หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

 

หลักการและเหตุผล

ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะแปลกกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากความรู้ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีขีดจํากัดและความรู้ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสําหรับองค์กร ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น หรือยิ่งองค์กรมีความรู้ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อนําความรู้เก่ามาบูรณาการกับความรู้ใหม่ก็ก่อให้ เกิดความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก และส่งผลให้สามารถนําความรู้นั้นมาใช้ ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย

ในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กร ที่จะสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน และประสบความสําเร็จเหนือคู่แข่งแล้วนั้น การบริหารจัดการความรู้ในองค์กรก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทําให้ได้มาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และช่วยให้องค์กรประสบความสําเร็จได้เช่นกัน

การจัดการความรู้ เป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมกันส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ ในทุกภาระงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ในประเด็นที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน โดยจะต้องดําเนินการในลักษณะที่บูรณาการเข้ากับงานประจํา และมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมความรู้ที่หลากหลาย โดยไม่ทําให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในองค์กรเกิดการแลกเปลียนเรียนรู้แก่กัน เช่น การจัดรูปแบบการทํางานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยทําให้สมาชิกในทีมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกียวข้องร่วมกันได้ สะดวกยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนนักปฏิบติ (Community of Practices : CoPs) ตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีกด้วย

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้  

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ  องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

หัวข้อการอบรม

  • แนวคิดการดำเนินการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กร
  • ทัศนคติที่ดีกับการจัดการความรู้สู่ความสำเร็จขององค์กร
  • ทฤษฏี หลักการ และเครื่องมือใน การจัดการความรู้ Knowledge Management
  • การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร และทักษะที่ต้องใช้ในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เรียนรู้เครื่องมือในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • เรียนรู้กระบวนการจับประเด็นความรู้ Knowledge Capture
  • เรียนรู้หลักวิทยากรกระบวนการ หลักการสนทนาอย่างสร้างสรรค์
  • ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ Community of Practice
  • เรียนรู้เครื่องมือของ COP และกระบวนการ ในการจัดการความรู้
  • ความหมายของ COP และปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  • กระบวนการสร้างคลังความรู้ และการนำความรู้มาใช้ซ้ำ
  • การประยุกต์ใช้เครื่องมือ KM COP สู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรอย่างยั่งยืน

 

หลักแนวคิดที่จะเป็นเครื่องมือของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะนำมาของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กรแบบยั่งยืน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ   องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา  งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

3.ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning  Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้

4.ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ  เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                            30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

Did you enjoy this article?

หลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม