library-488690__340

หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

 

หลักการและเหตุผล

ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะแปลกกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากความรู้ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีขีดจํากัดและความรู้ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสําหรับองค์กร ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น หรือยิ่งองค์กรมีความรู้ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อนําความรู้เก่ามาบูรณาการกับความรู้ใหม่ก็ก่อให้ เกิดความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก และส่งผลให้สามารถนําความรู้นั้นมาใช้ ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย

ในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กร ที่จะสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน และประสบความสําเร็จเหนือคู่แข่งแล้วนั้น การบริหารจัดการความรู้ในองค์กรก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทําให้ได้มาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และช่วยให้องค์กรประสบความสําเร็จได้เช่นกัน

การจัดการความรู้ เป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมกันส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ ในทุกภาระงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ในประเด็นที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน โดยจะต้องดําเนินการในลักษณะที่บูรณาการเข้ากับงานประจํา และมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมความรู้ที่หลากหลาย โดยไม่ทําให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในองค์กรเกิดการแลกเปลียนเรียนรู้แก่กัน เช่น การจัดรูปแบบการทํางานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยทําให้สมาชิกในทีมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกียวข้องร่วมกันได้ สะดวกยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนนักปฏิบติ (Community of Practices : CoPs) ตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีกด้วย

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้  

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ  องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

หัวข้อการอบรม

  • แนวคิดการดำเนินการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กร
  • ทัศนคติที่ดีกับการจัดการความรู้สู่ความสำเร็จขององค์กร
  • ทฤษฏี หลักการ และเครื่องมือใน การจัดการความรู้ Knowledge Management
  • การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร และทักษะที่ต้องใช้ในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เรียนรู้เครื่องมือในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • เรียนรู้กระบวนการจับประเด็นความรู้ Knowledge Capture
  • เรียนรู้หลักวิทยากรกระบวนการ หลักการสนทนาอย่างสร้างสรรค์
  • ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ Community of Practice
  • เรียนรู้เครื่องมือของ COP และกระบวนการ ในการจัดการความรู้
  • ความหมายของ COP และปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  • กระบวนการสร้างคลังความรู้ และการนำความรู้มาใช้ซ้ำ
  • การประยุกต์ใช้เครื่องมือ KM COP สู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรอย่างยั่งยืน

 

หลักแนวคิดที่จะเป็นเครื่องมือของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะนำมาของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กรแบบยั่งยืน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ   องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา  งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

3.ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning  Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้

4.ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ  เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                            30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

multitasking-1733890__340

การคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงสังเคราะห์ (Analysis & Synthesis Thinking)

 หลักสูตรการคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงสังเคราะห์

(Analysis & Synthesis Thinking)development-2010016__340

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดเชิงวิเคราะห์และ    การคิดเชิงสังเคราะห์

4.เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์

5.เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.แยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

Module 1 :  ความหมายของการคิดเชิงสังเคราะห์

ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงสังเคราะห์
– การคิดเชิงสังเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อใด
– การคิดสังเคราะห์เชิงวิพากษ์
– การคิดสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์

productivity-1995786__340

Module 2  : ก่อนที่จะเกิดการคิดเชิงสังเคราะห์ 

การคิดเชิงวิเคราะห์
– ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่องที่จะวิเคราะห์นั้นๆ 40% รวมเรียกว่าศาสตร์
– ศิลปะการใช้ภาษา การสื่อสาร การถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมอง 40% รวมเรียกว่าศิลป์
– สัญชาติญาณและความกล้าหาญอีก 20% เรียกว่าพรสวรรค์

multitasking-1733890__340

Module 3 : รูปแบบของการคิดเชิงสังเคราะห์

การคิดเชิงสังเคราะห์ สามารถแบ่งรูปแบบการคิดได้เป็น 2 ลักษณะ
1. การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อการสร้าง “สิ่งใหม่” ซึ่งเป็นการประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ตามต้องการของเรา
2. การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อการสร้าง “แนวคิดใหม่” อันเป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวความคิดใหม่ๆ ในประเด็นต่างๆ ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้

organization-chart-1989202__340

Module 4 : คิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์

– กระบวนการคิด 7 ขั้นตอน เพื่อได้มาซึ่งการคิดสังเคราะห์แบบสร้างสรรค์
– ภาพรวมของการคิด
– กระบวนการคิด (Thinking Process)
– ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
– ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
– ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
– ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
– การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

science-1182713__340
– พัฒนาทักษะการทำงาน
ทำงานยากให้เป็นงานง่าย
สร้างแรงบันดาลใจ ในการทำงาน

– พัฒนาทักษะชีวิต
– เสริมสร้างมุมมองเพื่อการเปลี่ยนแปลง

education-548105__340

– วิธีผ่อนคลายความเครียดในที่ทำงาน
· ผ่อนคลายสรีระ
· ผ่อนคลายอารมณ์
· ผ่อนคลายการกระทำ

learn-2004905__340

– Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากรสร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน

question-mark-1722865__340

problem-98377__340

เทคนิคการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา (Problem Solving & Decision Making)

หลักสูตร : เทคนิคการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา (Problem Solving & Decision Making)

 

         ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งที่องค์กรต่างๆทุกประเภทธุรกิจกำลังเผชิญอยู่อย่างเข้มข้นในปัจจุบัน คือ ปัญหาในด้านทักษะความสามารถของบุคลากรในระดับต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นทักษะที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร

problem-98377__340

             อาการหนึ่งที่แสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ถึงปัญหาการขาดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจซึ่งสังเกตได้ชัด คือ ความกลัวปัญหาของบุคลากร จนทำให้บุคลากรไม่มีความสนใจหรือความกล้าที่จะนำเสนอแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆหรือสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหา อุปสรรคและความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้องค์กรพลาดโอกาสใหม่ๆที่อาจจะนำไปสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดขององค์กรไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง

away-1020086__340

     เพราะฉะนั้นเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ ให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รู้จักเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสำหรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้ทำการ ตัดสินใจไปแล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะการตัดสินใจที่ดีเยี่ยมและเฉียบขาด

away-1020435__340

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยยกระดับการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น

3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน

4.เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการหาสาเหตุของปัญหาในระยะสั้น

5.เรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาเพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.แยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน      

 direction-1014005__340

 

หัวข้อการอบรม

  Module 1: Discovery

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน

  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้

  • อธิบายปัญหาอย่างชัดเจน ว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งกรณีศึกษาและ workshop เพื่อให้เข้าใจปัญหาจากประสบการณ์จริง

question-mark-1722865__340

 

Module 2: Dream

  • นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาจัดลำดับผลกระทบที่ได้รับ เพื่อหาทางออกของปัญหาหรือกำหนดเป็นสิ่งที่เราอยากจะให้ปัญหานี้หายไปในอนาคต ด้วยกระบวนทัศน์และเสริมสร้างทักษะวิธีการคิดแบบระบบ (System Thinking) ซึ่งเป็นวิธีการคิดรากฐานที่สำคัญในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางธุรกิจที่ซับซ้อนวิเคราะห์มิติของการเปลี่ยนแปลง

  • กรณีศึกษาและ workshop เพื่อฝึกวางแผนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เช่นจากตนเอง ทีมงาน และองค์กร จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง

    options-73332__340

Module 3: Design

  • การเขียนสาเหตุและรากเหง้าของปัญหา…ใช้อะไรดี

  • การแก้ไขปัญหาอย่างขุดรากถอนโคนไม่ให้เกิดอีกต่อไป…ทำอย่างไร

  • การป้องกันการเกิดซ้ำอย่างเป็นระบบ…ทำอย่างไร

  • การวัดผลลัพธ์การแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ…วัดอย่างไร

  • การประยุกต์ทำบทเรียนแห่งการเรียนรู้จากปัญหาให้เป็นปัญหาขององค์กร…ทำง่ายๆได้อย่างไร

    pen-spinning-976930__340

Module 4: Destiny

  • ร่วมมือกันลงมือทำในการแก้ปัญหา

  • ปัญหาที่กำลังจะแก้ ใคร ส่วนงานไหนเข้าใจและรู้ลึกที่สุด

  • กำหนดคนแก้ไข หรือส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะการแก้ปัญหาแบบเน้นการมีส่วนร่วม

option-1010899__340

ภาพรวมของการคิดที่ใช้รับมือกับการตัดสินใจและการแก้ปัญหา

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)

  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

    education-548105__340

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)

  • การดักจับความคิด (Idea spotting)

  • กระบวนการจัดลำดับความคิด

  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”

  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”

  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”

  • เทคนิค “Mind Map”

development-2010016__340

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                         40 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    60%

anvil-1169340__180-1

การคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ (Positive Thinking Skill Development)

หลักสูตรการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์

Positive Thinking Skill Development

light-bulb-1042480__180

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
  2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีทัศนคติเชิงบวก”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  8. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”

suit-673697__180

  หัวข้อการอบรม

ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

idea-1452962__180

กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ” ฯลฯ เป็นต้น

anvil-1169340__180

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                              30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%