business-561388__340

หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)

หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

นวัตกรรม (Innovation)  คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายได้

ความคิดเชิงนวัตกรรมในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

ความคิดเชิงนวัตกรรม คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากการวางแผนหรือกำหนดชี้ชัดเจนว่า จะต้องทำให้เกิดขึ้นในปีนี้หรือเดือนนี้ หากแต่เกิดจากการเตรียมพร้อมบุคคลากรให้มีทักษะ ความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกที่มีความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริงเพื่อสร้างการเติบโตในองค์กร  สิ่งสำคัญมากๆอันดับต้นๆ คือ การสร้างเสริม บ่มเพาะ บุคคลากรให้มีเข้าใจการคิดเชิงนวัตกรรม เห็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์แนวคิดในการสร้างองค์กรนวัตกรรมเช่นเดียวกับผู้นำในองค์กร จนสามารถพัฒนาการทำงาน กระบวนการทำงาน (Process Innovation) ให้ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จนสามารถต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product/Service innovation)  และท้ายสุดคือการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation) ได้

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

 

 

 

หัวข้อการอบรม

  1. ความสำคัญของนวัตกรรม
  • ความสำคัญของทักษะการสร้างนวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบัน
  1. รู้จักและเข้าใจกระบวนสร้างนวัตกรรมและทักษะของการสร้างนวัตกรรม
  • ทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต (ค้นหา) การตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม
  • ทักษะของนักคิด : การหาไอเดียใหม่และการระดมสมอง (ค้นพบ) หลังจากที่นักเก็บข้อมูลได้รวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว นักคิดจะหาคำตอบ แนวทางการแก้ไข การหาไอเดียใหม่ ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาทักษะของนักคิดคือ การหาไอเดียใหม่ การระดมสมองอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะของนักทำ : การทำต้นแบบ (ลองทำ) เนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของนักทำคือ การทำต้นแบบ (prototype) เพื่อทดสอบไอเดีย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจไอเดียได้ชัดเจนมากขึ้น เนื้อหาส่วนนี้จะอธิบายวิธีการทำต้นแบบต่างๆ และการสร้างต้นแบบอย่างง่ายของแอพในสมาร์ตโฟน
  • ทักษะของนักสื่อสาร : การนำเสนอทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต หลังจากที่สร้างผลงานแล้ว นักสื่อสารจะต้องสื่อสารผลงานหรือนวัตกรรมเพื่อให้ผู้อื่นเห็นพ้องหรือคล้อยตาม ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะทำให้ผู้เรียนฝึกนำเสนอไอเดียหรือแนวคิดของตนให้ผู้อื่นทราบอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การพัฒนานิสัยหรือโครงการนวัตกรรม : เนื้อหาส่วนนี้จะสรุปเนื้อหาและแนะนำวิธีพัฒนาโครงการนวัตกรรม และการพัฒนานิสัยของนักสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรจะมอบหมายวิธีฝึกนิสัย กิจกรรมหรือโครงงานเพื่อให้ผู้เรียนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของตนเอง

 

 

ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์

3.ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม

4.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

7.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”

8.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                           30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

success-2081167__340

หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ (Analysis & Systematic Thinking)

หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

(Analysis & Systematic Thinking)

 

หลักการและเหตุผล :

             การคิดเป็นความสามารถของมนุษย์ที่มีเหนือสัตว์ชนิดอื่น   สำหรับคนเก่งทั้งหลายหากเราไปศึกษาดูจะพบว่าเขาเหล่านั้น ล้วนเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดสูงมาก การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นลักษณะการคิดแบบหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินชีวิต  การเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และการทำงาน  รวมทั้งยังเป็นพื้นฐานของการคิดแบบอื่นๆ เช่น การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ  การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น การคิดเชิงวิเคราะห์จะทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาของสิ่งต่างๆ  รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รู้ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นฐานความรู้สำหรับการประเมินและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง  การที่เราไม่สามารถหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลให้กับเรื่องง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนับเป็นปัญหาที่ร้ายแรง เพราะเป็นสิ่งบ่งบอกว่าคนในสังคมของกำลังดำเนินชีวิตไปตามอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าดำเนินอย่างมีเหตุผล
        การคิดเชิงวิเคราะห์  หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น  จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้นมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก     

     การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่าง เป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดย ทางตรงและโดยทางอ้อม

ทฤษฎีระบบ ( Systems Theory ) ให้แนวคิดว่าแต่ละสิ่งย่อมอยู่ในเอกภพ (The Universe) สิ่งเล็กหรือใหญ่เพียงใดล้วนเป็นหนึ่งหน่วยระบบมีวงจรของการทำงาน มีปัจจัยนำเข้า ( ปัจจัยการผลิต ) กระบวนการ มี ผลผลิต นำไปสู่ผลลัพธ์อย่าง เป็นระบบ ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วย มีระบบการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ผลผลิตจะไหลจาก หน่วยการผลิต (กระบวนการ ) หนึ่งไปสู่อีกหน่วยการผลิต หรือกระบวนการ หนึ่งอย่างครบวงจร ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กัน ในเวลาเดียวกัน

     การคิดเชิงระบบจึงเป็นการคิดที่มีความเข้าใจเชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน คนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถใน การทำได้ดีในระดับที่แตกต่างกัน

 

    โดยสรุปการคิดเชิงระบบ หมายถึง เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบย่อย ๆ ที่เกิดจากความคิดเชิงวิเคราะห์ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว

 

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

 

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ พัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมการได้ใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

Module 1 :  ความหมายของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

ความหมายที่แท้จริงการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ จะเกิดขึ้นเมื่อใด
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เชิงวิพากษ์
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เชิงสร้างสรรค์

 

Module 2  : แนวคิดการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่องที่จะวิเคราะห์นั้นๆ 40% รวมเรียกว่าศาสตร์
– ศิลปะการใช้ภาษา การสื่อสาร การถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมอง 40% รวมเรียกว่าศิลป์
– สัญชาติญาณและความกล้าหาญอีก 20% เรียกว่าพรสวรรค์

 

Module 3 : รูปแบบของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

– จำแนกออกเป็น 3 แบบ

  1. การคิดเพื่อรู้เข้าใจหน่วยระบบ
  2. การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
  3. การคิดเพื่อออกแบบ และก่อตั้งหน่วยระบบ

 

Module 4 : หลักการคิดเพื่อสนับสนุนการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

– กระบวนการคิด  เพื่อได้มาซึ่งการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– ภาพรวมของการคิด
– กระบวนการคิด (Thinking Process)
– ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
– ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
– ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
– ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

 

1.ผู้เข้าอบรมได้ พัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ผู้เข้าอบรมการได้ใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.ผู้เข้าอบรมสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

– Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากรสร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน

 

วิธีการนำเสนอ

  • ใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้เกมละลายพฤติกรรม เกมเพื่อการเรียนรู้ การระดมสมอง การอภิปราย การบรรยายประกอบตัวอย่าง Workshop และตัวอย่าง Clip

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                   30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%

 

businessman-2606506__340

หลักสูตร ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovation Creative Thinking)

หลักสูตร ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม (Innovation Creative Thinking)

 

หลักการและเหตุผล

         ความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

       ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

        นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีความสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลายด้านๆ  ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

         ยิ่งในยุคปัจจุบันการที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาได้นั้นล้วนแล้วเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หรือจะให้เรียกอีกอย่างว่า ความคิดเชิงนวัตกรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย เพราะเกี่ยวข้องและใช้หลักการคิดในบริบทเดียวกัน

          และการที่จะให้องค์กรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นั้นนอกจากความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งความคิดที่ต้องใช้ควบคู่ไปด้วย นั่นก็คือ ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

         การเป็นคนคิดบวก (Positive Thinking) ทำให้สุขภาพจิตของเราดี มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

         ปัจจุบันนี้หลายองค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจ กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มากขึ้น เพราะฉะนั้นทั้งสามแนวคิดนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการที่พัฒนาบุคลากรขององค์กรให้ทำงานอย่างประสิทธิภาพด้วยหัวใจเบิกบานยินดี

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

หัวข้อการอบรม

  ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)
  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์
  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ”

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์
  2. ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดเชิงนวัตกรรม”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์” อย่างแท้จริง
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                        30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

multitasking-1733890__340

การคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงสังเคราะห์ (Analysis & Synthesis Thinking)

 หลักสูตรการคิดเชิงวิเคราะห์และความคิดเชิงสังเคราะห์

(Analysis & Synthesis Thinking)development-2010016__340

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดเชิงวิเคราะห์และ    การคิดเชิงสังเคราะห์

4.เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์

5.เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.แยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงสังเคราะห์ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

Module 1 :  ความหมายของการคิดเชิงสังเคราะห์

ความหมายที่แท้จริงการคิดเชิงสังเคราะห์
– การคิดเชิงสังเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อใด
– การคิดสังเคราะห์เชิงวิพากษ์
– การคิดสังเคราะห์เชิงสร้างสรรค์

productivity-1995786__340

Module 2  : ก่อนที่จะเกิดการคิดเชิงสังเคราะห์ 

การคิดเชิงวิเคราะห์
– ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่องที่จะวิเคราะห์นั้นๆ 40% รวมเรียกว่าศาสตร์
– ศิลปะการใช้ภาษา การสื่อสาร การถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมอง 40% รวมเรียกว่าศิลป์
– สัญชาติญาณและความกล้าหาญอีก 20% เรียกว่าพรสวรรค์

multitasking-1733890__340

Module 3 : รูปแบบของการคิดเชิงสังเคราะห์

การคิดเชิงสังเคราะห์ สามารถแบ่งรูปแบบการคิดได้เป็น 2 ลักษณะ
1. การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อการสร้าง “สิ่งใหม่” ซึ่งเป็นการประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ ตามต้องการของเรา
2. การคิดเชิงสังเคราะห์เพื่อการสร้าง “แนวคิดใหม่” อันเป็นการพัฒนาและคิดค้นแนวความคิดใหม่ๆ ในประเด็นต่างๆ ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์เอาไว้

organization-chart-1989202__340

Module 4 : คิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์

– กระบวนการคิด 7 ขั้นตอน เพื่อได้มาซึ่งการคิดสังเคราะห์แบบสร้างสรรค์
– ภาพรวมของการคิด
– กระบวนการคิด (Thinking Process)
– ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
– ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
– ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
– ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
– การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

science-1182713__340
– พัฒนาทักษะการทำงาน
ทำงานยากให้เป็นงานง่าย
สร้างแรงบันดาลใจ ในการทำงาน

– พัฒนาทักษะชีวิต
– เสริมสร้างมุมมองเพื่อการเปลี่ยนแปลง

education-548105__340

– วิธีผ่อนคลายความเครียดในที่ทำงาน
· ผ่อนคลายสรีระ
· ผ่อนคลายอารมณ์
· ผ่อนคลายการกระทำ

learn-2004905__340

– Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากรสร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน

question-mark-1722865__340

problem-98377__340

เทคนิคการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา (Problem Solving & Decision Making)

หลักสูตร : เทคนิคการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหา (Problem Solving & Decision Making)

 

         ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งที่องค์กรต่างๆทุกประเภทธุรกิจกำลังเผชิญอยู่อย่างเข้มข้นในปัจจุบัน คือ ปัญหาในด้านทักษะความสามารถของบุคลากรในระดับต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นทักษะที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร

problem-98377__340

             อาการหนึ่งที่แสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ถึงปัญหาการขาดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจซึ่งสังเกตได้ชัด คือ ความกลัวปัญหาของบุคลากร จนทำให้บุคลากรไม่มีความสนใจหรือความกล้าที่จะนำเสนอแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆหรือสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหา อุปสรรคและความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้องค์กรพลาดโอกาสใหม่ๆที่อาจจะนำไปสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดขององค์กรไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง

away-1020086__340

     เพราะฉะนั้นเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาทักษะ ให้ผู้เข้ารับการอบรม ได้เรียนรู้กระบวนการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ รู้จักเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่มีประสิทธิภาพ มีการเตรียมการสำหรับสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตหลังจากที่ได้ทำการ ตัดสินใจไปแล้ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะการตัดสินใจที่ดีเยี่ยมและเฉียบขาด

away-1020435__340

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยยกระดับการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น

3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน

4.เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการหาสาเหตุของปัญหาในระยะสั้น

5.เรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาเพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.แยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงาน      

 direction-1014005__340

 

หัวข้อการอบรม

  Module 1: Discovery

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน

  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้

  • อธิบายปัญหาอย่างชัดเจน ว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งกรณีศึกษาและ workshop เพื่อให้เข้าใจปัญหาจากประสบการณ์จริง

question-mark-1722865__340

 

Module 2: Dream

  • นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาจัดลำดับผลกระทบที่ได้รับ เพื่อหาทางออกของปัญหาหรือกำหนดเป็นสิ่งที่เราอยากจะให้ปัญหานี้หายไปในอนาคต ด้วยกระบวนทัศน์และเสริมสร้างทักษะวิธีการคิดแบบระบบ (System Thinking) ซึ่งเป็นวิธีการคิดรากฐานที่สำคัญในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางธุรกิจที่ซับซ้อนวิเคราะห์มิติของการเปลี่ยนแปลง

  • กรณีศึกษาและ workshop เพื่อฝึกวางแผนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เช่นจากตนเอง ทีมงาน และองค์กร จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง

    options-73332__340

Module 3: Design

  • การเขียนสาเหตุและรากเหง้าของปัญหา…ใช้อะไรดี

  • การแก้ไขปัญหาอย่างขุดรากถอนโคนไม่ให้เกิดอีกต่อไป…ทำอย่างไร

  • การป้องกันการเกิดซ้ำอย่างเป็นระบบ…ทำอย่างไร

  • การวัดผลลัพธ์การแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ…วัดอย่างไร

  • การประยุกต์ทำบทเรียนแห่งการเรียนรู้จากปัญหาให้เป็นปัญหาขององค์กร…ทำง่ายๆได้อย่างไร

    pen-spinning-976930__340

Module 4: Destiny

  • ร่วมมือกันลงมือทำในการแก้ปัญหา

  • ปัญหาที่กำลังจะแก้ ใคร ส่วนงานไหนเข้าใจและรู้ลึกที่สุด

  • กำหนดคนแก้ไข หรือส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะการแก้ปัญหาแบบเน้นการมีส่วนร่วม

option-1010899__340

ภาพรวมของการคิดที่ใช้รับมือกับการตัดสินใจและการแก้ปัญหา

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)

  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

    education-548105__340

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)

  • การดักจับความคิด (Idea spotting)

  • กระบวนการจัดลำดับความคิด

  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”

  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”

  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”

  • เทคนิค “Mind Map”

development-2010016__340

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                         40 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    60%

anvil-1169340__180-1

การคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ (Positive Thinking Skill Development)

หลักสูตรการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์

Positive Thinking Skill Development

light-bulb-1042480__180

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
  2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีทัศนคติเชิงบวก”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  8. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”

suit-673697__180

  หัวข้อการอบรม

ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

idea-1452962__180

กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ” ฯลฯ เป็นต้น

anvil-1169340__180

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                              30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%