หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
(Analysis & Systematic Thinking)
หลักการและเหตุผล :
การคิดเป็นความสามารถของมนุษย์ที่มีเหนือสัตว์ชนิดอื่น สำหรับคนเก่งทั้งหลายหากเราไปศึกษาดูจะพบว่าเขาเหล่านั้น ล้วนเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดสูงมาก การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นลักษณะการคิดแบบหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินชีวิต การเรียนรู้สิ่งต่างๆ และการทำงาน รวมทั้งยังเป็นพื้นฐานของการคิดแบบอื่นๆ เช่น การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น การคิดเชิงวิเคราะห์จะทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาของสิ่งต่างๆ รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รู้ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นฐานความรู้สำหรับการประเมินและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง การที่เราไม่สามารถหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลให้กับเรื่องง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนับเป็นปัญหาที่ร้ายแรง เพราะเป็นสิ่งบ่งบอกว่าคนในสังคมของกำลังดำเนินชีวิตไปตามอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าดำเนินอย่างมีเหตุผล
การคิดเชิงวิเคราะห์ หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้นมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก
การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่าง เป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดย ทางตรงและโดยทางอ้อม
ทฤษฎีระบบ ( Systems Theory ) ให้แนวคิดว่าแต่ละสิ่งย่อมอยู่ในเอกภพ (The Universe) สิ่งเล็กหรือใหญ่เพียงใดล้วนเป็นหนึ่งหน่วยระบบมีวงจรของการทำงาน มีปัจจัยนำเข้า ( ปัจจัยการผลิต ) กระบวนการ มี ผลผลิต นำไปสู่ผลลัพธ์อย่าง เป็นระบบ ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วย มีระบบการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ผลผลิตจะไหลจาก หน่วยการผลิต (กระบวนการ ) หนึ่งไปสู่อีกหน่วยการผลิต หรือกระบวนการ หนึ่งอย่างครบวงจร ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กัน ในเวลาเดียวกัน
การคิดเชิงระบบจึงเป็นการคิดที่มีความเข้าใจเชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน คนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถใน การทำได้ดีในระดับที่แตกต่างกัน
โดยสรุปการคิดเชิงระบบ หมายถึง เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบย่อย ๆ ที่เกิดจากความคิดเชิงวิเคราะห์ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ พัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ
2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมการได้ใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา
6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
Module 1 : ความหมายของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
ความหมายที่แท้จริงการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ จะเกิดขึ้นเมื่อใด
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เชิงวิพากษ์
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เชิงสร้างสรรค์
Module 2 : แนวคิดการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่องที่จะวิเคราะห์นั้นๆ 40% รวมเรียกว่าศาสตร์
– ศิลปะการใช้ภาษา การสื่อสาร การถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมอง 40% รวมเรียกว่าศิลป์
– สัญชาติญาณและความกล้าหาญอีก 20% เรียกว่าพรสวรรค์
Module 3 : รูปแบบของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– จำแนกออกเป็น 3 แบบ
- การคิดเพื่อรู้เข้าใจหน่วยระบบ
- การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
- การคิดเพื่อออกแบบ และก่อตั้งหน่วยระบบ
Module 4 : หลักการคิดเพื่อสนับสนุนการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– กระบวนการคิด เพื่อได้มาซึ่งการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– ภาพรวมของการคิด
– กระบวนการคิด (Thinking Process)
– ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
– ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
– ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
– ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมได้ พัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ
2.ผู้เข้าอบรมการได้ใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา
6.ผู้เข้าอบรมสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน
– Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากรสร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน
วิธีการนำเสนอ
- ใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้เกมละลายพฤติกรรม เกมเพื่อการเรียนรู้ การระดมสมอง การอภิปราย การบรรยายประกอบตัวอย่าง Workshop และตัวอย่าง Clip
รูปแบบหลักสูตร
1.การบรรยาย 30 %
2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%