Zero Defect1

หลักสูตร กลยุทธ์การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

หลักสูตร กลยุทธ์การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

หลักการและเหตุผล:

การส่งเสริมการบริหารด้านคุณภาพส่วนหนึ่ง ก็คือ การลดของเสียขององค์กร ให้มีเป้าหมายลดของเสียลดลง และเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น แต่ใช้วัตถุดิบและกำลังคนในการผลิตเท่าเดิม จึงต้องมีวิธีการในการบริหารงานให้ของเสียที่จะผลิตในแต่ละครั้งเป็นศูนย์ เพื่อทำให้ผลกำไรขององค์กรมากขึ้น เนื่องจากเราสามารถลดต้นทุนในการที่ต้องนำของที่ผลิตเสียมาทำใหม่ ซึ่งจะสิ้นเปลืองทั้ง วัตถุดิบและกำลังคน นอกจากนี้ บริษัทยังต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นอีกด้วย

ปัจจุบัน ภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องมีการปรับตัว เพื่อความอยู่รอด การทำของเสียให้เป็นศูนย์ จำเป็นมากสำหรับผู้ผลิต ที่สามารถลดต้นทุน ลดความสูญเสียโอกาสทางการผลิต และลดความสูญเปล่าได้ ทั้งยังสามารถสร้างมาตรฐาน และแนวความคิดที่สําคัญในการผลิตรวมถึงส่งเสริมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

 

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

  1. 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความสูญเสียต่างๆ โดยไม่จำเป็น

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความสูญเสียจากการทำงาน

 

รายละเอียดหลักสูตร

1.ปัญหาด้านคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตคืออะไร?

  1. 2. อะไรคือ ของเสีย (Defect) Vs. ความผิดพลาด (Mistake-Error) และมีปัจจัยเกิดขึ้นได้อย่างไร?
  2. 3. แนวคิดการเกิดของเสียและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเกิดของเสีย

– แนวคิดและหลักการมุ่งสู่ Zero Defect

– Zero Defect คืออะไร

– กลไกของการบรรลุเป้าหมายของเสียเป็นศูนย์

  1. 4. แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงงาน (Improvement) และการควบคุมสภาวะต่างๆ ในงานผลิต
  • การวางแผนปรับปรุงงานด้วย PDCA และหลักการปรับปรุงงานเบื้องต้นด้วย ECRS
  • ระบบการมองเห็น (Visual System)
  1. 5. หลัก 8 ประการเบื้องต้น (8D) สู่การป้องกันความผิดพลาดเป็นศูนย์เพื่อให้ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)
  2. 6. กระบวนการตรวจสอบและดักจับความผิดพลาดที่ต้นเหตุ (Source inspection) ก่อนเกิดของเสีย
  3. 7. หลักการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดพลาดและป้องกันความผิดพลาดจากการทำงาน (Mistake-Proofing)
  4. 8. แนวทางการจัดโปรแกรมปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement)
  • ให้ผู้บริหารมีความผูกพันต่อการจัดการคุณภาพอย่างชัดเจน
  •  จัดตั้งทีมปรับปรุงคุณภาพโดยให้มีตัวแทนมาจากแต่ละฝ่าย
  •  กำหนดให้มีการวัดคุณภาพ เพื่อแสดงปัญหาที่เป็นอยู่ หรือเป็นปัญหาที่อาจเกิดได้ในอนาคต
  •  กำหนดต้นทุนคุณภาพและอธิบายวิธีการใช้ต้นทุนคุณภาพในฐานะที่ เป็นเครื่องมือในการจัดการ
  •  ยกระดับการตระหนักถึงระดับคุณภาพ และความห่วงใยส่วนตัวต่อชื่อเสียงคุณภาพของบริษัทให้เกิดกับพนักงาน
  1. 9. วิเคราะห์และทำความเข้าใจสาเหตุของปัญหาโดยรวม
  • จัดการปัญหาที่เกิดจากมาตรฐานการทำงาน
  • แนวทางจัดการปัญหาที่เกิดจากคน
  • การอบรมผู้ปฎิบัติงานเพื่อการทำที่ถูกต้อง
  • การควบคุมโดยการมองเห็นเพื่อการทำที่ถูกต้อง
  • Poka Yoke เพื่อการผลิตของเสียเป็นศูนย์
  • กำหนดเป้าหมาย และกระตุ้นให้บุคคลและกลุ่มกำหนดเป้าหมายการปรับปรุงคุณภาพ
  • กระตุ้นให้พนักงานแจ้งปัญหาการปรับปรุงคุณภาพที่เขาประสบ แก่ ผู้บริหารเพื่อให้เกิดการรณรงค์แก้สาเหตุที่ผิดพลาดให้ได้ตามจุดมุ่งหมาย
  • ทำให้ทุกคนที่เข้าร่วมโปรแกรมยอมรับและเกิดความซาบซึ้ง
  • จัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาคุณภาพ เพื่อปรึกษาหารือกันเป็นประจำ
  • จัดทำโปรแกรมแบบเดิมซ้ำอีก

 

  1. 10. สรุปการเรียนรู้และถามตอบ

 

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

2.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ การลด ของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)

3.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง การลดของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Defect)มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความสูญเสียต่างๆ โดยไม่จำเป็น

5.ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความสูญเสียจากการทำงาน

 

 

 

รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย                                    30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%

 

 

 

แนวทางการการอบรม

  1. การอบรมมีทั้งการบรรยาย และทดลองปฏิบัติกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นจริงในการทำ Coaching ทำให้การอบรม เป็นไปอย่างสนุกสนาน
  2. การฝึกอบรมเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่(Adult Learning) ซึ่งเน้นให้เกิดความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเล็งเห็นประโยชน์ของเนื้อหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง

 

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

  • หัวหน้างาน
  • พนักงานทุกระดับ
OKRs1

หลักสูตร เครื่องมือบริหารเป้าหมายแบบ OKRs (Objective & Key Results)

หลักสูตร เครื่องมือบริหารเป้าหมายแบบ OKRs

(Objective & Key Results)

 

หลักการและเหตุผล :

OKRs เป็นเครื่องมือใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ด้วยการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์หลัก เป็นตัววัดผลเพื่อบอกให้รู้ว่าได้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้นแล้ว ความโดดเด่นของ OKRs ถือเป็นตัวประสานระหว่างผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน โดยทุกระดับจะต้องกำหนด Objective ที่สนับสนุนและเชื่อมโยงถึงกัน และกำหนดตัววัดผล หรือ Key Results ที่สามารถวัดผลในเชิงปริมาณได้ที่เกื้อหนุน Objectives ในแต่ละระดับด้วยหลายครั้งบางหน่วยอาจจะกำหนด OBJECTIVE ในรูปแบบนามธรรม จนคิดว่าไม่สามารถกำหนดตัววัดผลเชิงปริมาณได้ องค์การต่างๆควรกำหนดคำนิยามของเป้าหมายนั้น ๆ ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติการ (OPERATION DEFINITION) เช่น ประสิทธิภาพ คือ ทำงานรวดเร็ว สามารถใช้ตัววัดเป็นระยะเวลาได้ เป็นต้นบางคนอาจจะไม่ชอบการวัดผล แต่ถ้าชีวิตนี้ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีสถิติให้ทำลาย ไม่มีอันดับหนึ่งในก้าวไปถึง ชีวิตนี้คงหมดความหมาย เช่นเดียวกัน ในการทำงานถ้าหากองค์กรใดไม่มีการวัดผล เชื่อว่า การพัฒนาในองค์กรจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ที่สำคัญบริษัทชั้นนำของโลกหลายแห่ง เช่น Google, Intel, LinkedIn, Oracle, Twitter ต่างหันมาใช้ OKR กันมากขึ้น และเป็นการใช้แทน KPI แบบที่เราคุ้นเคยกัน

OKRs ย่อมาจาก Objective and Key Results ซึ่งเป็นเทคนิคในการตั้งเป้าหมายการทำงานวิธีหนึ่ง ซึ่งจริงๆ ไม่ได้เป็นวิธีที่ใหม่ มีการนำมาใช้ที่ Intel ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 หลังจากนั้นในปี 1999 ก็มีการนำมาใช้ที่ Google แล้วก็กระจายไปตามบริษัทที่เป็น Tech Company ต่างๆ กันมากขึ้น โดยบริษัทต่างๆ ใช้ OKR เพื่อกำหนดและสื่อสารเป้าหมาย และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้กระจายไปทั่วทั้งองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทำให้เป้าหมายของบริษัท ของหน่วยงานต่างๆ และของแต่ละบุคคลมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน รวมทั้งเชื่อมโยงและสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน OKR ช่วยทำให้พนักงานทุกคนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่องค์กรคาดหวังจากพวกเขา อีกทั้ง OKR นั้นจะต้องเป็นที่เปิดเผยทั่วไป ทุกคนสามารถที่จะเห็นและดูของคนอื่นได้ ทำให้ทุกคนไปในทิศทางเดียวกัน และรู้ว่าทุกคน (หรือแต่ละคน) กำลังให้ความสำคัญหรือมุ่งเน้นในสิ่งใด

 

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ OKRs นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก OKRs ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ OKRs ให้เหมาะสมกับองค์กร
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  5. เพื่อปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของ OKRs
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจความต่างการวัดผลแบบ KPI และ OKRs มีรูปแบบต่างกันอย่างไร และนำทั้ง 2 เครื่องมือมาใช้ด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เนื้อหาหลักสูตร

  • แนวคิด และแนวทางการใช้ OKRs เพื่อเป็นวิธีการตั้งเป้าหมายให้แต่ละคน เพื่อเป้าหมายของทุกๆคนสอดคล้องกันทั้งองค์กร
  • การบริหารแบบ OKRs จะเกิดขึ้นเมื่อใด
  • เพราะอะไรจึงต้องใช้หลักการบริหารแบบ OKRs
  • จุดมุ่งหมายของ OKRs
  • ทำไมต้องใช้ OKRs แล้ว OKRs มีประโยชน์ต่อองค์การอย่างไร
  • OKRs การวัดผลการทำงานของบริษัทยุคใหม่ เช่น Google Twiiter Airnb Linkedin  Dropbox Intel Uber etc.
  • การเปรียบเทียบ OKRs กับ MBOs
  • ความเหมือนและความต่างของ OKRs และ KPI
  • หัวใจสำคัญของ OKRs (FACTS)
  •      Focus : การให้ความสำคัญกับเรื่องหลักๆ เพียงไม่กี่เรื่อง
  • Alignment : การสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกันทั้งองค์กร
  • Commitment : เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
  • Tracking : มีการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องและชัดเจน
  • Stretch : เกิดความท้าทายในการบรรลุผลลัพธ์
  • กุญแจแห่งความสำเร็จของการใช้เครื่องมือ OKRs คือ CFR
  • Conversation : การสื่อสาร พูดคุยและการโค้ช
  • Feedback : การให้ข้อมูลป้อนกลับที่สร้างสรรค์ร่วมกัน
  • Recognition : การสร้างวัฒนธรรมความสำเร็จและกำลังใจ
  • เทคนิคการโค้ชให้เขียน OKRs และการติดตามผลลัพธ์ (CFR)
  • เทคนิคการโค้ชให้ตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)
  • เทคนิคการโค้ชให้เขียน OKRs อย่างมีประสิทธิผล
  • เทคนิคการโค้ชเพื่อติดตามผลลัพธ์ (CFR)
  • เทคนิคการฟัง & การใช้คำถามที่สอดคล้องกับ OKRs
  • Role Playing : ดำเนินการโค้ชสร้าง OKRs
  • การบริหาร OKRs ให้เกิดประสิทธิผล
  • ทำอย่างไรเป้าหมายที่กำหนดขึ้นนั้นจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์หรือทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไป
  • วิธีการทำให้เป้าหมายมีความท้าทายและไม่ยากเสียจนทำให้ผู้ปฏิบัติท้อแท้ หรือไม่ง่ายจนไม่รู้จะกำหนดเป้าไว้ทำไม ซึ่งหัวหน้ากับลูกน้องจะต้องมาตกลงกันในเรื่องเป้าหมายเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
  • การวัดผลของเป้าหมายนั้นจะต้องวัดผลได้เป็นรูปธรรม ซึ่งควรจะต้องมีการวัดผลได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน
  • มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน โดยทำให้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องรับทราบถึงกำหนดระยะเวลาในการวัดผลการดำเนินงานเพื่อติดตามและประเมินผลได้อย่างชัดเจน และทำงานได้ทันตามเวลา

 

  • การสร้าง One Direction: ทุกคนทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกันด้วย OKRs
  • การสร้างวินัย และ การ Focus งาน (ทำทีละงาน และทบทวนอย่างสม่ำเสมอ) ด้วย OKRs
  • การสร้างกระบวนการทำงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ OKRs
  • แนวทางการกำหนด Objective จากจาก Mission, Vision ขององค์กร สู่เป้าหมาย
  • การวิเคราะห์ Key Results ของแต่ละเป้าหมาย เพื่อจำแนกเป็น Action Plan
  • การเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับการเขียน OKRs ด้วยตัวเอง
  • การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (Goal Setting)
  • การสร้างกรอบความคิดการเติบโต (Growth Mindset)
  • การมีวินัยในการทำงาน (Discipline)
  • การทำงานเชิงรุก (Proactive Working)
  • การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change)
  • Workshop : กำหนดคุณสมบัติที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติม
  • กรณีศึกษา : การเขียนแผน OKRs ของตัวเอง

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ OKRs นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร

2.ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก OKRs ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ OKRs ให้เหมาะสมกับองค์กร

4.ผู้เข้าอบรม สามารถใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5.ผู้เข้าอบรม ได้ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของ OKRs

6.ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจความต่างการวัดผลแบบ KPI และ OKRs มีรูปแบบต่างกันอย่างไร และนำทั้ง 2 เครื่องมือมาใช้ด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                  40 %

2.กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                           60%

 

man-and-woman-discussing-and-sharing-ideas-2977565

หลักสูตร ทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition ) สำหรับหัวหน้างาน

หลักสูตร ทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition ) สำหรับหัวหน้างาน  

หลักการและเหตุผล :          

หลายองค์กรในปัจจุบัน กำลังหันมาให้ความสำคัญกับการยกระดับการทำงานร่วมกันในองค์กร ผ่านการสื่อสารที่ให้ความสำคัญในกระบวนการ (How) มากขึ้น มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีความโปร่งใส เพิ่มการบริหารจัดการตนเอง เพื่อลดการบริหารจัดการแบบมุ่งควบคุมผลลัพธ์ เปิดพื้นที่แห่งความไว้วางใจ (Trust) ให้เกิดการกล้าตัดสินใจ และ ยกระดับความรับผิดชอบของพนักงาน ผ่านการสร้างแรงจูงใจจากภายในจิตใจของตนเอง ด้วยทิศทางนี้ การบริหารจัดการด้าน Hard Side สมัยใหม่ จึงได้รับการพัฒนาด้วยทิศทางที่โน้มเชื่อมเข้าหา Soft Side เชื่อมประสิทธิผลของงานเข้ากับความเป็นอยู่ของคน สังเกตได้จากแนวคิดการบริหารงานแบบใหม่ ๆ เช่น Holacracy, Agile และ OKRs (Objective and Key Results) ต่างให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กรที่พร้อม อันเกิดจากการบ่มเพาะทาง Soft Side มาก่อน

ถ้าผู้นำพร้อม บุคลากรในองค์กรจะกล้าตั้งเป้าหมายที่สูง ด้วยความรู้สึกสนุก พร้อมรับความท้าทาย กล้าลงมือทำ ในแบบที่ไม่กลัวการถูกจับผิด แก่นสารสำคัญสำหรับภาวะผู้นำกระบวนการ (Facilitattive Leadership) คือ การให้โอกาสทีมงานได้สร้างสรรค์ทางเลือก และลองทำด้วยตนเอง เพื่อให้เขาได้เห็นผลตามจริงในงาน ซึ่งไม่ใช่รางวัล หรือ การลงโทษ ผู้นำจะเปิดพื้นที่ปลอดภัยที่ไม่มีการตัดสินถูกผิด เพื่อให้ทีมงานได้ทบทวนประสบการณ์อย่างซื่อตรง เกิดการยอมรับ และ ยกระดับความรับผิดชอบในหน้าที่ (Responsibility) ด้วยตนเอง นอกจากนี้ ผู้นำต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็น และร่วมกันสร้างแนวทาง ผ่านการบริหารจัดการความคาดหวัง (Expectation Management) และ ศิลปะการให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) อันจะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ที่พร้อมรองรับกับการติดตั้งแนวคิดในการบริหารงานแบบใหม่ ๆ

หัวใจของการติดตั้งระบบใหม่ ๆ ให้กับองค์กร คือ การมีผู้นำองค์กรที่มีความใส่ใจในศักยภาพที่ซ่อนอยู่ของทีมงานทุกคน กล้าลองพร้อมปรับเปลี่ยน ไม่กลัวอุปสรรค เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ระบบที่อาจดูเหมือนซับซ้อนนั้นมีความเรียบง่ายอยู่เบื้องหลัง เมื่อเริ่มต้นจากง่าย ๆ และ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมตามบริบทขององค์กร ก็จะเกิดระบบที่มีความเฉพาะตัว รักษาจุดเด่นของการเป็นองค์กรเล็ก แม้จะเติบโตขึ้นกลายเป็นองค์กรใหญ่ อุปมาเหมือนช้างที่เคลื่อนตัวเร็วดั่งเสือ ประโยชน์ย่อมเกิดขึ้นต่อองค์กรแน่นอน

สำหรับระบบ OKRS นั้น ได้สอดไส้มาพร้อมกับ CFR  ซึ่งประกอบด้วย 3 กระบวนการสำคัญ ได้แก่ การสื่อสาร (Conversation), การให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) และ การยอมรับชื่นชม (Recognition) บุคคลสำคัญ (Key Person) ของกระบวนการเหล่านี้ คือ ผู้จัดการ (Manager) ซึ่งอุปมาเหมือนกับปั้มน้ำของบ้านที่เราอยู่ ทำหน้าที่รับน้ำมาจากท่อน้ำของระบบใหญ่ จากนั้นขับดันเสริมแรงกลายเป็นน้ำกินน้ำใช้ในบ้านทั้งหมด เมื่อ CFR คือ ชุดของกระบวนการ ผู้จัดการในบริบทนี้ ก็จะถูกเรียกว่า ผู้นำกระบวนการ (Facilitative Leader) ผู้นำกระบวนการจะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัย และสร้างการเรียนรู้ให้กับทีม บ่มเพาะวัฒนธรรมองค์กรให้พร้อมที่จะติดตั้งระบบ OKRs

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจในทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition ) สำหรับหัวหน้างาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญของ OKRs และสร้างมาตรฐานการโค้ชในองค์กรได้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เครื่องมือ (Tools) การโค้ชที่เหมาะสมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างยั่งยืนได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติทักษะการโค้ช ด้วยทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition ) อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างทัศนคติเชิงบวกต่องาน และความคาดหวังต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เผชิญอยู่ด้วยทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition )
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ใต้บังคับบัญชา ให้พัฒนาความสามารถในการคิดของตนเอง พัฒนาตนเองในด้านอื่นๆเพื่อสร้างผลงานที่ดียิ่งขึ้น
  6. เพื่อให้ผู้อบรมได้เสริมกลยุทธ์การนำไปใช้เพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงของทีมอย่างชัดเจน และสำเร็จตามเป้าหมายด้วยด้วยทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition )

 

หัวข้ออบรม

  • ทบทวนสั้น ๆ กับ OKRs
  • OKRs คืออะไร และเหตุใดองค์กรชั้นนำจึงนิยมใช้ OKRs
  • ความแตกต่างของ OKRs และ KPIs รวมถึงการวัดแบบอื่น ๆ
  • จะต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้ OKRs สำเร็จผลด้วยดี
  • ทำไมต้องทำ CFR เพื่อขับเคลื่อน OKRs
  • การทำ C Conversation

ผู้นำกระบวนการ (Facilitative Leader) จะนำ “การสื่อสาร” โดยแยกระหว่าง กฏ (Rule) และแนวทาง (Guide) ออกจากกัน อะไรที่เป็นกฏ เขาจะแจ้งล่วงหน้าเพื่อป้องกันการจ้ำจี้จ้ำไชรบกวนการเรียนรู้ในระหว่างทาง ส่วนอะไรที่เป็นแนวทางนั้น เขาจะให้ทุกคนมีส่วนร่วมกันคิด และ เปิดโอกาสให้ลอง แม้ไม่ถูกใจตนเอง 100% เพราะเขารู้ว่า ตามใจตน 100% นั้น มันไม่แน่ว่าจะใช่ 100% รวมถึงสามารถใช้ทักษะการโค้ชเพื่อกำหนดเป้าหมาย การวัดผล และ ยกระดับประสิทธิภาพในงาน (Performance Coaching)

  • ทำไมต้องสื่อสารหรือ Conversation เรื่อง OKRs
  • จะต้องสื่อสาร เรื่อง OKRs กับใคร
  • องค์กรชั้นนำที่ใช้ OKRs ใช้แนวทางการสื่อสาร OKRs อย่างไรบ้าง
  • รูปแบบของการสื่อสารและสนทนาเพื่อขับเคลื่อน OKRs
  • การ Check-in อย่างได้ผล
  • การประชุมแบบทีม และ One-on-one Meeting
  • ทักษะสำคัญของการสื่อสารเรื่อง OKRs กับลูกน้องให้ได้ผลดี
  • การฟังอย่างตั้งใจ (Deep Listening)
  • การตั้งคำถามแบบโค้ช
  • การพูดด้วยถ้อยคำทางบวกและสร้างแรงจูงใจ
  • ฝึกปฏิบัติการสื่อสารเรื่อง OKRs กับลูกน้องในกรณีต่าง ๆ
  • ความจำเป็นในการใช้ OKRs ในองค์กรของเรา
  • การตั้งเป้าหมาย OKRs
  • คุณค่าของ OKRs ต่อชีวิตและงาน
  • วิธีการใช้ OKRs ในหน่วยงาน
  • กำร Update ผลงานตาม OKRs
  • กรณีตัวอย่างการ Communicate ขององค์กรชั้นนำที่ปรับใช้ OKRs แบบได้ผล
  • การทำ F Feedback

ผู้นำกระบวนการ (Facilitative Leader) จะจับสัญญาณพลังงานของบุคคล และวัฒนธรรมขององค์กรตามสภาวะจริงๆ ก่อนสร้างความเชื่อ ชี้ชัดเฉพาะจุด ไม่รีบร้อนบอกหมดในทีเดียว ไม่ใช่เพราะเกรงใจครับ แต่ธรรมชาติของมนุษย์สามารถยอมรับข้อบกพร่องลึกๆ และปรับปรุงได้ครั้งละจำกัด ชี้จุดที่ต้องปรับไม่เกินครั้งละ 3 จุด ขึ้นกับกำลังผู้รับ แล้วเขาจะให้ความสำคัญกับกระบวนการ คือ การช่วยกันคิดหาแนวทางปรับปรุงพัฒนา ก็แน่ล่ะครับ เขาคือผู้นำกระบวนการ จึงวางผลในอดีตได้เร็ว แล้วกลับมาโฟกัสกันที่กระบวนการกันต่อไป นอกจากนี้ การฟัง ยังถือว่าเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการให้ข้อเสนอแนะด้วยเช่นกัน

  •  Feedback คืออะไร และทำไมเราต้องทำ Feedback
  • Downward Feedback และ Upward Feedback คืออะไรและมีคุณค่าอย่างไร
  • ความต่างของ Downward Feedback และ Upward Feedback
  • เทคนิคการ Feedback ด้วย AID Model (Action-Impact-Develop) พร้อมฝึกเขียนบทพูดให้ Feedback ลูกน้อง
  • ปัญหาของการ Feedback ที่มักพบและต้องแก้ไขเพื่อให้ขับเคลื่อนผลงานได้จริง

 

  • การทำ R Recognition

ผู้นำกระบวนการ (Facilitative Leader) จะมีความสุขง่าย ๆ กับชีวิต ด้วยการชื่นชมคนอื่นเสมอ (Gratitude) แต่เมื่อเขาทำสำเร็จ เขามักจะคิดว่านั่นคือผลงานของคนอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่ผลงานของเขาคนเดียว ผู้นำกระบวนการ จะปล่อยให้ทีมงานของเขาได้ลองทำ และ สัมผัสผลตามจริงของงานที่ทำ หาใช่สัมผัสผลจากรางวัลหรือการลงโทษ เพราะบวกลบจากเรา อาจคือการควบคุมเขาแบบหนึ่ง อาจไปสร้างความกลัวได้ รางวัลและการลงโทษไม่ใช่ผลตามจริงจากกระบวนการครับ เมื่อทีมงานสัมผัสผลตามจริงจากสิ่งที่ตนเองเลือกทำ เขาจะได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนแบ่งปัน เกิดความภูมิใจในคุณค่า เกิดความรับผิดชอบในหน้าที่ (Responsibility) และ เกิดแรงจูงใจจากภายในตนเอง

  • Recognition หรือการชื่นชมคืออะไร และทำไมต้องทำ Recognition กับพนักงาน
  • รอบระยะเวลาในการจัดทำ, การติดตามและประเมินการปฏิบัติงานตาม OKRs
  • แนวทางการทำ Recognition
  • Recognition ที่องค์กรทำ พร้อมกรณีศึกษำกำรทำ Recognition ของบางองค์กร
  • Recognition ที่หัวหน้าทำได้ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์
  • Recognition ที่พนักงานทำด้วยตนเอง พร้อมเรื่องเล่าตัวอย่าง
  • ทำ Recognition อย่างไรให้ได้ Impact ผลงานดีดี
  • ผู้จัดการที่มีภาวะผู้นำกระบวนการ (Facilitative Leadership)

สามารถประยุกต์ใช้ทักษะของกระบวนกร หรือ Facilitator ตามบริบทจริงในงาน เขาสามารถวางกิจกรรม และเครื่องมือการเรียนรู้อย่างกระบวนกร หรือ Facilitator ในห้องเรียน แล้ว Facilitate ผ่านงานของผู้จัดการ เช่น การบริหารจัดการความคาดหวัง กระบวนการให้ข้อเสนอแนะ และกระตุ้นความคิดทีมงาน เพื่อสร้างความรับผิดชอบจากภายในใจตนเอง ผู้จัดการที่มีภาวะผู้นำกระบวนการ (Facilitative Leadership) จะช่วยตระเตรียม Culture ขององค์กร ให้พร้อมรับต่อการใช้ระบบ OKRs

  • บทบาทของโค้ชและเครื่องมือต่างๆ หัวใจแห่งการโค้ช และ วงจรความคิดของคน
  • TAPS Model เข้าใจความหมายของการโค้ช และประโยชน์ในเชิงของผู้นำ และต่อองค์กรด้วยกระบวนการ Tell-Ask-Problem-Solution
  • การโค้ชด้วย T-Grow Model พัฒนาทักษะการคิด เพื่อนำไปสู่การลงมือทำ ให้ประสบความสำเร็จ
  • หลักการ และทักษะที่สำคัญของการโค้ช
  • ความสำคัญและสิ่งที่จำเป็นของผู้นำองค์กรใน “บทบาทและหน้าที่” ที่ของโค้ช
  • เรียนรู้การโค้ช วัตถุประสงค์ หัวใจของการโค้ช และเป้าหมายของการโค้ชที่ดี

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจในทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition ) สำหรับหัวหน้างาน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญของ OKRs และสร้างมาตรฐานการโค้ชในองค์กรได้
  2. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เครื่องมือ (Tools) การโค้ชที่เหมาะสมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างยั่งยืนได้
  3. ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติทักษะการโค้ช ด้วยทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition ) อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
  4. ผู้เข้าอบรมได้สร้างทัศนคติเชิงบวกต่องาน และความคาดหวังต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เผชิญอยู่ด้วยทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition )
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ใต้บังคับบัญชา ให้พัฒนาความสามารถในการคิดของตนเอง พัฒนาตนเองในด้านอื่นๆเพื่อสร้างผลงานที่ดียิ่งขึ้น
  6. ผู้อบรมได้เสริมกลยุทธ์การนำไปใช้เพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงของทีมอย่างชัดเจน และสำเร็จตามเป้าหมายด้วยด้วยทักษะการ CFR ( Conversation Feedback Recognition )

 

วิธีการฝึกอบรม

การโค้ชกลุ่ม การเขียน ระดมสมอง การอภิปรายกลุ่ม การสาธิต สถานการณ์จำลอง ฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง ให้ Feedback

 

ผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน / ผู้จัดการทุกหน่วยงาน

man-standing-in-front-of-people-1709003

หลักสูตร Storytelling เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในการทำงาน ( Storytelling for Success )

หลักสูตร Storytelling เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารในการทำงาน  

( Storytelling for Success )

หลักการและเหตุผล :

ในการทำการตลาดในปัจจุบันนั้น การใช้คอนเทนต์ในการทำการตลาดเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดหลายๆท่านใช้อยู่แล้ว แต่อย่างที่เราทราบกันดี ว่าคอนเทนต์ในโลกออนไลน์นั้นมีจำนวนมากเกินกว่าที่ผู้บริโภคต้องการที่จะรับสารได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นการสื่อสารออกไปเพียงฝ่ายเดียว อย่างเช่น การบอกเหตุผลกับลูกค้า ว่าทำไมพวกเขาจึงควรซื้อผลิตภัณฑ์ หรือทำไมต้องใช้บริการของธุรกิจเราเพียงอย่างเดียว จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องเริ่มแบ่งปันเรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ของคุณ ว่าคุณผ่านอะไรมา ทำไมธุรกิจของคุณถึงมีอยู่ และธุรกิจของคุณได้ช่วยเหลืออะไรบ้าง ซึ่งการที่ธุรกิจของคุณสามารถแบ่งปันเรื่องราว หรือประสบการณ์ที่เคยผ่านพบเจอมา จะทำให้ธุรกิจของคุณนั้นมีความน่าสนใจมากขึ้น และเชื่อมต่อกับผู้คน สร้างความไว้วางใจ โดยเรื่องราวที่ถูกบอกเล่าออกไป จะส่งผลให้เกิดการสร้างมูลค่าให้แก่แบรนด์ของคุณอีกด้วย นั่นก็คือ “ เรื่องราวของแบรนด์”

เราเคยได้ยินคำว่า “Storytelling” กันมามาก บางคนว่าคือการเอาเรื่องมาเล่า บางคนว่าคือกลยุทธใหม่ของธุรกิจ บางคนว่าคือเทคนิคจูงใจคน บางคนว่าคือเคล็ดลับความสำเร็จ และอีกหลายแห่งก็ว่า มันคือวิธีการสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์ แต่มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือ Content is NOT King เนื้อหาหล่อๆ คำพูดเท่ๆ ไอเดียแปลกๆ ใครๆ ก็พูดได้ Storytelling is the best way to communicate people หรือการนิยามเหนือๆ เป้าหมายล้ำๆ ใครๆ ก็โชว์คูลได้เหมือนกัน

แต่การนำ “ไอเดีย ความคิด และเรื่องเหล่านั้น” ลงไปวางในใจผู้คนได้จริง รู้วิธี รู้จังหวะปลูกฝังลงในความคิด ไม่ต้องประดิษฐ์เล่นคำ ไม่ต้องเป็นคนดัง ไม่ต้องเล่นมุข ไม่ต้องพยายามฮา และรู้วิธีและมีทักษะในการทำให้ผู้คนเกิดอารมณ์และความเต็มใจได้ สิ่งเหล่านี้มีเพียง “นักเล่าเรื่อง” ที่ถูกฝึกสร้างมาอย่างเป็นกระบวนการเท่านั้นที่ทำได้ เพราะ “กระบวนการคิด” และ “ศิลปะการเชื่อมโยงจินตนาการให้ผู้คนด้วยเรื่องเล่า” นั้น ได้กลายเป็นทักษะเฉพาะตัวของนักเล่าเรื่องเหล่านั้น

 

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ Storytelling นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก Storytelling ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ Storytelling ให้เหมาะสมกับองค์กร
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจและเรียนรู้เทคนิคการสร้างเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง พร้อมฝึกฝนร่วมกัน

 

เนื้อหาหลักสูตร

  1. Storytelling จากกลยุทธ์ทางการตลาดสู่การเป็นเครื่องมือสร้างคนในองค์กร
  2. กระบวนการพื้นฐานในการเรียนรู้ของบุคคล
  3. ความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ Storytelling ในการทำงาน
  4. การจำแนกประเภทของ Storytelling
  5. ขั้นตอนในการสร้าง Storytelling ให้น่าสนใจและเกิดประสิทธิผล
  • การคิดเรื่องเล่าตามจุดประสงค์ที่ต้องการ
  • การสร้าง Story Content
  • การเล่าเรื่อง Story Telling
  1. เทคนิคการนำเสนอที่ทรงพลังสำหรับ Story Teller
  2. วิธีการตั้งประเด็น และตอบคำถามอย่างถูกวิธี
  3. การประยุกต์ใช้ Storytelling เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น
  • การสอนงาน
  • การบริหารจัดการ
  • การนำเสนองาน
  • การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
  • การบอกเล่าประสบการณ์
  • การถ่ายทอดความรู้
  1. Workshop การสร้าง Storytelling และฝึกเทคนิคการนำเสนอที่ประทับใจ
  2. 10. 7 สูตรการเล่าเรื่องที่จะทำให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ
  3. Before-After-Bridge
  • Before (ก่อน) – แสดงให้ผู้อ่านรับรู้ถึงปัญหา
  • After (หลัง)  – แสดงให้ผู้อ่านเห็นว่าเมื่อแก้ปัญหาแล้วเป็นอย่างไร
  • Bridge  (สะพาน) – แสดงให้เห็นว่าต่องทำอย่างไรถึงจะไปถึงจุดนั้น
  1. Problem-Agitate-Solve
  • Problem(ปัญหา) –  ปัญหาที่เกิด
  • Agitate(กวนใจ) –  สิ่งที่กวนใจ
  • Solve (แก้ไข) – วิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้น
  1. Features-Advantages-Benefits
  • Features (คุณสมบัติ) – สินค้าของคุณทำอะไรได้บ้าง
  • Advantages (ข้อดี) – สิ่งนี้จะช่วยอะไร ทำอะไรได้บ้าง
  • Benefits (ประโยชน์) – สิ่งนี้มีความหมายอะไรกับผู้อ่าน ทำไมต้องใส่ใจ
  1. ThreeAct Structure
  • Act One / Setup (ติดตั้ง) – แนะนำตัวละครและฉากที่เกิดขึ้น
  • Act Two / Confrontation  (การเผชิญหน้า) – การเจอกับอุปสรรคปัญหา สิ่งกีดขวางต่างๆ
  • Act Three / Resolution (การยืนหยัด) – การยืนหยัดต่อสู้กับปัญหาจนก้าวข้ามมาได้แล้ว
  1. Freytags Pyramid: FiveAct Structure
  • Exposition (การแสดง)
  • Inciting Incident (ต้นเหตุ)
  • Rising Action (การลุกขึ้นลงมือทำ)
  • Climax (จุดสำคัญ)
  • Falling Action (ล้มเหลว)
  • Resolution (การยืนหยัด)
  • Denouement  (แก้ไข)
  1. Simon Sineks Golden Circle
  • วงกลม 1 : Why – ทำไมถึงมีบริษัทเรา? เป็นการเริ่มตั้งถามให้กับคนในบริษัท
  • วงกลม 2 : How – พวกเขาทำสิ่งที่พวกเขาทำได้อย่างไร?
  • วงกลม 3 : What – คุณทำอะไร?
  1. Dale Carnegies Magic
  • Incident (อุบัติการณ์)
  • Action (ลงมือปฏิบัติ)
  • Benefit  (ประโยชน์)

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ Storytelling นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร

2.ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก Storytelling ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ Storytelling ให้เหมาะสมกับองค์กร

4.ผู้เข้าอบรม สามารถใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5.ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจและเรียนรู้เทคนิคการสร้างเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง พร้อมฝึกฝนร่วมกัน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                  30 %

2.กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                            70%

 

การทำงานเชิงรุก1

หลักสูตร การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพงานเชิงรุก สู่ความสำเร็จ (Proactive Working to Success )

หลักสูตร การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพงานเชิงรุก สู่ความสำเร็จ

(Proactive Working to Success )

หลักการและเหตุผล :

สถานการณ์การทำงานในปัจจุบัน มีการแข่งขัน และ ความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทำให้ต้องมีการปรับตัว ทั้งส่วนองค์กรและส่วนพนักงาน ผู้ปฏิบัติงานจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของตนอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นมืออาชีพที่แท้จริง มีการปรับวิธีการทำงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถสื่อสารและประสานงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพตัวเอง แข่งขันกับคนอื่น ทันสถานการณ์

การปลูกฝังให้พนักงานในองค์กรมีหลักการในการปฏิบัติงานเชิงรุก ที่มีประสิทธิภาพย่อมส่งผลดีต่อการบริหารงาน และการวางแผนงานในเวลาเดียวกันได้ด้วย ดังนั้นการทำงานเชิงรุก     ( Proactive Management ) ที่คนทำงานในองค์กรโดยเฉพาะระดับที่เป็นผู้นำคนอื่นตั้งแต่ระดับ หัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้บริหาร จึงมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นการคิด พูด และการลงมือปฏิบัติให้เกิดการทำงานเชิงรุกได้อย่างแท้จริง เพื่อป้องกันเหตุด่วนเหตุร้ายหรือปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ตามคำพูดที่ว่า “ กันไว้ดีกว่าแก้ เพราะแย่แล้วมักจะแก้ไม่ทัน ” และการปรับปรุงพัฒนายกระดับกระบวนการหรือระบบการทำงานให้ดียิ่งๆขึ้นไปเพื่อเอาชนะคู่แข่งได้ อีกทั้งเป็นการสร้างความประทับใจแก่ลูกค้ากับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ( Stake Holders ) ตลอดไปอันจะนำไปสู่ความเจริญเติบโตขององค์กรแบบยั่งยืน

 

วัตถุประสงค์

  1. 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับแนวคิดและความรู้ ความสำคัญของการทำงานเชิงรุก
  2. 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะด้านการทำงานเชิงรุกต่างๆที่จำเป็นสำหรับการทำงาน
  3. 3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน และรับฟังประสบการณ์ข้อแนะนำจากวิทยากร
  4. 4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และ สิ่งที่ได้จากการฝึกปฏิบัตินำกลับไปใช้ในการทำงานได้จริง

 

เนื้อหาการอบรม

  • ความหมายของการทำงานเชิงรุก ( Proactive )
  • แนวคิดการทำงานเชิงรุก
  • ความคิดที่จำเป็นสำหรับการทำงานเชิงรุกคือ SWOT Analysis ปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ฯลฯ กับปัจจัยภายใน (จุดแข็ง,จุดอ่อน,โอกาส , ภัยคุกคาม )
  • ความแตกต่างระหว่างการทำงานแบบคนทั่วไปที่ทำงานตามสั่งหรือสถานการณ์บีบบังคับแบบ Reactive กับ การทำงานเชิงรุกแบบ Proactive
  • การทำงานเชิงรุกตามหลัก 7 Habits
  • การใช้หลัก Encourage ผลักดันชีวิตการทำงาน และส่วนตัวให้สร้างฝันเป็นจริง
  • การพัฒนาและสร้างสมรรถนะของบุคลากรทั้งองค์กร ( Competency ) ให้สามารถรองรับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตภายใน 5 ปี นี้
  • การสร้างบรรยากาศให้ทุกคนมีความสุขในการทำงานและได้ผลงานสูงสุด
  • การทำงานเชิงรุกภาคปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติ ทำแบบฝึกหัดเพื่อสามารถนำกลับไปใช้งานได้จริง
  • การแก้ปัญหาแบบ Correction , Corrective Action และ Preventive Action
  • การปรับเปลี่ยน และการพัฒนาองค์กรด้วยการกระจายนโยบายจากระดับสูงสุดลงสู่การกระทำของบุคลากรทุกคนในระดับต่ำสุดขององค์กร เริ่มจาก Goal -> Objective -> Strategy Plan ->Action Plan -> Project/Activity ของหน่วยงานหรือตัวบุคคลโดยมี KPIs & Target กำกับ
  • การปรับปรุงกระบวนการและระบบการทำงานด้วยหลัก ECRS
  • การปรับปรุงระบบคุณภาพ
  • การเพิ่มผลผลิต ( Productivity up )
  • การลดต้นทุนที่พนักงานทุกคนทุกระดับมีส่วนร่วม
  • การทำ 5 ส ( พื้นฐานของการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทุกประการ )
  • เทคนิคการวางแผนการทำงาน และการกำหนดเป้าหมายสำหรับการทำงานเชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพ
  • พัฒนาวิธีการทำงานด้วยเทคนิคการทำงานเชิงรุกแบบทีม
  • เครื่องมือ และปัจจัยที่สนับสนุนการทำงานเชิงรุก
  • ฝึกปฏิบัติ : การทำกิจกรรมเพื่อสร้างเสริมการทำงานเชิงรุก

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. 1. ผู้เข้าอบรมได้รับแนวคิดและความรู้ ความสำคัญของการทำงานเชิงรุก
  2. 2. ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะด้านการทำงานเชิงรุกต่างๆที่จำเป็นสำหรับการทำงาน

3.ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าอบรมด้วยกัน และรับฟังประสบการณ์ข้อแนะนำจากวิทยากร

  1. 4. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และ สิ่งที่ได้จากการฝึกปฏิบัตินำกลับไปใช้ในการทำงานได้จริง

 

แนวทางการการอบรม

  1. การบรรยายรูปแบบ Online
  2. การฝึกอบรมเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่(Adult Learning) ซึ่งเน้นให้เกิดความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเล็งเห็นประโยชน์ของเนื้อหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

  • ผู้บริหาร หัวหน้างาน
  • พนักงานทุกระดับ

 

เทคนิคการสัมภาษณ์งาน1

หลักสูตร เทคนิคการสัมภาษณ์งาน (Interviewing Technique)

หลักสูตร เทคนิคการสัมภาษณ์งาน (Interviewing Technique)

 

หลักการ/แนวความคิด :

ในหลายองค์กรที่มีการใช้เครื่องมือคัดเลือกพนักงานเข้าทำงาน  จะเห็นได้ว่าการสัมภาษณ์ยังเป็นเครื่องมือที่สะดวก ค่าใช้จ่ายน้อยและได้ผลดีมากที่สุดวิธีหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขที่ผู้สัมภาษณ์ต้องมีความรู้และทักษะในการสัมภาษณ์เป็นอย่างดี และใช้แนวคำถามในเชิงพฤติกรรม (Behavior-based interviewing) ที่ใช้พฤติกรรมในอดีตชี้บ่งแนวโน้มพฤติกรรมของผู้สมัครในอนาคต

ในยุคนี้ทุกองค์กรต่างกำลังปรับตัวและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ภายในองค์กร เพื่อรองรับการแข่งขันอย่างรุนแรงในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังเกิดขึ้น หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่หลายองค์กรได้นำมาใช้ ก็คือ การคัดเลือกพนักงานที่มีความสามารถและศักยภาพที่เหมาะสมกับงานและองค์กร นั่นเป็นเพราะความสามารถของพนักงาน ถือเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

ซึ่งเชื่อว่าหลายองค์กรเคยเผชิญกับปัญหาเลือกคนไม่เหมาะสมกับงานและองค์กร จึงส่งผลให้งานขาดประสิทธิผล และองค์กรต้องแบกรับภาระในการดูแลพนักงานดังกล่าวจนถึงเกษียณ

โดยไม่สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์กรเลย

ดังนั้นการพัฒนาให้ HR และผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทเป็นหนึ่งในคณะกรรมการการสัมภาษณ์

ให้ได้ใช้เวลาทุกนาทีของการสัมภาษณ์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมที่สุด

โดยมีความรู้ ความเข้าใจ และมีเทคนิคการสัมภาษณ์ในการตั้งคำถามแบบวิเคราะห์เจาะลึกความสามารถและศักยภาพของผู้สมัครในแต่ละตำแหน่งงาน  มีทักษะการฟังเพื่อวิเคราะห์คำตอบ ทักษะการประเมินบุคลิกภาพเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมกับลักษณะงาน  และการพิจารณาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจเลือกผู้สมัครอย่างเป็นระบบ

ทักษะเหล่านี้ล้วนส่งเสริมให้ HR และผู้บริหาร จะมีทีมงานที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายและ KPI ที่กำหนด  อีกทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรมีพนักงานที่มีศักยภาพ และพร้อมรับมือกับการแข่งขันในอนาคตได้อย่างดีเยี่ยมต่อไป

 

 

วัตถุประสงค์

 

1.เพื่อให้พนักงานระดับหัวหน้างานมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ กระบวนการ และตระหนักถึงความสำคัญของ การสรรหา คัดเลือกพนักงาน

  1. เพื่อเป็นการฝึกทักษะเทคนิคการสัมภาษณ์งานอย่างถูกวิธีให้กับพนักงานระดับหัวหน้างาน
  2. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจ และสามารถนาหลักการสัมภาษณ์แบบ S.T.A.R. Model ไปใช้

ในการคัดเลือกพนักงาน

4.เพื่อให้สามารถสัมภาษณ์และคัดเลือกพนักงานที่มีคุณสมบัติและความสามารถสอดคล้องกับความคาดหวังและ KPI ของตำแหน่งงาน

 

 

เนื้อหาของหลักสูตร

 

สิ่งที่น่ารู้สำหรับการเป็นกรรมการสัมภาษณ์งาน

  • ความสำคัญของการเป็นกรรมการสัมภาษณ์งาน
  • ความสำคัญและประโยชน์ของการคัดเลือกบุคลากรให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานและองค์กร
  • พื้นฐานที่สำคัญของกรรมการสัมภาษณ์งาน เริ่มจากการเตรียมตัวก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์
  • บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร กับ ตำแหน่ง “คณะกรรมการสัมภาษณ์”
  • คุณสมบัติและความสามารถของ “นักสัมภาษณ์มืออาชีพ”
  • เมื่ออยู่ในห้องสัมภาษณ์ และการประเมินผลผู้สมัครงาน
  • หลุมพรางที่ต้องรู้สำหรับกรรมการสัมภาษณ์งาน
  • ปัญหาความผิดพลาดและความสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการสัมภาษณ์

 

ประยุกต์ใช้หลักจิตวิทยาสาหรับกรรมการสัมภาษณ์งาน

  • การอ่านบุคลิกภาพของผู้ถูกสัมภาษณ์ (DISC และสัตว์สี่ทิศ)
  • เทคนิคการฟังเชิงลึก และ เทคนิคการตั้งคำถาม เพื่อหาคนที่ใช่ สำหรับองค์กร
  • ทักษะการฟัง (Listening Skills)
  • ทักษะการตั้งคาถาม (Probing Questions)
  • ทักษะการวิเคราะห์ การแก้ปัญหาต่าง ๆ ในระหว่างการสัมภาษณ์ (Challenging Candidate Situations)
  • จิตวิทยาเข้าใจคนในประเภทต่าง ๆ เพื่อการสัมภาษณ์เป็นไปอย่างไหลลื่น

 

เทคนิคการสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) ด้วย S.T.A.R. Model

  • Situation เลือกสถานการณ์ที่ผู้ถูกสัมภาษณ์แสดงพฤติกรรมตาม Competency ที่กำหนด
  • Task ถามถึงบทบาทของผู้ถูกสัมภาษณ์
  • Action การตัดสินใจ พฤติกรรมที่แสดงออกต่อสถานการณ์นั้นๆ
  • Result ผลแห่งการกระทาสะท้อนถึงความสามารถของผู้ถูกสัมภาษณ์
  • การจัดทำชุดคำถาม ตามแบบ S.T.A.R. Model เพื่อเจาะลึกในตัวผู้ถูกสัมภาษณ์

 

ฝึกปฏิบัติสัมภาษณ์งาน

  • Workshop : การจัดเตรียมชุดคำถาม เพื่อเป็นแนวการสัมภาษณ์งานแบบมีโครงสร้าง
  • Role Playing : ฝึกปฏิบัติอย่างถูกวิธีในการสัมภาษณ์งาน

 

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

1.พนักงานระดับหัวหน้างานมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการ กระบวนการ และตระหนักถึงความสำคัญของ การสรรหา คัดเลือกพนักงาน

  1. หัวหน้างานได้ฝึกทักษะเทคนิคการสัมภาษณ์งานอย่างถูกวิธีให้กับพนักงานระดับหัวหน้างาน
  2. หัวหน้างานเข้าใจ และสามารถนาหลักการสัมภาษณ์แบบ S.T.A.R. Model ไปใช้

ในการคัดเลือกพนักงาน

4.หัวหน้างานสามารถสัมภาษณ์และคัดเลือกพนักงานที่มีคุณสมบัติและความสามารถสอดคล้องกับความคาดหวังและ KPI ของตำแหน่งงาน

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

HR, ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%

 

 

 

people-2557396__340 (1)

หลักสูตร เทคนิคการสอนงาน (Coaching Techniques)

หลักสูตร เทคนิคการสอนงาน (Coaching Techniques)
การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

การพัฒนาระดับความสามารถ ในด้านต่างๆ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งหัวหน้างานยุคใหม่ต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะตระหนักรู้ว่าถ้าเราไม่ยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ

ผู้บังคับบัญชาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานของตนไปถ่ายทอดและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดการ พัฒนาตนเองและองค์กรได้อย่างยั่งยืน และสร้างองค์กรให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้และเกิดผลในทางปฏิบัติ ได้แก่ การสอนงานและการทำงานเป็นทีม เนื่องจากการสอนงานและการทำงานเป็นทีม เป็นกระบวนการในการพัฒนา   ขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากร การสอนงาน (Job Instruction) เป็นการทำงานและเรียนรู้งานไปในตัว โดยผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่สอนผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน มีการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องทำและวิธีการปฏิบัติงาน ให้ข้อแนะนำต่าง ๆ ติดตามผลและนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดต่อการปฏิบัติงาน ส่วนการทำงานเป็นทีมนั้นผู้บังคับบัญชาต้องทำให้ทุกคนรู้สึกถึงความเป็นทีมเดียวกัน ด้วยการเป็นต้นแบบที่ดี

 

 

วัตถุประสงค์

 

  1. เพื่อให้หัวหน้างาน รู้จัก เข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างานที่มีภาวะผู้นำเพื่อสร้างการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. เพื่อให้หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการสอนงาน และการทำงานเป็นทีม ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา นำซึ่งการสอนงานและการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน
  5. เพื่อให้หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสอนงานและการแนะนำงานรวมทั้งการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
  6. เพื่อให้หัวหน้างานมีทักษะในการสอนงานและการทำงานเป็นทีม รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานของตนได้ได้อย่างมีแบบแผนขั้นตอนและเกิดประสิทธิภาพ

 

 

ลักษณะของการอบรม

 

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DISC Model และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม
  2. การใช้เครื่องมือ DISC Model และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

 

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

เทคนิคการสอนงานของหัวหน้างาน

 

  1. บทบาทหัวหน้างานยุคใหม่ในฐานะผู้สอนงาน
  2. แนวคิด และหลักการพัฒนาบุคลากรด้วยการสอนงาน
  3. บทบาท หน้าที่การเป็นผู้สอนงาน และการเป็นพี่เลี้ยงในงาน
  4. จิตวิทยาการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่
  5. การสอนงานในรูปแบบต่างๆ
  6. ขั้นตอนการสอนงาน และการแนะนำงานอย่างเป็นระบบ
  7. เทคนิคการสอนงานที่มีประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอน
    • การวิเคราะห์งานและผู้รับการสอน / การวางแผนการสอนงาน
    • การปฏิบัติตามแผนการสอน
    • ทบทวนความเข้าใจ ฝึกปฏิบัติ
    • การติดตาม การประเมินการสอน และการประเมินผลการเรียนรู้
  1. ปัญหาและอุปสรรคในการสอนงาน
  2. พัฒนาทักษะต่างๆ ในการเป็นผู้สอนงานสู่ระดับมืออาชีพ เช่น การสื่อสาร บุคลิกภาพ ภาวะผู้นำ เป็นต้น(Workshop)
  3. เทคนิคและทักษะการสอนงานแบบ OJT. (Workshop => เน้นเป็นพิเศษ 40-50% ของเนื้อหาทั้งหมด)
  4. Tips & Techniques : ระยะเวลา สื่อการสอน และการประเมินผล

 

 

 

กลเม็ดในการบริหารลูกน้อง 4 ประเภทให้เข้ากับสไตล์การทำงานของตน  

 

  • กระบวนการคิดบวกจุดเริ่มต้นของการทำงานเป็นทีม
  • การพัฒนาคำพูดให้เป็นคนคิดบวกเพื่อเกิดบรรยากาศดีๆในการทำงานเป็นทีม
  • การสร้างทีมงานให้เป็นคนคิดบวกเพื่อพัฒนาองค์กรแบบยั่งยืน
  • วิเคราะห์ปัญหาในการทำงานเป็นทีมงานและแนวทางการแก้ไขปัญหา
  • ความหายและความสำคัญของการทำงานเป็นทีมกับการพัฒนาองค์กรให้เป็นเชิงรุก
  • องค์ประกอบที่สำคัญของทีมงานที่สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
  • องค์ประกอบของความสำเร็จในการพัฒนาผลผลิตในการทำงาน
  • การใช้เครื่องมือ 3 Hs’ เพื่อการพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกัน
  • การค้นหาจุดแข็งและพัฒนาความสำเร็จของทีมงานมืออาชีพ
  • องค์ประกอบของทีมงานที่ประสบความสำเร็จนำมาซึ่งความสำเร็จขององค์กร
  • การพัฒนาทักษะและไหวพริบปฏิภาณของทีมงาน
  • การพัฒนาการรวมตัวเพื่อพัฒนาเป้าหมาย และเป็นทีมให้เป็นทีมสร้างสรรค์
  • บทบาทและความคาดหวังของกลุ่มคนในทีมงานสร้างสรรค์
  • ความเข้าใจผิดในบทบาทของการทำงานของผู้นำและผู้ตาม
  • เครื่องมือที่สำคัญในการสร้างสรรค์ทีมงาน ขององค์กรยุคใหม่
  • จิตวิทยาเข้าใจคนในประเภทต่าง ๆ เพื่อการปรับทัศนคติให้ทำงานร่วมกันอย่างเป็นสุข
  • สิ่งใด ควรทำหรือไม่ควรทำ ในฐานะการทำงานเป็นทีม
  • อุปสรรคในการทำงานเป็นทีม และปัญหาการประสานงาน แบบงานไม่ประสานงาน
  • ลักษณะของทีมงานขายเชิงรุก เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
  • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ พูด และ ฟัง
  • การวิเคราะห์คุณลักษณะบุคลิกแต่ละคนเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เข้าใจหลัก ความแตกต่าง อย่างเป็นทีม ทำงานภายใต้ความแตกต่างของคน
  • ประสานงาน การทำงานร่วมกัน ได้ใจได้งาน

 

 

สรุปบทเรียน และถาม-ตอบ

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

  1. หัวหน้างาน รู้จัก เข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างานที่มีภาวะผู้นำเพื่อสร้างการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการสอนงาน และการทำงานเป็นทีม ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา นำซึ่งการสอนงานและการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
  4. หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน
  5. หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสอนงานและการแนะนำงานรวมทั้งการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
  6. หัวหน้างานมีทักษะในการสอนงานและการทำงานเป็นทีม รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานของตนได้ได้อย่างมีแบบแผนขั้นตอนและเกิดประสิทธิภาพ

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน

วิธีการอบรม

การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม, เดี่ยว/ ทำแบบ Assessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%

 

 

 

หลักสูตร ทักษะการควบคุม 4D โดยหัวหน้างาน (4D Supervisory Skill

หลักสูตร ทักษะการควบคุม 4D โดยหัวหน้างาน (4D Supervisory Skill )

หลักสูตร ทักษะการควบคุม 4D โดยหัวหน้างาน (4D Supervisory Skill )
การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดน มีเงื่อนไขในกระบวนการทำธุรกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ละองค์กรต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันทั้งองค์กรธุรกิจในประเทศและในต่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กร ถือเป็นกุญแจสำคัญในการตระเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือและเพื่อการสร้างโอกาสในโลกธุรกิจยุค(New Economy) เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้น จึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้หัวหน้างานเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ

หลักสูตร ทักษะการควบคุม 4D โดยหัวหน้างาน (4D Supervisory Skill ) จึงออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาทักษะในหลากหลายมิติของความคิด อุปนิสัยและแนวทางปฏิบัติ สู่ความเป็นหัวหน้างานและผู้จัดการที่ยอดเยี่ยม เป็นการเพิ่มพลังองค์กรให้สามารถก้าวสู่ผลประกอบการตามเป้าหมายและเพื่อการเติบโตของธุรกิจ

 

วัตถุประสงค์

 

  1. เพื่อให้หัวหน้างานรู้จักเข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างาน ที่มีภาวะผู้นำในการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการของ 4D Supervisory Skill
  2. เพื่อให้หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการสื่อสารโดยการมอบหมายงาน การติดตามงาน การสอนงานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา และพร้อมที่จะสื่อสารเชิงบวกไปให้ เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกันด้วยหลักของ 4D Supervisory Skill
  5. เพื่อให้หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสื่อสารไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

 

 

ลักษณะของการอบรม

 

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DISC Model และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม
  2. การใช้เครื่องมือ DISC Model และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

 

  • หัวหน้างานคือใคร ?

 

  • ความสำคัญของตำแหน่ง “หัวหน้างานยุคใหม่”
  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างานในฐานะผู้บริหารระดับต้นขององค์กร
  • แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์กร

 

  • รู้เรา : ทําความรู้จักตัวตน และสไตล์การทำงานของตนเอง
  • รู้เขา : กลเม็ดและสไตล์ในการทํางานกับลูกน้อง 4 ประเภท

 

  • Workshop : กลเม็ดในการบริหารลูกน้อง 4 ประเภทให้เข้ากับสไตล์การทำงานของตน  

 

  • กรณีศึกษาและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
  • กรณีศึกษาการเป็นหัวหน้างานที่ดีสู่ความสำเร็จ
  • บทบาทและทักษะที่หัวหน้างานควรมี
  • กิจกรรม: คุณลักษณะของหัวหน้างานที่ดีและการประเมินตนเอง
    • คุณลักษณะใดที่ท่านยังแสดงออกน้อยไป
    • คุณลักษณะใดที่ท่านยังนำไปสู่แนวทางปฏิบัติไม่ถึง
    • คุณลักษณะใดที่ท่านอยากจะเก่งมากขึ้น
    • คุณลักษณะใดที่ท่านควรปรับปรุง พัฒนาให้ดีขึ้น

 

  • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการในยุค 4.0 (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)
  • Teamwork (การทำงานเป็นทีม)
  • Achievement Motivation (แรงจูงใจสู่ความสำเร็จ)
  • Accountability (ความรับผิดชอบอย่างผู้นำ) ซึ่งประกอบไปด้วย
  • มีวิสัยทัศน์ (Visioning Goal Setting & Leading others )
  • มีทักษะการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills)
  • สอนงานเป็นและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (Coaching & Develop others)
  • มีแนวกรอบแนวคิดในการทำงาน (Conceptual Thinking)
  • มีทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรของ (Resource Management Skill)
  • กล้าตัดสินใจ (Decision Making)
  • มีทักษะการบริหารจัดการลูกน้อง (People Management Skills)
  • สามารถจูงใจลูกน้องได้ (Motivate Subordinate)
  • การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
  • การบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร (Conflict Management)

 

  • 4D Supervisory Skill : Motivation for High Productivities
  • การสร้างแรงจูงใจจากกลยุทธ์ เป้าหมายหรือทิศทางองค์กร
  • การตั้งเป้าหมาย: SMART Goal
  • กิจกรรม: การตั้งเป้าหมาย SMART-D
  • เทคนิคการสร้างแรงจูงใจจากภายใน (Inner Mental):
  • วิธีการสร้างแรงจูงใจ
  • ข้อผิดพลาดในการสร้างแรงจูงใจ

 

  • การประยุกต์การบริหารการสื่อสารแบบ HO-REN-SO
  • HO – การรายงาน คือหน้าที่เป็นอย่างไร
  • เทคนิคในการสรุปรายงาน / ลักษณะการรายงานที่ดี
  • REN – การประสานงาน คือการใส่ใจอย่างไร
  • สรุปหลักการ และวิธีการติดต่อ-ประสานงาน
  • ศิลปะในการติดต่อ-ประสานงาน
  • SO – การปรึกษา เพื่อแก้ไขเป็นอย่างไร
  • วิธีและขึ้นตอนการปรึกษาหารือ
  • เครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการปรึกษาหารือ เพื่อแก้ไขปัญหา

 

  • Communication for Happy Life and Effective Work
  • การสื่อสารของหัวหน้าอย่างมีประสิทธิผล
  • ระบบการสื่อสาร
  • Communication-Report-Consults
  • Assertiveness
  • ภาษา-ภาษาพูด-ภาษาใจ
  • ทักษะการฟัง
  • กิจกรรม: ทักษะการฟัง
  • กิจกรรม: แบบทดสอบทักษะการฟัง

 

 

สรุปบทเรียน และถาม-ตอบ

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

 

  1. หัวหน้างานรู้จักเข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างาน ที่มีภาวะผู้นำในการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยหลักการของ 4D Supervisory Skill
  2. หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการสื่อสารโดยการมอบหมายงาน การติดตามงาน การสอนงานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชา และพร้อมที่จะสื่อสารเชิงบวกไปให้ เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  4. หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกันด้วยหลักของ 4D Supervisory Skill
  5. หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสื่อสารไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

  • ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน,

วิธีการอบรม

  • การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม, เดี่ยว/ ทำแบบ Assessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%

 

 

 

analyzing-3565815__340

หลักสูตร เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation)

หลักสูตร เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ (Professional Presentation)

หลักการและเหตุผล

การนำเสนอ เป็นเรื่องที่สำคัญในการทำงาน เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า บนสนามของการทำธุรกิจนั้น ผู้ที่สามารถที่จะ การนำเสนอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความเป็นมืออาชีพมากกว่า ย่อมเป็นผู้ที่ได้เปรียบสามารถที่จะครองผู้ซื้อ ทำให้ได้มาซึ่งยอดขายหรือแม้แต่การครองใจผู้บริหารงาน ก็จะทำให้ตนเองนั้น มีความโดดเด่นเหนือผู้อื่น ในสังคมของการทำงานนั้น ๆ หลักของการ นำเสนอ ที่ดี มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีการบริหารจัดการในหลายมิติ ทั้งเนื้อหา ลีลาและที่สำคัญคือการพัฒนาบุคลิกภาพให้มีความเหมาะสม ซึ่งในทุกครั้งของการนำเสนอควบคู่กันไป จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งเสียไม่ได้หลักสูตร Presentation Skills ถูกออกแบบตามแนวทางที่สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทในสภาพการทำงานจริง ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะนำความรู้จากการฝึกอบรมมาปรับเปลี่ยนวิธีการในการทำงาน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการ นำเสนอ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังคำกล่าวที่ว่า “พลังการนำเสนอและการบุคลิกภาพ จะเป็นกระจกเงาสะท้อน ภาพลักษณ์ขององค์กรท่าน นำมาซึ่งความประทับใจแก่ลูกค้าระยะยาว”

การนําเสนองานเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายนั้น จะต้องนําเสนอให้ได้และพูดให้เป็น จึงจะประสบความสําเร็จ ในแวดวงธุรกิจนั้นการนําเสนองานถือเป็นหัวใจสําคัญในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ผลิต ตัวกลาง ลูกค้า หรือ แม้กระทั่งผู้บริหาร และรวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจ การนําเสนอให้มีประสิทธิภาพเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้นํา เสนอจําเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการ เทคนิค วิธีการ ตลอดจนการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง  เพื่อให้การนําเสนองาน  ดูเป็นธรรมชาติและ

มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อสามารถโน้มน้าวผู้ฟังให้คล้อยตาม หรือทําให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อมั่น ในทางใดทางหนึ่ง อันนําไปสู่การร่วมมือทางธุรกิจต่อไป

 

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้รู้จักการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจขบวนการสังเกตและปรับแนวทางการนำเสนอ ด้วยการวิเคราะห์ผู้ฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถจัดลำดับความคิดเห็น และขบวนการนำเสนอ อย่างมีขั้นตอน และเข้าใจง่าย
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถจัดลำดับข้อมูลได้สมบูรณ์ พร้อมเป็นเครื่องมือในการนำเสนอ
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถสร้างความมั่นใจในการแสดงออก และเป็นแบบอย่างนำเสนอต่อผู้ฟัง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติ รูปแบบพื้นฐานการนำเสนอ การแสดงความคิดเห็น การโน้มน้าว การนำเสนอเพื่อการตัดสินใจ การนำเสนอเพื่อขออนุมัติ และการเป็นผู้สอนงาน

 

เนื้อหา :

  • ความหมาย และความสำคัญของการนำเสนอ
  • ปัญหาที่แท้จริงของการนำเสนอ คืออะไร?
  • ศิลปะการนำเสนออย่างสัมฤทธิ์ผล
    • บุคลิกภาพ (Personality)
    • ท่าทางการนำเสนอ (Body Language)
  • แนวทางการค้นหาจุดเด่น และการสร้างเอกลักษณ์ทางการนำเสนอ ที่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัว
  • เรียนรู้ทักษะด้านการวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอ
  • เครื่องมือสำคัญสำหรับการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
    • การวิเคราะห์ความคิด
    • การสื่อสาร
    • การแก้ปัญหา
  • รูปแบบ และขั้นตอนในการนำเสนอ
    • การวิเคราะห์ผู้ฟัง
    • การใช้น้ำเสียง
    • การใช้สายตา
    • การใช้ภาษาท่าทาง
    • ลักษณะการยืน/การเคลื่อนไหว
  • เทคนิคในการโน้มน้าวผู้ฟังให้คล้อยตาม สร้างความน่าสนใจในขณะนำเสนอ
  • เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน
  • เทคนิคการตอบคำถาม
  • เทคนิคการลดความประหม่า / ตื่นเต้น
  • เทคนิคการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ
    • เทคนิคการขจัดความประหม่า ความกลัว สร้างความเชื่อมั่นในการนำเสนอ
    • เทคนิคการตอบคำถามหรือข้อสงสัยในเรื่องที่นำเสนออย่างถูกวิธี
    • เทคนิคการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสร้างแนวทางในการนำเสนอที่ตรงใจ
    • Workshop: กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการนำเสนอ
      • ทดสอบการนำเสนอ
      • การวางรูปแบบนำเสนอและจังหวะ
      • การควบคุมท่าทางและน้ำเสียงในการนำเสนอ
      • การบังคับจังหวะและน้ำเสียงในการนำเสนอ
      • ทักษะการนำเสนออย่างมืออาชีพ

 

 

 ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม :

  1. ผู้เข้าอบรม ได้รู้จักการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ
  2. ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจขบวนการสังเกตและปรับแนวทางการนำเสนอ ด้วยการวิเคราะห์ผู้ฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ผู้เข้าอบรม สามารถจัดลำดับความคิดเห็น และขบวนการนำเสนอ อย่างมีขั้นตอน และเข้าใจง่าย
  4. ผู้เข้าอบรม สามารถจัดลำดับข้อมูลได้สมบูรณ์ พร้อมเป็นเครื่องมือในการนำเสนอ
  5. ผู้เข้าอบรม สามารถสร้างความมั่นใจในการแสดงออก และเป็นแบบอย่างนำเสนอต่อผู้ฟัง
  6. ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติ รูปแบบพื้นฐานการนำเสนอ การแสดงความคิดเห็น การโน้มน้าว การนำเสนอเพื่อการตัดสินใจ การนำเสนอเพื่อขออนุมัติ และการเป็นผู้สอนงาน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                  30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                       70%

 

african-3402716__340

หลักสูตร การปกครองบังคับบัญชา การสั่งงาน การควบคุมงานและการมอบหมายงาน สำหรับหัวหน้างาน (Supervise,Control,Command and Assignment for Supervisor)

หลักสูตร การปกครองบังคับบัญชา การสั่งงาน การควบคุมงานและการมอบหมายงาน สำหรับหัวหน้างาน

(Supervise,Control,Command and Assignment for Supervisor)

 

การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

การพัฒนาระดับความสามารถ ในด้านต่างๆ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งหัวหน้างานยุคใหม่ต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะตระหนักรู้ว่าถ้าเราไม่ยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ

ผู้บังคับบัญชาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการนำความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานของตนไปถ่ายทอดและพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดการ พัฒนาตนเองและองค์กรได้อย่างยั่งยืน และสร้างองค์กรให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้และเกิดผลในทางปฏิบัติได้แก่ การสอนงาน เนื่องจากการสอนงานเป็นกระบวนการในการพัฒนา   ขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากร การสอนงาน (Job Instruction) เป็นการทำงานและเรียนรู้งานไปในตัว โดยผู้บังคับบัญชาทำหน้าที่สอนผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติงาน มีการชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ต้องทำและวิธีการปฏิบัติงาน ให้ข้อแนะนำต่าง ๆ ติดตามผลและนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุดต่อการปฏิบัติงาน

 

 

วัตถุประสงค์

 

  1. เพื่อให้หัวหน้างาน รู้จัก เข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างานที่มีภาวะผู้นำเพื่อสร้างการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. เพื่อให้หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการมอบหมายงาน การติดตามงาน การสอนงานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อการมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อให้หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน
  5. เพื่อให้หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสอนงานและการแนะนำงานไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
  6. เพื่อให้หัวหน้างานมีทักษะในการมอบหมายและติดตามงาน และสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานของตนได้ได้อย่างมีแบบแผนขั้นตอนและเกิดประสิทธิภาพ

 

 

ลักษณะของการอบรม

 

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DISC Model และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม
  2. การใช้เครื่องมือ DISC Model และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

 

การสื่อสาร มิติที่สำคัญของภาวะผู้นำ

  • ความหมายและความสำคัญของการสื่อสาร
  • การบริหารจัดการ 4 ประเภท สำเร็จได้ด้วยการสื่อสาร

 

  • วัฒนธรรมการทำงานแบบไทย ผลดี และผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน

หลักพื้นฐานของการสื่อสาร

  • องค์ประกอบของการสื่อสาร
  • กระบวนการสื่อสาร
  • หน้าที่ของการสื่อสาร
  • กฎเกณฑ์ในการสื่อสารที่ดี
  • องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารระหว่างบุคคล
  • อุปสรรคในการสื่อสารระหว่างบุคคล
  • ขั้นตอนการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีประสิทธิผล
  • ทักษะสำคัญของการสื่อสารที่สำคัญเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน

 

หัวหน้างานคือใคร

 

  • ความสำคัญของตำแหน่ง “หัวหน้างานยุคใหม่”
  • บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของหัวหน้างานในฐานะผู้บริหารระดับต้นขององค์กร

 

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์กร

 

  • รู้เรา : ทําความรู้จักตัวตน และสไตล์การทำงานของตนเอง
  • รู้เขา : กลเม็ดและสไตล์ในการทํางานกับลูกน้อง 4 ประเภท

 

 

 

 

Workshop 1 : กลเม็ดในการบริหารลูกน้อง 4 ประเภทให้เข้ากับสไตล์การทำงานของตน  

 

เทคนิคในการสั่งงานและมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพ (Effective Directing & Delegation)

 

  • หลักในการสื่อสารและประสานงานที่มีประสิทธิผล
  • ประโยชน์ของการสั่งงานและมอบหมายงาน
  • ปัญหาที่มักพบในการสั่งงาน
  • องค์ประกอบในการสั่งงานและมอบหมายงาน
  • ขั้นตอนในการสั่งงานและมอบหมายงาน
  • หลักในการสั่งงานและมอบหมายงาน
  • เทคนิคการสั่งงานและมอบหมายงานสำหรับหัวหน้างานยุคใหม่
  • ตัวอย่าง : แบบฟอร์มการมอบหมายงาน
  • ประตูใจในการสื่อสารและสั่งงานลูกน้อง

 

Workshop 2 : Case Study การสั่งงาน 

 

Workshop 3 : Role Play ฝึกทักษะการสั่งงาน มอบหมายงานให้ได้ทั้งใจและได้ทั้งงาน 

 

 

เทคนิคในการติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ (Effective Followup)

 

  • ประโยชน์ของการติดตามงาน
  • หลักและวิธีการติดตามงาน
  • 4 เทคนิคในการติดตามงาน (Following) ให้ได้ผล
  • การติดตามและจัดการผลการปฏิบัติงานของพนักงานแบบวันต่อวัน

 

 

การประยุกต์การบริหารการสื่อสารแบบ HO-REN-SO

  • HO – การรายงาน คือหน้าที่เป็นอย่างไร
  • เทคนิคในการสรุปรายงาน / ลักษณะการรายงานที่ดี
  • REN – การประสานงาน คือการใส่ใจอย่างไร
  • สรุปหลักการ และวิธีการติดต่อ-ประสานงาน
  • ศิลปะในการติดต่อ-ประสานงาน
  • SO – การปรึกษา เพื่อแก้ไขเป็นอย่างไร
  • วิธีและขึ้นตอนการปรึกษาหารือ
  • เครื่องมือที่เข้ามาช่วยในการปรึกษาหารือ เพื่อแก้ไขปัญหา

 

 

สรุปบทเรียน และถาม-ตอบ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

  1. หัวหน้างาน รู้จัก เข้าใจบทบาทของการเป็นหัวหน้างานที่มีภาวะผู้นำเพื่อสร้างการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
  2. หัวหน้างาน มีความกล้า มีความมั่นใจ ในการมอบหมายงาน การติดตามงาน การสอนงานต่อผู้ใต้บังคับบัญชาผ่านการสื่อสารประชุมงานก่อนเริ่มต้นทำงานในทุก ๆ วัน
  3. หัวหน้างานเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อการมอบหมายงานที่มีประสิทธิภาพ
  4. หัวหน้างานเข้าใจวิธีการสื่อสารทั้งการชื่นชม และการตำหนิเพื่อให้เกิดการปรับปรุงงานให้เกิดประสิทธิภาพต่อเป้าหมายร่วมกัน
  5. หัวหน้างานสามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการสอนงานและการแนะนำงานไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน
  6. หัวหน้างานมีทักษะในการมอบหมายและติดตามงาน และสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการงานของตนได้ได้อย่างมีแบบแผนขั้นตอนและเกิดประสิทธิภาพ

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง

 

วิธีการอบรม

การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม, เดี่ยว/ ทำแบบ Assessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%