หลักสูตร: สุนทรียะสนทนา การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพเพื่อความสำเร็จในงานและชีวิต ( Dialogue to Success )

หลักสูตร: สุนทรียะสนทนา การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพเพื่อความสำเร็จในงานและชีวิต  ( Dialogue to Success )

 

           เป้าหมายสูงสุดของการบริหารงานได้แก่ การจัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมาย สูงสุดขององค์กร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และภารกิจที่สำคัญ ที่สุดของผู้บริหารที่จะต้องเรียนรู้ศาสตร์ในการ บริหารบุคคล ที่เน้นเรื่องการศึกษาพฤติกรรมบุคคล กลุ่มและองค์การ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบ ต่อพฤติกรรมในองค์การ เพื่ออธิบาย ทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ของการบริหารที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ความรู้ความเข้าใจแนวคิดเรื่องการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพของบุคคล จะช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงความต้องการของผู้ใต้บังคับบัญชาและพร้อมที่จะสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดังกล่าว ทำงานอย่างที่เรียกว่า “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข” ที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในการ บริหารงาน

             หลักสูตรนี้ ออกแบบ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)  ในการทำงานอย่างมีความสุขและเกิดความรักในองค์กร และพร้อมที่จะเปิดใจเรียนรู้ พัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาตนเองให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบรรยากาศการทำงานที่ทุกคนให้เกียรติ เห็นอกเห็นใจ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

      การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)  จะช่วยให้การทำงานนั้นเป็นไปอย่างมีความสุขและเกิดความรักในองค์กร โดยมีหลักแนวคิดของ 7Q มาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการเชื่อมต่อองค์ความรู้ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมและลงตัว ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันอีกทั้งยังได้เกิดแรงจูงใจในการทำร่วมกัน อย่างมีความสุขและมีจิตสำนึกในการรักองค์กร

         การสนทนาแบบ Dialogue เป็นการรับฟังวิธีคิด วิธีการให้คุณค่า ความหมายของคนอื่นต่อสิ่งที่พูด เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ละทิ้งสิ่งที่แต่ละคนยึดถือ เพื่อผ่าข้ามพรมแดนแห่งตัวตนไปพร้อมๆกัน ด้วยเหตุที่มนุษย์มีความสามารถเฉพาะของอวัยวะรับสัมผัสที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ความสามารถของตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง ของมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การที่มนุษย์มี ” ใจ ” หรือ “ สัมผัสที่หก ” ทำให้มนุษย์สามารถสัมผัสสิ่งรอบตัวได้ละเอียดลึกซึ้งกว่าสิ่งมีชีวิตแบบอื่นๆ

 

แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของ Dialogue

       หลักการของ Dialogue คือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระที่ตายตัวล่วงหน้า ไม่มีประธาน ไม่เหมือนการประชุมอย่างมีเป้าหมายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน คนในวงสนทนาสามารถพูดอะไรก็ได้ ถามอะไรก็ได้ ส่วนคนอื่นๆ จะตอบหรือไม่ตอบก็ได้

      การเข้าไปในวง Dialogue ทุกคนต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดเรื่องอะไรก็ได้ ส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำและการตอบคำถาม เพราะคำถามที่เกิดขึ้นเป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ Dialogue ไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิด

      อีกประการหนึ่งคือ การฟังให้ได้ยิน โดยไม่พยายามใส่ใจว่า เสียงนั้นเป็นเสียงของใคร แค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่าเสียงที่ได้ยินคือ เสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆ นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาอาจเป็นเสียงของตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ อาจมีความคิดบางอย่างเกิดขึ้น วาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้นอาจถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมในอนาคตก็ได้

 

7Q คืออะไร?

     การดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้น จะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของแต่ละบุคคลจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วย

     การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ (7Q) ของแต่ละบุคคลด้วยตัวเอง จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรของตัวเอง โดยการทำให้บุคลากรมี 7Q ที่สูงขึ้น โดยที่ 7Q นั้นประกอบไปด้วย

IQ (Intelligent Quotient) : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ (Emotional Quotient) : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ (Adversity Quotient ) : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ (Optimist Quotient) : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ (Unity Quotient) : การเป็นบุคคลที่เข้ากับคนอื่นได้ง่าย

CQ (Creativity Quotient) : ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ

PQ (Play Quotient): ความฉลาดที่เกิดจากการเล่น

 

      การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้บุคคลสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นบุคลากรที่มีจิตใจที่ดีขององค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

    การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 7Q นั้น จะทำให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น  จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

   โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 7Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางของ สุนทรียะสนทนา (Dialogue) และ 7Q เพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)   และ 7Q

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการสื่อสารและพฤติกรรมในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

 ลักษณะของการอบรม

         เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 7Q (IQ EQ OQ AQ UQ CQ PQ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 30 : Work Shop กิจกรรม 70
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 7Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 7Q
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักปฏิบัติ Dialogue
    • ฟังอย่างลึกซึ้ง ฟังให้ได้ยิน
    • มีความเป็นอิสระ และผ่อนคลาย
    • ทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่มีผู้นำ และไม่มีผู้ตาม

 

  • การจัดการวงสนทนาที่ดี แบบ Dialogue
  • ใช้หลักของ SPEAKING
  • S Setting หมายถึง ฉาก สถานที่ และเวลาของการทำ Dialogue
  • P Process หมายถึง กระบวนการ Dialogue เป็นเรื่องของกระบวนการ (Process Determinism)
  • E Ends หมายถึง เป้าหมาย Dialogue ไม่อนุญาตให้แต่ละคนนำเป้าหมายส่วนตัว หรือวาระส่วนตัวเข้าไปใช้ นอกจากจะมีเป้าหมายเพื่อการฟัง
  • A Attitude หมายถึง การมีเจตคติที่ดีต่อคนอื่น มีจิตใจที่เปิดกว้าง มีความสุขที่ได้ยินได้ฟังและได้เรียนรู้จากผู้อื่น
  • K Key Actor หมายถึง คณะทำงานที่อยู่เบื้องหลัง ผู้ทำหน้าที่ประสานงาน สร้างฉาก และค้นหาผู้ที่เหมาะสมจะมานั่งพูดคุยกัน เพื่อวัตถุประสงค์ร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะรวมความถึง Facilitator
  • I Instrument หมายถึง เครื่องมือของ Dialogue คือ จะต้องช่วยลดทอนความเป็นทางการของการใช้ภาษาให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงถ้อยคำแบบพิธีการ
  • N Norms of Interaction หมายถึงบรรทัดฐานของการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งจะต้องมีความเท่าเทียมกัน ทั้งในแง่ของคำพูดและการปฏิบัติ
  • G Genre หมายถึง ประเภทของการพูดคุย Dialogue ไม่ใช่การพูดคุยแบบพิจารณาถกเถียงหรือโต้แย้ง ไม่ใช้การบรรยายไม่ใช่การประชุมที่มีประธานทำหน้าที่วินิจฉัย สั่งการ

 

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 7Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของตัวเอง
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย 7Q
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • Work Shop
    • ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม In house
    • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ
  2. ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางของ สุนทรียะสนทนา (Dialogue) และ 7Q เพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ
  3. ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue) และ 7Q
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติเรื่องการสื่อสารและพฤติกรรมในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่ เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

 

 

 

ใครควรเข้าร่วม?

 ผู้บริหาร หัวหน้างาน ระดับปฏิบัติงาน ที่ต้องการพัฒนาตนเองด้วยสุนทรียะสนทนา (Dialogue)

 

 รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย                                 30 %
  2. กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop             70%

 

Did you enjoy this article?

หลักสูตรการอบรมเพิ่มเติม