การสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงาน

หลักสูตรการสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงาน

หลักการและเหตุผล

การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดน มีเงื่อนไขในกระบวนการทำธุรกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ละองค์กรต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขัน องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้ให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรมากพอๆกับการสร้างผลประกอบการและการเติบโต

การสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงานและจิตสำนึกแห่งความเป็นเจ้าขององค์กร ถือเป็นอีกแนวทางปฎิบัติหนึ่งในการที่จะปรับปรุงและเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อเปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้เพราะความเข้าใจในเป้าหมายและความมีจิตสำนึก แห่งการร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ที่เป็นหนึ่งเดียวกันจะก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้ ผนึก กำลังในการก้าวข้ามผ่านความท้าทาย และปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนในโลกธุรกิจยุคใหม่

ผู้บริหารของสถานประกอบการทุกคน มีความประสงค์ที่จะเห็นลูกจ้างของตนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน  มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาได้ มีความรับผิดชอบ มีวินัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกในการรักองค์กร

แต่การที่จะให้ลูกจ้างมีคุณลักษณะตามที่ผู้บริหารต้องการได้นั้น จิตสำนึกส่วนบุคคลของลูกจ้างเป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่จะกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเหล่านั้นได้ แต่ลูกจ้างบางรายไม่เคยเข้าใจหรือทราบความประสงค์ของผู้บริหารและบางรายก็ยังไม่สามารถสร้างจิตสำนึกในการทำงานให้กับตนเองได้          กระบวนการในการกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกในการทำงาน และการรักองค์กรให้กับลูกจ้างจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างพึงกระทำ เพื่อให้ได้ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ

 

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรักในองค์กรของตัวเอง
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีจิตสำนึกคุณภาพที่ดีในการทำงาน
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างจิตสำนึกในตนเองในการทำงานและการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้า
  5. เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ของคนกับองค์กร
  6. เพื่อให้พนักงานทราบหลักการในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
  7. เพื่อให้พนักงานทราบวิธีการในการทำให้พนักงานรักในองค์กร
  8. เพื่อให้ทราบบทบาทของหัวหน้างานและองค์กรในการสร้างความผูกพันกับองค์กร

 

เนื้อหา :

  • การวิเคราะห์เพื่อการเข้าใจตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กร
  • เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจขององค์กร
  • ความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง
  • ความคาดหวังของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง
  • จิตสำนึกของคนทำงานและจิตสำนึกรักองค์กร
  • การสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงาน
  • จิตสำนึกบริการ
  • กระบวนการเพิ่มผลิตภาพในตนเองเพื่อการเพิ่มผลผลิตขององค์กร
  • วิวัฒนาการของคนสัมพันธ์ระหว่างคนกับองค์กร
  • ความสัมพันธ์ของคนกับองค์กรในยุคปัจจุบัน
  • คนกับงานในสายตาของนักจิตวิทยา
  • ความหมายของความผูกพันกับองค์กร
  • รูปแบบของความผูกพันกับองค์กร
  • ปัจจัยบวกและลบ ที่ส่งผลต่อความผูกพัน
  • ลักษณะของงานที่สร้างความผูกพันให้เกิดขึ้น
  • ความหมายของ คำว่า “งาน”
  • บทบาทของหัวหน้างานในการสร้างความรักในองค์กร
  • บทบาทของผู้บริหารในการสร้างความรักในองค์กร
  • ความสุขจากการทำงาน
  • การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานรักองค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม :

  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรักในองค์กรของตัวเองมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีจิตสำนึกคุณภาพที่ดีในการทำงาน
  4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างจิตสำนึกในตนเองในการทำงานและการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี
  5. ผู้เข้าอบรมมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนภายในองค์กรเดียวกัน
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงหลักการในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
  7. ผู้เข้าอบรมรู้ถึงวิธีการและแนวทางในการทำให้พนักงานรักในองค์กร
  8. ผู้เข้าอบรมรู้บทบาทของหัวหน้างานและองค์กรในการสร้างความผูกพันกับองค์กร
Did you enjoy this article?

หลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม