หลักสูตรโครงการพัฒนาบุคลากรด้วยหลักสูตรบูรณาการแบบองค์รวม (Human Holistic Development )
หลักการและเหตุผล
จากการอบรมที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นส่วนงานไหน ปัญหาอย่างหนึ่งที่ทุกองค์กรประสบพบเจอก็คือ พนักงานเข้าอบรมแล้ว ช่วงแรกจะมีไฟในการทำงาน แต่หลังจากนั้นก็จะหมดไฟลงไปเรื่อยๆ แล้วก็รอปีต่อไปที่จะทำการจุดไฟให้ลุกขึ้นอีกครั้ง
ซึ่งถ้ามาดูกันแล้วจะเห็นได้ว่าน่าจะอยู่แค่ประมาณ 1-2 เดือน ที่ผลงานจะดีขึ้น และหลังจากนั้น 10 เดือน จะพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานจะค่อยๆทรงตัวและลดลงไปในที่สุด ส่งผลให้องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ เริ่มไม่เห็นความสำคัญของการฝึกอบรม จึงมองแค่อบรมตามกฎหมายหรือตามนโยบายของบริษัท ทั้งๆที่การฝึกอบรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่เพราะขาดความเข้าใจในการที่นำมาปรับใช้ และความต่อเนื่องในการอบรมรวมไปทั้งการเฝ้าติดตามประเมินผลหลังอบรมไม่มีการติดตามผล (ก่อนอบรม หลังอบรมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน)
ทั้งนี้เกิดขึ้นมาจากหลักสูตรต่างๆ ที่มีการอบรมให้แก่บุคลากร ไม่มีความเชื่อมโยงกันหรือถ้ามีแต่ก็ไม่สามารถทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถเชื่อมโยงกันได้ว่าทุกๆ หลักสูตรมันเกี่ยงข้องกันอย่างไร
จึงเป็นที่มาของโครงการพัฒนาบุคลากรด้วยหลักสูตรบูรณาการแบบองค์รวม ( Human Holistic Development ) ที่จะทำการเชื่อมโยงหลักสูตรต่างๆ ให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน เพื่อพัฒนาบุคลากรเป็นขั้นเป็นตอนด้วยระดับความเข้มข้นของหลักสูตรที่จะค่อยๆ เพิ่มความเข้าใจ จนถึงการที่จะนำไปปฏิบัติแบบใช้ได้จริงในการทำงาน จะเริ่มต้นด้วยหลักสูตร
1.หลักสูตรการเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพด้วย 5Q (Leadership with 5Q)
หลักการและเหตุผล
5Q คืออะไร?
การเป็นผู้นำที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง
การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของผู้นำนั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ
การพัฒนาผู้นำและนักผู้บริหารมืออาชีพจึงต้องให้ความสำคัญ ทั้ง 3 ด้าน คือ
1.ความรู้ความสามารถในงาน
2.การคิดเชิงกลยุทธ์
3.การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้ผู้นำและนักบริหารมืออาชีพพัฒนาตัวเอง เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้นำและผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้รูู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย และเมื่อพัฒนาทีมงานโดย จัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้ เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่ทรงคุณค่า
การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ (5Q) ของผู้นำนั้น จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้นำในองค์กรของตัวเองโดยการทำให้ผู้นำมี 5Q ที่สูงขึ้น
IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด
EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง
AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย
OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า
UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี
การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ผู้นำสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นผู้นำที่มีจิตใจที่ดีขององค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน
การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้ผู้นำได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง
วัตถุประสงค์
- สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
- เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดี และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นเหมาะสม
- ได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
- เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
- ได้จุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน
- ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้
– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ
– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)
– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ
– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)
– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient) อย่างมีความสุข
- ได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา 5Q ของตนเอง
กลุ่มเป้าหมายและจำนวนผู้เข้าอบรม
ผู้บริหารทุกระดับที่ต้องการมีเครื่องมือพัฒนาศักยภาพตัวเองให้สูงสุด
ลักษณะของการอบรม
เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการ
- บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
- การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
- Ai (Appreciative Inquiry)
- Dialogue สุนทรียะสนทนา
- เกมพฤติกรรม
- Work Shop
- การระดมความคิดด้วย 5Q
- Clip VDO และอื่นๆ
หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้
- หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 5Q
- ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
- บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
- ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
- เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
- การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
- ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
- เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- PDCA หรือที่เรียกว่าวงจรเดมิง (อังกฤษ: Deming Cycle) หรือวงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ
- การทำงานแบบ โฮ (HO) เรน (REN) โซ (SOU)การรายงาน-การติดต่อ-การปรึกษา
- การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย 5Q
- ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
- Work Shop
- ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม In house
- ระดมสมอง และแชร์ความคิด
กรอบการฝึกอบรม : รู้คน รู้งาน รู้ความต้องการขององค์กร
หัวข้อ (Topics) | ประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ (Key Points) |
ช่วงที่ 1 รู้คน | · ละลายพฤติกรรม ทำความรู้จัก Open Mind
· นำเข้าสู่เนื้อหาหลักสูตร · 5Q คืออะไร · การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย 5Q · รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q · ใครคือคนที่องค์กรต้องการ? · บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน · ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ · Work Shop เรียนรู้คน จากโมเดลสัตว์ 4 ทิศ
|
ช่วงที่ 2 :
รู้งาน1 |
§ Work Shop 1 (การมองปัญหาด้วย 5Q)
§ ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการจัดการ § เรียนรู้วงจรเดมิง Deming Cycle/วงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ ตอนที่ 1 |
ช่วงที่ 3 :
รู้งาน 2 |
Work Shop2 (การแก้ปัญหาด้วย 5Q)
§ เรียนรู้วงจรเดมิง Deming Cycle/วงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ ตอนที่ 2 § การทำงานแบบ โฮ (HO) เรน (REN) โซ (SOU)การรายงาน-การติดต่อ-การปรึกษา o การวางแผน o การมอบหมายสั่งงาน o การติดตามประเมินผล o การควบคุมและแก้ไขปัญหา o การรายงานผู้บังคับบัญชา |
ช่วงที่ 4 : รู้ความต้องการขององค์กร | · รู้ความต้องการขององค์กร
· สรุปประเด็นสำคัญและเข้าทำความเข้าใจการบริหารแบบ 5Q อย่างลึกซึ้ง · Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากร สร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน Commitment อำลา |
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้ารับการอบบรมได้ความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักการของ 5Q
- ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เทคนิคของ 5Q และเข้าใจถึงวิธีการสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างสุนทรียะ
- ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผู้เข้ารับการสัมมนาสามารถสร้างสัมพันธภาพ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วยความคิดเชิงบวกและความรู้สึกดีๆที่มีต่อกัน ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
2.หลักสูตร การบริหารเวลาอย่างสร้างสรรค์เพื่อผลงานที่เป็นเลิศ
(Time Management & Creativity for effective work techniques)
หลักการและเหตุผล :
การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดนมีเงื่อนไขในกระบวนการทำธุรกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ละองค์กรต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันทั้งองค์กรธุรกิจในประเทศและในต่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการเวลาของบุคลากรภายในองค์กร ถือเป็นกุญแจสำคัญเพื่อผลงานที่แตกต่างและยอดเยี่ยมและการรับมือสูงความสำเร็จในธุรกิจยุคนี้
ปัจจุบันแนวคิดในการบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพกำลังเปลี่ยนไปเพราะการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพได้สร้างความได้เปรียบในเชิงประสิทธิผลและผลลัพธ์ขององค์กรและบุคคลากรอย่างมีความแตกต่าง หากนับเอาผู้ประสบความสำเร็จในแวดวงต่างๆแล้วพบว่า การจัดการเวลาอย่างมีระเบียบและหลักเกณฑ์ที่ดีล้วนเป็นปัจจัยที่ได้รับความสำคัญเป็นอย่างมาก
การกำหนดเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการและเรื่องเร่งด่วนที่ต้องพิจารณาว่าสำคัญหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายที่เรากำหนดไว้นั้นมีความชัดเจนมากแค่ไหน เป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างไร เพราะถ้าเป้าหมายของเราเป็นเป้าหมายระยะสั้น การบริหารของเราก็มีแต่เรื่องเร่งด่วน เพราะเวลาเราจะเดินอยู่ตลอดเวลา แผนการดำเนินของเราจะต้องละเอียดมาก
การประยุกต์ใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในด้านการบริหารเวลานับว่ามีความสำคัญ ที่ทำให้เราสามารถจัดการงานที่สำคัญและ งานเร่งด่วนได้อย่างมีประสิทธิผล อีกทั้งยังช่วยเราในเรื่องของการตัดสินใจที่ดีด้วย แค่เราต้องเลือกให้เหมาะสมกับงานแต่ละประเภทและความถนัดของเราด้วยเช่นกัน
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “เวลาเป็นสิ่งสำคัญกับชีวิตเรามาก”
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้จากการบริหารเวลาเป็น”
- ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดประเภทและลักษณะของงานได้ชัดเจนตามเป้าหมายของตัวเอง
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้จนเกิดความเข้าใจในปัญหาและอุปสรรคในการบริหารเวลา พร้อมทั้งสามารถเลือกใช้เทคนิคในการเอาชนะได้ด้วยตัวเอง
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิผล
- ผู้เข้าอบรมมีความตระหนักรู้ในความสำคัญของเวลาในชีวิตและรู้เท่าทันการใช้เวลาของตนเอง
- ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อการบริหารงานและบริหารเวลาในการปฏิบัติงานจริง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน
หัวข้อการอบรม
Module 1: Overview
- ทำไมถึงต้องบริหารเวลา
- กรณีศึกษาและ workshop เพื่อให้เข้าใจการบริหารเวลากับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากประสบการณ์จริง
Module 2: Time Management Processes
- 9 ขั้นตอนสู่การบริหารเวลา
- วิเคราะห์มิติของเวลาที่มีมากกว่าที่เรามองเห็น
- กรณีศึกษาและ workshop เพื่อฝึกวางแผนการบริหารเวลาในองค์กร เช่นจากตนเอง ทีมงาน และองค์กร จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง
- แหล่งที่มาของความล้มเหลว และข้อควรระวังของการไม่รู้จักการบริหารเวลา
Module 3: Effective work techniques and Responsibilities
- บทบาท และหน้าที่ของแต่ละคนที่ต้องช่วยกันบริหารเวลาในองค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ทักษะที่จำเป็นและความสามารถในการบริหารเวลา
- การมอบหมายงานที่เหมาะสมเป็นการบริหารเวลาที่ดีเยี่ยม (Delegating Techniques)
- การบริหารเวลากับการประชุม (Effective Meeting)
- การจัดการกับนิสัยบางอย่าง (Changing some habits) เช่น การผัดวันประกันพรุ่ง (Procrastination)
- การไม่ยอมตัดสินใจ การชอบ อยากได้ทุกอย่าง ความไม่เป็นระเบียบ ฯลฯ
- เทคนิคการจัดการกับเวลาที่เสียไป (How to use your waste time) เช่น เวลาระหว่างเดินทางมาทำงาน เวลาการรอคอย
Module 4: Time management tools and applications techniques
เครื่องมือในการบริหารเวลาและการประยุกต์ใช้
ทฤษฎี พาเรโต 80: 20
การจัดลำดับความสำคัญของงานด้วยหลัก ABC
บริหารเวลาด้วย เทคนิคการทำงานของ PDCA
เทคนิคการจัดลำดับและเลือกทำสิ่งที่สำคัญ
แบ่งประเภทความสำคัญ 3 ระดับ สำคัญมาก + สำคัญ + ไม่สำคัญ
งานที่สำคัญ… คืองานประเภทไหน
งานที่สำคัญ… ควรวางแผน แยกประเภท และจัดลำดับอย่างไร
การบริหารเวลาให้มีประสิทธิผลโดยการ จัดแบ่งงาน จัดแบ่งเวลา จัดแผนงาน
ถ้าเราบริหารเวลาได้ดี เราจะมีเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง
บริหารเวลาได้ดี ได้ผลลัพธ์ดี ๆ เรื่องอะไรบ้าง
ทำไม บริหารเวลาได้ดี ถึงมีเวลามากกว่า 24 ชั่วโมง
วันนี้ ต้องทำอย่างไร ให้เราบริหารเวลาได้ดีกว่าเมื่อวาน…
Work Life Balance กับ สมการของชีวิต
3 เทคนิคบริหารเวลา สร้างคุณค่าให้ชีวิต
- รู้จักเป้าหมาย
- รู้จักชีวิตตัวเอง
- รู้จักการจัดสรรเวลาดี ๆ ให้ชีวิต
รูปแบบหลักสูตร
1.การบรรยาย 50 %
2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 50%
3.หลักสูตร ทีมบิ้วดิ้ง (Stepteambuilding)
Module 1 : การสร้างสัมพันธภาพด้วยการสื่อสาร
วัตถุประสงค์
- รู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดในการสื่อสาร และการสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้
- เข้าใจองค์ประกอบ กระบวนการ หน้าที่ของการสื่อสาร สามารถขจัดอุปสรรคในการสื่อสาร สร้าง สมดุลระหว่างภาษาพูดกับภาษาท่าทาง กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และมีทักษะในการฟังที่มี ประสิทธิภาพ
- ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทํางานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายเดียวกัน
- ผู้เข้าอบรมสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อการอบรม
- THE JOHARI WINDOW
- วิธีการขยาย OPEN AREA ให้กว้างขึ้น
- ประโยชน์ของการเปิดหน้าต่าง OPEN AREA
- องค์ประกอบของการสื่อสาร
- กระบวนการสื่อสาร
- หน้าที่ของการสื่อสาร
- กฎเกณฑ์ในการสื่อสารที่ดี
- วัฒนธรรมการสื่อสาร
- เทคนิค E. I. O. U.
- กรอบความคิดในการสื่อสาร
- กฎแห่งการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน
- ชื่นชมอย่างเปิดเผย
- องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารระหว่างบุคคล
- อุปสรรคในการสื่อสารระหว่างบุคคล
- ขั้นตอนการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีประสิทธิผล
- เทคนิคการฟังอย่างตั้งใจ
- อุปสรรคในการฟัง
- ระดับของการฟังอย่างตั้งใจ
- ระดับของการฟังอย่างตั้งใจ
- การฟังแบบ REFLECTING
- 5 องค์ประกอบในการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
Module 2 :การรู้จักตัวเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตัวเอง และเข้าใจผู้อื่น
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้กระบวนการ การรู้จักและเข้าใจกับตัวเองและผู้อื่นอย่างมีรูปแบบ
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพเพื่อให้เข้ากับคนอื่น
4.เพื่อนำไปสู่การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
5.เพื่อการแสวงหาจุดร่วม และ สงวนจุดต่าง ของการอยู่ร่วมกันในการทำงาน
6.เพื่อค้นพบ “ตัวตน”ที่แท้จริงของตัวเองแล้ว จะสามารถนำพาตนเองและคนองค์กรที่มีความหลากหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้
หัวข้อการอบรม
– รู้จักตัวเองเพื่อเข้าใจคนอื่น (GET ME GIVE YOU)
– ความแตกต่างของ เจเนอเรชั่น ต่างๆ
– เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด
– Work Shop (เปลี่ยนเสียงนาฬิกาปลุก) เปลี่ยนวิธีใหม่ๆ กับเรื่องที่ทำซ้ำๆ กันอยู่ทุกวัน
– Work Shop ฝึกสมาธิ
– การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
– Work Shop รู้ใจเพื่อน YES or NO
– Clip VDO การเข้าใจตัวเอง
– Work Shop ฟ้าร้อง/ฟ้าแลบ
– Work Shop หาเนื้อคู่
– เรียนรู้การทำงานของสมอง
– คิดด้วยสมองแต่ทำมันด้วยใจ
– การสื่อสารแบบปากต่อปาก (Work Shop) การใบ้คำ ใบ้ภาพ
– ความหมายที่แท้จริงของชีวิต
– คำพังเพยไทย (Work Shop สนุกคลายเครียด)
– WHO ARE YOU (Work Shop)
– แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศ
– Dialogue (พูดคุยกันแบบสบายๆในกิจกรรมที่ผ่านมา)
– คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์ในการรู้ถึงความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?
