หลักสูตร การสร้างความสามัคคี คิดบวก และความรักต่อองค์กร

หลักสูตร การสร้างความสามัคคี คิดบวก และความรักต่อองค์กร

หลักการและเหตุผล :

การสร้างทัศนคติเชิงบวกและความสามัคคีเป็นเรื่องยาก แต่การทำให้แนวคิดนั้นอยู่กับเราไปนาน ๆ เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า ไม่ใช่เพราะว่าการคิดบวกเป็นสิ่งที่แกล้งทำขึ้นมา แต่เป็นเพราะว่าบางครั้งบางคราว เราไม่อาจจะที่จะคิดบวกได้ เพราะเรากำลังอยู่ในภาวะที่เครียด และกดดันทางอารมณ์จนเกินไป ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะคิดบวกได้ตลอดเวลา

การเป็นคนคิดบวกทำให้สุขภาพจิตของเราดี และยังทำให้เกิดความสามัคคีกันภายในองค์กร ถ้าทุกคนในองค์กรเป็นคนที่คิดบวก มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการรักษาความคิดเชิงบวกให้อยู่กับเรานาน ๆ นั้นเป็นเรื่องยาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งเราก็มีทัศนคติเชิงลบแทรกเข้ามาในจิตใจบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่คิดได้ง่ายกว่า แต่นั่นย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่ใครจะคิดแต่เรื่องดี ๆ และเป็นไปในเชิงบวกได้ตลอดเวลา แต่เชื่อเถอะว่าถ้ามันเป็นไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เราก็สามารถบังคับให้มันเป็นไปได้ การได้เข้าอบรมเรื่องการคิดบวกนั้น จะช่วยให้เราเป็นคนคิดบวกได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และมีความสุขในการทำงานอยู่เสมอ

อีกทั้งการคิดบวกและความสามัคคีภายในองค์กรนั้น ยังช่วยให้เราได้เห็นคุณค่าขององค์กรของเรามากขึ้น จะทำให้เรารักองค์กรและพร้อมที่จะช่วยกันพัฒนาองค์กรของเราให้เติบโตแบบยั่งยืนยิ่งๆ ขึ้นไป

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีทัศนคติเชิงบวก”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความสามัคคีกันภายในองค์กร”
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ ความรักต่อองค์กรนั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

 

ภาพรวมของการคิด

กระบวนการคิด (Thinking Process)

ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 

หัวข้อการอบรม

  1. กรณีศึกษาการคิดบวก และคิดลบ
  2. ประเมินคุณลักษณะคิดบวก คิดลบ
  3. กระบวนการคิด
  4. ความแตกต่างของการคิดบวก คิดลบ
  5. การพัฒนาทักษะการคิดให้เป็นคนคิดบวก
  6. การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นชิงบวก
  7. การพัฒนาคำพูดให้เป็นคนคิดบวกเพื่อให้เกิดความสามัคคีกันภายในองค์กร
  8. ตัวอย่าง และกรณีศึกษาการคิดบวกในการทำงาน
  9. การพัฒนาการคิดบวกกับการใช้ชีวิตประจำวัน
  10. การสร้างทีมงานให้เป็นคนคิดบวกและมีความรักองค์กรของตัวเอง

 

Workshop กิจกรรมระดมความคิด

  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ
  • เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ” ฯลฯ เป็นต้น

ประโยชน์ที่ไดรับ

  1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
  2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีทัศนคติเชิงบวก”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  8. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”

 

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%

Did you enjoy this article?

หลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม