การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 (Management in Thailand 4.0)

หลักสูตร การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

 หลักการและเหตุผล :    

 ไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร?

       “ไทยแลนด์ 4.0”  เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้

        ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ยุคแรก ขอเรียกว่า “ประเทศไทย 1.0” เน้นการเกษตรเป็นหลัก เช่น ผลิตและขาย พืชไร่ พืชสวน หมู หมา กา ไก่ เป็นต้น ยุคสอง ขอเรียกว่า “ประเทศไทย 2.0” เน้นอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตและขายรองเท้า  เครื่องหนัง เครื่องดื่ม  เครื่องประดับ เครื่องเขียน กระเป๋า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น และปัจจุบัน (2559) จัดอยู่ในยุคที่สาม ขอเรียกว่า ”ประเทศไทย 3.0”  เป็นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น การผลิตและขาย ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นนำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น แต่ ไทยในยุค 1.0  2.0 และ 3.0 รายได้ประเทศยังอยู่ในระดับปานกลาง อยู่อย่างนี้ไม่ได้ ต้องรีบพัฒนาเศรษฐกิจสร้างประเทศ จึงเป็นเหตุให้นำไปสู่ยุคที่สี ให้รหัสใหม่ว่า ”ประเทศไทย 4.0” ให้เป็นเศรษฐกิจใหม่ (New Engines of Growth) มีรายได้สูง โดยวางเป้าหมายให้เกิดภายใน 5-6 ปีนี้  คล้าย ๆ กับการวางภาพอนาคตทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนของประเทศที่พัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา “ A Nation of Makers ”  อังกฤษ “ Design of Innovation”  อินเดีย “ Made in India” หรือ ประเทศเกาหลีใต้ที่วางโมเดลเศรษฐกิจในชื่อ “ Creative Economy”

 

 

       การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”  โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม  และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

        ดังนั้น “ประเทศไทย 4.0” จึงควรมีการเปลี่ยนวิธีการทำที่มีลักษณะสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

 

   วัตถุประสงค์การบรรยาย

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขอบเขตของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้แนวคิดการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจรูปแบบการบริหารการจัดการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักวิธีการบูรณาการกรอบแนวคิดทางการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองประเด็นสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ให้ออก

 

  หัวข้อการอบรม

  ภาพรวมของการคิด

หัวข้อการบรรยาย การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

1.ทัศนคติคนไทยกับการเริ่มสร้างธุรกิจที่บิดเบี้ยว กับหลุมพรางทางความคิดที่ต้องกำจัดก่อนเริ่มธุรกิจ

2.ทำความเข้าใจการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการตลาดเชิงคุณค่า และ การตลาดเชิงราคา

3.เหตุใดเราจึงต้องคิดใหม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

4.กรณีศึกษากลยุทธ์การบริหาร ธุรกิจไซส์ยักษ์

5.สร้างแผนธุรกิจ วางแผนการขาย กำหนดทิศทางตลาดแบบ Steve Jobs

6.Self Analysis วิเคราะห์ธุรกิจเพื่ออุดรูรั่วก่อนออกรบ

7.Innovation คืออะไร

8.แนวคิดในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

9..แนวคิดการสร้างแผนการทำงานที่ดี และ การออกแบบแผนการทำงาน

 

รายละเอียดของการอบรม

1.ทำความเข้าใจ การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

   – ประโยชน์ของการจัดทำแผนการบริหารเชิงกลยุทธ์

2.กำหนดแผนในการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

– กระบวนการในการจัดทำแผนการขายและการตลาด

– ภาพรวมขั้นตอนในการจัดทำแผนธุรกิจ

 

3.แผนที่ดีเริ่มจากการวิเคราะห์ที่ดี

– วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ขององค์กร (SWOT Analysis)

– วิเคราะห์ปัจจัยภายในด้วย 7S Mckinsey Frame Work

– วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย Five Force Model

 

  1. กำหนดตลาดเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

– บริษัททำอะไร ขายอะไร ขายใคร ขายที่ไหน ขายอย่างไร (7 O’s หรือ 6W 1H)

– กำหนดตลาดเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จาก STP Model

 

  1. การกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์

– หลักการสร้างความต้องการใช้สินค้า ใช้สินค้าซ้ำ บอกต่อและเป็นลูกค้าประจำด้วย Model 4P+4C+4E

– กรณีศึกษากลยุทธ์จากผู้ประสบความสำเร็จ Apple Computer /Walmart Supermaket/CP All/ครอบครัวข่าว3

 

  1. กลยุทธ์การวางแผนสื่อสารทางการตลาดที่สำฤทธิ์ผล

– หลักการสื่อสารทางการตลาด Integrated Marketing Communication (IMC)

– การวางแผนสื่อสารทางการตลาด

– ภายใต้งบประมาณจำกัดกับเครื่องมือที่สำฤทธิ์ผล

– การใช้ Below the line ในยุค Marketing 4.0

 

  1. การจัดทำแผนงานและตาราง Action Plan

– ลักษณะของแผนที่ดี

 

  1. กิจกรรม “ Expertise & Q/A”

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขอบเขตของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้แนวคิดการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจรูปแบบการบริหารการจัดการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักวิธีการบูรณาการกรอบแนวคิดทางการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองประเด็นสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ให้ออก

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                  50 %

2.กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop            50%

Did you enjoy this article?

หลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม