หลักสูตร พัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
Creative Thinking Skill Development
หลักการและเหตุผล
ความคิดนอกกรอบในองค์กร
ความคิดนอกกรอบในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี
ผู้ที่มีอิทธิพลในกระบวนการคิดนอกกรอบในองค์กร คือ ระดับผู้บริหาร เพราะองค์กรจะเดินไปในแนวทางใด ขึ้นกับผู้บริหารในการแสดงวิสัยทัศน์ขององค์กร แต่องค์กรโดยส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการตลาด (Marketing) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือเรื่องของค่าเสื่อมสภาพ (Maintenances) ก่อนจะมาถึงเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development–HRD) ซึ่งมักจะให้ความสำคัญอยู่ในอันดับท้ายสุด
การที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์เป็นอันดับแรก ก่อนที่จะสนใจในสิ่งอื่น ๆ เพราะมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรเหล่านั้น
ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาให้ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือก้าวเข้าสู่วิสัยทัศน์ (Vision) ที่องค์กรได้วางไว้
ผู้บริหารและทุก ๆ คนในองค์กร มีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า บุคคลแต่ละบุคคลต่างมีเป้าหมายเป็นของตนเอง เพียงแต่ยังไม่ได้ถูกนำออกมาใช้
การคิดนอกกรอบ เป็นแนวทางเบื้องต้น ในการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะการคิดนอกกรอบเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด
การคิดเพียงอย่างเดียวมิได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ แต่การที่ได้นำความคิดมาเขียน หรือปฏิบัติได้จริง เท่ากับเป็นการนำความเป็นนามธรรม (Intangible) แปรเปลี่ยนให้กลายเป็นรูปธรรม (Tangible) ที่สามารถจับและสัมผัสได้
ความคิดของมนุษย์ต่างก็มีค่ามีความสำคัญกันทั้งสิ้น เพียงแต่ยังไม่มีช่วงเวลาที่จะให้ได้นำออกมาใช้ ก็เพียงเพราะว่า บุคลากรรุ่นแรก ๆ ยังไม่ละทิ้งความต้องการทะยานอยากในด้านต่าง ๆ
โดยเฉพาะด้านอำนาจกลัวว่าตนเองจะเสียอำนาจ เสียการปกครอง มิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มองเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนที่ควรจะได้รับ ไม่รู้จักการวางมือหรือการละวาง ดำเนินตามทางสายกลางตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ให้ผู้ปฏิบัติเดินทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวก”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
หัวข้อการอบรม
ภาพรวมของการคิด
- กระบวนการคิด (Thinking Process)
- ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
- ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
- ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ
เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น
- หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
- การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
- การดักจับความคิด (Idea spotting)
- กระบวนการจัดลำดับความคิด
- การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
- เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
- เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
- เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
- เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
- เทคนิค “ตรงกันข้าม”
- เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
- เทคนิค “Mind Map”
- เทคนิค “องค์ประกอบ”
- เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ” ฯลฯ เป็นต้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
- ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวก”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
รูปแบบหลักสูตร
1.การบรรยาย 50 %
2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 50%