Presentation1

หลักสูตร การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

 

หลักการและเหตุผล :

 

การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือ Bertalanfy นักชีววิทยา ต่อมาแนวคิดนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และพัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆ เช่น ฟิสิกส์ เริ่มมาจากการตั้งข้อสันนิษฐาน (Thesis) แล้วมีข้อขัดแย้งของสันนิษฐานนั้น ๆ เกิดขึ้นแต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด ดังนั้นจึงเกิดการสังเคราะห์ (Synthesis) สิ่งใหม่ และสิ่งเหล่านี้ได้พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ความรู้ต่าง ๆ จะพัฒนาเป็นแบบนี้ไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทุกอย่างเคลื่อนไหว ไม่แน่นอน วิธีคิดแบบนี้มีมานานแล้ว ทุกอย่างมีมูลเหตุ ความรู้เรื่องทฤษฎีระบบเป็นการมองโลกแบบองค์รวม ดังนั้น ทุกอย่างมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์จากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่

การคิดเชิงระบบ หมายถึง วิธีการคิดอย่างมีเหตุผล ทำให้ผลของการคิด หรือผลของการแก้ปัญหาที่ได้นั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว (Seddon)

การคิดเชิงระบบ เป็นการคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบย่อย โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดยตรง และโดยทางอ้อม ทฤษฎีระบบให้แนวคิดว่า ทุกสิ่งล้วนย่อมอยู่ในเอกภพ รวมทั้งสิ่งเล็กหรือใหญ่ ล้วนเป็นระบบมีวงจรการทำงาน ปัจจัย กระบวนการ เกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วยย่อมมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กันในเวลาเดียวกัน (Gharajedaghi)

อีกทั้งเป็นการคิดที่มีความเข้าใจ เชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน ในสมองคนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถในการทำได้ดีในระดับความเข้มข้นของระบบแตกต่างกัน (Ackoff)

การคิดเชิงระบบ เป็นการมุ่งมองสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวม เป็นกรอบการทำงาน ที่มองแบบแผนและความเกี่ยวพันกัน สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษคือการมองโลกแบบองค์รวมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การคิดเป็นระบบทำให้ความซับซ้อนเป็นสิ่งที่สามารถจัดการได้ (Senge, 1993: 6)

การพัฒนาบุคคลากรให้มีระบบการคิดเชิงระบบ จะช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพ การทำงานต่างๆ ในภาพ ใหญ่ขององค์กรสอดคล้อง สัมพันธ์กันด้วยระบบที่มีส่วนประกอบต่างๆ ที่เชื่อมสัมพันธ์กันรวมเป็นหนึ่ง เดียวกัน   การคิดเชิงระบบจะไม่มองเฉพาะหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่จะมองภาพใหญ่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็น ปัญหาระดับองค์กร แล้ว แก้ปัญหาทั้งในภาพใหญ่และภาพย่อย เชื่อมโยง สร้างสรรค์และทำงานเป็นทีมอย่างเป็น ระบบ  แล้วสามารถพัฒนาต่อเป็น“องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)” แล้วต่อยอดเป็น องค์กร นวัตกรรม (Innovation Organization)  ได้  โดยการจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation  Organization) นั้น  จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กร ดังนั้นการส่งเสริมให้  บุคคลากรในองค์มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้ง ในความคิดเชิงระบบ ความสามารถที่เป็นเลิศ  ส่วนบุคคล การทำงานเป็นทีม และการมองเห็นภาพวิสัยทัศน์ร่วมกัน ทั้งองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้    

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบ และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงระบบ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงระบบ และสามารถนำไปใช้งานได้

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงระบบ

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

  

หัวข้อการอบรม

Module 1: ความหมายของการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

  • การคิดเชิงระบบจะเกิดขึ้นเมื่อใด
  • เพราะอะไรเราจึงต้องใช้การคิดเชิงระบบ
  • ความหมายของคำว่าการคิดเชิงระบบ
  • องค์ประกอบของการคิดเชิงระบบ
  • การคิดเชิงระบบกับการทำงาน
  • ความสำคัญของ การคิดเชิงระบบ กับการพัฒนาตนเอง
  • องค์ประกอบของความคิด ที่มาของความคิด
  • กระบวนการของความคิด ให้ได้มาซึ่งการคิดเชิงระบบ

Module 2: การแบ่งรูปแบบการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน
  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้
  • เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา และสังเคราะห์เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่และแนวคิดใหม่กับแนวคิดเชิงระบบ
  • วิเคราะห์กระบวนการของการคิดเชิงระบบเพื่อนำไปใช้

 

Module 3: ขั้นตอนของความคิดเชิงระบบ

  • ยอมรับตนเองและเปลี่ยนใจตนเองให้ได้ว่าตนคือส่วนประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ
  • ฝึกการมองภาพรวมแทนสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยมองย้อยกลับ
  • เข้าใจธรรมชาติของระบบ และทุกสรรพสิ่งในโลกล้วนเป็นระบบสัมพันธ์กัน
  • มองเห็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อระบบ
  • มองเห็นวัฏจักรของเหตุปัจจัย (Circles of Causality ) และการส่งผลย้อนกลับ
  • เปิดอิสระในเรื่องการคิด ไม่ตีกรอบ ครอบงำความคิดคนอื่น
  • ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนเกิดแรงร่วมในการสร้างความสัมพันธ์
  • ฝึกการแก้ปัญหาที่เป็นสาเหตุแท้ โดยแก้ที่อาการ ที่ทำให้ เกิดปัญหา
  • ยึดหลักการเรียนรู้ในองค์กรเป็นส่วนประกอบ คือ การเป็นนายตนเอง ลบความเชื่อฝังใจ แต่อดีต สร้างความใฝ่ฝันถึงอนาคตร่วมกัน (Shared Vision ) และฝึกการเรียนรู้ของทีม

 

Module 4: การขยายขอบเขตการคิดเชิงระบบ เป็นการขยายมุมมอง 5 ด้าน

1.การมององค์รวม ( Holistic view )

2.มองสหวิทยาการ หลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน

3.มองอย่างอุปมา อุปนัย เป็นการมองขยายกรอบความคิด

4.มองประสานขั้วตรงกันข้าม เป็นการมองแนวคิดหนึ่งปฏิเสธแนวคิดหนึ่ง

5.มองทุกฝ่ายมองทุกฝ่ายชนะ WIN-WIN  ครอบคลุมความพอใจทุกฝ่าย

  

 ภาพรวมของการคิดที่ใช้ร่วมกับการคิดเชิงระบบ

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “Mind Map”

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงระบบ และสามารถนำมาแก้ไขปัญหาได้แบบมืออาชีพ

2.ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้การคิดเชิงระบบกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่าง    ยั่งยืน ด้วยแนวคิดของการคิดเชิงระบบ

4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ขั้นตอนของการคิดเชิงระบบ และสามารถนำไปใช้งานได้

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการบูรณาการหลักแนวคิดต่างๆ ด้วยการคิดเชิงระบบ

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน และนำหลักการการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                             30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop       70%

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

library-488690__340

หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

หลักสูตร การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management)

 

หลักการและเหตุผล

ความรู้เป็นสินทรัพย์ที่มีลักษณะแปลกกว่าสินทรัพย์อื่นๆ เนื่องจากความรู้ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีขีดจํากัดและความรู้ยังเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าสําหรับองค์กร ยิ่งใช้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสร้างคุณค่าเพิ่มขึ้นมากเท่านั้น หรือยิ่งองค์กรมีความรู้ มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถเรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น และเมื่อนําความรู้เก่ามาบูรณาการกับความรู้ใหม่ก็ก่อให้ เกิดความรู้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก และส่งผลให้สามารถนําความรู้นั้นมาใช้ ประโยชน์ได้มากขึ้นอีกด้วย

ในปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กร ที่จะสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถแข่งขัน และประสบความสําเร็จเหนือคู่แข่งแล้วนั้น การบริหารจัดการความรู้ในองค์กรก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะทําให้ได้มาซึ่งการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และช่วยให้องค์กรประสบความสําเร็จได้เช่นกัน

การจัดการความรู้ เป็นสิ่งที่ทุกคนในองค์กรจะต้องร่วมกันส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้ ในทุกภาระงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ในประเด็นที่จําเป็นต่อการปฏิบัติงาน โดยจะต้องดําเนินการในลักษณะที่บูรณาการเข้ากับงานประจํา และมีการเชื่อมโยงกับกิจกรรมความรู้ที่หลากหลาย โดยไม่ทําให้สมาชิกในองค์กรรู้สึกว่ามีภาระเพิ่มขึ้น นอกจากนี้วัฒนธรรมองค์กรก็เป็นส่วนที่มีความสําคัญอย่างยิ่ง ที่จะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกในองค์กรเกิดการแลกเปลียนเรียนรู้แก่กัน เช่น การจัดรูปแบบการทํางานเป็นทีม ซึ่งจะช่วยทําให้สมาชิกในทีมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่เกียวข้องร่วมกันได้ สะดวกยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดชุมชนนักปฏิบติ (Community of Practices : CoPs) ตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ ซึ่งนับว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อีกด้วย

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้  

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ  องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

หัวข้อการอบรม

  • แนวคิดการดำเนินการขององค์กรแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กร
  • ทัศนคติที่ดีกับการจัดการความรู้สู่ความสำเร็จขององค์กร
  • ทฤษฏี หลักการ และเครื่องมือใน การจัดการความรู้ Knowledge Management
  • การดำเนินการจัดการความรู้ในองค์กร และทักษะที่ต้องใช้ในการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้
  • เรียนรู้เครื่องมือในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
  • เรียนรู้กระบวนการจับประเด็นความรู้ Knowledge Capture
  • เรียนรู้หลักวิทยากรกระบวนการ หลักการสนทนาอย่างสร้างสรรค์
  • ชุมชนนักปฏิบัติ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ Community of Practice
  • เรียนรู้เครื่องมือของ COP และกระบวนการ ในการจัดการความรู้
  • ความหมายของ COP และปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กร
  • กระบวนการสร้างคลังความรู้ และการนำความรู้มาใช้ซ้ำ
  • การประยุกต์ใช้เครื่องมือ KM COP สู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กรอย่างยั่งยืน

 

หลักแนวคิดที่จะเป็นเครื่องมือของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กร

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะนำมาของการจัดการองค์ความรู้ภายในองค์กรแบบยั่งยืน

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการของการจัดการ   องค์ความรู้ในองค์กรและสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหา  งานด้วยการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

3.ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่ององค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning  Organization) และการ จัดการความรู้ (Knowledge Management) และสามารถนำมา  ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้

4.ผู้เข้าอบรมได้มีทักษะเบื้องต้นในการจัดทำแผนปฏิบัติการสร้างองค์กรแห่งการ  เรียนรู้ และแผนปฏิบัติการจัดการความรู้ในองค์กร

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง กระบวนการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                            30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

business-561388__340

หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)

หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

นวัตกรรม (Innovation)  คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายได้

ความคิดเชิงนวัตกรรมในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

ความคิดเชิงนวัตกรรม คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากการวางแผนหรือกำหนดชี้ชัดเจนว่า จะต้องทำให้เกิดขึ้นในปีนี้หรือเดือนนี้ หากแต่เกิดจากการเตรียมพร้อมบุคคลากรให้มีทักษะ ความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกที่มีความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริงเพื่อสร้างการเติบโตในองค์กร  สิ่งสำคัญมากๆอันดับต้นๆ คือ การสร้างเสริม บ่มเพาะ บุคคลากรให้มีเข้าใจการคิดเชิงนวัตกรรม เห็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์แนวคิดในการสร้างองค์กรนวัตกรรมเช่นเดียวกับผู้นำในองค์กร จนสามารถพัฒนาการทำงาน กระบวนการทำงาน (Process Innovation) ให้ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จนสามารถต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product/Service innovation)  และท้ายสุดคือการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation) ได้

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

 

 

 

หัวข้อการอบรม

  1. ความสำคัญของนวัตกรรม
  • ความสำคัญของทักษะการสร้างนวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบัน
  1. รู้จักและเข้าใจกระบวนสร้างนวัตกรรมและทักษะของการสร้างนวัตกรรม
  • ทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต (ค้นหา) การตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม
  • ทักษะของนักคิด : การหาไอเดียใหม่และการระดมสมอง (ค้นพบ) หลังจากที่นักเก็บข้อมูลได้รวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว นักคิดจะหาคำตอบ แนวทางการแก้ไข การหาไอเดียใหม่ ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาทักษะของนักคิดคือ การหาไอเดียใหม่ การระดมสมองอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะของนักทำ : การทำต้นแบบ (ลองทำ) เนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของนักทำคือ การทำต้นแบบ (prototype) เพื่อทดสอบไอเดีย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจไอเดียได้ชัดเจนมากขึ้น เนื้อหาส่วนนี้จะอธิบายวิธีการทำต้นแบบต่างๆ และการสร้างต้นแบบอย่างง่ายของแอพในสมาร์ตโฟน
  • ทักษะของนักสื่อสาร : การนำเสนอทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต หลังจากที่สร้างผลงานแล้ว นักสื่อสารจะต้องสื่อสารผลงานหรือนวัตกรรมเพื่อให้ผู้อื่นเห็นพ้องหรือคล้อยตาม ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะทำให้ผู้เรียนฝึกนำเสนอไอเดียหรือแนวคิดของตนให้ผู้อื่นทราบอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การพัฒนานิสัยหรือโครงการนวัตกรรม : เนื้อหาส่วนนี้จะสรุปเนื้อหาและแนะนำวิธีพัฒนาโครงการนวัตกรรม และการพัฒนานิสัยของนักสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรจะมอบหมายวิธีฝึกนิสัย กิจกรรมหรือโครงงานเพื่อให้ผู้เรียนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของตนเอง

 

 

ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์

3.ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม

4.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

7.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”

8.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                           30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

Presentation1

หลักสูตร การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)

หลักสูตร การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีความสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลายด้านๆ  ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

ยิ่งในยุคปัจจุบันการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาได้นั้นล้วนแล้วเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือจะให้เรียกอีกอย่างว่า ความคิดเชิงนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะเกี่ยวข้องและใช้หลักการคิดในบริบทเดียวกัน

และการที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นั้นนอกจากความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งความคิดที่ต้องใช้ควบคู่ไปด้วย นั่นก็คือ ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

การเป็นคนคิดบวก (Positive Thinking) ทำให้สุขภาพจิตของเราดี มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้งสามแนวคิดนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่พัฒนาบุคลากรขององค์กรให้ทำงานอย่างประสิทธิภาพด้วยหัวใจเบิกบานยินดี

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

หัวข้อการอบรม

  ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                           30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

multitasking-1733890__340

การคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงสังเคราะห์ (Analysis & Synthesis Thinking)

 หลักสูตรการคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงสังเคราะห์

(Analysis & Synthesis Thinking)development-2010016__340

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดเชิงวิเคราะห์และ    การคิดเชิงสังเคราะห์

4.เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์

5.เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.แยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

Module 1 :  ความหมายของการคิดเชิงสังเคราะห์

ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงสังเคราะห์
– การคิดเชิงสังเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อใด
– การคิดสังเคราะห์เชิงวิพากษ์
– การคิดสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์

productivity-1995786__340

Module 2  : ก่อนที่จะเกิดการคิดเชิงสังเคราะห์ 

การคิดเชิงวิเคราะห์
– ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่องที่จะวิเคราะห์นั้นๆ 40% รวมเรียกว่าศาสตร์
– ศิลปะการใช้ภาษา การสื่อสาร การถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมอง 40% รวมเรียกว่าศิลป์
– สัญชาติญาณและความกล้าหาญอีก 20% เรียกว่าพรสวรรค์

multitasking-1733890__340

Module 3 : รูปแบบของการคิดเชิงสังเคราะห์

การคิดเชิงสังเคราะห์ สามารถแบ่งรูปแบบการคิดได้เป็น 2 ลักษณะ
1. การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อการสร้าง “สิ่งใหม่” ซึ่งเป็นการประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ตามต้องการของเรา
2. การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อการสร้าง “แนวคิดใหม่” อันเป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวความคิดใหม่ๆ ในประเด็นต่างๆ ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้

organization-chart-1989202__340

Module 4 : คิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์

– กระบวนการคิด 7 ขั้นตอน เพื่อได้มาซึ่งการคิดสังเคราะห์แบบสร้างสรรค์
– ภาพรวมของการคิด
– กระบวนการคิด (Thinking Process)
– ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
– ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
– ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
– ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
– การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

science-1182713__340
– พัฒนาทักษะการทำงาน
ทำงานยากให้เป็นงานง่าย
สร้างแรงบันดาลใจ ในการทำงาน

– พัฒนาทักษะชีวิต
– เสริมสร้างมุมมองเพื่อการเปลี่ยนแปลง

education-548105__340

– วิธีผ่อนคลายความเครียดในที่ทำงาน
· ผ่อนคลายสรีระ
· ผ่อนคลายอารมณ์
· ผ่อนคลายการกระทำ

learn-2004905__340

– Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากรสร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน

question-mark-1722865__340

problem-98377__340

เทคนิคการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา (Problem Solving & Decision Making)

หลักสูตร : เทคนิคการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา (Problem Solving & Decision Making)

 

         ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งที่องค์กรต่างๆทุกประเภทธุรกิจกำลังเผชิญอยู่อย่างเข้มข้นในปัจจุบัน คือ ปัญหาในด้านทักษะความสามารถของบุคลากรในระดับต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นทักษะที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร

problem-98377__340

             อาการหนึ่งที่แสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ถึงปัญหาการขาดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจซึ่งสังเกตได้ชัด คือ ความกลัวปัญหาของบุคลากร จนทำให้บุคลากรไม่มีความสนใจหรือความกล้าที่จะนำเสนอแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆหรือสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหา อุปสรรคและความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้องค์กรพลาดโอกาสใหม่ๆที่อาจจะนำไปสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดขององค์กรไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง

away-1020086__340

     เพราะฉะนั้นเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ ให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รู้จักเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสำหรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้ทำการ ตัดสินใจไปแล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะการตัดสินใจที่ดีเยี่ยมและเฉียบขาด

away-1020435__340

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยยกระดับการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น

3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน

4.เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการหาสาเหตุของปัญหาในระยะสั้น

5.เรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาเพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.แยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน      

 direction-1014005__340

 

หัวข้อการอบรม

  Module 1: Discovery

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน

  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้

  • อธิบายปัญหาอย่างชัดเจน ว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งกรณีศึกษาและ workshop เพื่อให้เข้าใจปัญหาจากประสบการณ์จริง

question-mark-1722865__340

 

Module 2: Dream

  • นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาจัดลำดับผลกระทบที่ได้รับ เพื่อหาทางออกของปัญหาหรือกำหนดเป็นสิ่งที่เราอยากจะให้ปัญหานี้หายไปในอนาคต ด้วยกระบวนทัศน์และเสริมสร้างทักษะวิธีการคิดแบบระบบ (System Thinking) ซึ่งเป็นวิธีการคิดรากฐานที่สำคัญในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางธุรกิจที่ซับซ้อนวิเคราะห์มิติของการเปลี่ยนแปลง

  • กรณีศึกษาและ workshop เพื่อฝึกวางแผนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เช่นจากตนเอง ทีมงาน และองค์กร จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง

    options-73332__340

Module 3: Design

  • การเขียนสาเหตุและรากเหง้าของปัญหา…ใช้อะไรดี

  • การแก้ไขปัญหาอย่างขุดรากถอนโคนไม่ให้เกิดอีกต่อไป…ทำอย่างไร

  • การป้องกันการเกิดซ้ำอย่างเป็นระบบ…ทำอย่างไร

  • การวัดผลลัพธ์การแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ…วัดอย่างไร

  • การประยุกต์ทำบทเรียนแห่งการเรียนรู้จากปัญหาให้เป็นปัญหาขององค์กร…ทำง่ายๆได้อย่างไร

    pen-spinning-976930__340

Module 4: Destiny

  • ร่วมมือกันลงมือทำในการแก้ปัญหา

  • ปัญหาที่กำลังจะแก้ ใคร ส่วนงานไหนเข้าใจและรู้ลึกที่สุด

  • กำหนดคนแก้ไข หรือส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะการแก้ปัญหาแบบเน้นการมีส่วนร่วม

option-1010899__340

ภาพรวมของการคิดที่ใช้รับมือกับการตัดสินใจและการแก้ปัญหา

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)

  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

    education-548105__340

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)

  • การดักจับความคิด (Idea spotting)

  • กระบวนการจัดลำดับความคิด

  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”

  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”

  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”

  • เทคนิค “Mind Map”

development-2010016__340

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                         40 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    60%

change-1245949__180

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

หลักสูตร การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)

  change-671374__180

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนต้องเจอการเปลี่ยนแปลง”
  2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้จากการเปลี่ยนแปลง”
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการเปลี่ยนแปลงนั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวก”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า”
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ และเข้าใจปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงต่อตนเอง ทีมงานและองค์กร
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้กระบวนการเปลี่ยนแปลง และวิธีการบริหารการเปลี่ยนแปลง และจัดการกับความขัดแย้ง โดยสามารถสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนภายในองค์กร เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่บรรลุผลอย่างยั่งยืน
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง”

 door-672999__180

  หัวข้อการอบรม

  Module 1: Overview

  • ทำไมจึงต้องเปลี่ยนแปลง
  • กรณีศึกษาและ workshop เพื่อให้เข้าใจกับสภาพที่ต้องเปลี่ยนแปลง และสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากประสบการณ์จริง

 change-717488__180

Module 2: Change Management Processes

  • 9 ขั้นตอนสู่การเปลี่ยนแปลง
  • วิเคราะห์มิติของการเปลี่ยนแปลง
  • กรณีศึกษาและ workshop เพื่อฝึกวางแผนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เช่นจากตนเอง ทีมงาน และองค์กร จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง
  • แหล่งที่มาของความล้มเหลว และข้อควรระวังของการเปลี่ยนแปลง

  change-948008__180 

Module 3: Change Agent Roles and Responsibilities

  • บทบาท และหน้าที่ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • ทักษะและความสามารถในการนำการเปลี่ยนแปลง

 man-879092__180-1 

Module 4: Managing Change and Conflict Management

  • วิเคราะห์สาเหตุที่เกิดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (Resistance to Change)และการเกิดความขัดแย้ง
  • เคล็ดลับการบริหารการเปลี่ยนแปลง และการจัดการกับความขัดแย้ง (Conflict Management)
  • กรณีศึกษา และ workshop เพื่อวางแผนการบริหารการเปลี่ยนแปลง และการจัดการกับความขัดแย้ง จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง

 forward-1274244__180 

 ภาพรวมของการคิดที่ใช้รับมือกับความเปลี่ยนแปลง

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

woman-1076254__180

กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “Mind Map”

change-948016__180

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      40 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    60%

anvil-1169340__180-1

การคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ (Positive Thinking Skill Development)

หลักสูตรการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์

Positive Thinking Skill Development

light-bulb-1042480__180

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
  2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีทัศนคติเชิงบวก”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  8. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”

suit-673697__180

  หัวข้อการอบรม

ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

idea-1452962__180

กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ” ฯลฯ เป็นต้น

anvil-1169340__180

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                              30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%