หลักสูตร เครื่องมือบริหารเป้าหมายแบบ OKRs (Objective & Key Results)

หลักสูตร เครื่องมือบริหารเป้าหมายแบบ OKRs

(Objective & Key Results)

 

หลักการและเหตุผล :

OKRs เป็นเครื่องมือใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ด้วยการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์หลัก เป็นตัววัดผลเพื่อบอกให้รู้ว่าได้บรรลุจุดมุ่งหมายนั้นแล้ว ความโดดเด่นของ OKRs ถือเป็นตัวประสานระหว่างผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน โดยทุกระดับจะต้องกำหนด Objective ที่สนับสนุนและเชื่อมโยงถึงกัน และกำหนดตัววัดผล หรือ Key Results ที่สามารถวัดผลในเชิงปริมาณได้ที่เกื้อหนุน Objectives ในแต่ละระดับด้วยหลายครั้งบางหน่วยอาจจะกำหนด OBJECTIVE ในรูปแบบนามธรรม จนคิดว่าไม่สามารถกำหนดตัววัดผลเชิงปริมาณได้ องค์การต่างๆควรกำหนดคำนิยามของเป้าหมายนั้น ๆ ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมในเชิงปฏิบัติการ (OPERATION DEFINITION) เช่น ประสิทธิภาพ คือ ทำงานรวดเร็ว สามารถใช้ตัววัดเป็นระยะเวลาได้ เป็นต้นบางคนอาจจะไม่ชอบการวัดผล แต่ถ้าชีวิตนี้ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีสถิติให้ทำลาย ไม่มีอันดับหนึ่งในก้าวไปถึง ชีวิตนี้คงหมดความหมาย เช่นเดียวกัน ในการทำงานถ้าหากองค์กรใดไม่มีการวัดผล เชื่อว่า การพัฒนาในองค์กรจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน ที่สำคัญบริษัทชั้นนำของโลกหลายแห่ง เช่น Google, Intel, LinkedIn, Oracle, Twitter ต่างหันมาใช้ OKR กันมากขึ้น และเป็นการใช้แทน KPI แบบที่เราคุ้นเคยกัน

OKRs ย่อมาจาก Objective and Key Results ซึ่งเป็นเทคนิคในการตั้งเป้าหมายการทำงานวิธีหนึ่ง ซึ่งจริงๆ ไม่ได้เป็นวิธีที่ใหม่ มีการนำมาใช้ที่ Intel ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 หลังจากนั้นในปี 1999 ก็มีการนำมาใช้ที่ Google แล้วก็กระจายไปตามบริษัทที่เป็น Tech Company ต่างๆ กันมากขึ้น โดยบริษัทต่างๆ ใช้ OKR เพื่อกำหนดและสื่อสารเป้าหมาย และผลลัพธ์ที่คาดหวังให้กระจายไปทั่วทั้งองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่จะทำให้เป้าหมายของบริษัท ของหน่วยงานต่างๆ และของแต่ละบุคคลมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกัน รวมทั้งเชื่อมโยงและสอดคล้องกับผลลัพธ์ที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน OKR ช่วยทำให้พนักงานทุกคนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่องค์กรคาดหวังจากพวกเขา อีกทั้ง OKR นั้นจะต้องเป็นที่เปิดเผยทั่วไป ทุกคนสามารถที่จะเห็นและดูของคนอื่นได้ ทำให้ทุกคนไปในทิศทางเดียวกัน และรู้ว่าทุกคน (หรือแต่ละคน) กำลังให้ความสำคัญหรือมุ่งเน้นในสิ่งใด

 

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ OKRs นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก OKRs ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ OKRs ให้เหมาะสมกับองค์กร
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  5. เพื่อปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของ OKRs
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจความต่างการวัดผลแบบ KPI และ OKRs มีรูปแบบต่างกันอย่างไร และนำทั้ง 2 เครื่องมือมาใช้ด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

เนื้อหาหลักสูตร

  • แนวคิด และแนวทางการใช้ OKRs เพื่อเป็นวิธีการตั้งเป้าหมายให้แต่ละคน เพื่อเป้าหมายของทุกๆคนสอดคล้องกันทั้งองค์กร
  • การบริหารแบบ OKRs จะเกิดขึ้นเมื่อใด
  • เพราะอะไรจึงต้องใช้หลักการบริหารแบบ OKRs
  • จุดมุ่งหมายของ OKRs
  • ทำไมต้องใช้ OKRs แล้ว OKRs มีประโยชน์ต่อองค์การอย่างไร
  • OKRs การวัดผลการทำงานของบริษัทยุคใหม่ เช่น Google Twiiter Airnb Linkedin  Dropbox Intel Uber etc.
  • การเปรียบเทียบ OKRs กับ MBOs
  • ความเหมือนและความต่างของ OKRs และ KPI
  • หัวใจสำคัญของ OKRs (FACTS)
  •      Focus : การให้ความสำคัญกับเรื่องหลักๆ เพียงไม่กี่เรื่อง
  • Alignment : การสอดคล้องและเกี่ยวเนื่องกันทั้งองค์กร
  • Commitment : เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
  • Tracking : มีการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องและชัดเจน
  • Stretch : เกิดความท้าทายในการบรรลุผลลัพธ์
  • กุญแจแห่งความสำเร็จของการใช้เครื่องมือ OKRs คือ CFR
  • Conversation : การสื่อสาร พูดคุยและการโค้ช
  • Feedback : การให้ข้อมูลป้อนกลับที่สร้างสรรค์ร่วมกัน
  • Recognition : การสร้างวัฒนธรรมความสำเร็จและกำลังใจ
  • เทคนิคการโค้ชให้เขียน OKRs และการติดตามผลลัพธ์ (CFR)
  • เทคนิคการโค้ชให้ตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)
  • เทคนิคการโค้ชให้เขียน OKRs อย่างมีประสิทธิผล
  • เทคนิคการโค้ชเพื่อติดตามผลลัพธ์ (CFR)
  • เทคนิคการฟัง & การใช้คำถามที่สอดคล้องกับ OKRs
  • Role Playing : ดำเนินการโค้ชสร้าง OKRs
  • การบริหาร OKRs ให้เกิดประสิทธิผล
  • ทำอย่างไรเป้าหมายที่กำหนดขึ้นนั้นจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์หรือทิศทางที่องค์กรจะมุ่งไป
  • วิธีการทำให้เป้าหมายมีความท้าทายและไม่ยากเสียจนทำให้ผู้ปฏิบัติท้อแท้ หรือไม่ง่ายจนไม่รู้จะกำหนดเป้าไว้ทำไม ซึ่งหัวหน้ากับลูกน้องจะต้องมาตกลงกันในเรื่องเป้าหมายเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
  • การวัดผลของเป้าหมายนั้นจะต้องวัดผลได้เป็นรูปธรรม ซึ่งควรจะต้องมีการวัดผลได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพประกอบกัน
  • มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน โดยทำให้ทั้งหัวหน้าและลูกน้องรับทราบถึงกำหนดระยะเวลาในการวัดผลการดำเนินงานเพื่อติดตามและประเมินผลได้อย่างชัดเจน และทำงานได้ทันตามเวลา

 

  • การสร้าง One Direction: ทุกคนทำงานเพื่อจุดมุ่งหมายเดียวกันด้วย OKRs
  • การสร้างวินัย และ การ Focus งาน (ทำทีละงาน และทบทวนอย่างสม่ำเสมอ) ด้วย OKRs
  • การสร้างกระบวนการทำงานที่ชัดเจนและวัดผลได้ OKRs
  • แนวทางการกำหนด Objective จากจาก Mission, Vision ขององค์กร สู่เป้าหมาย
  • การวิเคราะห์ Key Results ของแต่ละเป้าหมาย เพื่อจำแนกเป็น Action Plan
  • การเตรียมบุคลากรให้พร้อมกับการเขียน OKRs ด้วยตัวเอง
  • การกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย (Goal Setting)
  • การสร้างกรอบความคิดการเติบโต (Growth Mindset)
  • การมีวินัยในการทำงาน (Discipline)
  • การทำงานเชิงรุก (Proactive Working)
  • การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change)
  • Workshop : กำหนดคุณสมบัติที่ต้องการพัฒนาเพิ่มเติม
  • กรณีศึกษา : การเขียนแผน OKRs ของตัวเอง

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ และกระบวนการของ OKRs นำไปใช้เป็นแนวทางการกำหนดเป้าหมายขององค์กร

2.ผู้เข้าอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับจาก OKRs ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรมด้วยกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดของ OKRs ให้เหมาะสมกับองค์กร

4.ผู้เข้าอบรม สามารถใช้เครื่องมือร่วมสมัยเพื่อช่วยให้การวางแผนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5.ผู้เข้าอบรม ได้ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักการของ OKRs

6.ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจความต่างการวัดผลแบบ KPI และ OKRs มีรูปแบบต่างกันอย่างไร และนำทั้ง 2 เครื่องมือมาใช้ด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                  40 %

2.กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                           60%

 

Did you enjoy this article?

หลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม