หลักสูตร จริยธรรมสำหรับผู้นำ (Ethical for Leadership)
ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรง ทุกองค์กรธุรกิจต่างมุ่งสร้าง ผลประกอบการให้ได้มากที่สุด เพื่อการเติบโตหรือความอยู่รอด หลายครั้งที่ผู้นำองค์กร ต้องเผชิญ คือ ความกดดันซึ่งเป็นความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ของตนหรือของบริษัทที่ต้องการกับ ความถูกต้องที่ควรเป็นซึ่งถือเป็นสิ่งที่สังคมรับรู้ และต้องการ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “Ethical dilemma” ซึ่งเป็นภาวะกดดันที่ผู้นำต้องตัดสินใจเลือก เอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผลประโยชน์หรือคุณธรรมซึ่งไม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน สำหรับผู้นำที่ไม่มีคุณธรรมย่อมเลือกผลประโยชน์ที่ตนพึงได้ก่อนแน่นอนแล้ว กลบเกลื่อนพรางตาสังคมในเรื่องความ ไม่ถูกต้องให้ผ่านพ้นไปอย่างแนบเนียนหรือบางครั้งก็น้ำขุ่นๆ ดังจะเห็นได้บ่อยครั้งในสังคมที่ผู้บริโภค ถูกเอาเปรียบโดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง
เนื่องจากเรื่องของจริยธรรมเป็นความสมัครใจและเป็นคุณธรรมชั้นสูงของคนที่จะเลือกปฏิบัติ กฎหมายไม่ได้มีส่วนบังคับจริงจัง ยกเว้นสังคมจะช่วยกันสอดส่องดูแลและบอยคอด จึงพบว่าหลายธุรกิจ ก่อเกิดมาโดยฉวยเอาความเดือดร้อนของผู้คน องค์กรที่ขาดจริยธรรมก็เกิดจากคนที่ไม่มีจริยธรรม
จะเห็นว่าผู้นำองค์กรก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน ย่อมมีคุณลักษณะประจำตัว(Attribute) ที่แตกต่างกันแล้วแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมาเป็นผู้นำและบริหารองค์กรแล้ว มักมีความต้องการ ที่เหมือนกันคือ ผลประโยชน์สูงสุด หากแต่คุณลักษณะที่ต่างกันซึ่งขึ้นกับสำนึกความรับผิดชอบแยกแยะ ชั่วดีไม่เท่ากันทำให้ระดับของจริยธรรมต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างกัน
เพราะฉะนั้นการเป็นผู้นำที่ดีและมีจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้นำจะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะ ใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง จึงต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการมีจริยธรรมด้วย
การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเรื่องของจริยธรรมของผู้นำนั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตและส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่มีจริยธรรมอันดีงาม
การพัฒนาผู้นำ ให้มีภาวะผู้นำนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ ทั้ง 5 ด้าน อันได้แก่
1.ความรู้ความสามารถในงาน
2.การคิดเชิงกลยุทธ์
3.การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้ผู้นำและนักบริหารมืออาชีพพัฒนาตัวเอง เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4.มีภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม
5.มีจริยธรรมอันดีงามและรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้นำและผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีในเรื่องของจริยธรรมนั้น จะทำให้รู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย และเมื่อพัฒนาทีมงานโดยจัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่ทรงคุณค่าพร้อมทั้งมีจริยธรรมอันดีงามควบคู่ไปด้วย
การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญและจริยธรรมของผู้นำนั้น จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้นำในองค์กรของตัวเองโดยการทำให้ผู้นำมี 5Q ที่สูงขึ้น
IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด
EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง
AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย
OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า
UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี
การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ผู้นำสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมที่ดีขององค์กรและเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้ผู้นำได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลังด้วยจริยธรรมอันดีงาม นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้นที่ประกอบไปด้วยศีลธรรมและจริยธรรม จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นและมีคุณค่าต่อสังคม
โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้ประกอบกับการเพิ่มในส่วนของจริยธรรมอันดีงาม จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดโดยใช้หลักของจริยธรรมอันดีงาม เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผลและทรงคุณค่าด้วยจริยธรรมอันดีงาม มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเรื่องจริยธรรมอันดีงาม
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเองซึ่งต้องมีจริยธรรมควบคู่ไปด้วย จึงจะสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้
– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ
– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)
– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ
– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)
– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient) อย่างมีความสุข
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนาจริยธรรมและ 5Q ของตนเอง
ลักษณะของการอบรม
เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกันพร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องจริยธรรมไปตลอดทุกช่วงของการบรรยาย เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการ
- บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
- การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
- Ai (Appreciative Inquiry)
- Dialogue สุนทรียะสนทนา
- เกมพฤติกรรม
- Work Shop
- การระดมความคิดด้วย 5Q
- Clip VDO และอื่นๆ
หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้
- หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยจริยธรรมและ 5Q
- ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
- บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานที่มีจริยธรรมอันดีงาม
- ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)
ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของคน
- ปัจจัยภายใน(Intrinsic factor) ได้แก่ อารมณ์ แรงปารถนาและความต้องการ(Need) และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี(Moral)
- ปัจจัยภายนอก(Extrinsic factor) ได้แก่ โอกาส (Oportunity) และระบบการควบคุมของสังคม (Law)สำนึกของความดีและอิทธิพลของสังคม มีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ก่อให้เกิดการกระทำที่ดี และรับผิดชอบต่อผู้อื่น (Ethical behavior) หากแต่ผู้ที่มีคุณธรรมนำการกระทำจะทำให้เกิดจริยปฏิบัติ แบบยั่งยืน ส่วนผู้ที่อิงบทลงโทษของสังคมก็สามารถเกิดจริยธรรมปฏิบัติได้แต่มักจะไม่ยั่งยืน เมื่อมีโอกาส ก็จะกลับไปทำ ผิดอีก
4 มุมมองของของจริยปฏิบัติ (Ethical behavior)
- ในมุมมองที่ถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ จริยปฏิบัติส่งผลที่ดีมากต่อผู้คนจำนวนมาก
- ในมุมมองจองปัจเจกบุคคล จริยปฏิบัติจะให้ผลประโยชน์ระยะยาวแก่ผู้ปฏิบัติ
- ในมุมมองด้านคุณธรรม จริยปฏิบัติเป็นการเคารพสิทธิพื้นฐานของมนุษย์
- ในมุมมองของความยุติธรรม จริยปฏิบัติจะเป็นกลาง ชอบธรรม เสมอภาคต่อผู้คน
- เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
- การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
- ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
- เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กรอบการฝึกอบรม : รู้คน รู้งาน รู้ความต้องการขององค์กร
ความหลากหลายของกิจกรรม
- รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q และเข้าใจเรื่องของจริยธรรม
- ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)
- เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด
- Work Shop 5Q ฝึกเล่าเรื่องตามคำสั่งและการแก้ปัญหา
- การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วยจริยธรรมและ 5Q
- Work Shop เดาใจเพื่อนด้วยตัวเลข (สงครามตัวเลข)
- Clip VDO การเข้าใจตนเอง
- เรียนรู้การทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเข้าใจเรื่องจริยธรรม
- “คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจที่มีจริยธรรมอันดีงาม”
- การสื่อสารแบบปากต่อปาก (Work Shop ใบ้คำ)
- ความหมายที่แท้จริงของชีวิตและจริยธรรมอันดีงาม
- คำพังเพยไทย (Work Shop สนุกคลายเครียด)
- WHO ARE YOU (Work Shop)
- แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ 5Q
- Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)
- คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?
- เกมนวัตกรรม ฟันเฟืองแห่งองค์กร เพื่อนำไปประยุกต์ให้ผู้เข้าอบรม สามารถมีจิตสำนึกในเรื่องของจริยธรรมอันดีงามได้ด้วยตัวเอง
- ต้นไม้แห่งองค์กร ต้นไม้จริยธรรมอันดีงาม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม
1.ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดโดยใช้หลักของจริยธรรมอันดีงาม เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
2.ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผลและทรงคุณค่าด้วยจริยธรรมอันดีงาม มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3.ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
4.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเรื่องจริยธรรมอันดีงาม
5.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก
6.ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเองซึ่งต้องมีจริยธรรมควบคู่ไปด้วย จึงจะสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้
– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ
– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)
– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ
– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)
– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient) อย่างมีความสุข
8.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนาจริยธรรมและ 5Q ของตนเอง