรรมซักทีเถอะ อย่างจริงจังและมุ่งมั่น ความเพียร ความอดทน อดกลั้น ต้องใช้มากมาย แต่เชื่อเถอะว่าท่านมีสิ่งนี้ แล้วปฏิบัติตามหลวงปู่หลวงพ่อ ที่ท่านสอนมาให้เข้าใจและเข้าถึงวิธีการอย่างลึกซึ้ง ท่านจะไม่ต้องเปลี่ยน “จุดสนใจ” คือ เปลี่ยน แนวทางในการปฏิบัติธรรมไปเรื่อยๆ

     เพราะ การปฏิบัติธรรมแท้จริงแล้วนั้น มิได้หมายว่าให้เรา “เข้าถึงธรรม”  แต่การปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง และไม่ได้เปลี่ยนแนวทางไปมาอยู่ตลอด “ธรรมจะเข้าถึงเรา” เองอย่างที่เราไม่ต้องสงสัยกับการที่เราจะเข้าถึง “ธรรม” จึงได้พูดว่า “ก้าวแรกของการปฏิบัติ คือ ก้าวสุดท้ายของการอ่านธรรมะ”

 

 

 

 

 

“ยากที่สุดไม่มีที่สิ้นสุด”

     หลังจากที่เริ่มเข้ามาสนใจธรรม และอ่านหนังสือธรรมะ อย่างจริงจัง โดยรู้สึกถึงความจริงหลายๆ อย่างว่า ไม่มีทางเข้าถึงธรรมและเข้าใจมัน ได้เลยถ้าเรา ไม่ปฏิบัติอย่างจริงๆ จัง ซะที เราต้องเริ่มหาครูบาอาจารย์ ที่เป็นผู้บอกถึงวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมและตรงกับจริตของเรา

     ปอนด์ เป็น น้องที่สนิทด้วยที่ทำงานอยู่ ชอบปฏิบัติธรรมและไปปฏิบัติธรรมที่สำนักแห่งหนึ่งมาอยู่แล้ว ได้ชวนผมไปปฏิบัติธรรมด้วย และบอกว่าพี่ต้องไปปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องเป็นราวซะที เพราะมัวแต่อ่านอย่างเดียวไม่ใช่ของจริง

    ครั้งแรกของการปฏิบัติธรรมแบบจริงจังได้เริ่มขึ้นแล้ว ผมได้ไปปฏิบัติกับ ปอนด์ แบบสามวันสองคืน ณ สถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง ซึ่งต้องบอกว่าตื่นเต้นมากๆ เพราะเอาเข้าจริงผมกลัวว่าจะทำไม่ได้แน่ๆ เลย ลึกๆ ในใจเรารู้ดีอยู่ตลอดเวลาว่ามันยากกว่าการอ่านธรรมะมากๆ

    ผมเลยมีข้องอ้างกับตัวเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อถึงเวลาที่เราจะปฏิบัติจริงๆ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนส่วนใหญ่ ก็มีความคิดเหมือนๆ กันกับผม คือ ไม่มีเวลา ที่เหมาะๆ ซักที สารพัด ข้ออ้าง ที่ทำให้ตัวเองดูยุ่งไปหมด เลยไม่มีเวลา  และที่ผมใช้คำว่า ข้ออ้าง ไม่ใช้ เหตุผล ของการไม่ลงมือปฏิบัติซักทีก็เพราะว่า ข้ออ้าง คือ สิ่งที่เราทำไปแล้วชีวิตเราแย่ลงในทุกๆ กรณี ส่วนเหตุผล คือ สิ่งที่เราทำไปแล้วนั้น ชีวิตดีขึ้นไปในทางบวก จะหมายถึงสิ่งที่เป็นกุศลก็ได้

     การเข้าไปปฏิบัติวันแรกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระอาจารย์ได้กล่าวแนะนำและวิธีการปฏิบัติตัวในการใช้ชีวิต อยู่ที่นี่ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง อ้อ! เกือบลืม มีน้องอีกคนที่สนิทกันมาก คือ แจ๊ส ที่เราชวนเขาไปเป็นเพื่อนด้วย ซึ่งก็พอๆ กัน เขาก็ไมเคยปฏิบัติเหมือนกัน ชอบอ่านหนังสือซะมากกว่า เราเลยถือโอกาสชวนไปด้วยกันเลย

    หลังจากที่พระอาจารย์ได้แนะนำเสร็จเรียบร้อย ก็ได้ให้ผู้เข้าปฏิบัติธรรมได้ทำตามวิธีและรูปแบบที่อธิบายไปแล้วโดยพร้อมเพียงกัน ผมก็ได้เริ่มเดินจงกรมเป็นครั้งแรกอย่างช้าๆ โดยเดินไปเดินกลับประมาณ 30 นาที ยังคงฟิตเปรี๊ยะ ไม่ได้รู้สึกหนักหนาอะไร คิดตอนนั้นว่าสบายๆ ไม่เห็นยากหรือหนักหนาอย่างที่คิดไว้เลย

    และแล้วสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ยินเสียงจากหัวใจที่เรารู้สึกว่ามันง่ายจัง จึงได้ให้บททดสอบข้อสองมาให้อย่างชนิดที่เรียกว่า แทบไม่อยากปฏิบัติธรรมอีกเลย เพราะการปฏิบัติต่อไปก็คือ การนั่งสมาธิ แบบขาขวาทับขาซ้าย ซึ่งต้องบอกว่าเป็นปัญหากับชีวิตมาตลอดกับการนั่งอย่างนั้น เพราะขามันตึงมากๆ และเกิดอุบัติเหตุมาตอนช่วงเด็กๆ เลยทำให้นั่งแบบนั้นไม่ได้มันจะเจ็บและปวดขามากๆ ถ้านั่งเป็นเวลาเดิน 5 นาที

     จริงๆ เราก็รู้มาอยู่แล้วล่ะว่าต้องมีนั่งสมาธิ ไม่ใช่ไม่รู้ แต่นั่งขาซ้ายทับขาขวามากกว่า เพราะจะไม่เจ็บมากและนั่งได้นาน แต่รูปแบบและวิธีการของแต่ละสำนักต้องเคร่งครัด เพราะปล่อยตามใจตนก็ไม่ใช่การฝึกล่ะซิ อันนี้เข้าใจได้เราเลยต้องฝืนไปเรื่อยๆ บนความเจ็บปวด

     ทุกๆ 5 นาที ผมต้องคอยขยับขาอยู่เรื่อยๆ เพราะทนไม่ไหว เป็นอย่างนี้ตลอดจนรู้สึกอึดอัดมากๆ และทนไม่ไหว ผมจึงกลับมานั่งแบบขาซ้ายทับขาขวาตามที่ผมนั่งได้และไม่เจ็บปวดมากนัก แต่ก็นั่งได้แค่ไม่ถึง 10 นาที ผมทรมานกับการนั่งสมาธิเป็นอย่างมากในวันแรก ทำให้ผมรู้สึกว่าการปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าใจธรรม มันทรมานขนาดนี้แล้วเราจะเข้าใจธรรมได้อย่างไร

    เพราะสำหรับคนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมมาเลย แล้วมานั่งนานๆ แน่นอนความเจ็บปวดเกิดขึ้นมาแล้วเราจะจัดการมันได้อย่างไร ให้ไม่นึกถึงมันท่านทำได้จริงหรือ ให้ต่อสู้กับความเจ็บปวดด้วยวิธีการต่างๆ เราสู้ได้จริงหรือ คำถามมากมายผุดขึ้นมาเต็มหัว หลังจากที่เราลืมตาและไม่ได้นั่งสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกว่า ถ้าเราปฏิบัติในรูปแบบนี้ไม่เหมาะกับเราหรือเรียกให้ดูดีและเป็นข้ออ้างของผม คือ ไม่ตรงจริต ดูดีกันเลยทีเดียว เหตุผลของคนขี้เกียจและไม่มีความเพียร

    ตอนนั้นผมก็ยังคงทำต่อไปในวันที่สองและวันที่สาม แต่ก็ปวดเมื่อยก็ขยับไปตลอดเวลา ลืมตาบ้างหลับตาบ้าง พอถึงช่วงเดินจงกรม ผมกลับชอบมากๆ เดินแล้วคิดไปด้วยความคิดฟุ้งซ่านไปเรื่อยไม่จดจ่อกับคำบริกรรม ทำให้ไม่มี สมาธิ แต่ก็ไม่ได้เจ็บปวดอะไรมากมายนัก เพราะมีการเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา

    เป็นอย่างนี้ตลอดสามวัน แล้วพวกเราก็กลับจากการปฏิบัติธรรม ระหว่างเดินทางกลับเราได้ถาม ปอนด์ กับ แจ๊ส ว่าเป็นไงกันบ้าง แน่นอน ปอนด์บอกว่า ปวดขาเหมือนกันแต่ก็ทนได้และปฏิบัติจนครบเวลาไม่ขยับ เพราะปอนด์มีพื้นฐานในการปฏิบัติมาดีอยู่แล้ว ส่วนแจ๊ส ไม่ต่างอะไรกับผมซักเท่าไหร่นัก แต่ดูแล้วดีกว่าผม ขยับน้อยกว่า มีบ้างที่ปวดขาและเหน็บชาเป็นช่วงๆ

    สรุปแล้วทุกคนปฏิบัติได้ดีกว่าผม ทำให้ผมกลับมาคิดว่า หนังสือธรรมะที่ผมอ่านนั้น ภูมิธรรมที่ผมคิดว่ามีมากกว่าน้องทั้งสอง ทำไมถึงไม่ช่วยเราได้เลยในการปฏิบัติธรรม

    ยากที่สุดของการปฏิบัติธรรม คือ การต่อสู้กับความเจ็บปวด ที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย พุทธองค์ทรงต้องใช้ความเพียรพยายามแค่ไหน ถึงได้บรรลุธรรม แล้วนำธรรมะ เหล่านั้นกลับมาสอนเราให้ปฏิบัติตาม มิใช่การคิดเอาเองถึงได้บรรลุธรรม

    หนังสือธรมะ ใดๆที่เราอ่านอยู่นั้น ไม่ใช่ไม่ดี แต่จะบอกว่า การอ่านหนังสือธรรมะ เป็นเพียงเบื้องต้นทำให้เราพอนึกภาพการสนใจและการปฏิบัติธรรมออกบ้าง แต่ไม่สามารถทำให้เข้าถึงหลักธรรมบางข้อได้เลย เพราะเรามัวแต่ คิด คิด และก็คิด เอาเอง ว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วก็เหมาสรุปตามความเข้าใจตน

    “ยากที่สุดไม่มีที่สิ้นสุด” ก็คือ จิตเราจดจ่ออยู่กับคำว่า “ยาก “ ในขณะที่เราได้ประสบพบเจอเหตุการณ์หรือเรื่องราวใดๆ ก็ตามที่มันต้องใช้ความเพียรพยายาม อดทน ต่อความเจ็บปวด เราจะไม่นึกถึงวิธีอะไรเลยเพื่อหาทางออกหรือวิธีแก้ไขโดยใช้ ปัญญา เราจะหาข้ออ้าง ที่เรียกมันว่าเหตุผลต่างๆ นาๆ มาสนับสนุน “ความรู้สึกว่ายาก” ของเราอย่างแนบเนียน จนเราเองก็รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ

    “ยากที่สุดจะมีจุดที่สิ้นสุด” ก็ต่อเมื่อท่านคิดว่า “ง่ายที่สุดไม่มีจุดสิ้นสุด” นั่นเอง เพราะถ้า”จิต”ของท่านจดจ่ออยู่กับคำนี้ ท่านก็จะหาวิธีการต่างๆ มาสนับสนุนเช่นกัน

 

 

 

 

“อธิฐานจิต”

    หลังจากได้กลับมาจากการปฏิบัติธรรมที่สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่ง ผมได้กลับมาทบทวนชีวิตครั้งยิ่งใหญ่ถึงวิธีการของเรา ในเรื่องราวต่างๆ ว่าเราคงปฏิบัติธรรมไม่ได้เป็นแน่แท้ เพราะมันยากลำบากจังเลย แล้วทำไมคนอื่นถึงทำได้ หรือเราเป็นคนบาปเยอะ หรือ กำลังมีบททดสอบเพียงเพื่อให้เราได้เข้าใจชีวิตยิ่งขึ้น

    ความคิดอีกมากมายที่ผุดขึ้นมาในหัว ซึ่งคิดว่าหลายๆคนเจออย่างนี้ น่าจะถอดใจได้ เพราะการอ่านหนังสือธรรมะและสนทนาธรรมมันง่ายกว่ามาก ถ้าเทียบกับการปฏิบัติธรรมแบบจริงจังเพื่อให้เห็นผลบางอย่างกับตัวเอง ผมได้หยิบหนังสือธรรมะขึ้นมาอ่านอีกครั้งในหลายๆ เล่มที่มีอยู่ อ่านไปเรื่อยๆ แบบไม่คาดหวังอะไร เพราะเริ่มรู้สึกว่า การจริงจังกับการอ่าน เพื่อที่จะเข้าใจธรรมและส่งผลให้เข้าถึงธรรมนั้น ไม่ได้ผลแน่นอน

    ความที่ไม่คาดหวัง และจริงจังเกินไปนักเพื่อหาคำตอบ ทำให้ผมอ่านหนังสือธรรมะแบบสบายๆ มากขึ้นเริ่มคลายความตรึงเครียด อ่านจนมาถึงคำที่เรียกว่าเปลี่ยนชีวิตกันเลยทีเดียว คือ มีอยู่ประโยคหนึ่งที่เขียนว่า “การปฏิบัติธรรมเราต้องมีครูบาอาจารย์ที่ตรงกับจริตเรา และที่สำคัญเราต้องอธิฐานจิต ให้ได้พบกับครูบาอาจารย์ที่ตรงกับจริตเราอย่างสุดหัวใจ”

    ผมสะดุดคำนี้มากๆ คือ อธิฐานจิต ให้ได้พบกับครูบาอาจารย์ที่ตรงกับจริตเราอย่างสุดหัวใจ ต้องทำแบบไหนหรือ ยิ่งทวีความสงสัยมายังผมอีกมากมาย ความคิดฟุ้งซ่านกลับมาอีกครั้งหลังจากผ่อนคลายจากการอ่านได้ไม่นาน มันยิ่งตอกย้ำผมว่ายิ่งอ่านมากเรายิ่งฟุ้งซ่านจริงๆ

    ผมได้ปิดหนังสือที่จะไม่อ่านอีกต่อไป เพราะเริ่มมีความรู้สึกแล้วว่า กำแพงที่ขวางกั้นตัวเราในการปฏิบัติธรรมนั่นคือ หนังสือธรรมะ ที่เราอ่าน เพราะมันกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เรานึกเอาเอง จินตนาการความเข้าใจไปเอง นั่นคือการ “ปฏิบัติจำ” มิใช่ “การปฏิบัติธรรม”

    เริ่มที่หยุดนิ่งๆ กับตัวเองและไม่อ่านหนังสือธรรมะแล้ว ไม่คิด ไม่จินตนาการอะไรทั้งนั้น กลับมาใช้ชีวิตปกติ คือ สนุกสนานกับการใช้ชีวิตแบบมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ยังดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวเฮฮากับเพื่อนฝูงไปเรื่อยๆ อย่างไม่ได้ฉุกคิดอะไรได้เลย

    การเล่นอินเตอร์เนตเป็นอีกส่วนหนึ่งในชีวิตไปแล้ว ผมได้เข้าไปดูเวปไซด์ต่างๆ ที่ทำให้เราได้ผ่อนคลาย เวปไซด์ธรรมะผมก็ได้เข้าไปดูอยู่เรื่อยๆ เพราะมีหัวข้อธรรมต่างๆ ให้เลือกอ่าน มากมาย เราสนใจอะไร คำไหน ก็มีคำอธิบายมากมายซึ่งไม่เหมือนกับหนังสือธรรมะ เราต้องอ่านเป็นบทๆไป แล้วแต่ผู้แต่งหรือผู้เขียนจะอธิบายมันออกมาในรูปแบบของตัวเอง

    ผมเริ่มชอบกับการอ่านธรรมะในเวปไซด์แล้ว เพราะบางทีในกระทู้ต่างๆ ก็มีการให้แนวทางการปฏิบัติธรรมกันบ้างถกเถียงข้อธรรมต่างๆ บ้างสลับกันไป ซึ่งบางทีก็น่ารำคาญคนที่เถียงกันเอาเป็นเอาตายว่าใครเข้าใจธรรมะมากกว่ากัน ทั้งๆที่เขาเหล่านั้นมิได้เข้าใจมันเลย เพราะธรรมะที่แท้จริงคนปฏิบัติต้องเป็นกัลยาณมิตรกัน สิ่งนี้ที่ผมสัมผัสได้ว่าต้องเป็นอย่างนี้

    การอ่านธรรมะในเวปไซด์ดำเนินอยู่ไปเรื่อยๆ ในแต่ละวัน ซึ่งดูเหมือนจะเริ่มไม่ได้อะไรใหม่ๆ เลยจากเวปไซด์ เพราะทุกอย่างก็วนเวียนอยู่กับคำที่เรารู้แล้วทั้งสิ้น จนมาวันหนึ่งเหตุการณ์ที่เราได้ฉุกคิดก็มาถึง คือ อยู่ๆ ก็มีเวปไซด์หนึ่ง โผล่ขึ้นมาตลอดคือ เวปไซด์ www.samathi.com   เป็นเวปไซด์ของสถาบันพลังจิตตานุภาพ (ซึ่งจะบอกว่าในตอนหลังๆเปลี่ยนชีวิตผมชนิดที่เรียกว่าพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินเลยทีเดียว)

    ผมได้เข้าไปอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันพลังจิตตานุภาพ แท้ที่จริงก็เป็นของวัดธรรมมงคลที่ได้ตั้งสถาบันนี้ขึ้นมา โดยหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร เป็นผู้ก่อตั้ง ซึ่งต้องบอกตามตรงเลยว่าผมไม่รู้จักท่านเลยว่าเป็นพระปฏิบัติแนวไหน

    แต่ก็ได้เริ่มอ่านประวัติของท่านมาเรื่อยๆ จึงได้ทราบว่าท่านเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นและอุปฏฐากหลวงปู่มั่นมาสี่ปี คือ รับใช้และดูแลหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิดนั่นเอง (มีหนังสือที่หลวงพ่อวิริยังค์ สิริธโร เขียนถึงตอนที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่นน่าสนใจมากๆลองหาอ่านดูครับมีหรือที่วัดธรรมมงคลก็มี) และได้เริ่มเข้าไปอ่านในเวปไซด์เรื่อยๆ ถึงแนวทางการปฏิบัติ

    ช่วงแรกๆ ต้องยอมรับว่ายังไม่ค่อยรู้สึกอะไรเท่าไหร่นัก หมายถึงยังไม่ทำให้ผมเข้าไปปฏิบัติในแนวนี้ได้ ผมก็ได้เปิดดูเวปไซด์ธรรมะในแนวปฏิบัติต่างๆ ไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ที่จะเอาจริงจังซักเท่าไหร่นัก ระหว่างดูเวปไซด์ธรรมะอื่นๆ อยู่นั้น เวปไซด์ www.samathi.com  ก็เด้งขึ้นมาที่หน้าจอผมตลอด ทั้งๆที่เราก็เปิดเวปอื่นอยู่ แต่ก็ไม่ได้เอะใจอะไร

    ในทุกๆ วัน ผมก็ยังคงเปิดเวปไซด์ธรรมะต่างๆ ดูอยู่ตลอด แต่ที่น่าประหลาดใจ คือ เวปไซด์ www.samathi.com    จะโชว์ขึ้นมาตลอดจนผมเริ่มอดสงสัยไม่ได้ว่า คือ อะไรกันแน่ทำไมถึงได้โชว์ขึ้นมาตลอด ในใจก็คิดว่า หรือมีอะไรบางอย่างดลใจเราให้เปิดขึ้นมาเอง

    ระหว่างเกิดความสงสัยอยู่นั้น จู่ๆ ก็มีความคิด อธิฐานจิต ให้ได้พบกับครูบาอาจารย์ที่ตรงกับจริตเรา เกิดขึ้นมาในหัว ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่าเกิดขนลุกขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก แล้วเราก็ไม่รีรอที่จะ “อธิฐานจิต” ตามนั้นอย่างสุดหัวใจ

    เวปไซด์ www.samathi.com   ก็ได้โชว์ขึ้นมาอีก คราวนี้ผมไม่รีรอที่จะดูหน้าเวปนี้อย่างละเอียด จนได้เห็นภารกิจที่หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโรได้ทำ อ่านแล้วเริ่มซาบซึ้งอย่างที่ไม่เคยเกิดความรู้สึกอย่างนี้มาก่อน ในใจตอนนั้นคิดอย่างเดียวต้องเป็นศิษย์ท่านให้ได้

    และแล้วความตั้งใจก็สัมฤทธิ์ผล คือ ผมได้ไปสมัครเรียนคอร์สสมาธิที่มีชื่อว่า ชินสาสมาธิ1 ซึ่งเป็นคอร์สสั้นๆ 1 วัน ทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เช้าถึงเย็นประมาณ 09.00-16.00 กับการปูพื้นฐานสมาธิในแนวหลวงปู่มั่น ก็จะมีอาจารย์ในสถาบันพลังจิตตานุภาพเป็นผู้สอน ให้ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติว่าทำอย่างไร

    หนึ่งวันเต็มๆ กับการได้รู้ประวัติหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร และแนวทางปฏิบัติสมาธิของหลวงปู่มั่น รวมทั้งประโยชน์ของสมาธิซึ่งดูแล้วทำไมมากมายมหาสารขนาดนี้ หลับสบาย ไม่เครียด ขจัดความร้ายกาจในตัวเอง เมตตาสูง ตายไปพบทางดี กุศลต่างๆ อีกมากมาย ที่ต้องบอกว่ามากมายเหลือคณา และไม่เคยรู้มาก่อนด้วยซ้ำว่าได้อย่างนี้ คิดว่าปฏิบัติธรรมคือได้ทำบุญอันสูงสุด ไม่ได้มีใครมาบอกรายละเอียดได้ถึงขนาดนี้

    จบคอร์ส 1 วัน ในชินสาสมาธิ1 ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้ว ว่า 1 น่าจะมี 2 ต่อ แน่นอนครับ จริงตามนั้นครับคอร์สชินสาสมาธิ2 ซึ่งเป็นหลักสูตรต่อเนื่องกัน คือ 3 วัน 2 คืน มาปฏิบัติสมาธิอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผมก็ไม่รีรอที่จะลงคอร์ส 2 ต่อเลย เพราะรู้สึกได้แล้วว่าเริ่มเข้าใจ สมาธิ และเริ่มนั่งสมาธิได้นานขึ้น

    ผมได้มีโอกาสเข้าไปคอร์สที่ 2 ต่อเลย ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่ารู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก ที่จะได้เข้าปฏิบัติสมาธิ อย่างเต็มๆ โดยที่ตัวเองเป็นคนเลือกเองอย่างไม่ต้องมีใครมาชวน เพราะเริ่มเข้าใจได้ว่าแล้วว่าบางครั้งชีวิตต้องลองทำเลยอย่าคิดเยอะ

    ผมได้เข้าคอร์สชินสาสมาธิ2 ในวันศุกร์และออกในวันอาทิตย์ ซึ่งต้องบอกว่า ก่อนเข้าปฏิบัติสมาธินั้นผม ได้ ไอ และเจ็บคอมาตลอด 2 วันก่อนหน้านั้น และวันที่ไปก็ยังไม่หาย ไปหาหมอไดฉีดยา และให้ยาผ่นคอ แก้ไข แต่ก็ได้แค่ทุเลา ต้องพักผ่อนเยอะๆ ถึงจะหายดี หมอบอก

    ผมลังเลที่จะไปคอร์สนี้ เพราะคิดว่าไปก็ปฏิบัติไม่ได้เต็มที่ ต้องไอและรบกวนคนที่ปฏิบัติท่านอื่นแน่ๆ ทำให้อดคิดต่อไปไม่ได้ว่าเราคงไม่มีบุญแล้วแน่แท้ จะปฏิบัติสมาธิเป็นจริงเป็นจังทั้งทียังอุตส่ามีเรื่องนี้เข้ามาเป็นปัญหาจนได้

    ความคิดสับสน วกวนไปมา ต่อสู้กันระหว่างเหตุผลกับความรู้สึก ถามใจตัวเองว่าชีวิตที่ผ่านมา เราใช้เหตุผลในการเลือกกระทำ หรือไม่ทำสิ่งต่างๆมามากน้อยแค่ไหนแล้ว เราเคยใช้ความรู้สึกเป็นตัวนำพาให้เลือกสิ่งต่างๆ บ้างไหม เรามัวแต่คิดว่าคุ้มไม่คุ้มในระดับเหตุผล ท้ายที่สุดไม่เคยลงมือทำอะไรจิงจังเพราะได้แต่ชั่งน้ำหนักระหว่างทำกับไม่ทำ อย่างไหนคุ้มกว่า

     คิดอยู่ตั้งนานว่าทำอย่างไรดี แต่จู่ๆ ก็มีเหมือนอะไรบ้างอย่างมาบอกว่า ไปเถอะ ซึ่งตอนนั้นต้องบอกว่างงเหมือนกัน อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุผลจริงๆ (ซึ่ง ณ ตอนนี้เข้าใจมันแล้วว่าเหตุผลใช้ไม่ได้กับทุกเรื่อง) ท้ายที่สุดก็ตัดสินใจไปโดยที่ผมยังไออยู่มากแต่ก็พยายามฝืนไป

    เริ่มเข้าไปตอนเย็นวันศุกร์ ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ได้ให้เข้าไปฟังระเบียบการปฏิบัติสมาธิของสถาบันพลังจิตตานุภาพ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จะมีพระคุณเจ้าเข้ามากล่าวต้อนรับและร่วมอนุโมทนาบุญกับกุศลครั้งนี้ที่ได้มาปฏิบัติสมาธิ และก็เล่ารายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิในแนวหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น

    ระหว่างที่นั่งฟังการบรรยายถึงรายละเอียดต่างๆ ผมก็ยังไอไม่หยุด และมิหนำซ้ำยังไอมากกว่าเดิมอีกเพราะในห้องเป็นห้องแอร์ที่เย็นมากๆ ความเกรงใจเป็นอย่างมากเริ่มเกิดขึ้นมาเพราะ คนข้างๆ ข้างหน้า ข้างหลังเริ่มหันมามอง แล้วก็พยายามยิบยื่นยาอมแก้ไอมาให้ผม ซึ่งตอนนั้นผมรู้สึกขอบคุณหลายๆ คนที่พยายามช่วยผมให้หายจากอาการไอ

    แต่ผมบอกว่ากินยาแกไอ ฉีดยา ยาอม สารพัดยาแล้วครับ มันยังไม่หายแค่บรรเทาอาการครับ หมอบอกว่าต้องพักผ่อนเยอะๆ และต้องอยู่ในที่อากาศไม่เย็นด้วย ซึ่งหลายๆ คนบอกว่าทำไมไม่รักษาตัวให้หายก่อนแล้วถึงมาล่ะเพราะคอร์สนี้มีทุกเดือนอยู่แล้ว

    ผมตอบแบบไม่คิดอะไรเลยว่า มันถึงเวลาของผมแล้วครับ ทุกคนดูงงๆ แล้วก็บอก สาธุพร้อมๆกัน พร้อมกับให้กำลังใจกันมากมาย ผมขนลุกซู่ ณ ขณะนั้น คิดไม่ถึงว่าจิตใจผม ณ ตอนนั้นอยู่ๆ มันมาฮึกเหิมได้อย่างไร ทั้งๆที่ร่างกายไม่เอื้ออำนวยซักเท่าไหร่เลย

    การไอของผมยังคงเกิดขึ้นอยู่ต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเลย ผมเริ่มเจ็บหน้าอก เจ็บคอและปวดหัวเป็นอย่างมาก เพราะการไอของผมไปกระตุ้นสิ่งพวกนี้เลยแสดงอาการออกมา อย่างเห็นได้ชัด ยิ่งไอมากขึ้นๆ ทำให้ผมเริ่มทนไม่ไหวแล้ว จึงได้รีบวิ่งออกมาจากห้องที่เข้าฟังนั้นเพราะเกรงใจผู้เข้าปฏิบัติสมาธิเป็นอย่างมาก

    ผมออกมานั่งไออยู่ข้างนอกห้อง แต่ก็อยู่ในห้องโถงใหญ่ มีเจ้าหน้าที่เข้ามาถามอากรไอของผมว่า ไหวหรือเปล่าต้องไปหาหมอไหม ผมบอกว่าไม่เป็นรัยครับอากาศมันเย็นมากๆ ทำให้อาการไอของผมมันกำเริบและไอออกมามาก ออกมาจากห้องเดี๋ยวก็ทุเลาลงได้

    แต่เวลาผ่านไปนานพอสมควร อาการไอของผมไม่มีทีท่าว่าจะเบาลงเลย ผมไอจนมึนหัวไปหมด และแล้วก็ถึงเวลานี้จริงๆ คือ ผมต้องขอตัวกลับไปพักผ่อนที่บ้าน เพราะจะเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ ที่จะต้องดูแลผู้เข้าปฏิบัติสมาธิ กลับมาต้องดูแลผมแทน

    ผมเข้าไปเก็บกระเป๋าในห้องพักที่เจ้าหน้าที่ได้จัดให้ไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยใจที่หดหู่เหลือเกินพร้อมกับในใจคิดว่า เราคงมาได้แค่นี้จริงๆ กับเส้นทางที่กำลังจะเข้าใจชีวิตเส้นทางนี้ เพราะถ้ามาหลังต่อไป ความรู้สึกเราคิดว่าเราคงจะไม่มีความกระตือรือร้นขนาดนี้เป็นอย่าง แน่นอนเพราะมันจะมีเหตุต่างๆ นาๆ มากมายที่จะทำให้เราไม่ได้มาอีก

    ผมเก็บกระเป๋าเสร็จแล้วลงมาที่ลงทะเบียน แล้วสวัสดีเจ้าหน้าที่เพื่อลากลับแบบคอตกเหมือนสิ้นหวังอะไรบางอย่าง ที่เราตั้งใจไว้เป็นอย่างมาก เจ้าหน้าที่ได้บอกว่าอย่าได้เสียใจไปเลยนะ ตอนนี้ธรรมะยังไม่จัดสรรให้เราได้มีเวลาเข้ามา แต่ถึงอย่างไรถ้าเป็นลูกศิษย์ พระอาจารย์หลวงพ่อแล้วยังไง ต้องได้กลับมาอีก

    ผมขนลุกซู่ขึ้นมาอีกครั้ง ยิ่งทำให้ผมเสียดายโอกาสดีๆ อย่างนี้มากๆ แต่ก็จนปัญญาที่จะฝืนต่อสู้กับอาการไอนี้ไปได้อย่างยอมแพ้โดยดี ไม่มีการฝืนใดๆทั้งสิ้นแล้ว มีแต่การก้มหน้ายอมรับเพราะเราก็ทำดีที่สุดแล้วที่จะเข้ามาที่นี่ แต่ทุกอย่างมันเหมือนโดนกำหนดไว้แล้ว อุปสรรค ของการปฏิบัติมันเยอะเกินกว่าที่จะเดินต่อไป ณ ตอนนั้นผมคิดอย่างนั้นจริงๆ

    ต่อไปนี้ให้ค่อยๆ อ่านเรื่องที่ผมจะเล่า แล้วไม่ต้องใช้เหตุผลใดๆ มาสรุป เพียงแต่อ่านแล้วลองถามตัวเองว่าเคยทำอะไรแบบสุดหัวใจหรือเปล่า แบบร่างกายไม่เกี่ยวมีแต่ใจล้วนๆ เลย ถ้าเคยทำจะเข้าใจ ปาฏิหาริย์แห่งผลการกระทำด้วยใจตั้งมั่นต่อสิ่งกุศล ว่า อานุภาพ มันมากมายเหลือคณาเกินกว่าจะใช้เหตุผลมาอธิบายมันได้

    ช่วงที่ผมกำลังเดินไปประตูทางออก มีเสียงดังขึ้นมาจากทางด้านหลังของผม แล้วพูดว่า หยุดก่อนเดี๋ยวค่อยกลับอยากให้ได้ลองอะไรบางอย่างก่อน ผมหันหลังกลับโดยเร็วแล้วพบกับผู้ชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่อยู่ที่นั่น แล้วเขาก็พูดขึ้นมาอีกว่า อยากให้ลองยาอมสมุนไพรที่เขาได้เตรียมมาไว้ให้เราก่อน แล้วถ้าอาการไม่ดีขึ้นจริงๆ แล้วค่อยกลับบ้าน    แต่ถ้ามันดีขึ้น สัญญาได้ไหมว่าจะอยู่ต่อและปฏิบัติสมาธิให้ครบสามวัน

    ผมมองไปที่ ยาอมสมุนไพรตัวนั้น แล้วพูดขึ้นว่า “เม็ดเล็กแค่นี้มันไม่หายหรอกครับ ผมทั้งฉีดยา ยาฉีดพ่นคอสมุนไพร ยาอมแก้ไข ยากินสารพัดยา ยังไม่หาย ต้องกลับไปพักผ่อนอย่างเดียวครับ” พี่เลี้ยงท่านนั้น ได้แต่อมยิ้มแล้วบอกเราว่า “ เอาน่าก็ลองมาเยอะแล้วนี่ จะลองอีกซักตัวก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรเลย” และอย่าลืมสัญญาด้วยนะ ผมพยักหน้าแล้วบอกว่าผมให้สัญญาอยู่แล้วครับ เพราะที่ผมมาที่นี่ก็เพื่อมาปฏิบัติสมาธิอยู่แล้ว แต่ในใจตอนนั้นคิดว่าไม่หายอยู่แล้ว

    มีสองความคิด ณ เวลานั้น เพราะใจที่คิดจะกลับเพราะทนไม่ไหวกับอาการไอของตัวเอง กับ ความศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร กำลังต่อสู้กันอย่างเข้มข้นแบบที่ในใจเราก็เต้นเร็วไปด้วย อย่างชนิดที่เรียกว่า เหนื่อยใจกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นมากๆ ณ ช่วงนั้น การที่ฝืนร่างกายแบบที่ใจยังสู้มันจะได้อะไรขึ้นมา ในเมื่อสภาพร่างกายมันไม่พร้อม แต่ชีวิตจริงๆ ของเราที่เราต้องพบเจอ ระหว่างศรัทธา กับ ความจริงที่อยู่ตรงหน้า เราใช้อะไรเป็นตัวเลือก

    วกวนกลับความคิดที่มันต่อสู้กับความศรัทธาได้ไม่นาน ผมก็ใช้ ศรัทธา เป็นตัวเลือก คือ นึกอธิฐานขึ้นมาในใจอีกครั้งว่า “วินาทีสุดท้าย ที่จะเดินออกไปของลูก ยังมีคนมาห้ามไว้อีก ถ้าอย่างนั้นก็ทำให้ลูกหายซิ” การอธิฐานเชิงท้าทายโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจท้าทายเกิดขึ้นมาโดยฉับพลัน แล้วค่อยๆ เอื้อมมือไปหยิบ ยาอม ที่เม็ดเล็กเท่ากับ ขนมพริกขี้หนู ที่ตอนเด็กๆ เราเคยได้กินกัน มาใส่ในปากอย่างค่อยๆปล่อยความรู้สึกที่ไม่มีอะไรมาขวางกั้นความคิด ณ ตอนนั้นได้

    หยิบ ยาอม ใส่ปากแล้วก็สวัสดีขอบคุณและขอตัวกลับ เพราะท้ายที่สุดเรารู้สึกขอบคุณและเกรงใจพี่เลี้ยงคนนั้นมากกว่า ที่หยิบยื่นไมตรีแล้วเราไม่ยอมรับ ก็กระไรอยู่ แต่ความจริงก็คือ เราต้องกลับไปพักผ่อนที่บ้าน หายดีแล้วค่อยกลับมาใหม่อีกครั้ง ยังไม่สาย

   เดินกลับไปที่ประตูอีกครั้ง แล้วผลักประตูเพื่อที่จะเดินออก ระหว่างนั้น ปาฏิหาริย์ ได้เกิดขึ้นจริงแล้วอย่างที่มือไม้สั่น เพราะตกใจอย่างแปลกประหลาดว่า นี่มันเกิดอะไรขึ้นกับเรากันแน่ รู้สึกใจสบายๆ อย่างไม่เคยรู้สึกเช่นนี้มาก่อน

    ผมหยุดที่จะเดินออกจากประตู แล้วปิดประตู หันกลับมามองพี่เลี้ยงคนนั้นแบบสงสัยว่า เขาเอาอะไรให้เรากินกันแน่ และต้องบอกว่า    สัมผัสแรกของรสชาติ ยามอม ต้องบอกว่า ยังไม่รู้สึกอะไร แต่ไม่เกินห้าวินาทีเท่านั้น ความเย็นทั่วคอดั่งมีน้ำแข็งเข้ามาอยู่ในลำคอ ได้เกิดขึ้นมา โคตรเย็นคออย่างบอกไม่ถูก อย่างที่ชนิดที่ว่าเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ยังไม่เคยเจอ ยาอมอะไร จะเย็นและชุ่มคอขนาดนี้

    นี่มัน ยาอมวิเศษ ชัดๆ ผมถึงกับอุทานขึ้นมาดังๆ พร้อมกับอาการไอหายเป็นปลิดทิ้ง สร้างความงงงวยเป็นอย่างมากให้กับผม ขนหัวลุก ขนแขนตั้ง น้ำตาเอ่อขึ้นมา เจือปนไปด้วยรอยยิ้มและความสุขใจ แล้วเดินมายกมือไหว้ขอบคุณพี่เลี้ยงคนนั้น แล้วเขาก็บอกผมแบบอมยิ้มๆ ว่า คราวนี้ก็ไม่ต้องกลับบ้านแล้วซินะอย่าลืมสัญญาด้วยล่ะ พร้อมทั้งยกหลอดยาอมให้เราทั้งหมด แล้วบอกว่า ให้อมเป็นระยะๆ จนรู้สึกหายดี ไม่ไอติดต่อกัน แล้วก็เดินจากเราไป ทิ้งไว้แต่ความสงสัยอย่างที่สุดแต่เราก็ไม่ถามอะไรเซ้าซี้มากนัก

    ผมได้กลับเข้าไปนั่งฟังเจ้าหน้าที่บรรยายต่อ อย่างใจจดใจจ่อและตั้งใจ และพยายามที่จะไอออกมาเพื่อให้แน่ใจว่าหายไอจริงๆ แล้ว ทำอย่างไรก็ไม่ไอ ผมไม่รู้หรอกว่า ยาอมสมุนไพร ที่พี่เลี้ยงคนนั้นให้มามันจะมีสรรพคุณดีแค่ไหน หรือ เป็นยาอมวิเศษอะไรกันแน่ แต่ที่รู้ๆ มันเปลี่ยนชีวิตผมเลยจนทำให้มีวันนี้ และเรื่องที่จะเล่าต่อๆ ไป ที่ผลมาจากการทำ “สมาธิ”

“มหัศจรรย์แห่งศรัทธา”

     ศรัทธา ที่มีต่อหลวงพ่อวิริยังค์ มากขึ้นๆ จนมีพลังมากมายเหลือคณา อานุภาพของความศรัทธามีพลังมากมาย ทำให้เราทำในสิ่งที่คิดว่ายากเพียงเพราะไม่เคยทำหรือลองทำแล้วไม่สำเร็จ เกิดความท้อแท้ต่อสิ่งนั้นๆ ขึ้นมา ศรัทธาจะเป็นตัวที่ทำให้เราไม่ย่อท้อโดยที่มีสมาธิเป็นตัวเติมพลังให้อีกที ต้องเป็น “สัมมาสมาธิ” และต่อเนื่องทุกวันกับการทำสมาธิ

    และต่อไปนี้จะเล่าถึงความมหัศจรรย์ของ “สมาธิ” ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าที่ผ่านมาเราเข้าใจมันไม่ครบถ้วน ทำให้เราเข้าใจ สมาธิ แบบ งูๆ ปลาๆ คือ ไม่สามารถนำ สมาธิ มาใช้กับชีวิตประจำวันได้เลย ทั้งๆที่ประโยชน์ได้ทั้งทางธรรมและทางโลก

    ประโยชน์ทางธรรม นั้นเราใช้ สมาธิเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติธรรม จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า ความรู้ทางโลก มิอาจเข้าถึงได้เลย เพราะเป็น ความรู้ที่ไม่ได้เกิดจากการ นึกคิด เอาเอง หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์เองก็พอที่จะอธิบายได้บ้าง  แต่แค่เปลือกๆ ไม่สามารถเข้าถึงบางส่วนธรรมะได้เลยเพราะเป็นองค์ความรู้คนละชุดกัน

    ที่ใช้คำว่า “บางส่วนของธรรมะ” นั้น เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นแค่เศษเสี้ยวของความรู้ ที่พุทธเจ้าได้รู้มาและได้บอกไว้ว่า ความรู้เหล่านั้น มีแต่สะสมความอยาก มากกว่าความรู้ที่พุทธองค์ได้ให้แนวทาง สูงสุด คือ ความรู้ที่เกิดจากการพัฒนาจิต ด้วยการปฏิบัติสมาธิที่มากพอจนเกิด ปัญญาขั้นสูงสุดของมนุษย์ คือ ปัญญาญาณ (ภาวนามยปัญญา) ซึ่งต้องบอกว่ารายละเอียดและขั้นตอนมีมากจนไม่สามารถอธิบายได้ดีเท่ากับการลงมือปฏิบัติธรรม

    จริงๆ แล้วการงลงมือปฏิบัติธรรมต้องเข้าใจด้วยว่า แท้จริงมันคืออะไร เพราะหลายๆ คน รวมทั้งผมซึ่งก่อนหน้านี้ก็เข้าใจไม่ต่างกับหลายๆ คน ว่าก็แค่ไปสำนักปฏิบัติต่างๆ ที่มีมากมายแล้วก็ ปล่อยวาง ไม่โกรธ ไม่แค้น ทำใจสบาย ไม่เครียด สารพัดมากมายที่ทำให้เกิดทุกข์ แล้วกอดมันไว้แน่นโดยที่ไม่ยอมปล่อยมันออกไปจากใจ

    ประโยชน์ทางโลกนั้น การไปปฏิบัติธรรมไม่ว่าจะเป็น สามวัน เจ็ดวัน ในสถานที่ปฏิบัติธรรมต่างๆ หลายคนสงบสุข และไม่เครียด จิตใจเยือกเย็น ผ่อนคลาย และประโยชน์ที่ได้รับอีกมากมายจนทำให้ไม่อยากออกมาจากสถานที่ปฏิบัติธรรมนั้นๆ เลย ซึ่งต้องบอกว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอะไรนั้นหรือ จะมีบอกในเรื่องต่อๆ ไป แต่ตอนนี้ให้รู้เพียงแค่ว่าความสุขที่เราได้รับจากการปฏิบัติธรรมในช่วงเวลานั้นๆ เปรียบได้กับ แค่ก้อนหินทับหญ้าแห่งความทุกข์ไว้ชั่วคราว ความสุขเลยเกิดขึ้นมา แต่หลังจากกลับมาใช้ชีวิตปกติ และเราไม่ทำ สมาธิ อย่างต่อเนื่อง ท้ายที่สุด ก้อนหิน  ก็คือ การปฏิบัติธรรม นั้นก็ได้ถูกยกออกมา ต้นหญ้าแห่งความทุกข์ก็โผล่ขึ้นมาอีก เราถึงได้กลับไปเป็นวงจรชีวิตเดิมๆ คือ เครียด เศร้า เสียใจ โกรธ โมโห ต่างๆ นาๆ เหมือนก่อนที่จะเข้ามาปฏิบัติธรรม

    แต่จะว่าไปแล้วนั้น ใช่ว่าการที่เราปฏิบัติ สมาธิ ผ่านไปแล้วมันจะหายไปหมดเลย จริงๆ แล้วผลของ สมาธิ ยังคงมีอยู่ แต่มันไม่มากพอที่จะเอาชนะ ความโกรธ ความเครียด ความเศร้า รวมแล้วเรียกว่า สิ่งอกุศลใดๆ ได้เลย เพราะพลังมันน้อยกว่ามากๆ

    ประโยชน์สูงสุดทางโลก ก็คือ อยู่กับสิ่งที่เป็น อกุศลต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น อย่างเข้าใจมัน ทุกข์น้อยที่สุด รู้ผลของสิ่ง อกุศล ว่ามันน่ากลัวแค่ไหน ผลเสียตามมามากมายมหาสารแค่ไหน และเกิดทุกข์ตามมาอย่างไม่หยุดหย่อนเลย สมาธิ ที่ต่อเนื่องจะทำให้เราพอที่จะเข้าใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้บ้าง เราต้องทำสมาธิทุกวัน โดยที่ไม่ต้องคาดหวังผลของมันว่าจะมีประโยชน์อย่างไร แค่ทำไปทุกๆวัน โดยไม่ต้องคิดอะไรมากมาย

    สามวันที่ผ่านมา กับการปฏิบัติสมาธิ ในสถาบันพลังจิตตานุภาพนั้น ไม่ได้ทำให้ผมได้เข้าถึงสิ่งดีๆ ต่างๆ ที่ได้กล่าวมา หรือ จะเข้าใจทุกข์ และไม่ทุกข์ได้ แต่มันทำให้ผมได้เข้าใจวิธีการทำสมาธิที่ถูกต้องระดับหนึ่ง ซึ่งต้องบอกว่าเป็นแนวทางจนถึงขั้นเป็นวิธีที่ใช้ทำสมาธิในปัจจุบันมาตลอด และเปลี่ยนชีวิตลูกผู้ชายขี้เหล้าเมายามาตลอดเกือบ 20 ปี เลิกโดยเด็ดขนาด กว่า สองปีที่ได้ปฏิบัติสมาธิมา

    ก่อนที่จะมาถึงจุดที่เลิกเหล้าเมายาได้นั้น ไม่ใช่แค่สามวันนั้น แต่มันต้องใช้ระยะเวลาอยู่พอสมควร แต่สามวันนั้นต้องบอกว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งดีๆ มากมาย เป็นต้นทุนที่ทำให้ผมมีกำลังใจ แรงใจ บวกกับศรัทธาต่อหลวงพ่อวิริยังค์ ที่มีมากขึ้นอย่างทวีคูณ จนทำให้ผมตั้งปณิธาน กับตัวเองไว้ว่า ผมจะยึดแนวคำสอนและหลักการปฏิบัติของหลวงพ่อไปตลอดชีวิต

    สามวันของการปฏิบัติสมาธิแค่น้ำจิ๋ม จุดเปลี่ยนจริงๆ ต้องเรียกว่าอยู่ที่ “หลักสูตรครูสมาธิ” ที่ต้องใช้เวลาเรียน 6 เดือน ซึ่งยาวนานมากๆ สำหรับคนที่ไม่มีความศรัทธาต่อพุทธศาสนา หรือ มีแต่ไม่รู้สึกถึงผลของการปฏิบัติสมาธิ ก็ไม่ทำให้เขาเหล่านั้นมาเรียนหลักสูตรนี้ได้เลย

    ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาในชีวิตผม ในส่วนเรื่องต่างๆ เหมือนถูกขีดเส้นไว้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น ซึ่งมีแต่ความผิดหวัง ความเศร้า ความไม่เข้าใจชีวิต และที่สำคัญความจนที่มันทำให้เราแทบจะหมดโอกาสทางการศึกษา ดูยังไงก็ไม่น่ามาถึงจุดนี้ได้ ท้ายที่สุดก็มาถึงตรงจุดนี้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    ก่อนหน้านี้ผมพยายามหาเหตุผลมาตลอดว่ามัน คือ อะไรกันแน่ หมายถึง มีสิ่งอะไรมาทำให้ผมผ่านสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมาได้ แน่นอน ความขยัน ความดี ความมุ่งมั่น อดทน ความเพียร ของแม่ ที่เป็นต้นทุนชีวิตอย่างดี ที่ทำให้ผมได้ซึมซับมาทั้งหมด มีส่วนมากๆ ที่เป็นตัวผลักให้ผม สู้ไม่ถอยมาจนทุกวันนี้

    แต่แค่ “แรงผลัก” อย่างเดียวเท่านั้นหรือที่ทำให้เราเป็นอย่างนี้ มันมี “แรงดึง” อะไรด้วยหรือเปล่าที่เรามองไม่เห็นและคอยมา ฉุดดึง เรามาตลอดในขณะที่เราหมดแรง และแรงผลักนั้นได้ทำหน้าที่ของมันจนสุดความสามารถแล้ว แต่ก็ยังไม่ถึงจุดหมายที่เราได้ตั้งไว้

    มือที่มองไม่เห็น ที่มาคอย ดึงเราให้หลุดพ้นจากความไม่รู้ ประคับประคองให้เราได้เดินฝ่าพายุชีวิตที่โหดร้ายนั้นได้ ท้ายที่สุดก็คือ ความดี หรือสิ่ง กุศล ใดๆ ที่เราได้ทำไปแล้วนั้นจะเป็นตัวที่เราเรียกมันว่า “แรงดึง”  จะคอยมาช่วยเหลือเรา ทั้งมาจากอดีตชาติและปัจจุบัน ซึ่งระดับเหตุผลหาคำตอบไม่ได้ มีเพียงแต่ ระดับจิตวิญาณ ที่ฝึกมาดีแล้ว

    วันสุดท้ายของการปฏิบัติสมาธิเบื้องต้น และนี่ก็เป็นวันแรกของการปฏิบัติสมาธิเข้มข้นขึ้นมาอีก อย่างที่ได้กล่าวมาช่วงต้นๆ ว่าพลิกฟ้าพลิกแผ่นดินเลยทีเดียว เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าใจของการทำสมาธิและลงมือปฏิบัติแบบจริงจัง ในทุกๆวัน จนผลของการทำสมาธิมันส่งให้เรามีพลังมากมายมหาสาร ชนิดที่เรียกว่า ถ้าเป็นเมื่อก่อนต้องท้อ และไม่กล้าที่จะทำได้เหมือนทุกวันนี้อย่างแน่นอน

    ไม่มีความบังเอิญกับชีวิตใดๆ ทั้งนั้น “หลักสูตรครูสมาธิ” ที่ต้องใช้เวลาเรียนถึง 6 เดือน ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 18.00-20.30 ซึ่งลักษณะงานที่ผมทำต้องบอกว่าไม่เอื้อต่อการเรียนเลยเป็นอย่างมาก ดูอย่างไรก็เรียนไม่ได้ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่ของคนที่มีความศรัทธาต่อหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร เลย เพราะรู้แล้วว่าแค่สามวันเรายังสัมผัสสิ่งต่างๆ มากมายอย่างที่เราเองก็อธิบายไม่ได้ด้วยเหตุและผล ใช้เพียงแต่ใจที่ศรัทธาเพียงอย่างเดียว

    เป็นวันแรกของวันเปิดรับสมัครเรียน “ครูสมาธิ” และมีการปฐมนิเทศ ด้วย และต้องบอกว่าทุกอย่างเหมือนได้ถูกขีดเส้นมาให้แล้ว เพราะใน1 ปี เปิดได้แค่ 2 ครั้ง แต่หลักสูตรที่เข้าไป 3 วัน 2 คืน (หลักสูตรชินสา2) เปิดทุกเดือน เดือนละครั้ง ถ้าเราจบในช่วงที่ “หลักสูตรครูสมาธิ” ยังไม่ได้เปิด ก็จะทำให้ต้องรอไปอีก ซึ่งนั่นก็หมายความว่า สำหรับผมแล้วรู้ตัวเลยว่าถ้ารอไปอีก ขี้เกลียดเป็นแน่แท้ เพราะตัวเองเวลามุ่งมั่นที่จะทำอะไรแล้วไปต่อไม่สุด ก็จะพาลที่ไม่อยากที่จะทำต่อกันเลยทีเดียว

   แต่อย่างที่บอกไว้ว่า ถูกกำหนดมาแล้ว ธรรมะจัดสรรเวลาได้เป็นอย่างดีเยี่ยมและลงตัวเป็นที่สุดของที่สุด จบอีกหลักสูตร เริ่มอีกหลักสูตร กันเลยทีเดียว ผมได้เข้าไปสอบถามถึงรายละเอียดการเรียนหลักสูตร “ครูสมาธิ” กับเจ้าหน้าที่และได้คำตอบว่าต้องเรียนทุกวัน ตั้งแต่วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 18.00 น.ถึง 20.30 น. เป็นเวลาถึง 6 เดือน

   โอ้แม่เจ้า ลักษณะงานที่ผมทำไม่ได้เอื้อให้ผมได้มาปฏิบัติเลย เริ่มกลับมาคิดอีกครั้ง ต้องบอกอย่างนี้ครับว่า บางครั้งเหมือนจะได้ไปต่อ บางทีก็เหมือนมีอะไรมาฉุดลั้งไว้ให้หยุดเดิน เป็นอย่างนี้อยู่ตลอดบนเส้นทางนี้สำหรับผม

   ผมไม่คิดอะไรมากมายแล้วลองปล่อยไปตามความรู้สึกบ้าง ระหว่างที่ผมกำลังทบทวนว่าจะเรียนได้หรือเปล่าอยู่นั้น เจ้าหน้าที่ได้พูดขึ้นว่า ชีวิตคนเรานั้นมีโอกาสดีๆ ไม่กี่ครั้งหรอก บางครั้งหลายคนปล่อยมันให้ผ่านไป โดยที่ไม่ได้ฉุกคิดว่ามันเป็นโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตเลย แต่ก็นั่นอีกแหละอีกไม่น้อยที่ได้รับโอกาสแล้วใช้มันไม่เป็นอีก คือ เตรียมตัวไม่พร้อมสำหรับโอกาสดีนั้น

   ผมนึกถึงเหตุการณ์ที่กว่าจะเข้ามาเส้นทางนี้จนกระทั่งวันนี้ แล้วทำให้ผมรู้สึกได้ว่านี่คงไม่บังเอิญแน่ๆ ทุกอย่างบนโลกล้วนมีอุปสรรคทั้งนั้น แต่ “ ศรัทธา ” ต่อสิ่งที่ตัวเองมุ่งมั่น จะเป็นตัวขับเคลื่อนตัวเราให้เดินต่อไปอย่างมั่นใจ และไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดๆเลย เป็นเช่นนั้นจริงๆ ครับ ความศรัทธา ที่ผมมีต่อหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร มากมายจนมีพลังขับเคลื่อนตัวผมให้ตอบตกลง ที่จะเรียน “หลักสูตรครูสมาธิ” 6 เดือนจนจบ และก็เปลี่ยนชีวิตผมมากมายอย่างที่เรียกว่า พลิกฟ้าพลิกแผ่นดินกันเลยทีเดียว

   ช่วงระหว่างที่เรียน ได้ความรู้มากมายเกี่ยวกับ สัมมาสมาธิ เราจะเข้าใจวิธีการทำสมาธิที่ถูกต้องและรวดเร็ว เข้าใจกระบวนการที่ทำให้เกิดสมาธิ และผลของสมาธิ ที่ผมใช้ในชีวิตประจำวันทุกวัน และก็ยังคงฝึกและฝึกกันต่อไป พร้อมทั้งกัลยาณมิตรที่เดินเส้นทางเดียวกัน ที่ไม่ใช่พี่ใช่น้อง แต่ก็รักและนับถือกันมากมาย เพราะได้รับสิ่งดีๆ ร่วมกันมามาก

   ผมคงสาธยายและอธิบายถึงสิ่งที่ได้รับไม่หมดโดยการเขียนให้อ่านเพียงอย่างเดียว เพราะเรื่องของการปฏิบัติและผลที่ได้รับนั้นรู้ได้เฉพาะตนมากๆ แต่สิ่งที่จะนำมาถ่ายทอดและแบ่งปันกันก็คือ ตัวเราเปลี่ยนไปแล้วจริงๆ จากการปฏิบัติสมาธิ อย่างต่อเนื่องและจริงจังทุกวันเป็นเวลา 2 ปี และเรื่องราวที่จะเล่าต่อไปนี้ คือ สิ่งที่เป็นผลลัพธ์ทางจิตใจ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

    กัลยาณมิตร ทางธรรม ได้เกิดขึ้นมาจากที่เราได้เข้าคอร์สเรียนครั้งนี้ มีอะไรหลายๆ อย่างที่ทำให้ผมเข้าใจสังคมการปฏิบัติธรรมมากขึ้น เพราะอย่างนี้นี่เองคนมากมายถึงได้มีความสุข จากการให้และการทำบุญทำทาน เพราะเขาเหล่านั้นรู้ดีว่า การทำบุญหรือทำทานนั้นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาร่ำรวยอะไรมากมาย แต่นั่นเพราะเขาเหล่านั้นฝึกการเสียสละ สุดท้ายแล้วจะรู้ว่าการไม่มีสิ่งนั้น หรือ สูญเสียของอันเป็นที่รัก ท้ายที่สุดมันก็ต้องจากไปอยู่ดี

    ไม่ได้บอกว่าการปฏิบัติธรรมจะทำให้คุณเข้าใจหรือสละได้ทั้งหมด เพราะระดับหรือความเข้มข้นของการปฏิบัติเพื่อให้เข้าใจนำพาสู่การเข้าถึงในระดับที่สูง ถึงขั้น พ้นทุกข์ นั้น ต้องเรียกว่าไม่ใช่ชาตินี้แน่นอน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้เป็นข้ออ้างที่จะไม่สนใจปฏิบัติธรรม

   การปฏิบัติธรรม หรือ แม้กระทั่งทำกิจการงานใดๆ ต่างๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความ ใส่ใจ เป็นพิเศษ ก็คือ ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตารอ “ ผล “ ของมัน เพราะ ถ้าเราทำเหตุไว้ดีแล้ว ไม่ต้องห่วงหรอกว่า “ผล” มันจะไม่ดี เพียงแต่มันยังไม่ได้ ออกผลในระยะอันสั้น

   การปลูกถั่วงอกนั้นให้ผลที่เร็วกว่าปลูกต้นทุเรียน คือ สิ่งที่กำลังจะบอกว่า ผลของความดีใดๆ นั้น บางทีมันก็ส่งผลเร็วเหมือนปลูกถั่วงอก ใช้เวลาไม่กี่วันก็นำเอามากินได้แล้ว แต่กว่าเราจะได้กินทุเรียนซักลูกนั้น มันช่างรอนานเสียยิ่งกระไร ผลของความดีมันทำไมช้าจังเลย หลายคนอดที่จะบ่นไม่ได้ หลายครั้งเลิกทำดีไปด้วยซ้ำไป

    การปฏิบัติธรรม ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ ถ้าท่านมีความคิดที่จะรอผล ท่านจะไม่ได้ผลนั้น บางครั้งมันซับซ้อนเกินกว่าที่จะอธิบายมาเป็นตัวอักษร ซึ่งชื่อว่าหนังสือหลายๆ เล่ม ตามที่เราได้อ่านหรือเรียนรู้มา ก็พยายามบอกอย่างนั้น ว่าทำอย่างนี้ ทำอย่างนั้น แล้วจะดีขึ้น ต่างๆ สารพัดวิธีที่นำเสนอเพื่อพัฒนาศักยภาพในตัวเรา สุดท้ายเราพบว่าปฏิบัติไม่ได้จริงเหมือนดั่งที่เรารู้มา

    การปฏิบัติธรรมที่ให้ผลได้จริง คือ การหยุดคิด ใดๆเลย ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับเราว่าจะนิ่งและหยุดคิดได้นานแค่ไหน หลายสำนักปฏิบัติใช้วิธีที่เรียกว่า “จิตจดจ่ออยู่กับคำบริกรรม” นั่นคือ สภาวะการกรองความคิด ให้อยู่กับคำๆ เดียว จะเรียกว่าอะไรก็สุดแล้วแต่ แต่ทางสายหลวงปู่มั่นใช้คำบริกรรมว่า “พุทโธ” จะไม่ลงรายละเอียดครับว่ากระบวนการทำอย่างไร

    ท่านต้องหาเวลาพัฒนาจิตวิญญาณของตัวเองเพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจชีวิตของท่านเอง ตัวผู้เขียนเป็นเพียงแค่ สื่อ หรือ เส้นทางบอกผ่าน ตัวท่านกับ พุทธศาสนา อีกเส้นทางเล็กๆ หนึ่งแค่นั้น มิได้มีหน้าที่บอกว่าดีอย่างไร แต่แค่มาแบ่งปันผลที่ได้ว่ามันเปลี่ยนชีวิตไปอย่างไร

    การปฏิบัติสมาธิตามหลักสูตร ครูสมาธิ นั้น นอกจากจะได้บุญตามวิถีทางพุทธแล้ว กัลยาณมิตรก็จะได้มาด้วย แบบที่ท่านไม่ต้องพยายามที่จะหาเพื่อนดีๆ ซักคน และก็ไมได้การันตีว่า จะดีได้ดั่งใจท่านหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ เรื่องที่สนทนากัน ก็จะเป็นแต่เรื่องบุญกุศล การทำทาน การช่วยเหลือคนอื่น อีกมากมายกับการทำดี

    ลองคิดดูดีๆ ครับว่า เรื่องที่เราคุย สังคมที่เราอยู่ เพื่อนที่เราคบ หนังสือที่เราอ่าน มีแต่สิ่งที่ซักจูงไปในทางที่ดี และตอกย้ำกันอยู่ในทุกๆ วัน โอกาสที่จะซึมซับสิ่งดีๆ มีมากมายอยู่แล้ว แต่การที่จะปฏิบัติธรรมแล้วเข้าใจให้เดินทางสู่การเข้าถึง ต้องขึ้นอยู่ที่ตัวท่านว่าจริงจังแค่ไหน หวังผลแค่ไหน เพราะระดับของความสุขและการเข้าใจชีวิตในการปฏิบัติธรรม ย่อมไม่เท่ากันอยู่แล้ว

    ระดับของความเข้มข้นในการปฏิบัติสมาธิ จะเพิ่ม ระดับของ “สติ” ไปในตัว ซึ่งต้องบอกว่าสิ่งนี้นี่แหละ จะทำให้ท่าน เข้าใจความทุกข์ จากความเปลี่ยนแปลง การไม่ได้ดั่งใจ ความโกรธ เกลียด สารพัดเรื่องทุกข์ใจ ได้มากน้อยต่างกัน

   ผมได้กัลยาณมิตรได้สังคมที่ดีงาม คุยกันแต่เรื่องทำบุญทำทาน ปฏิบัติธรรม อย่างนี้ตลอด มันได้ผลจริงๆ เราซึมซับจากสังคมดีๆ อย่างนี้มาอย่างไม่รู้ตัว และไม่ได้บอกว่า สังคมดีๆ ตามความเข้าใจของผู้เขียนจะเป็นรูปแบบความดีที่ดีที่สุด และจะไม่มีข้อเสียใดๆ เลย เพราะทุกอย่างโลกนี้มีดีมีเสียในตัวมันเอง

   แต่ถ้าเทียบกับสังคมทั่วๆ ไป หมายถึงสังคม ที่พูดแต่เรื่องส่งเสริมแต่ความอยากมีอยากได้เกินความจำเป็น มันทำให้เราเสพติดเรื่องราวและวิถีชีวิตแบบนั้น จนเราเองถอนตัวออกมาไม่ได้แล้วก็ใช้ชีวิตอย่างนั้นไปอย่างสุดโต่ง ท้ายที่สุดความทุกข์เข้ามาเยือนโดยที่เราไม่ได้ตั้งตัว

   ทำให้เราไม่สามารถต่อสู้กับความทุกข์นั้นได้ เปรียบได้กับเราหัดว่ายน้ำตอนที่เรือกำลังจะจม แน่นอนว่าไม่สามารถที่จะช่วยให้เรารอดพ้นจากการจมน้ำได้ ด้วยการฝึกในช่วงเวลาอันสั้นและกะทันหันเกินไป

   ที่บอกมาทั้งหมดนี้ กำลังจะบอกว่าตัวผมเป็นมาทั้งหมดแล้ว แต่มันเริ่มเจือจางลงไปหลังจากที่ผมได้ปฏิบัติสมาธิ อย่างต่อเนื่องในทุกๆ วันของการใช้ชีวิตประจำและสม่ำเสมออย่างชนิดที่เรียกว่า ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ต้องต้อง เป็นประโยคที่ พลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร ได้พร่ำบอกกับลูกศิษย์ทั้งหลายว่าเป็นสิ่งสำคัญ

   อุบายธรรม เช่นนี้ ทำให้ผมเข้าใจแล้วว่าท่านกำลังฝึกอะไรเรา คือ การฝึกความเคยชินของจิต บังคับจิตไม่ให้ตามใจจิต ที่ชอบฟุ้งซ่านไปหาสิ่งอกุศลทั้งปวง ลองคิดดูก็ได้ว่าถ้าเราหากขี้เกียจต่อการที่จะทำอะไรซักอย่าง เรามีพลังมากพอมั๊ยที่จะทำสิ่งนั้น ไม่มีทางแน่นอนเพราะนั่นคือความขี้เกียจ ที่เรามีความรู้สึกต่อสิ่งนั้นแล้ว

   ไม่ได้หมายความว่า มีการปฏิบัติสมาธิ เพียงอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำให้ท่าน มีพลังมากพอที่จะต่อสู้กับความขี้เกียจ แต่ยังมีสิ่งอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นแรงกระตุ้นตัวเองให้ลุกขึ้นมาจากความขี้เกียจ สิ่งหนึ่งก็คือ ความศรัทธา ต่อสิ่งที่จะทำอย่างสุดใจ แล้วพลังจะมีขึ้นมาอย่างมากมาย

   และยิ่งยากเข้าไปใหญ่เมื่อเราขี้เกียจทำ สมาธิ เพราะสมาธิจะเป็นตัวทำให้ท่านต่อสู้กับความขี้เกียจได้ แต่เราเกิดความรู้สึกขี้เกียจทำสมาธิเองอีก สารพัดข้ออ้างและเหตุผลที่จะไม่ทำ รวมทั้งเหตุปัจจัยที่ต้องเรียกว่ามากพอที่จะให้เราไม่ทำสมาธิ กัลยาณมิตร จะช่วยเราได้มากมายช่วงที่เราขี้เกียจทำ เขาจะคอยกระตุ้นบอกถึงบุญกุศลของการทำสมาธิ

   สิ่งๆ นี้นั่นแหละที่ช่วยผมมากมายในการที่ต้องทำสมาธิในทุกๆ วัน ศรัทธา เป็นเข็มทิศในการเดินทาง กัลยาณมิตรเป็นพลังในการใช้ระหว่างเดินทาง  และเหนืออื่นใด คือ ความวิริยะ อุตสาหะของตัวเราอย่างไม่ย่อท้อ จะเป็นพลังหลักที่ใช้ในการเดินทางในเส้นทางที่แสนไกลนี้

 

 

 

 

“บททดสอบที่ขุนช่างเคี่ยน”

   เราจะรู้ว่าของตรงหน้าเรานั้นมันหนักแค่ไหน เราต้องลองยกดู สมาธิ ก็เหมือนกัน เราจะรู้การปฏิบัติของเรานั้นมันถึงระดับไหนแล้วนั้น เราต้องเจอสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันจริงๆ เราถึงได้รู้ว่า กำลังของ สติ ทีมาจากสมาธินั้นเพียงพอแล้วหรือยัง ไม่ใช่การหนีเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต แล้วบอกว่าว่าเรา มีกำลังใจเพียงพอ ที่จะเข้าใจ มันไม่ใช่

   ปัญหาใหญ่ของนักปฏิบัติธรรม คือ หนีความจริงจากสังคมที่ตัวเองอยู่ แล้วไปอยู่รวมกันกับสังคมที่ตัวเอง คิดว่าดี คือ สังคมนักปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ว่าการที่ออกมาพูดอย่างนี้จะมองว่าเห็นว่าการปฏิบัติธรรมสุดท้ายแล้ว ไม่ดีหรือเปล่า เพียงแต่อยากจะบอกว่าการที่เราได้เข้าไปอยู่จึงได้พบความจริง หลายๆ อย่าง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกับดักนักปฏิบัติธรรมเลยก็ว่าได้ คือ การติดดี

   เราจะไม่ขอกล่าวถึงพวกติดดีคนอื่นๆ แต่จะพูดเฉพาะตัวเองที่เคยเกิดความรู้สึกเช่นนั้นมาแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ตัวท่านเอง ว่าเป็นเช่นนี้หรือเปล่า บางทีอาจจะไม่ตรงกับท่านซะทีเดียวแต่หลักๆ คิดว่าน่าจะเป็นแนวทางได้ดีทีเดียว

   เราได้ปฏิบัติสมาธิมาพอสมควร จนคิดว่าตัวเองนั้นเข้าใจข้อธรรมต่างๆ และวิถีชีวิตได้เป็นอย่างดี โดยหารู้ไม่ว่าเรากำลังติดกับดักปฏิบัติธรรมอย่างไม่รู้ตัว เพราะการไปปฏิบัติธรรมนั้น เราเจอแต่สิ่งดีๆ มากมาย การช่วยเหลือกัน การพูดแต่เรื่องดีๆ การชวนกันไปทำบุญ ต่างๆ เหล่านี้ล้วนทำให้ จิตใจเราเบิกบานแจ่มใส  ทำให้เราอยากมาปฏิบัติธรรมโดยการนั่งสมาธิทุกวันโดยที่ไม่อยากไปสถานที่อื่นๆ เลย เพราะเบื่อ

   แต่แล้วชีวิตก็ต้องดำเนินไปตามวิถีทางแห่งมัน เราได้รับการชักชวนจากน้องๆ ที่สนิทกันมากให้ไปเที่ยวขุนช่างเคี่ยน จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งต้องบอกว่า ใน 1 ปี พวกเราจะมีทริปที่เราเรียกมันว่า “ทริป ดนตรี กวี ศิลป์” ซึ่งก่อนหน้านี้ครั้งแรก เราไปกันที่ ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์ แล้วเกิดความประทับใจมากมาย เพราะกิจกรรมที่เราได้ร่วมกันทำนอกจากไปดูสถานที่ที่เป็นธรรมชาติแล้ว ตกกลางคืนเรายังมีการพูดคุยกันในแนวสุนทรียะสนทนา (Dialogue) คือ ให้แต่ละคนได้เล่าเรื่องราวต่างๆ ของตัวเอง ที่เราอยากเล่า ความสุข ความทุกข์ เรื่องราวที่รู้สึกดี รู้สึกไม่ดี แล้วแต่ใครจะเล่าคนละหนึ่งเรื่อง

   โดยที่ทุกคนที่ฟัง จะไม่มีการตัดสินว่า เรื่องที่ได้ฟังจบไปแล้วนั้นเป็นเรื่องที่ผิดหรือถูก ดีหรือไม่ดี ควรหรือไม่ควร เหมาะสมหรือไม่ พูดง่ายๆ ว่าจะไม่ด่วนตัดสินใจสิ่งที่เขาทำลงไป เพียงแต่ตัวเราก็แค่คอยเสริมว่า ความรู้สึกนี้ยังเกิดขึ้นอยู่อีกหรือเปล่า และให้กำลังใจพร้อมทั้งเสริมมุมมองที่ขยายต่อความคิดนั้นไป โดยที่ไม่ได้เข้าไปตัดสินความคิดนั้นๆ

   ทริปแรกจบลงด้วยความประทับใจ ทุกคนมีความสุข มีทั้งดนตรี โดยการเล่นกีตาร์ของเรา มีการอ่านบทกวีของน้องๆ ที่ชื่นชอบบทกวี และศิลป์ ในที่นี้เรา เรียกมันว่าศิลปะแห่งการดำรงอยู่ คือ สุนทรียะสนทนา การพูดคุยกันและฟังแบบไม่ตัดสินใครในมุมมองของตัวเอง

  ซึ่งในปีต่อๆ ไปเราทุกคนก็สัญญากันว่า จะมีทริปอย่างนี้กันทุกปี เพราะมันมีอะไรมากกว่าการท่องเที่ยวกันอย่างเดียวซึ่งมีแต่ความสนุก จริงๆ แล้วน่าจะพอเพียงแก่การท่องเที่ยว แต่การที่ได้มีการพูดคุยกันแบบ สุนทรียะสนทนาด้วยนั้น ทำให้การท่องเที่ยวนอกจากสนุกและผ่อนคลายแล้ว เรายังมีมิติที่มากขึ้นด้วย คือ มุมมองใหม่ๆ จากทุกๆ คนที่ได้เล่าเรื่องของตัวเองให้คนอื่นๆ ฟัง และไม่มีการตัดสินใดๆ ทั้งสิ้นรวมทั้งการวิจารณ์ใดๆด้วย

   ทริปที่สองนี้ ต้องเรียกว่าเป็นทริปแห่งความทรงจำในหลายๆ เรื่อง น้องๆ หลายคนเติบโตทางจิตวิญญาณมากเรื่องที่คุยก็จะมีมิติทางความคิดมากขึ้น คือ นุ่มลึก และสุขุมมากขึ้น และที่สำคัญตัวเราได้ผ่านการปฏิบัติสมาธิมาพอสมควร ชนิดที่เรียกว่า สามารถอธิบายสิ่งเกิดขึ้นเป็นภาษาธรรมนั้นเขาเรียกว่าอย่างไร โดยเราเรียกมันว่า “ธรรมะชิลชิล”

   ตลอดการเดินทางที่ออกจากกรุงเทพ ฯ ไปเชียงใหม่ เพื่อไปขุนช่างเคี่ยนนั้น การพูดคุยกันในรถ หยอกล้อแซวกันถึงเส้นทางที่เราใช้เดินทางนั้น คนที่จะไปเชียงใหม่โดยเดินทางจากกรุงเทพฯ นั้น เขาจะไม่ใช้เส้นทางแบบเรา คือ มันลำบากเกินไป แต่ไม่ใช่แนวพวกเรา คือ ต้องการสัมผัสบรรยากาศที่แตกต่างไปจากเดิมๆ เราจึงใช้เส้นทางใหม่ๆ

    เล่ามาทั้งหมดดูเหมือนจะดีและสนุกสนานไม่น่าเกิดปัญหาอะไรได้ แต่แล้วมันก็เกิดเรื่องขึ้นมาได้ เรื่องมีอยู่ว่า วันแรกที่เราเดินทางไปถึงขุนช่างเคี่ยนนั้น เราเป็นคนขับรถ ซึ่งพวกเราใช้รถสองคัน มีทั้งหมดสิบคน แบ่งคันละห้าคน ต้องบอกว่ากว่าเราจะถึงขุนช่างเคี่ยนนั้นเราใช้เวลาเดินทางค่อนข้างมากมาย ออกจากกรุงเทพฯ ตี 5 ถึง ขุนช่างเคี่ยนประมาณสองทุ่ม ทำให้เกิดการเหนื่อยล้ามากๆ แต่เราก็ยังสนุกสนานกันมากมายในคืนแรกที่ขุนช่างเคี่ยน

   วันที่สอง เราจะไปต่อกันที่ดอยอ่างขาง ซึ่งต้องบอกว่าระยะทางห่างกันมากๆ การเดินทางของเราก็แวะไปเรื่อยๆ ไม่ได้รีบร้อนอะไร โดยที่เราเองก็คิดไม่ถึงว่าเส้นทางที่เราใช้ไปดอยอ่างข่างนั้นมันอ้อมและไกลมากอีกทั้งยังเลาะและขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ทำให้การขับรถเพิ่มความยากลำบากมาก ซึ่งต้องบอกว่าทั้งไกลทั้งเส้นทางลำบาก

   วันแรกก็เหนื่อยมากแล้ว วันที่สองยิ่งเหนื่อยกว่าวันแรกมาก ไปถึงที่พักพวกเราวางแผนกันไว้ว่าจะนอนเต้นท์กัน แต่แล้วเมื่อไปถึงอ่างข่างๆ จริงๆ มันมืดและหนาวมากๆ ทำให้ดูแล้วไม่สะดวกและปลอดภัยต่อสุขภาพแน่ๆ เพราะมันทั้งเย็นและหนาวซึ่งมีลมอีกด้วย แต่น้องในกลุ่มยังอยากนอนเต้นท์ ทำให้ตัวเราซึ่งเหนื่อยล้ามาเต็มๆ สองวัน ซึ่งอยากจะนอนที่มันสบายๆ หน่อยคือ ที่พักรีสอร์ท ต่างๆ ดูแล้วก็มีเยอะ เกิดความรู้สึกหงุดหงิด และโมโหจนมีอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาแล้วแสดงมันออกมาโดยที่ตอนนั้นก็คิดไม่ถึงเหมือนกัน

   เราได้พูดอย่างค่อนข้างมีอารมณ์เหนื่อย หิว และเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเป็นอย่างมากว่า ใครจะนอนก็นอนเถอะเราไม่นอนด้วยล่ะ เพราะมันหนาวเกินกว่าจะนอนเต้นท์ได้ ไปหารีสอร์ทนอนดีกว่า ซึ่งตอนนั้นทำให้บรรยากาศเริ่มตรึงเครียด ทำให้ทุกคนต้องเริ่มเปลี่ยนแผนนอนเต้นท์ และไปหาที่พักที่เป็นบ้านแทน

   พอถึงที่พักที่เป็นบ้าน เราอาบน้ำที่เป็นน้ำอุ่น ทำให้เราเริ่มที่จะผ่อนคลายไปได้บ้าง เริ่มที่จะมานั่งกินและพูดคุยพร้อมทั้งเล่นกีตาร์ได้สนุกสนานเป็นปกติ ซึ่งจริงๆ แล้วก่อนหน้านี้ถ้าเราไม่ใช้อารมณ์ที่โมโหพูดไป บรรยากาศอาจสนุกขึ้นกว่านี้ แต่ทุกคนก็เริ่มผ่อนคลายกันมากขึ้นแล้วนั่งคุยเรื่องของเส้นทางที่เรามานั้นมันอ้อม เพราะดูได้จากเราเห็นรถเก๋งที่มีมากมายที่จอดอยู่ที่พัก

   ซึ่งต้องบอกว่าพวกเราทุกคน งง มากๆ ขึ้นมาได้ยังไง แล้วก็ได้ความว่าเราขึ้นผิดทาง ซึ่งเป็นทางที่ยากลำบากมากๆ และฝนก็ตกมาตลอดทาง เราพูดคุยกันอย่างสนุกสนานถึงในเรื่องที่ว่าบางครั้งเชื่อเทคโนโลยีที่มากไปจากมือถือ มันก็อาจทำให้เราเสียเวลาได้อย่างที่พวกเราเป็นกัน การถามทางจากชาวบ้านแถวๆ นั้นจะเป็นการดีที่สุด แต่พวกเราก็ไม่ทำ เพราะเชื่อมั่นเทคโนโลยี

   ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น สิ่งที่กำลังจะบอกนั้นก็คือ การที่แต่ละคนมีต้นทุนทางจิตมาไม่เท่ากันนั้น ทำให้ระดับของความสุข ความโกรธ โมโห โลภ และความเข้าใจชีวิต จะไม่เท่ากัน เราเห็นบางคนทำไมโกรธง่าย โมโหง่าย หงุดหงิดอยู่เป็นประจำ วิตกกังวลอยู่เนืองๆ ในขณะที่หลายคนกลับควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้ดี ไม่ว่าเราจะเรียกสิ่งนี้ว่า เป็นบุญเก่า ทำของเก่ามาดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่ดี สุดแท้แต่จะเข้าใจและให้ความหมายตามระดับความเข้าใจของแต่ละคน

   แต่ในส่วนความเข้าใจของเรานั้น คือ ต้นทุนทางจิตของแต่ละคนไม่เท่ากัน ซึ่งต้องบอกว่า ต้นทุนทางจิตของเรานั้นต่ำมากๆ โมโหง่าย หงุดหงิด อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย แม้กระทั่งฝึกฝนและปฏิบัติสมาธิ ที่ตัวเองคิดว่ามากพอแล้ว แต่เอาเข้าจริง ยังไม่มากพอที่จะต่อสู้กับอารมณ์ที่มันร้ายๆ เข้ามาอย่างที่เราไม่ได้ตั้งตัวอยู่ตลอดเวลา

   และนี่ก็คือ คำตอบที่ว่าทำไมคนปฏิบัติธรรมหลายๆ คน ยังมีอารมณ์เหล่านี้อยู่และมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะต้นทุนทางจิตต่ำมากๆ ต้องใช้พลังของการปฏิบัติสมาธิต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งก็บอกไม่ได้ว่านานแค่ไหน ทำให้หลายคนเลิกปฏิบัติไปมากมายเพราะไม่เห็นผลว่าชีวิตดีขึ้น มิหนำซ้ำจะดูเหมือนว่าหนักไปกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำไป

   ที่เป็นอย่างนี้ก็คือ การที่เราปฏิบัติธรรมแล้วคาดหวังว่าจะทำให้ชีวิตดีขึ้น มันจะไม่ดีขึ้น พูดไปแล้วทำให้คนเจ้าเหตุผลทั้งหลายบอกว่า แล้วไม่คาดหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น จะมาปฏิบัติธรรมไปเพื่ออะไร นั่นคือ สิ่งที่นักปฏิบัติธรรมติดกับดักของการปฏิบัติธรรมอย่างดิ้นไม่หลุด

   การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงในเบื้องต้น เขาฝึกการไม่คิด ไม่ฟุ้งซ่าน หรือคิดอยู่แค่อารมณ์เดียว ครูบา อาจารย์ ท่านเรียกว่า คำบริกรรม คือ จิตจดจ่ออยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง แค่อารมณ์เดียว ในรูปแบบที่ต่างสถานปฏิบัติธรรม ก็มีรูปแบบ คำบริกรรมที่แตกต่างกันไป แต่ก็จุดประสงค์เดียวกัน คือ จิตรวมเป็นหนึ่งเดียว ไม่ส่งจิตออกไปข้างนอก ถ้าพูดให้ง่ายเข้าไปอีกนิดก็คือ ไม่ให้คิดฟุ้งซ่านไปทั่ว ให้คิดอยู่แค่เรื่องเดียว

   ซึ่งรายละเอียดว่า การที่จิตรวมเป็นหนึ่งแล้วส่งผลอย่างไร กับจิตของเรานั้น การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจะทำให้ท่านพบคำตอบเหล่านั้นได้เอง ซึ่งตัวเราไม่สามารถอธิบายออกมาเป็นตัวหนังสือได้หมด แต่ก็สามารถบอกแค่ได้ว่าจะทำให้ท่าน เป็นคนมีเหตุผลมากขึ้นแต่ไม่ยึดติดกับมันมาก มีความรับผิดชอบสูงต่อตัวเอง ผู้อื่นและสังคม ที่สำคัญท่านจะเป็นคนที่มีเมตตาสูงขึ้นอย่างที่ตัวท่านเองก็ไม่อยากเชื่อตัวเอง

   การที่เรามีต้นทุนทางจิตต่ำนั้น แม้เราจะปฏิบัติสมาธิมามากแล้วก็ยังไม่พอ นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าเราต้องปฏิบัติสมาธิตลอดชีวิต ซึ่งถ้าพูดกันแบบธรรมะจ้าเลย คือ ทั้งชาตินี้ และชาติหน้ากันเลยทีเดียว ซึ่งก็อีกยาวไกลนัก เราก็เอาแค่ระดับจิตของเราไปถึง สะสมไปเรื่อยๆ ไม่โลภจนเกิดเป็นกิเลสตัวใหม่ เหมือนนักปฏิบัติธรรมเจอกัน เราเรียกมันว่า “เมาบุญ”

   การไปขุนช่างเคี่ยนในครั้งนี้ ทำให้เราเห็นระดับจิตของตัวเองว่ายังต้องพัฒนาอีกมาก เพราะต้นทุนทางจิตเราต่ำ ในขณะที่น้องๆ ที่ไปด้วยไม่มีใครปฏิบัติสมาธิเลยซักคน แต่ทุกคนก็ไม่ได้มีความรู้สึกมากเท่าเรา นั่นสะท้อนว่าต้นทุนทางจิตของทุกคนนั้นดีกว่าเราแน่นอน

   เช้าก่อนกลับขุนช่างเคี่ยน อยู่ๆ เราก็มีความรู้สึกดีๆ อย่างบอกไม่ถูก ความรู้สึกหงุดหงิด โมโห และอารมณ์ลบๆ อย่างอื่นหายไป ความเบิกบานยินดีเข้ามาแทนที่อย่างไม่รู้ตัว นี่กระมังที่เรียกว่าผลแห่งการปฏิบัติสมาธิ ถึงแม้ดูเหมือนไม่ได้อะไร แต่แท้จริงแล้วมันได้อะไร เพียงแต่ผลของมันจะออกมาตอนที่เราไม่ได้คาดหวังอะไรจากการปฏิบัติ

 

 

 

 

“ปฏิบัติสมาธิเพิ่มต้นทุนทางจิต”

   หลังจากกลับมาจากขุนช่างเคี่ยน ก็ได้เล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ให้พี่ที่เป็นกัลยาณมิตรที่เราเคารพและให้คำปรึกษาเราได้มากมายในการปฏิบัติฟัง ก็ได้คำแนะนำเพิ่มเติมอีกมากมาย การปฏิบัติสมาธิที่ต่อเนื่องและสม่ำเสมอได้เกิดขึ้นมา ณ ช่วงตอนนี้นี่เอง

   อารมณ์โมโหง่าย หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียวเสมอ คลายไปอยู่พอสมควร จนคนรอบข้างสังเกตเห็นและสัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลงไปมาก แล้วเราก็รู้สึกอย่างนั้นแต่ก็ไม่ได้ยึดติดกับการเปลี่ยนแปลงมากนัก ยังคงให้ความใส่ใจกับการปฏิบัติสมาธิต่อไป และแล้วความเข้าใจในเรื่องราวของชีวิตในแง่มุมต่างๆ ก็เกิดขึ้นมา เราเริ่มมองเห็นคุณค่าชีวิตจริงๆ เลยเกิดความคิดที่จะถ่ายทอดมันเป็นเรื่องราวดีๆ และเพื่อเป็นวิทยาทาน ในการที่จะนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้บ้าง

   แต่ที่สำคัญท่านต้องปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ท่านจะลึกซึ้งกับสิ่งที่เราจะแชร์ให้อ่านดังต่อไปนี้ ว่ามันเป็นความจริงเช่นใด

   เพราะหลังจากที่ตกผลึกกับการปฏิบัติสมาธิมา 2 ปี ทำให้เราเข้าใจแล้วว่า คุณค่าและประโยชน์ของสมาธินั้นมันมากมายมหาสารแค่ไหน เรายังอาจไม่ถึงขั้นที่สูงมากมายในการปฏิบัติ แต่ก็ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับชีวิตประจำวันได้มากมาย และถ่ายทอดมันออกมาเป็นมุมมองของตัวเอง เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้คนในสังคม

    และต้องบอกว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้งมุมมองต่อไปนี้ คือ มาจากผลการปฏิบัติสมาธิ ที่ทำให้เข้าใจโลกมุมใหม่ๆ อย่างที่เป็นเราคนเดิมๆ

 

 

 

 

 

“อย่าให้ ความมักง่าย เป็นนามปากกา ของ ความเรียบง่าย”

   การปฏิบัติสมาธิของเรายังคงดำเนินไปอยู่ในทุกๆวัน ชีวิตเริ่มแยกออกว่า “ความเรียบง่าย” กับ “ความมักง่าย” แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในวิธีการ ถึงแม้ดูผลจะออกมาคล้ายๆ กัน และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งมุมมองของผลการทำสมาธิ    

     นักเขียนโดยส่วนใหญ่ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน จะมีนามปากกาในการเขียนหนังสือ คือ ใช้เรียกชื่อแทนตัวเองโดยที่นามปากกานั้นอาจจะเป็นความหมายที่ตนชื่นชอบ หรือชื่อฟังแล้วโดน หรือเพื่อนตั้งให้ สุดแล้วแต่นักเขียนจะชอบแล้วนำมาใช้

      แล้วมันเกี่ยวอะไร กับ มักง่าย เป็นนามปากกา ของ เรียบง่าย ล่ะทีนี้ !!!!!!

เราอาจจะไม่ลึกซึ้งมากมายเท่าไหร่ของการ นิยาม คำว่า นามปากกา ว่าแท้จริงแล้วกำลังจะสื่อสารอะไรกับคนอ่าน แต่จากประสบการณ์การอ่านหนังสือมานั้น นามปากกา ของนักเขียนแต่ละคนจะสะท้อนอะไรบางอย่างในตัวเองออกมา เช่น ความคิด มุมมอง ทัศนะคติ ความชอบ นิสัย อื่นๆ อีกมาย ที่จะบอกความเป็นตัวตนของแต่ละคนผ่าน “นามปากกา”

         นั่นก็แสดงให้เห็นว่านักเขียนใช้ นามปากกา แทนตัวเอง เพื่อสะท้อนอะไรบางอย่างให้ผู้อ่านได้สัมผัสตัวเขาในมุมที่เขาอยากให้เห็น

      เราเลยมาคิดสนุกๆ ว่า  “มักง่าย” กับ “เรียบง่าย” มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เชื่อว่าหลายๆ คน แยกความเหมือน หรือมองความต่าง ของสองคำนี้ไม่ออก หรือ ถ้ามองออก แยกได้ ก็ยังไม่เข้าถึงสองคำนี้อย่างแน่นอน ถ้าท่านยังไม่เคยได้ลงมือทำอะไรให้กับชีวิตแล้วประสบความสำเร็จซักอย่างเดียว แล้วใช้ คำว่า “ มักง่าย ” เป็นนามปากกาของ “ เรียบง่าย ” มาตลอด

       คำว่า ประสบความสำเร็จ ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่อง เงิน หน้าที่การงาน ความสุข ความดี ความรัก การแข่งขัน และอื่นๆ อีกมากมาย แต่มันหมายถึง ท่าน “ พอดี” แล้วหรือยัง กับสิ่งที่ท่านเป็นอยู่ พอจากหัวใจ พอจากความเข้าใจชีวิต ไม่ใช่หยุดหนีจากความยากลำบากแล้วไม่สู้ แล้วเรียกมันว่าความ “พอดี”

      ท่านต้องผ่านชีวิตมามากมาย อย่างโชกโชน ไม่ว่าร้ายหรือดี สุขหรือทุกข์ ผิดหวังหรือสมหวัง หัวเราะหรือร้องไห้ นั่นคือ ประสบการณ์ชีวิต แล้ว “ตกผลึก” ทางความคิดนั้นกลั่นมันออกมาเป็น “ความเรียบง่าย”     

     แต่หลายๆ คน ไม่เข้าใจ การได้มาซึ่ง “ความเรียบง่าย” เลยไปมองที่ปลายทางของความสำเร็จอย่างเดียว คือ ไม่ต้อง คิดมาก ไม่ต้องทำอะไรมากมายให้กับชีวิต ใช้ชีวิตสนุกไปวันวัน ไม่ต้องเยอะปวดหัว ชีวิตก็แค่นั้นวุ่นวายไปทำไม สารพัดความคิดเข้าข้างตัวเอง

      ไม่ได้บอกว่าความคิดอย่างนี้ผิดหรือถูกอย่างไร แต่กำลังให้ท่านลองกลับมาถาม หัวใจตัวเองจริงๆ ดูซักครั้งว่า ท่านเข้าใจ “ความเรียบง่าย” แล้วจริงๆ หรอ มิเช่นนั้นท่านอาจใช้  “ ความมักง่าย “ เป็นนามปากกา ของ      “ความเรียบง่าย” เพราะคิดว่ามันแทนกันได้จริงๆ

 

 

 

 

“ ศิลปะเกิดจากความผิดปกติอะไรซักอย่าง “

     ความรู้มากมายที่เราได้เก็บเกี่ยวมาจากประสบการณ์ชีวิตทั้งดี ไม่ดี การอ่านหนังสือ และการเข้าคอร์สพัฒนาตัวเองในรูปแบบต่างๆ บางครั้งบางที มันมากมายเสียจนเราหยิบจับมาใช้ไม่ถูกเมื่อต้องการใช้มันจริงๆ เพราะเราไม่มีศิลปะในการใช้มัน

   ผลอีกอย่างหนึ่งของการปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะช่วยให้เราเชื่อมโยงความรู้ที่มีกับเหตุการณ์ที่ได้เจอ แล้วจัดการกับมันอย่างมี ศิลปะ

         มากมายอาชีพ หลากหลายวิธีคิด ต่างทัศนา วุ่นวายความคิด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแสวงหา ความเป็นศิลปะเพื่อจรรโลงจิตใจให้ผ่อนคลายไปได้บ้าง          

       ความเป็นศิลปะ มีอยู่ทุกหนทุกแห่งของการดำรงชีวิตอยู่และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เราถึงได้มีวลี เกี่ยวกับศิลปะ กับสิ่งนั้นๆ

       ศิลปะในการใช้ชีวิต ศิลปะในการพูด ศิลปะกับธรรมะ อีกมากมายศิลปะ ที่จะผสมผสานเข้าไปกับสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เกิดความรื่นรมย์หรือความจรรโลงใจ

       คนที่มีศิลปะในหัวใจจะเข้าใจวิธีการสื่อสารออกมาอย่างพอเหมาะพอดี อย่างกลมกลืนและสร้างสรรค์ หลายๆ กูรู ทางสมองบอกว่า สมองซีกขวา เกี่ยวกับ ศิลปะ และสมองซีกซ้ายเกี่ยวกับ ตรรกะ และก็เสนอชุดวิธีที่จะพัฒนาสมองเพื่อสนองตอบต่อความต้องการภายในใจตน

       การรู้จักตัวเองเพื่อเข้าใจคนอื่น ไม่เกี่ยวข้องกับสมอง เพราะท่านคิดเมื่อไหร่ ท่านจะเข้าข้างตัวเองทันที ยากที่จะเข้าใจคนอื่น

        ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจยากมาก เพราะถ้าท่านพยายามจะมีศิลปะในการดำรงอยู่ ท่านจะห่างไกลความเป็นศิลปะต่อสิ่งนั้น แท้จริงนั้นศิลปะไม่ใช่เรื่องของการพยายาม แต่เป็นเรื่องผิดปกติของมนุษย์ที่ผิดปกติบนโลกใบนี้ ถ้าจะพูดให้ง่ายหน่อยก็คือ

          “ ศิลปะเกิดจากความผิดปกติอะไรซักอย่าง “ ที่ความเป็นปกติในการดำรงอยู่ไม่สามารถอธิบายได้เลย นอกเสียจากท่านจะรู้จักตัวเองเท่านั้น

 

 

 

 

Life of Road “ถนนสีขาวไม่มีอยู่จริง”

    การมองโลกในแง่ดีและแง่ไม่ดี มักเกิดขึ้นกับเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่มีสมาธิ การมองโลกในแง่ร้ายมักเกิดขึ้นบ่อยกว่า แต่ก็ไม่ใช่การมองโลกในแง่ดี จะดีที่สุด บางครั้งอาจดูเหมือนหลอกตัวเองไปด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการมองโลกตามความเป็นจริงจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ผลของการปฏิบัติสมาธิอยู่ตลอด จะช่วยให้เราเข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงที่สุด         

      มนุษย์ มีเหตุผลดำรงอยู่ซึ่งชีวิตมากมาย แต่เหตุผลหนึ่งที่ควรมีไว้ คือ การได้ทำดีใดๆ แล้วมิหวังสิ่งตอบแทนใดๆ เลยจริงๆ จากหัวใจ เฉกเช่นเดียวกับชีวิตถ้าเจอถนนแบบไหน ก็ให้เลือกรถที่เหมาะกับถนนนั้นๆ มิเช่นนั้นรถพัง เราเลือกที่จะใช้รถคันเดียวในการเดินทางไปทั่วทุกหนทุกแห่งโดยไม่คำนึงถึงความพอเหมาะ พอดี ของท้องถนนที่เราต้องขับรถผ่านมันไป

         ชีวิตก็เหมือนกัน เส้นทางที่ต้องผ่าน พ่อ แม่ ครอบครัว เพื่อนฝูง ญาติสนิทมิตรสหาย คนรอบข้าง หรือ ใครหลายคนที่ต้องประสบพบเจอ เปรียบได้ดั่ง ท้องถนนที่เราต้องขับรถแห่งชีวิต

 นี้ผ่านพวกเขา

         บางคนบางพวก ก็เป็นถนนที่ราบเรียบ เราก็ต้องใช้รถที่ไม่ต้องลุยอะไรมากมาย แต่สำหรับบางคนเป็นถนนที่ขรุขระ ประเภทดุดัน แข็งกร้าว เราก็ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ 4W เพื่อขับผ่านมันไปได้

         ถนนราบเรียบ คือ คนที่ไม่มีพิษไม่มีภัย ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน จริงใจ เราคบได้อย่างสนิทใจ

 ส่วนถนนขรุขระ คือ บุคคลที่อาจทำให้เราต้องลำบาก แต่ไม่ได้บอกว่าไม่ให้คบ เพราะคนพวกนี้หลายครั้งด้วยความตรงๆ ของเขา ทำให้เราเห็นข้อบกพร่องตัวเองอย่างชัดเจน

         การขับรถแห่งตัวตน ที่ต้องวิ่งผ่าน ถนนแห่งผู้คนที่หลากหลาย ซับซ้อน มากขึ้นทุกวันจนเราเริ่มไม่แน่ใจแล้วว่า ถนนที่ราบเรียบนั้นมีอยู่จริงหรือเปล่า เพราะเอาเข้าจริงถนนที่ราบเรียบที่เราเห็นแท้จริง อาจเป็นถนนที่ขรุขระที่ถูกฉาบมันไว้แบบมักง่าย เพื่อหลอกให้เราได้วิ่งผ่าน

        ความเปิดกว้างของท่าน จะช่วยให้ผู้อื่นเปิดใจต่อท่าน ความเรียบง่ายต่อความจริงใจไม่แสแสร้ง จะเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เบิกบานกับความเรียบง่ายของท่าน

        ไม่ว่าจะเป็นถนนแบบไหน ถ้าเราค่อยๆขับรถวิ่งผ่านมัน อย่างมี “สติ” และเรียนรู้ถนนเส้นนั้นอย่างเข้าใจอย่างที่มันเป็น เราจะไม่ต้องสนใจเลยว่ารถแบบไหนเหมาะกับถนนแบบไหน          เพราะรถที่เราใช้ขับเคลื่อนชีวิตนั้น เป็นรถแห่งความระมัดระวัง ไม่ประมาทในการขับ ท้ายที่สุดมันก็คือ รถที่ไม่มีเงื่อนไขใดๆ ในการวิ่งต่อทุกสภาพถนน

    ในแง่ของความเป็นมนุษย์ ก็ คือ ลดอัตตา ตัวตน ที่ใหญ่ยิ่ง ให้ลงมากที่สุดเท่าที่มนุษย์ควรพึงมีโดยที่ไม่ได้กดดันตัวเองจนเกินพอดี

 

 

 

 

“ศรัทธาแห่งพุทธะ”

    ความมีศรัทธาต่อพุทธเจ้าจนถึงศึกษาธรรมะที่พุทธองค์ท่านได้ให้แนวทาง คำสั่งสอน นั้นต้องมีมากมาย การปฏิบัติสมาธิที่ต่อเนื่องจะช่วยเสริมแรงศรัทธาให้มีมากขึ้น ท้ายที่สุดจะมี “สติ” เพื่อสมดุลระหว่างศรัทธากับปัญญา มิให้เราหลงไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสุดโต่ง จนเกิดความงมงายและแข็งกร้าวจนเกิดไป แต่ทุกอย่างต้องเริ่มจากแรง “ศรัทธา”

       พอดีแม่ อยากเปลี่ยน ตำแหน่ง การวางพระพุทธรูปใหม่ในห้องนอน และได้หิ้งพระมาใหม่ด้วย เราเลย จัดให้ พึ่งรู้ว่า การที่ไม่ได้ทำงานอย่างนี้มานานๆ มันยากเหมือนกัน เจาะฝาผนังปูน บนที่นอน อย่าให้เปรอะ ที่นอน ยืนโครงเครงมาก เจาะไม่ถนัดอีก เพราะอยู่สูง กว่าจะเสร็จ เล่นเอาเหนื่อย

           พอทำเสร็จ แม่ก็นำพระมาไว้ที่ใหม่ ซึ่งอยู่บนหัวนอน ในตำแหน่ง ซึ่งเปิดประตูห้องมาแล้ว จะเห็นพระก่อน เพราะเด่นมาก นำสายตา กว่าสิ่งอื่นๆ ในห้องนอน

          จากนั้นเราก็มองพุทธรูป อย่างที่ไม่เคยเกิดความรู้สึกอย่างนี้มาก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลายปีมาแล้ว ก็ติดหิ้งพระแล้วก็จบกัน

        แต่วันนี้ยืนมองพุทธรูป ซึ่งความรู้สึกเรา เป็นตัวแทนพุทธเจ้า ด้วยความรู้สึกที่ซาบซึ้ง ถึงพุทธคุณ ที่ทำให้เรา มีสติ ในการดำเนินชีวิต เลยมานั่งคิดๆ ดูว่า ก่อนหน้านี้ เราอ่านหนังสือธรรมะ ด้วยความอยากรู้ว่า คำสอน ว่าเป็นอย่างรัย พอรู้แล้ว ก็เป็นแค่ความรู้ ที่ทำให้ตัวเองดูมีความรู้เรื่องธรรมะดีกว่าผู้อื่น เลยถกเถียงธรรมะอย่างเอาเป็นเอาตายเพื่อชนะคนอื่น ผลก็เป็นอย่างนั้น จริงๆ แต่ ไม่เห็นมันทำให้เราสุขใจเลยซักครั้ง

         มาวันนี้การปฏิบัติสมาธิอยู่ตลอดทำให้เราได้เรียนรู้แล้วว่า ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา ต่างหาก ที่ทำให้เรา ต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอน ของพุทธเจ้า มากกว่าความรู้จากการอ่านธรรมะใดๆ แล้วเอามาแค่ประดับความรู้ให้เราดูดี

        ศรัทธา ทำให้เรา อ่อนน้อมถ่อมตน และความอ่อนน้อมถ่อมตน จะเป็นที่มาของสิ่งดีๆ หลายอย่าง เช่น อัตตา ตัวตน ลง พอลดลงแล้ว ก็มองเห็น ตามความเป็นจริงมากขึ้น เมตตาต่อ คนรอบข้างมากขึ้น เมตตามีมากขึ้น การทำสิ่งดีๆ มีมากขึ้น

 ซึ่งจะว่าไปแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันสัมพันธ์กันไปหมดเลย เกิดจากความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งแรก

        แล้วสิ่งต่างๆ ที่ดีๆ จะตามมาอย่างที่เรา ไม่ต้องไปขวนขวายหาหนังสือธรรมะ ใดๆมาอ่านเลย อ่านที่มีอยู่ก็เข้าใจพอสมควรแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจมากกว่าแต่ก่อนเยอะมาก เพราะมันเป็นความเข้าใจอยู่บน ศรัทธา นั่นเอง

      ขอบคุณแม่จังเลย ที่ทำให้เรา ได้ พุทธานุสติ ในวันหยุดวันนี้ จริงๆ แม่เราก็ไม่เคยสอนอะไรเลยนะว่าต้องทำดีอย่างไง แต่ตั้งแต่เด็กมาแล้ว แม่ ทำให้เราดูมาตลอด ว่าทำดี ทำอย่างรัย รัก และ ศรัทธา ในผู้หญิงแกร่งคนนี้จัง ผู้หญิงที่เรา เรียก ว่า แม่

 

 

 

 

“Inside out / Outside in” ตัวกูของกู หรือ ตัวกูของมึง

     การอ่านหนังสือธรรมะหรือบทความเกี่ยวกับธรรมะ ยังคงมีอยู่เรื่อยๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติสมาธิอยู่เสมอ และถ้าพูดถึงหนังสือธรรมะที่เราอ่านกันอยู่นั้น หนึ่งในนั้นต้องมีของพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ทุกคนรู้จักและศรัทธามากที่สุดท่านหนึ่ง นั่นก็คือ “ท่านพุทธทาส” และธรรมะดีๆที่ได้จากท่านซึ่งต้องเรียกว่า ไม่ใช่เฉพาะเราคนไทยเท่านั้นที่ศรัทธา ชาวต่างชาติมากมายยัง ศรัทธาและปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่าน

   และมีคำหนึ่งคำที่ท่านพุทธทาสได้สั่งสอนพวกที่มีอัตตาตัวตนสูง ที่เราทุกคนฟังแล้วรู้สึก สะเทือนกันเลยทีเดียว คือคำว่า “ตัวกูของกู” แรกๆฟังแล้ว ดูเหมือนเป็นคำหยาบไปหรือเปล่า แต่พอมาพิจารณาจริงๆ จากหัวใจ จะพบว่า คำนี้ มันใช่จริงๆ เหมาะสมมากๆ กับคนยุคนี้ เรียกว่าแรงแต่โดนใจมากๆ และอีกอย่าง คำนี้ แฝงไปด้วย ธรรมะขั้นสูงเลยทีเดียว

   พออ่านหนังสือของท่านพุทธทาสมาถึงคำนี้ เลยนึกอะไรบางอย่างออกเลย ใช้คำที่มาเพิ่มเติมเพื่อเป็นอีกหนึ่งมุมมองที่เรียกว่า “ตัวกูของกู หรือ ตัวกูของมึง” ซึ่งก็แรงไม่แพ้กัน

     การที่เราจะเข้าใจคนอื่นได้นั้น เราต้องรู้จักตัวเองให้ดีพอในทุกๆ มิติ ของชีวิต เช่น วิถีชีวิตตัวเอง ข้อบกพร่อง ข้อดี ข้อเด่น และอีกมากมาย ที่หล่อหลอมมาเป็นตัวเรา

       สูตรสำเร็จมากมาย ที่ได้ผ่าน การอบรม หนังสือ บทความ การเรียน การสอน สารพัด How to Success ที่มีให้เลือกมากมายในท้องตลาด

      ปัญหามีอยู่ว่าแล้วเราจะเลือก How to ประเภทไหนดีล่ะ ที่พอดีและเหมาะกับเรามากที่สุด

คำตอบคือ คุณรู้จักตัวเองดีพอแล้วหรือยังว่า ท้ายที่สุดเราต้องการอะไรกันแน่

     ชีวิตจริงๆ ไม่มีสูตรสำเร็จ เหมือนที่หลายๆ คน หรือในตำราบอก มีแต่สูตรไม่สำเร็จเท่านั้นที่เป็นสูตรสำเร็จ ที่มีอยู่จริง

     การเข้าใจผู้อื่นก็เหมือนกัน ไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว ที่เราจะบอกว่าเราจะเข้าใจเขาได้อย่างไรมีอยู่อย่างเดียว คือ ให้เขาบอกความต้องการของเขามาเราจึงจะรู้ได้      แต่เขาจะบอกหรือไม่นั้น ท่านว่ามันขึ้นอยู่กับอะไรล่ะ?

      เขาเป็นคนไม่ค่อยพูด ขี้อาย กลัวพูดออกมาแล้วไม่ได้รับคำตอบที่ถูกใจ หรือต้องการให้เรารู้และเข้าใจเขาเอง มันเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ที่จะเข้าใจตัวตน วิธีคิด ทัศนะคติ ผ่านการแสดงออกทางพฤติกรรม

      เพราะหลายๆ ครั้งพบว่า ตัวตนที่แท้จริงกับการแสดงออก มันสวนทางกัน บางคนต้องอยู่ในที่ๆ ชอบมากๆ ถึงแสดงมันออกมา อีกไม่น้อยต้องพบเจอสภาวะกดดัน ในรูปแบบต่างๆ ถึงได้เผยอะไรบางอย่างออกมา และอีกมากมายสถานการณ์ ที่จะทำให้คนคนหนึ่ง เผยตัวตนออกมา

   “Inside out / Outside in” ตัวกูของกู หรือ ตัวกูของมึง เป็นแค่เล่นคำสำบัดสำนวน ไม่ได้มีเจตนาที่ใช้คำหยาบนะครับ ผมชอบที่ท่านพุทธทาส ได้ใช้คำนี้สั่งสอนพวกที่ อัตตาตัวตนสูงมากๆ รวมทั้งตัวผมด้วย

        ถ้าตัวกูของกูเยอะมากๆ เราจะไม่ฟังใคร ไม่สนใจใคร เพราะเราดีอยู่แล้ว ถ้าอย่างอย่างนั้นเราลองฟังเสียง ตัวกูของคนอื่นบ้างไหม เพื่อเราจะได้เห็นและเข้าใจตัวกูของมึงกันบ้าง

        การรู้จักตัวเองเพื่อเข้าใจผู้อื่น จึงน่าจะพอช่วยให้เราลดความเป็น “ตัวกูของกู”ไปได้บ้างแล้วหันมาฟังตัวกูของมึงบ้างอย่างเข้าใจ

 

 

 

 

   “ ใช้ฟันกัดต้นไม้ ”

   การที่จะนำหลักคำสอนของพุทธเจ้ามาใช้กับชีวิตประจำวันได้นั้น เราต้องปฏิบัติสมาธิให้สม่ำเสมอและต่อเนื่องอยู่ทุกๆวัน ยิ่งเราปฏิบัติมากเท่าไหร่ เรายิ่งลึกซึ้งในหลักธรรมที่นำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างกลมกลืนและเหมาะสม

   แต่ความเพียรพยายามของเรานั้นมากมายพอหรือเปล่า และไม่มีใครบอกได้ว่าต้องมากขนาดไหน ตัวเราจะรู้ได้เอง เฉกเช่นเดียวกับการหัดเขียน ก.ไก่ กว่าแต่ละคนจะเขียน

ตัดต้นไม้หนึ่งต้นต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง

เราเคยรู้บ้างมั๊ยว่าการตัดต้นไม้หนึ่งต้นให้ขาดนั้น มีกรรมวิธีใดบ้าง เยอะแค่ไหน 

 ซับซ้อนแค่ไหน หรือมันง่ายมากเกินกว่าที่เราจะคิดมัน

     เราเปรียบต้นไม้นั้น คือ เหตุการณ์ หรือ เรื่องราวต่างๆ ในชีวิตที่เราต้องพบเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน   การตัดต้นไม้ให้ขาด คือ วิธีที่เรามอง เหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตและแก้ปัญหานั้นๆ ให้ผ่านพ้นไปได้

     ง่ายๆ ก็คือ ต้นไม้ เป็น อุปสรรค การตัดต้นไม้ด้วยเครื่องมือต่างๆ เป็น วิธีการแก้ปัญหาที่เราเจอ

        เราถกเถียงกันมากมายว่า เราจะใช้เครื่องมือไหนตัดต้นไม้ให้ขาดดี บางคนก็ชำนาญใช้ขวาน บางคนเหมาะกับการใช้เรื่อย หลายคนใช้มีดขนาดใหญ่ และอีกไม่น้อยไม่ได้รีบร้อนอะไรมากนักก็ใช้มีดด้ามเล็กๆ ในการตัดต้นไม้ ซึ่งก็สุดแล้วแต่วิธีของแต่ละคนที่พอใจที่จะตัดต้นไม้ให้ขาด  

      อยากบอกว่า ถ้าต้องตัดต้นไม้ให้มันขาดจริงๆ “ใช้ฟันกัดต้นไม้” ให้ขาด ยังต้องทำ ในเมื่อเราคิดวิธีอื่นไม่ได้แล้วจริงๆ

 

 

 

 

“ ดีที่สุดไม่มีที่สิ้นสุด”

    ยามเมื่อเราอยู่กับเรื่องจริง ชีวิตจริง ที่มันเจ็บปวดมากๆ ให้ใช้จินตนาการมาปลอบประโลมบ้าง นั่นเพราะฉันเคยปล่อยตัวเองไปตามกระแสน้ำเชี่ยวที่ฉันทำมันขึ้นมาเอง แล้วก็โดดเดี่ยว  เดียวดาย ตามกระแสน้ำที่เชี่ยวกราดแล้วกลับมา เป็นวังวนของฉัน ไม่มีเพื่อนหรือใครซักคนเข้ามาร่วมทางสายน้ำของฉันเลย เพราะมันอาจจะทำให้เขาเหล่านั้นต้องสูญเสียตัวตนบางอย่างไป และทำให้เกิดการสูญเสียของทุกสิ่งไปอย่างน่าเศร้าใจ

         ตอนนี้จิตรับรู้ เหตุผล หยุดความสับสัน เลือกหนทางใหม่ ปัญญา ความรู้เท่าทันความเศร้าหมอง แต่ว่ายังมีความเศร้าใจที่ฝังลึกอยู่ข้างในอยู่ บางครั้งมันก็ผุดขึ้นมาทำฉันน้ำตาคลอบ้าง

          สำหรับบางเรื่อง บางคน ก็ต้องใช้เหตุผล นั่นคือ “หัวคิด” ในการมีปฏิสัมพันธ์ด้วย แต่ก็เช่นเดียวกัน สำหรับหลายๆคน เราก็ต้องใช้ใจแลกใจ เรียกว่า “หัวใจ” ก่อนหน้านี้ เราอาจจะยังสับสนอยู่บ้างว่า ใคร เรื่องไหน จะใช้ แค่ “หัวคิด” หรือต้อง ระดับ “หัวใจ” แต่ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ท้ายที่สุด ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ตาม เราต้องใช้ “หัวใจ” อย่างเดียว โดยมี หัวคิดเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้ หัวใจ ห่างไกล จาก “ความมักง่าย” ที่มักใช้มันแทน “ความเรียบง่าย” ในการมีชีวิตอยู่ของคนแต่ละคน

       ประสบการณ์ชีวิตของมนุษย์ มักจะเป็นสิ่งที่ผิดซะส่วนใหญ่ แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลของการที่จะไม่ ยอมออกเดินที่จะหาประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ ให้กับชีวิต เพราะกลัวว่าจะผิด เหตุผลเดียว ของมนุษย์ที่ต้องมีประสบการณ์ คือ “ความรู้” ที่จะไม่ต้องใช้ประสบการณ์อีกต่อไป

     ไม่มีใครบอกได้ว่า “ดีที่สุด“ ของวันนี้ มันจะสิ้นสุดที่วันไหน เพราะว่าชีวิต ของแต่ละคน ถ้าเรายังที่แสวงหาชีวิต “ดีที่สุด” ที่สุดแล้วเราจะไม่พบเจอมัน เพราะมัน “ไม่มีที่สิ้นสุด” ก็เท่านั้นเอง

 

 

 

 

“น้ำ คือ ธรรม แก้ว คือการปฏิบัติ”

“น้ำ” เป็น เนื้อหาสาระ “แก้ว” เป็น รูปแบบ

     เมื่อเช้าพอตื่นนอนมาและทำธุระส่วนตัวเสร็จ ก็รีบขับรถไปส่งลูกสาวไปโรงเรียน (ปกติ ย่าจะเป็นคนอาบน้ำแต่งตัว ป้อนข้าวให้ต่อกิ่ง พ่อมีหน้าที่ขับรถไปส่งย่า กับ หลาน อย่างเดียว รู้สึก สบายๆ อย่างงัยไม่รู้ หน้าที่น้อยจัง…555)

     โดยปกติขับรถกลับจากการส่งต่อกิ่งไปโรงเรียน ก็จะเปิด วิทยุในรถฟัง คลื่นที่เป็น ธรรมะ

 เหมือนเช่นทุกครั้ง แต่วันนี้สงสัยคลื่นจะไม่ดี ได้ยินเสียงขาดๆ หายๆ ไม่ปะติดปะต่อ ทำให้ฟังไม่ได้ใจความ ก็เลยจะหมุนไป คลื่น อื่นแทน ช่วงเวลาที่กำลังจะหมุนไปคลื่นอื่น จู่ๆ เสียงคลื่นเก่าก็ดังเป็นปกติ พร้อมกับคำพูดในวิทยุว่า “น้ำ คือ เนื้อหาสาระ ส่วนแก้ว คือ รูปแบบ ” แล้วก็เป็นเสียงไม่ชัดอีกเหมือนเดิม

        ทีแรกก็จะหงุดหงิดอยู่แล้ว แต่พอมาคิดอีกที ได้เห็นอะไรบางอย่างจากคำพูดนี้แล้วเรา จึงนำมาเขียนบทความนี้ตามความเข้าใจของเรา

 เราคงรู้ไม่ได้หรอกว่า คำพูดต่อมา หรือ คำอธิบาย ในส่วนที่เราไม่ได้ยินว่าอย่างไร

 แต่ตลอดเส้นทางขับรถกลับบ้าน ทำให้เราได้ข้อคิดบางอย่าง คืออย่างนี้ครับ คำพูดที่ว่า

 “น้ำ” คือ เนื้อหาสาระ “แก้ว” คือ รูปแบบ เราให้ความหมายเพิ่มเติมว่า “น้ำ” คือ ธรรมะ ของ พุทธเจ้า ที่ทรงชี้แนะแนวทางในการปฏิบัติเพื่อเป็นไปในการพ้นทุกข์จนถึงปลายทาง คือ พระนิพพาน ส่วน “แก้ว” คือ รูปแบบ แนวการปฏิบัติ ของ สำนักต่างๆ ที่ได้ ถือปฏิบัติ และใช้เป็นเครื่องมือในการอบรม สั่งสอน ปฏิบัติธรรม ในรูปแบบของแต่ละสำนัก

        ประเด็นมันเป็นอย่างนี้ครับว่า เราถกเถียงกันหนักหนาว่า แก้วของใครดีกว่ากัน สวยกว่ากัน แข็งแรงกว่ากัน ต่างๆ นา เพื่อที่จะบอกกับคนอื่นๆ ว่า แก้วที่เราใช้อยู่ นั้น เจ๋ง กว่าคุณ

 ซึ่งเราได้ยินมาเยอะมากๆ ทำให้เราลืมตักน้ำนั้นมาดื่มกินกัน ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากว่ามัวแต่สนใจแก้ว หรือรูปแบบ กันมากเกินไป

      การปฏิบัติธรรม สำหรับเราแล้ว นั้น เนื้อหาสาระอยู่ที่ คุณมีตัวตน ลดลงหรือป่าว เมตตา มากขึ้นมั๊ย โกรธ ยังเท่าเดิมหรือไม่ อะไรต่างๆ อีกมากมาย ที่เป็นตัวชี้วัดว่าคุณดีขึ้น หรือ แย่ลง

 เพราะถ้าเราไม่ แกล้งถ่อมตัวจนเกินไปและ มีความเหย่อหยิ่งจนเกินงาม เราจะพบว่า แท้จริงเราก็รู้ว่าเราดีขึ้นหรือแย่ลงจากแต่ก่อน

      การปฏิบัติแต่ละสำนัก เราคิดว่าเป็นแก้วดีๆ ทั้งนั้น แต่คนถือแก้วอย่างเราๆ ต่างหาก ที่ไปยึดรูปแบบของแก้วที่จะมาใส่น้ำมากเสียจนลืมไปเลยว่า ประโยชน์ของแก้วเอาไว้ใส่น้ำ

 มิใช่ แก้ว ใบนี้ สวยกว่า ใบนี้ ตอนนี้ เราใช้แก้ว ที่มี ชื่อว่า แก้ว “หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร”

 ใช้ใส่ น้ำแห่งธรรม ของพุทธเจ้าอยู่ และพวกท่านละใช้แก้ว ใบไหนอยู่กันบ้าง จะใช้ใบไหนอยู่ก็ไม่สำคัญเท่า พวกท่าน ได้ดื่มน้ำอยู่หรือป่าว

 

 

 

 

Exit to In “ออกทางเข้า”

 

        กับดักชีวิตอีกอย่างหนึ่ง ที่เราๆ ท่านๆ มักจะเจอ แล้วคิดวนไปวนมา กับปัญหาที่ได้เข้ามาในชีวิต นั่นก็คือ หาทางออกให้กับปัญหาโดยที่คิดแบบเอาเป็นเอาตายว่าทุกปัญหาต้องมีทางออก เราถูกสอนกันมาแบบนี้จริงๆ

     ที่กล่าวมาเช่นนี้ ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ไม่คิดแก้ปัญหา หาทางออก แต่กำลังจะบอกว่า หลายครั้งเป็นการภายเรือในอ่าง หาทางออกไม่ได้ แล้วเราก็หมกมุ่นอยู่กับมัน

      ไม่ผิดหรอกที่เราจะเป็นเช่นนั้นและหาทางออกได้จริง แต่ประเด็นมันอยู่ที่่ว่า แก้ปัญหาได้แล้ว ท่านมีความสุขอยู่หรือเปล่าโดยที่ต้องไม่หรอกตัวเอง คนอื่นเดือดร้อนกับวิธีแก้ปัญหาของท่านหรือเปล่า สิ่งต่างๆเหล่านี้ มันต้องมีมิติในการมองและแก้ปัญหา

    เอาเข้าจริงอาจจะไม่ซับซ้อนอะไรเลย เพียงแต่เรา คิดอยู่อย่างเดียว คือ หาแต่ทางออก โดยไม่ได้คิดเลยว่า มันก็ “ออกทางเข้าได้” ได้เหมือนกันนี่่ บางปัญหาต้องใช้เวลา บางปัญหาต้องใช้ปัญญา  “สติ” จะเป็นตัวบอกท่านว่าท่านจะใช้อะไร ระหว่าง “ปัญญา” กับ “เวลา”

” รู้แล้วเลว หรือ เลวแล้วรู้ “

 

       ต้องบอกว่า ขึ้นต้นมาค่อนข้าง ดุเดือดไปหน่อยครับ จริงๆ แล้วไม่ได้รุนแรงอะไรขนาดนั้น เพียงแต่ เล่นคำ ให้มันดูน่าสนใจเท่านั้นเอง

          ความรู้ต่างๆ ที่เราได้มา ไม่ว่าจากการเรียน การทำงาน ประสบการณ์ตรงจากการใช้ชีวิตต่างๆ และอีกเยอะแยะมากมายที่เป็นแหล่งความรู้ รวมทั้ง social network ด้วยครับ

     ประเด็นอยู่ที่ว่า ความรู้ที่เราได้มา เราใช้มันทำอะไร ก่อเกิดประโยชน์แก่ตัวเองอย่างเดียวหรือเปล่า ส่วนรวมได้อะไรจากความรู้ที่เรามีบ้าง หรือ เรียกว่า เรามี จิตอาสา จิตสาธารณประโยชน์ บ้างหรือเปล่า ถ้ามีแต่หวังประโยชน์ตัวเองโดยไม่สนใจความเดือดร้อนของคนอื่น หรือใช้ความรู้ที่มีมากกว่าคนอื่นเอาเปรียบเขา ในรูปแบบต่างๆ อย่างนี้อยู่ในขั้นรุนแรง อย่างนี้เรียกว่า  “รู้แล้วเลว”

      ขั้นต่ำ ก็คือ พูดโดยไม่ใส่ใจคนอื่น หรือสิ่งเล็กน้อยที่เราทำทั้งตั้งใจทำและไม่ตั้งใจทำให้คนอื่นได้เจ็บช้ำน้ำใจ ต่างๆ เหล่านี้แหละจะบอกว่า ถ้าเราได้ทำมันลงไปแล้ว นั้น อย่าได้จมอยู่และเสียใจกับมันอยู่นาน เราอาจจะรู้สึกผิดกับสิ่งที่ทำ นั่นก็เป็นสัญญาณบอกว่า ท่านเป็นคนที่มี

ความรับผิดชอบชั่วดีอยู่พอสมควร แต่ไม่อยากให้ไปกอดมันไว้นาน เพราะนั่นไม่ใช่วิธีที่บอกว่าท่านรู้สึกผิดจริง

     “ เลวแล้วรู้”  จริงๆแล้ว อาจหมายถึง ความไม่ดี สิ่งอกุศล นิสัยเสีย สิ่งที่อยากปรับปรุงในตัวเรา หรือพฤติกรรมอะไรก็แล้วแต่ที่เราและคนอื่นๆ ดูแล้วไม่น่าจะชอบ สิ่งต่างๆ เหล่านี้

     วิธีที่แสดงออกถึงความรู้สึก ผิดจริง คือ จะไม่ทำ อย่างนั้นอีก คือการปรับปรุงตัวเอง ให้ดีขึ้นกว่าเดิม  รู้ว่ามันยากมากในบางเรื่อง แต่บอกได้เลยว่า ท่านไม่มีทางเลือกถ้าท่านยังอยากมี ความสุขในชีวิต

     ” รู้แล้วเลว” จะไม่ทำให้เราต้องจมอยู่กับมันได้นานเลย ถ้าท่าน ใช้ความ “เลวแล้วรู้”. มาเป็นตัวแก้ไขตัวท่านไปในทางที่ดี จะเข้าทำนองที่ว่า หนามยอก เอาหนามบ่ง

“ความสุขที่แท้จริงต้องไม่มีเงื่อนไข”

       คำพูดนี้ฟังดูเหมือนโลกสวยงามจังเลย ความสุขไม่มีเงื่อนไข แล้วเอาเข้าจริงเราทำได้จริงหรือเปล่าก็ยังไม่รู้เลย ความสุขในชีวิตเรานั้นมีระดับของความเข้าใจไม่เท่ากัน ประสบการณ์ วิธีคิด สิ่งแวดล้อม ต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นปัจจัย ที่ทำให้เข้าใจความสุขแตกต่างกันไป ยังไม่ได้พูดถึงความสุขแท้ สุขเทียมเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถ้ากล่าวถึงมันจะดูหนักเกินไปแล้วเข้าใจได้ยาก

      ความจริงแล้วเราควรมีความรู้ที่หลากหลาย ไม่ไปยึดติดกับความรู้ที่มีมาแบบเดิมๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างสุข เพราะเรื่องราวในชีวิตนับวันยิ่งทวีความซับซ้อนของการมีชีวิตอยู่ในสังคม เราคิดแบบเดิมๆ แล้วจะได้ผลใหม่ๆ คงเป็นไปได้ยาก ความรู้ที่หลากหลาย จะทำให้มีเครื่องมือในการสร้างสุขได้หลากหลายเช่นกัน แต่ไม่ว่าจะใช้เครื่องมือเดียว หรือหลายเครื่องมือก็ตาม เราเข้าใจวิธีใช้มันจริงๆ หรือเปล่า

  เอาเข้าจริงแล้วเราอาจแค่ใช้เครื่องมือไม่กี่อย่างในการสร้างสุข และไม่ได้บอกว่าต้องใช้แค่อย่างเดียว แต่จะบอกว่า คุณมี “สติ” เป็นกล่องเครื่องมือเก็บเครื่องมือเหล่านั้นไว้หรือเปล่า

 

 

 

 

“ตื่นรู้ แต่อย่าตื่น ความรู้”

ในโลกที่เต็มไปด้วย ความรู้มากมาย จาก Social Network ไม่ว่าจะเป็น Internet  Line  Facebook   Youtube และอื่นๆ มากมาย แหล่งความรู้ที่เอ่อล้น จนเราไม่แน่ใจว่าความรู้ที่บริโภคมันอยู่นั้น เป็นสิ่งที่เราต้องการมันจริงๆ หรือเกิดประโยชน์ ต่อเราและคนอื่นๆ หรือไม่ เราเอาแต่หาความรู้กันมากมาย แต่เราไม่เคยหันกลับมามอง “การตื่นรู้” กันเลยว่า สำคัญกว่า “ความรู้ ” มากแค่ไหน เพราะ การตื่นรู้ แท้จริงก็คือ ตัว “สติ” นั่นเอง (สมาธิช่วยท่านได้)

 

 

 

 

“มองโลกในแง่ดี หรือ มองในแง่ดีของโลก”

 

      สองประโยคนี้ ถ้ามองผ่านๆ อาจคิดว่าเป็นความหมายเดียวกัน เพราะแค่สลับตำแหน่งในการเขียน จริงๆ แล้ว ถ้าเราตั้งใจอ่านและพิจารณาจากประโยคต่อประโยค จะมีความหมายที่แตกต่างกัน เรามาดูทีละประโยคกัน

     “มองโลกในแง่ดี” ประโยคนี้เราคุ้นกันเป็นอย่างดี เวลาเกิดอะไรที่มันไม่ดี หรือ ร้ายๆกับเรา แม้กระทั่งมุมมองของชีวิตที่คิดลบเกินพอดี ก็จะมีคนมาบอกว่า ให้มองโลกในแง่ดี ซึ่งภาวะปกติของคนที่ไม่ได้รับการฝึกฝน หรือฝึกฝน ยังไม่มากพอ ไม่สามารถทำได้หรอกครับ

     “ การมองโลกในแง่ดี ” มันดีอยู่แล้ว เป็นเพียงเบื้องต้น มันทำให้เราสามารถหลุดออกจากปัญหามาได้ชั่วคราว แต่ยังไม่ได้แก้ปัญหาแบบถาวร ซึ่งถ้าพวกมองลบ ก็จะบอกว่า พวกชอบหนีปัญหา อะไรทำนองนี้

      จะออกจากปัญหาไปชั่วคราวหรือหนีปัญหา อะไรก็สุดแล้วแต่ไม่สำคัญว่าท่านมองโลก ออกหรือเปล่า ว่าเป็นอย่างไร เป็นไป เปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน  ท้ายที่สุดแล้ว จะมองโลกในแง่ ใดๆ ก็ตามอยากให้ตระหนักรู้ว่า “มองในแง่ดีของโลก” บ้าง ซึ่งมันต่างกับ “มองโลกในแง่ดี” เพราะโลกทั้งใบนี้มีดี มีเสีย ท่ามองโลกในแง่ดีอย่างเดียวเราจะเข้าใจว่าโลกมีด้านเดียว หรือมองลบอย่างเดียวก็หาความสุขได้ยาก

       การ”มองในแง่ดีของโลก” จึงเป็นการมองที่ใกล้เคียง ตามความเป็นจริง ที่สุด เพราะวิธีการเลือกมองแบบนี้รู้ดีว่า โลกยังมีแง่ร้ายอยู่ แต่จะไม่ใส่ใจมันมากมาย เพราะเห็นความเป็นทุกข์รออยู่ตรงหน้า และเลือกที่จะมีความสุขมากกว่า

 คนที่มีความสุข ไม่ใช่เขาไม่มีทุกข์นะ แต่เขา “ยังยิ้มได้” เมื่อ ขณะ มีความทุกข์นั่นเอง

 

 

 

 

!!! Warning Comfort Zone !!!

“พื้นที่ปลอดภัย หรือ ใจเราที่ปอดกลัว”

 

       ในหนังสือประเภท How to ทั้งหลายตามท้องตลาดได้พูดถึงเรื่อง “Comfort Zone” เอาไว้มากมาย และยังมีอีกหนึ่งคำที่ใช้เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกันคือ “Awareness Zone”

      ถ้าแปลกันตรงๆ บ้านๆ Comfort Zone ก็คือ พื้นที่ๆ เราอยู่แล้วรู้สึกสะดวกสบายเป็นที่สุด ปลอดภัยที่สุด ไม่ต้องมีใครเข้ามายุ่งวุ่นวายกับชีวิตเรา

     เกิดปัญหาใดๆกับชีวิต ก็จะมองที่ตัวเองเป็นใหญ่ หมายความว่า จะมีข้ออ้างต่างๆ นา ในการสนับสนุนว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั่นแหละถูกต้องแล้วคนอื่นต้องเข้าใจเรา

     บางครั้งสิ่งที่เราทำนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่มีเหตุผลถูกต้องแล้วเราเลย ยืนกรานในเหตุผลของเราไม่ยอมที่จำนนท์ ต่อสิ่งใดๆเลย หมายถึง การเอาเป็นเอาตายกับคนที่เข้ามา ตำหนิติเตียนเรา หรือให้ร้ายเรา เราใช้พลังมากมายเพื่อบอกคนอื่นๆ ว่าเราไม่ผิด ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรที่จะทำอย่างนั้น

      ทุกคนล้วนแล้วแต่มี Comfort Zone ของตัวเองทั้งนั้น ข้อดีมีอยู่มาก คือ การกลับมาอยู่กับตัวเอง พิจารณาตัวเอง ให้เข้าใจตัวเองว่าเราต้องการอะไรเป็นที่สุดในชีวิต นั่นแหละดีที่สุด แต่ปัญหามีอยู่ว่า ท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านไม่ได้เข้าข้างตัวเองจนมากไป

     เพราะฉะนั้น “Awareness Zone” พื้นที่ตื่นรู้ รับรู้ การเรียนรู้ ต่างๆ นาๆ ที่เป็นพื้นที่ที่เราไม่ได้ยืน ณ ขณะอยู่ใน “Comfort Zone” เป็นพื้นที่ที่มีผู้คนมากมาย สังคม สิ่งแวดล้อมต่างๆ ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อนฝูง อีกเต็มไปหมด ที่จะคอยให้เราได้เรียนรู้ รับรู้ ตื่นรู้ จากสิ่งเหล่านี้แล้วนำไปพัฒนาตัวเองให้มีความสุข

    ถ้าเราอยู่ใน “ Comfort Zone” ช่วงนั้น เราก็จะไม่ได้อยู่ใน “Awareness Zone” ในทางตรงกันข้าม มีพื้นที่เรียนรู้มากไป เราก็จะไม่ได้อยู่กับตัวเองเลย

ไม่ว่าเราจะอยู่ในความรู้สึกไหน “ Comfort Zone” หรือ “Awareness Zone” ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราเข้าใจความรู้สึกนั้นจริงๆ หรือเปล่า และไม่ได้บอกว่าอะไรสำคัญกว่ากันแต่จะบอกว่า “ Comfort Zone” ทางธรรมะ ก็คือ อัตตาตัวตนสูง

      ไม่แปลกหรอกที่เราจะมี อัตตาตัวตน เพราะเรายังเป็นปุถุชนคนธรรมดา ยังไม่เข้าถึงแก่นธรรมในพระพุทธศาสนา   แต่การที่อยู่กับตัวตนมากๆ แล้วเรารู้สึกปลอดภัย แท้จริงแล้วนั้นเราแค่เป็นคนปอดกลัว คือ ขี้กลัวไปเสียทุกอย่างจึงมีคำพูดที่ว่า

            “ พื้นที่ปลอดภัย หรือ ใจเราที่ปอดกลัว”

“สติ” ที่เกิดจากสมาธิ จะช่วยให้ท่านสมดุลทั้งสองสิ่งนี้ได้อย่างเหมาะสมและลงตัว

 

 

 

 

” ชีวิต คือ ความเรียบง่าย ความวุ่นวาย คือ ความเรียบง่ายที่ไม่มี สติ”

             ความเป็นไปของชีวิต เชื่อว่าเราหลายๆ คน แสวงหา “ความเรียบง่าย” ให้กับชีวิตกันทั้งนั้น มากมายความคิด หรือ วิถีชีวิตที่ยุ่งเหยิง เอาเข้าจริงแล้วเราไม่อยากเป็นอย่างนั้นกันเลย

 แต่ในหลายครั้งๆ เราลืมมันไป ไม่ใช่ว่าเราคิดไม่ได้ เพียงแค่พลั้งเผลอ “สติ” ไปแค่นั้น

             เพราะฉะนั้นไม่สำคัญหรอกว่าท่านจะพลั่งเผลอ “สติ” ไปกี่ครั้ง แต่ทุกๆครั้ง ท่านได้อะไรบ้าง ความคิดตกผลึกหรือยัง มองเห็นโทษ มันหรือยัง เข้าใจมันหรือยังว่าเป็นบททดสอบของชีวิต

         ถ้าเราไม่ถ่อมตนจนเกินไปหรือมั่นใจจนเกินงาม เราจะพบกับความจริงๆ หลายๆ อย่างที่ซ่อนตัวอย่างกลมกลืนและแนบเนียนจนเราแยกมันไม่ออกว่า “ความเรียบง่าย” มันอยู่ตรงไหนของ”ความวุ่นวาย” ซึ่งระดับเหตุผลหาไม่เจอ

      ไม่เป็นรัย เรายังคงต้องฝึกฝนชีวิตกันไปอีกนาน จะพลั้ง จะเผลอ. ” สติ” ไปบ้างก็อย่าได้เศร้าใจกับมันมากเกิน”พอดี” ให้เราเชื่อใจได้เลยว่าปลายทางของความวุ่นวายและซับซ้อน มี “ความเรียบง่าย” รออยู่

        เพราะทุกชีวิตที่เกิดมาล้วนแล้วแต่มีความวุ่นวาย ซับซ้อน ซ่อนอยู่ด้วยกันทั้งนั้น

สิ่งที่เราเห็นบางคนทำไมชีวิตของเขาถึงเรียบง่ายจังเลย นั่นก็เพราะเขาผ่านความวุ่นวายกับชีวิตมาจนสุดทางแล้ว “ความเรียบง่าย”ถึงได้ปรากฏแก่ชีวิตเขานั่นเอง

 

 

 

 

 

“มีตัวตนในเงื่อนไขคนอื่น”

 

     หลักใหญ่ใจความการปฏิบัติธรรม หรือ การพัฒนาตนในรูปแบบอื่นๆ ท้ายที่สุดแล้วหนีไม่พ้น ในเรื่องของการ “ลดอัตตาตัวตน” คือ ลดอีโก้ นั่นเอง

     การอ่อนน้อมถ่อมตนต่อทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่า คน สิ่งแวดล้อม สังคม และอื่นๆ อีกมายมาย เป็นสิ่งที่มนุษย์ที่ต้องการยกระดับจิตใจของตนให้สูงขึ้น พึงต้องมี

     เป็นการยากถึงยากมาก ที่จะลด “อัตตาตัวตน” ให้มาอยู่ในระดับที่เรียกว่า ใครว่า นินทา เกลียดชัง สารพัด ตำหนิติเตียน แล้วไม่โกรธ ส่วนมาก หลอกตัวเองว่าไม่โกรธ

 แต่นั่นก็ยังดีกว่า ที่ยึดอารมณ์โกรธไว้นานแล้วส่งผลเสียต่อตัวเองและคนรอบข้าง

      ถ้ามันยากมาก อยากจะบอกอย่างนี้ ครับว่า ขั้นแรกของการฝึก ลดอัตตาตัว ขอเสนอว่า เราไม่ต้องไปลดมันหรอกนะ อัตตาตัวตน ยังคงมีเหมือนเดิม ตัวตน ของเรา

 เพียงแต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของคนอื่น ซึ่งหมายความว่า เราเป็นของเราอย่างที่เราเป็น ไม่ต้องเปลี่ยน เมื่อไปอยู่ในสถานการณ์หรือต้องเจอกับบุคคลที่เรารู้สึกไม่พอใจ แต่ต้องอยู่ด้วย ให้เราเล่นเกมส์ ตามกติกาของคนอื่นหรือสถานการณ์ที่เจอและไม่ชอบมันดูบ้าง

 ฝึกอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ครับ แรกๆ จะฝืนและดูเหมือนหลอกตัวเอง แต่บอกได้เลยว่า ถ้าท่านทำอย่างนี้อยู่ตลอด “อัตตาตัวตน” ของท่าน จะลดลงไปเอง อย่างไม่น่าเชื่อ

   ถ้าชีวิตเปรียบเหมือนห้องอะไรซักอย่าง ที่มันโดนปิดไฟอยู่ ทำให้มืด บางครั้งแค่แง้มประตูออกไป แสงสว่างจากข้างนอกก็ส่องเข้ามาถึงแล้ว

     การแง้มประตูท้ายที่สุดก็คือ การเปิดประตูใจ คือ การเปิดใจ รับฟังสิ่งเล็กๆ รอบๆ ข้างดูบ้าง

 บางทีมันอาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดเสมอไป

“การมีตัวตนในเงื่อนไขคนอื่น ” จึงเป็นเพียงการฝึกเล่นกับความรู้สึกที่ ลบๆ ของตัวเอง โดยมีเงื่อนไขของคนอื่นหรือสถานการณ์ที่เราไม่ชอบ มาช่วยเราฝึกได้เป็นอย่างดีโดยที่เราก็ไม่รู้ตัวว่า “ตัวตน” นั้นมันลดลงไปได้ตอนไหน ถ้าเรายังคงเล่นเกมส์อยู่และรักษา กติกาได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

“คนดีที่ลืมโลก”

คำว่า “คนดี” ไม่มีมาตราฐาน ใดๆ เป็นตัววัด ส่วนมากเราใช้ความรู้สึกที่มีต่อเราจากคนอื่น มาเป็นตัวชี้วัด  ว่าเรา ทำดี ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ขยันทำงานทำการ ปฏิบัติธรรม ช่วยเหลือสังคม จิตอาสา ต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำของคนดี

 มาบ่งบอกความดีของตัวเรา ทุกอย่างที่กล่าวมามันก็น่าจะดีอยู่แล้วนี่  แล้วมันเกี่ยวอะไรกับ “คนดีที่ลืมโลก”คือ อย่างนี้ ครับว่า หลังๆ มานี้

       ผมให้มีโอกาสเห็นและสัมผัสคนที่คนอื่นและตัวเขาเองเรียก ว่าเป็นคนดี จากสิ่งต่างๆ ที่ผมได้ยกมาให้เห็นแล้วข้างบน แล้วก็เกิดการตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่า คนเหล่านี้ไม่มีข้อเสียเลยเหรอ หรือมี แต่ถูกมองข้าม

         เพราะมันดูเล็กน้อยในความรู้สึกของคนที่ชื่นชมเขา เลยไม่ได้ไปใส่ใจข้อเสียตรงนั้น

 หลายครั้งผมพบว่า คนดี เหล่านั้น มีจุดบางอย่างที่พวกเขาก็ “ติดดี” โดยที่ตัวเขาเองและคนที่ชื่นชอบในตัวเขามองไม่เห็น และคงยังมองไม่เห็นกันอยู่ต่อไป  เพราะเขาเหล่านั้นคือ “คนดี ” ไปแล้วเลยโดยไม่เฉลียวใจเลยว่า ชีวิตมัน มี “มิติ” ที่มากกว่าความดีที่พวกคุณเข้าใจ  ซึ่งระดับเหตุผลหาไม่เจอ

       เพราะท้ายที่สุดแล้ว คำว่า “คนดี ” ในบริบทที่แตกต่างกันออกไป เราย่อมได้คนดีที่ “แตกตัว” มาจากการ “ติดดี” กันไปเรื่อยๆ  จนลืมว่าโลกมันหมุนไปอย่างไร ทุกชีวิตต้องเปลี่ยนไปอย่างไร แล้วเข้าใจ ความดี ในมุมของตัวเองและคนที่ชื่นชอบตัวเองแค่นั้น โดยไม่สนใจ สิ่งดีๆ ใน มิติ อื่นๆ เลย

    ท้ายที่สุด คนเหล่านั้นจะเป็น “คนดี” ที่ไม่สนใจคนอื่นที่ไม่ได้ชื่นชมตน และเห็นด้วยกับตน

 เราเรียกบุคคลเหล่านี้ว่า “คนดีที่ลืมโลก” หรือ “คนติดดี” ก็เท่านั้นเอง

 

 

 

 

“ยังรู้สึกผิด หรือ ผิดยังไม่รู้สึก”

      หลายๆ ครั้ง เรื่องราวที่เข้ามาในชีวิต เราจะชอบ หรือ ไม่ชอบ บางทีมันก็มีมากมายปัจจัยที่มีผลต่อความรู้สึกกับสิ่งที่เข้ามาให้เราตัดสินใจว่าจะ รัก หรือ จะเกลียด และชอบ หรือ ไม่ชอบ เหล่านี้ล้วนแล้วอยู่บนพื้นฐาน จาก “สติ” และ “อคติ”

      นั่นก็ไม่สำคัญหรอกว่า ท่านจะขาด สติ ไปชั่วขณะ และมี อคติ เข้ามาแทน แต่มันอยู่ที่ว่า หลังจากที่ขาด สติ ไปแล้วนั้น มันยังกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้หรือเปล่า

 การที่เรา ” ยังรู้สึกผิด ” ต่อสิ่งที่ได้ทำไปแล้วนั้นและพร้อมที่จะแก้ไขให้มันดีขึ้น นั่นก็หมายถึง สติ ยังกลับมาเหมือนเดิม Get me Give you การกลับเข้ามาดูจิตดูใจตัวเรา อย่างมี สติ จะลด ความ อคติ ไปในตัว และเราจะไม่ตัดสินคนอื่น ด้วยเหตุผลของเรา แต่เราจะเข้าใจเขาด้วยเหตุผลของเขาเอง แล้วค่อยๆ วางมันลงไป

“ยังรู้สึกผิด” เป็นเรื่องของเราที่ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอให้มี สติ ” ผิดยังไม่รู้สึก ” เป็นเรื่องของใครก็ได้ที่ยังมี อคติ  ต่อสิ่งที่ได้ทำลงไป  และมันยังคงอยู่ต่อไป เพราะ อคติ ก็คือ การลำเอียง

 ลำเอียงเพราะความรัก ลำเอียงเพราะความโกรธ ลำเอียงเพราะความเกรงใจ ลำเอียงเพราะความไม่รู้

 

 

 

 

“ทุกข์วินาที “

 

ถ้าท่านอยู่กับวินาทีปัจจุบัน ท่านจะทุกข์แค่ 1 วินาที

ถ้าท่านกำลังอยู่กับนาทีที่เกิดขึ้นอยู่นี้ท่านจะทุกข์เพียง 1 นาที

ถ้าความคิดท่านจมอยู่กับชั่วโมงนี้ท่านได้ความทุกข์เพิ่มเป็น 1 ชั่วโมง

ทั้งวันที่ท่านวนเวียนวิตกย้ำคิดย้ำทำปริมาณความทุกข์ที่ท่านมีมากมายถึง 1 วัน

ตลอดเดือนท่านคิดวนอยู่กับอดีตกังวลอยู่กับอนาคตความทุกข์แทบไม่มีที่เก็บอยู่กับท่าน 1 เดือน

และทั้งปีที่ท่านได้เก็บตั้งแต่ วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ของความทุกข์มาสะสมไว้ ไม่ต้องบอกเลย ความทุกข์ 1 ปี มันจะมากมายแค่ไหน

การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ นั้นไม่ได้ทำให้ท่านหมดซึ่งความทุกข์ แต่มันทำให้ท่านค่อยๆ คลายทุกข์ จากปี สู่เดือน ลดลงเหลือแค่วัน จวบจนกระทั่งถึงแค่ชั่วโมงและนาที เพื่อให้เดินทางสู่ วินาทีปัจจุบัน ที่ทุกข์น้อยที่สุด

และเมื่อถึงวินาทีนั้น การเข้าใจทุกข์จะเกิดขึ้นเอง อย่างที่ท่านไม่ต้องพยายามเข้าใจทุกข์ด้วย

 วิธีการใดๆเลย.

 

 

 

 

“ไม่ล้มเหลวถ้าไม่ล้มเลิก”

 

เราบอกว่าความรักของเรานั้นล้มเหลว หรือ เราล้มเลิกการเข้าใจคนรักจากหัวใจ

เราบอกว่าเราล้มเหลวในหน้าที่การงาน หรือ เราล้มเลิกความเพียรที่มีต่องาน

เราบอกว่าความฝันของเรานั้นล้มเหลว หรือ เราล้มเลิกความมุ่งมั่นที่มีต่อความฝัน

เราล้มเหลวซึ่งวิธีคิด หรือ แท้จริงเราล้มเลิกซึ่งวิธีทำ

เราล้มเหลวในชีวิต หรือ ท้ายที่สุดเราล้มเลิกศรัทธาต่อชีวิต

เราล้มเหลวในการปรับตัวเข้ากับคนอื่น หรือ เราล้มเลิกเพียงเพราะคนอื่นไม่ได้รู้สึกอะไรกับการปรับตัวของเรา

เราล้มเหลวเรื่องที่ตั้งใจจะทำนับครั้งไม่ถ้วน หรือ เพราะเราล้มเลิกมันจนนับครั้งไม่ไหว

      การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะเพิ่มความเพียร ความมุ่งมั่น อย่างที่ท่านไม่ต้องพยายามที่จะทำมันมากจนสุดโต่งแล้วเป็นทุกข์

    แต่ท่านจะมีความเบิกบานยินดี ที่เป็นต้นทุนให้กับความเพียร ความมุ่งมั่นให้ดำเนินไปอย่างพอเหมาะ พอควร อย่างที่ควรเป็น แล้วความล้มเหลวจะไม่ปรากฏกายขึ้นเลย ถ้าท่านยังไม่ล้มเลิกมัน

 

 

 

 

 

“ยอมรับที่ไม่ยอมแพ้”

ยอมรับว่าความดีทำยาก  แต่ ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จะยอมแพ้ต่อสิ่งไม่ดี

ยอมรับว่าหลายสิ่งไม่ได้เป็นดั่งเราหวัง  แต่ อย่าให้มันทำให้เราแพ้พ่ายต่อความหวัง

ยอมรับว่าชีวิตต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่ อย่ายอมแพ้ต่อการแปรเปลี่ยนของชีวิตอยู่เรื่อยๆ

ยอมรับว่าเราไม่อาจอยู่เหนือธรรมชาติ แต่ นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้เรายอมแพ้ต่อการเรียนรู้ซึ่งธรรมชาติ

ยอมรับว่าความรักซักวันต้องจากเรา แต่ อย่ายอมแพ้ที่จะให้เราจากรัก

ยอมรับเถิดว่าเวลาเสียใจเราก็อยากร้องไห้ แต่ อย่ายอมแพ้จนขั้นฟูมฟาย

ยอมรับว่าความเหงามันทำให้เราเศร้าหมอง  แต่ อย่ายอมแพ้เพราะมันอยู่ได้ไม่นาน

 

การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะช่วยให้เรา ยอมรับกับสิ่งต่างๆ ที่เราไม่พอใจ

 ได้ง่ายขึ้น และเรียนรู้ที่จะไม่ยอมแพ้ต่อมันได้ไม่ยากเช่นกัน

 

 

 

 

“มากกว่าเหตุที่อยู่เหนือผล”

การดำเนินชีวิตแบบไม่มีเหตุผล ยิ่งได้มากเท่าไหร่ในทุกๆ เรื่อง ยิ่งมีความสุข

 สุดท้ายคือการสะสมสารพัดทุกข์อย่างไม่รู้ตัว

 

การมีชีวิตที่เต็มไปด้วยเหตุผล ได้มาเท่าที่ใจปรารถนา สุนทรียะแห่งความสุขปรากฏขึ้น

 แต่ปลายทางเต็มไปเรื่องทุกข์ใจรออยู่อย่าง ไม่เฉลียวใจ

 

การเข้าใจชีวิตที่อยู่เหนือระดับเหตุผล ได้เท่าที่ชีวิตควรพึงได้ พึงมี พึงเป็น มิได้ขึ้นอยู่กับปริมาณสิ่งของที่ได้ แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจิตใจ

การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มิได้ทำให้ท่านตกอยู่ในสภาวะไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ในสิ่งต่างๆ แต่มันทำให้ท่านรู้ว่ามีแค่ไหนจึงจะเกิดสุข

 และไม่ใช่แค่เท่าที่ใจปรารถนา ถ้าท่านมีคุณภาพของจิตใจที่ดีงาม แม้ไม่ปรารถนา มันจะมาเอง ตราบเท่าที่ชีวิตยังคงรักษาความดีไว้

 

 

 

“สูงสุดแห่งรัก”

 

การใช้ชีวิตแบบไม่มีเหตุผล การไป “หลงรัก” ต่อสิ่งใดๆ หรือ ใคร มักเกิดขึ้นได้ง่าย

ตราบเท่าที่เราเริ่มมีเหตุผลกับความรัก เราจะเริ่มเย็นชาและมองความสวยงามของ

ความรักเป็นแค่เรื่องของการไร้เหตุผล เราจึง “สลัดรัก” ออกไปจากใจ

จวบจนหัวใจของเราเริ่มโหยหาความรัก อีกครั้ง เราจะเข้าใจว่า ชีวิตขาดความรักไม่ได้ แต่เป็นความรักที่มีมิติที่มากกว่าเดิม เราจึง “ยกระดับความรัก” ด้วยหัวใจที่เบิกบาน ยินดี

การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะบรรเทาให้ท่านได้เจ็บปวดน้อยลงจากการไป หลงรัก เพื่อเดินทางเข้าสู่ เหตุผลของความรัก อย่างไม่งมงายและไม่ สลัดรัก ออกไปสู่ปลายทางของความรักอันสูงสุด ที่ถูกยกระดับ เป็น “เมตตา”

 

 

 

 

“มากมายที่ยังไม่มากพอ “

 

 “ทุ่มเทความรักมากมายแต่ยังไม่มากพอที่จะ ฉุดรั้งคนรักไว้”

 “ทำบุญตั้งมากมายแต่ยังไม่มากพอที่จะเข้าใจ ทุกข์ได้”

 “มีความเพียรที่มากมายแต่ยังไม่มากพอที่จะ สำเร็จผล”

 “มองโลกในแง่ดีมากมายแต่ก็ยังไม่มากพอที่จะ เข้าใจชีวิต”

 “แสวงหาหนทางแห่งความสุขมากมายแต่ก็ยัง ไม่มากพอที่จะเข้าถึงความสุขที่แท้จริง”

 “ดิ้นรนกระเสือกกระสนหาทุกอย่างมาแต่งแต้มชีวิตอย่างมากมายแต่ก็ยังไม่มากพอที่จะ

 เติมเต็มชีวิต”

ท้ายที่สุดเรากำลังหาอะไรก็ไม่รู้อย่าง “มากมาย” แล้วหวังว่ามันน่าจะ”มากพอ” ที่จะให้ชีวิตมีความสุขได้

การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ท่านทำทุกอย่างแบบ”พอดี” แล้วมันจะ “ดีพอ” ที่จะทำให้ท่านไม่ต้องใช้ชีวิตแบบบ้าคลั่ง เอาเป็นเอาตายอย่าง “มากมาย” เพราะยังไงมันก็ยังไม่ “มากพอ” ที่จะสนองกิเลส ในใจตน

 

 

 

 

“ต้นทุนทางจิตใจ”

“คนไม่มีเหตุผล” –> ต้นทุนทางจิตต่ำมาก ใช้อารมรณ์ โกรธ โมโห หงุดหงิด ไม่พอใจ เป็นตัวกำหนดชีวิต

“คนมีเหตุผล”–> ต้นทุนทางจิตพอควร ใช้ความสุนทรียะของอารมณ์ชอบกับไม่ชอบ

 เป็นวิถีชีวิต แม้ยังมีอารมณ์ หงุดหงิด โมโห โกรธ ไม่พอใจ แต่เลือกที่จะไม่เป็นอย่างนั้นได้

“คนไม่ใช้เหตุผล”–> ต้นทุนทางจิตสูงมากๆ เป็นคนมีเหตุผล แต่เลือกที่จะไม่ใช้มัน มีอารมณ์เบิกบานยินดี อยู่เต็มเปี่ยม แม้ยังมีอารมณ์ โกรธ โมโห หงุดหงิด ไม่พอใจ อยู่ แต่ก็แค่เพียงมองดูแล้วผ่านไป

“การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ” จะทำให้ท่านทิ้งสภาวะไร้เหตุผลซึ่งมีต้นทุนทางจิตที่ต่ำเข้าสู่การเป็นคนที่มีเหตุมีผลพอควร

 แล้วที่สุดท่านจะไม่ใช้เหตุผลทั้งๆที่ท่านมีมัน เพราะท่านมีต้นทุนทางจิตที่มากมาย “ความเบิกบานยินดี” จะบังเกิดขึ้นแก่ท่านแล้วใช้มัน เป็นวิถีในการดำรงอยู่อย่างสนิทใจ

 

 

 

 

“ต้นทุนทางจิตใจที่ดี”

คนที่มีต้นทุนทางจิตต่ำ เรื่องดีๆ เข้ามา ก็ทำให้เป็นเรื่องร้ายๆ ได้ไม่ต้องพูดถึงเรื่องร้ายๆ ที่ต้องเข้ามาเลย มันจะหนักหนาสาหัสแค่ไหน

คนที่มีต้นทุนทางจิตมาดี สังเกตุได้จาก การเข้าใจชีวิตได้ดีสุขง่าย ไม่กอดรัดความทุกข์ไว้นาน สารพัดความเบิกบาน

ถ้าท่านไม่ได้มีต้นทุนทางจิตสูง

การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะช่วยให้ท่านมีต้นทุนทางจิตต่อสู้กับเรื่องร้ายๆได้เป็นอย่างดี และไม่ต้องพูดถึงเลยว่าคนที่มีต้นทุนทางจิตมาดีแล้วปฏิบัติสมาธิจะเบิกบานยินดี แค่ไหน

 

 

 

 

 

“มีแต่เปลี่ยนแปลงที่ไม่เคยเปลี่ยนไป”

 

เรารู้ว่าทุกสิ่งล้วนย่อมมีความเปลี่ยนแปลง แต่ ก็ยังทำใจไม่ได้เมื่อเห็นหลายสิ่งเปลี่ยนไป

ลึกๆในใจเรารู้ว่าความรักต้องเปลี่ยนแปลง แต่ ก็ตีโพยตีพายทุกครั้งที่คนรักเปลี่ยนไป

เรารู้ว่าเพื่อนที่คบกันด้วยผลประโยชน์ซักวันต้องเปลี่ยนแปลงเมื่อหมดประโยชน์

แต่ก็ยังเศร้าใจกับสิ่งนี้คิดว่าคือมิตรภาพที่แท้เพราะเรายังไม่อยากเห็นมันเปลี่ยนไป

เรารู้และเข้าใจดีว่าความสุขมักจะเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากแต่เราก็ยังโหยหาความรู้สึกนั้นอยู่โดยไม่สนใจว่ามันกำลังเปลี่ยนไป

เรารู้ว่าทุกชีวิตย่อมมีความเปลี่ยนแปลงไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ เคยมีซักครั้งไหมที่เราเข้าใจมันจริงๆเมื่อถึงเวลามันเปลี่ยนไป

เราได้แต่พร่ำบอกว่าคนโน้นคนนี้สิ่งนั้นสิ่งนี้เปลี่ยนไป

ท้ายที่สุดเรานั่นแหละไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง

การปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ #ไม่ได้หมายความว่าทำให้ท่านยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ จะช่วยให้ท่านอยู่กับมันอย่างเข้าใจในความเปลี่ยนไปของสรรพสิ่งอย่างเบิกบานยินดี

 

 

 

 

“เข้าใจชีวิต”

หาสิ่งที่ “ถูกหรือผิด” คือ วิถีชีวิต “ในกระแส” ที่ดำเนินอยู่ในสังคม

โดยมีการตั้ง “คำถาม” เป็นแนวทาง

 เลือกสิ่งที่ “ ชอบกับไม่ชอบ “  คือ การแสวงหาชีวิตที่ “ อยู่นอกกระแส “ ในวิถีต่างๆ โดยมี       ” คำตอบ” เป็นแนวคิด

 เข้าใจแล้วว่า วิถีชีวิตต่างๆ มีแค่ “ ถึงกับยังไม่ถึง “ สุดท้ายของการเดินทาง

 คือ ชีวิตที่อยู่ “เหนือกระแส ” โดยมี ความหมายของชีวิต ที่แท้จริง เป็นแนวปฏิบัติ

การฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

 จะทำให้เราเริ่มที่จะเข้าใจ ชีวิต ในระดับต่างๆ โดย ไม่แบ่งแยกตัวเองออกจากสังคม

 

 

 

 

มีแต่สนใจ แต่ขาดการใส่ใจ

 

เราสนใจแต่ความรู้ แต่ไม่ใส่ใจ กับ การตื่นรู้

 สนใจ ได้มากเท่าไหร่ ไม่ใส่ใจ ได้อะไร

 สนใจ สิ่งที่อยากรู้ ไม่ใส่ใจ สิ่งที่ต้องรู้

 สนใจ คนที่รัก ไม่ใส่ใจ ความรัก

 สนใจ หาแต่สิ่งขาด ไม่ใส่ใจ ว่าสิ่งที่ขาด ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

 สนใจแต่อดีตกับอนาคต ไม่ใส่ใจ ปัจจุบัน

 สนใจ แต่เรื่องที่ น่าสนใจ ไม่ใส่ใจ กับสิ่งที่ควรสนใจ

 ท้ายที่สุด เราสนใจแต่ผล โดยไม่ใจเหตุ

การฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะทำให้เราสนใจในสิ่งที่ควร

 

….สนิทใจ