กลุ่มเป้าหมาย
1.บุคคลทั่วไปที่ต้องการเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และผู้อื่น
2.บุคคลทั่วไปที่ต้องการเตรียมพร้อมสู่การเป็นหัวหน้างาน
3.ผู้บริหาร หัวหน้างาน ระดับปฏิบัติงาน ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง
รูปแบบการสัมมนา
เกมส์ / กิจกรรมกลุ่มทีมบิ้วดิ้ง / ฝึกปฏิบัติ Workshop
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติ และพื้นฐานของตนเองและผู้อื่นเพื่อทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
2.เข้าใจตัวเองและผู้อื่นด้วย แบบทดสอบ สัตว์สี่ทิศ เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานเป็นทีม
3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นและช่วยกันทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
4.ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีการลดความตรึงเครียดในการอยู่ร่วมกันเพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
5.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
4.หลักสูตร พัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ Creative Thinking Skill Development
หลักการและเหตุผล
ความคิดนอกกรอบในองค์กร
ความคิดนอกกรอบในองค์กร ถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี
ผู้ที่มีอิทธิพลในกระบวนการคิดนอกกรอบในองค์กร คือ ระดับผู้บริหาร เพราะองค์กรจะเดินไปในแนวทางใด ขึ้นกับผู้บริหารในการแสดงวิสัยทัศน์ขององค์กร แต่องค์กรโดยส่วนใหญ่ต่างให้ความสำคัญกับการตลาด (Marketing) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือเรื่องของค่าเสื่อมสภาพ (Maintenances) ก่อนจะมาถึงเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development–HRD) ซึ่งมักจะให้ความสำคัญอยู่ในอันดับท้ายสุด
การที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนามนุษย์เป็นอันดับแรก ก่อนที่จะสนใจในสิ่งอื่น ๆ เพราะมนุษย์เป็นผู้ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรเหล่านั้น
ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถพัฒนาให้ตรงตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่วางไว้ หรือก้าวเข้าสู่วิสัยทัศน์ (Vision) ที่องค์กรได้วางไว้
ผู้บริหารและทุก ๆ คนในองค์กร มีส่วนผลักดันให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกันได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า บุคคลแต่ละบุคคลต่างมีเป้าหมายเป็นของตนเอง เพียงแต่ยังไม่ได้ถูกนำออกมาใช้
การคิดนอกกรอบเป็นแนวทางเบื้องต้น ในการพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าต่อไปได้ เพราะการคิดนอกกรอบเป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด
การคิดเพียงอย่างเดียวมิได้ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่การที่ได้นำความคิดมาเขียน หรือปฏิบัติได้จริง เท่ากับเป็นการนำความเป็นนามธรรม (Intangible) แปรเปลี่ยนให้กลายเป็นรูปธรรม (Tangible) ที่สามารถจับและสัมผัสได้
ความคิดของมนุษย์ ต่างก็มีค่ามีความสำคัญกันทั้งสิ้น เพียงแต่ยังไม่มีช่วงเวลาที่จะให้ได้นำออกมาใช้ ก็เพียงเพราะว่า บุคลากรรุ่นแรก ๆ ยังไม่ละทิ้งความต้องการทะยานอยากในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านอำนาจ กลัวว่าตนเองจะเสียอำนาจ เสียการปกครอง มิได้คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง มองเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนที่ควรจะได้รับ ไม่รู้จักการวางมือหรือการละวาง ดำเนินตามทางสายกลางตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ให้ผู้ปฏิบัติเดินทางสายกลาง ไม่ตึงไม่หย่อนจนเกินไป
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
- ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวก”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
หัวข้อการอบรม
ภาพรวมของการคิด
- กระบวนการคิด (Thinking Process)
- ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
- ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
- ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ
เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น
- หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
- การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
- การดักจับความคิด (Idea spotting)
- กระบวนการจัดลำดับความคิด
- การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
- เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
- เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
- เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
- เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
- เทคนิค “ตรงกันข้าม”
- เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
- เทคนิค “Mind Map”
- เทคนิค “องค์ประกอบ”
- เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ” ฯลฯ เป็นต้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
- ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวก”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์”
- ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”
รูปแบบหลักสูตร
1.การบรรยาย 50 %
2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 50%
5.หลักสูตรการทำงานด้วยสุนทรียะสมาธิ
หลักการและเหตุผล
การที่จะให้องค์กรประสบความสำเร็จและขับเคลื่อนไปในทิศทาง ที่ผู้บริหารได้วางนโยบายไว้นั้น มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันได้นั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง
แต่การที่จะมีความสุขและสนุกในการทำงานนั้นต้องมีธรรมและสมาธิในการบริหารคน และบริหารจิตใจของตนเอง หลักสูตรนี้จะเป็นการเรียนรู้และฝึกวิธีปฏิบัติร่วมทั้งการใช้ชีวิตในการงานให้มีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยการผ่านการบรรยายและกิจกรรมจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งการบริหารงานและทางธรรมะ
โดยหลักการของสมาธิที่นำมาปรับใช้กับองค์กร จะไม่เน้นไปทางศาสนาพุทธเพียงอย่างเดียว จะทำได้ทุกศาสนาเพราะหลักของสมาธิเป็นหลักสากลที่ทุกชาติ ศาสนา สามารถทำได้ โดยวิธีการก็จะแตกต่างกันไป
ผู้บรรยายสามารถเชื่อมโยงหลักของสมาธิกับศาสนาต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพื่อนำไปปรับใช้กับการทำงานและชีวิตประจำวัน ได้อย่างเหมาะสมและพอดี เราจึงเรียกว่า “การทำงานด้วยสุนทรียะสมาธิ”
วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการทำงานด้วยสุนทรียะสมาธิ ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นในการทำงาน
2.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้บุคคลากรมีทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน เกิดทักษะในการทำงานอย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกปฏิบัติสมาธิ การภาวนาเพื่อความสงบสุขของชีวิต
4.ค้นพบ “ตัวตน” ที่แท้จริงของตัวเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ” สุนทรียะสมาธิ “
เนื้อหาการอบรม
บรรยายเรื่อง “สุขเป็น ก็ เป็นสุข”
- การใช้ชีวิตให้สนุกกับการทำงาน
- ระดมสมองสิ่งที่ทำให้สุขและทุกข์
- หยิบสุข-ติดทุกข์
- กิจกรรม“คุณเป็นคนประเภทไหน”
- การทำแบบประเมินเพื่อวัดคุณเป็นคนประเภทไหน , บุคลิกของคนแต่ละประเภท
- ประเมินตนเอง , ระดมสมองกันในกลุ่มว่าคุณเป็นคนเช่นนั้นหรือไม่ ?
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิสำหรับผู้เริ่มต้น
- เริ่มฝึกปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ
บรรยายเรื่อง “การดูจิตของตนเองด้วยการทำสมาธิ”
- การทำงานใดก็ตาม ต้องเริ่มที่ใจ , ปฏิบัติสมาธิทั้งวันถ้าไม่สุขก็ไม่เกิดประโยชน์
- ก่อนถึงวันนั้น…ใจอยู่แค่วันพรุ่งนี้พอ
- ขยับกายสบายชีวี/ตามรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ
บรรยายเรื่อง “ศิลปะแห่งการใช้สติ”
- การมองมุมไหน ให้มองที่มีสติ ใช้สติในทางที่ควร
- การมีสติกับการทำงาน
- แยกกลุ่มปฏิบัติ เดินจงกรม นั่งสมาธิ
- กิจกรรม“ล้อมรักให้ครอบครัว ล้อมรั้วให้องค์กร”
- ใครคือคนสำคัญที่สุดในชีวิตคุณ ฉีกกระดาษ 8 ช่อง ให้เขียนชื่อคนทีเรารัก 7 คน ในช่องกระดาษแล้วฉีก
- ข้อดี – ข้อเสีย ขององค์กร จับผิดมากกว่าจับถูก?
- สร้างความเป็นเนื้อเดียวกันและหัวใจดวงเดียวกัน
- ทุกข์………..สิ่งที่ควรปล่อยวาง / เหยียบโลกไว้ไม่ต้องเครียด
- การทำงานอย่างมีความสุข / การสร้างกำลังใจให้ตนเองและผู้อื่น
“จิตอาสาร่วมพัฒนางานให้มีคุณภาพ”
- การสร้างความสุขในองค์กร วันนี้คุณมีจิตอาสาต่อองค์กรหรือยัง ?
- จิตอาสาด้วยคำพูด
- จิตอาสาด้วยกำลังใจ
- กิจกรรม“ปุจฉา – วิสัชนา ตอบทุกคำถามคลายข้อสงสัย”
- เราทำวันนี้เพื่อคนที่เรารัก จงมองระหว่างทางมากกว่าปลายทาง
- หากวันนั้นมาถึง…….คุณจะรู้สึกอย่างไร
- วันนี้…..คุณทำ ในสิ่งที่เขาอยากเห็น ….คุณพูด ในคำที่เขาอยากได้ยิน แล้วหรือยัง ?
- กิจกรรม“วิธีสร้างสุขให้ตนเองเพื่อคุณภาพการทำงานที่ดี”
- อย่าขยายความทุกข์ต่อ
- ความสุขสร้างได้ สร้างข้อคิดให้ตนเอง
- สมาธิเพื่อพัฒนาคุณภาพในการทำงาน
- จากใจ……..สู่ใจ เข้าใจเข้าถึง…สู่ที่พึ่งทางใจ
- กิจกรรม“องค์กรแห่งการเรียนรู้สู่องค์กรแห่งความสุข”
- องค์กรเปลี่ยนไป เมื่อใจเปลี่ยนแปลง
- จุดเทียนอุดมการณ์ แห่งองค์กร
วิธีการนำเสนอ
- ใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้เกมละลายพฤติกรรม เกมเพื่อการเรียนรู้ การระดมสมอง การอภิปราย การบรรยายประกอบตัวอย่าง Workshop และตัวอย่าง Clip
ข้อสรุปของทั้ง 4 หลักสูตรกับการเชื่อมโยงด้วยหลักสูตร สุนทรียะสมาธิ
ทางผู้บรรยายได้ทำเป็นลักษณะมีการเชื่อมโยงทุกๆหลักสูตรด้วย เครื่องมือที่เรียกว่า รู้จักตัวเองเพื่อเข้าใจผู้อื่น (Get me Give YOU) ด้วยแบบทดสอบที่เรียกว่า ผู้นำสี่ทิศ เพื่อแบ่งประเภทของคนว่าเป็นคนบุคลิก นิสัย ความคิด กรอบแนวคิด และอื่นๆอีกมากมายเกี่ยวกับข้องกับบุคคลประเภทนั้นๆ
ซึ่งทุกหลักสูตรจะนำตัวนี้มาเป็นตัวดำเนินเรื่องราวต่างๆ พร้อมทั้งยกตัวอย่าง สถานการณ์ให้เห็นภาพชัดเจน และเพิ่มระดับความเข้มข้นจนถึงหลักสูตรสุดท้าย ที่เรียกว่า สุนทรียะสมาธิ จะปรับสมดุลใจให้เข้าใจชีวิตที่แท้จริงอย่างเหมาะสมที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงอย่างเดียว สุนทรียะสมาธิ จึงเป็นหลักสากล
เราเรียกทั้งหมดว่า ปัญญา 3 ฐาน ( ฐานคิด ฐานกาย ฐานใจ)
ฐานที่ 1.ฐานคิด ประกอบไปด้วย
- หลักสูตรการเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพด้วย 5Q (Leadership with 5Q)
- หลักสูตการบริหารเวลาอย่างสร้างสรรค์เพื่อผลงานที่เป็นเลิศ (Time Management & Creativity for effective work techniques)
- หลักสูตรพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skill Development)
โดยทั้ง 3 หลักสูตรนี้จะเน้นไปที่ให้ผู้เข้าอบรมได้ใช้กระบวนการทางความคิด โดยทางผู้บรรยายจะให้กรอบแนวคิดต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการทำกิจกรรม และผู้เข้าอบรมจะช่วยกันระดมสมองเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ อย่างมีมิติและนุ่มลึก
ฐานที่ 2.ฐานกาย ประกอบไปด้วย
- หลักสูตรการสร้างทีมให้มีประสิทธิภาพ (TEAM BUILDING)
ฐานนี้จะเน้นไปที่กิจกรรมการสร้างทีม การลงมือทำ ร่วมมือร่วมใจ สามัคคี เพราะหลังจากได้ผ่าน ฐานคิด มาแล้วทำให้กระบวนการคิดจะมีระบบมากขึ้น ซึ่งก็จะนำมาใช้กับฐานกายแบบไม่ต้องคิดอะไรมากใช้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทำงาน จะได้เรื่องทีมเวิร์คเป็นอย่างมาก
ฐานที่ 3.ฐานใจ ประกอบไปด้วย
- หลักสูตรการทำงานด้วยสุนทรียะสมาธิ
หลังจากที่ผ่านทั้ง 2 ฐาน (ฐานคิด ฐานกาย) ด้วยทั้ง 4 หลักสูตรมาแล้ว ผู้เข้าอบรมจะเริ่มมีกระบวนการคิด และลงมือทำอย่างเป็นระบบ มีความสามัคคีเป็นทีมเดียวกัน ทำให้มีทิศทางในการทำงานไปในทางเดียวกัน
แต่สุดท้ายถ้าไม่มีอะไรมาสมดุลไว้ จะทำให้การทำงานของพนักงานเครียดไป เพราะคิดแล้วทำอยู่ตลอดไป ส่งผลเสียกลับมาภายหลังได้ถ้าไม่มีอะไรมาถ่วงดุลไว้ จึงเกิด หลักสูตรการทำงานด้วยสุนทรียะสมาธิ ที่เป็นฐานใจขึ้น เพื่อทำให้พนักงานสมดุลระหว่าง กายและใจ ได้อย่างเหมาะสม อย่างไม่สุดโต่งทางใดทางหนึ่ง
ทั้งนี้หลักการทำสมาธิจะช่วยให้เกิดการผ่อนคลาย แต่ไม่ผ่อนแรงในการทำงาน พนักงานจะสามารถรู้ศักยภาพของตัวเองว่าควรทำสุดความสามารถแค่ไหน และควรพักผ่อนแค่ไหน จะเป็นการสมดุลระหว่างงานและชีวิตตัวเองหรือครอบครัวได้อย่างลงตัว