together-2450090__340

หลักสูตร การสร้างความสามัคคี คิดบวก และความรักต่อองค์กร

หลักสูตร การสร้างความสามัคคี คิดบวก และความรักต่อองค์กร

หลักการและเหตุผล :

การสร้างทัศนคติเชิงบวกและความสามัคคีเป็นเรื่องยาก แต่การทำให้แนวคิดนั้นอยู่กับเราไปนาน ๆ เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า ไม่ใช่เพราะว่าการคิดบวกเป็นสิ่งที่แกล้งทำขึ้นมา แต่เป็นเพราะว่าบางครั้งบางคราว เราไม่อาจจะที่จะคิดบวกได้ เพราะเรากำลังอยู่ในภาวะที่เครียด และกดดันทางอารมณ์จนเกินไป ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะคิดบวกได้ตลอดเวลา

การเป็นคนคิดบวกทำให้สุขภาพจิตของเราดี และยังทำให้เกิดความสามัคคีกันภายในองค์กร ถ้าทุกคนในองค์กรเป็นคนที่คิดบวก มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการรักษาความคิดเชิงบวกให้อยู่กับเรานาน ๆ นั้นเป็นเรื่องยาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งเราก็มีทัศนคติเชิงลบแทรกเข้ามาในจิตใจบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่คิดได้ง่ายกว่า แต่นั่นย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่ใครจะคิดแต่เรื่องดี ๆ และเป็นไปในเชิงบวกได้ตลอดเวลา แต่เชื่อเถอะว่าถ้ามันเป็นไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เราก็สามารถบังคับให้มันเป็นไปได้ การได้เข้าอบรมเรื่องการคิดบวกนั้น จะช่วยให้เราเป็นคนคิดบวกได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และมีความสุขในการทำงานอยู่เสมอ

อีกทั้งการคิดบวกและความสามัคคีภายในองค์กรนั้น ยังช่วยให้เราได้เห็นคุณค่าขององค์กรของเรามากขึ้น จะทำให้เรารักองค์กรและพร้อมที่จะช่วยกันพัฒนาองค์กรของเราให้เติบโตแบบยั่งยืนยิ่งๆ ขึ้นไป

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีทัศนคติเชิงบวก”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความสามัคคีกันภายในองค์กร”
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ ความรักต่อองค์กรนั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

 

ภาพรวมของการคิด

กระบวนการคิด (Thinking Process)

ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 

หัวข้อการอบรม

  1. กรณีศึกษาการคิดบวก และคิดลบ
  2. ประเมินคุณลักษณะคิดบวก คิดลบ
  3. กระบวนการคิด
  4. ความแตกต่างของการคิดบวก คิดลบ
  5. การพัฒนาทักษะการคิดให้เป็นคนคิดบวก
  6. การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นชิงบวก
  7. การพัฒนาคำพูดให้เป็นคนคิดบวกเพื่อให้เกิดความสามัคคีกันภายในองค์กร
  8. ตัวอย่าง และกรณีศึกษาการคิดบวกในการทำงาน
  9. การพัฒนาการคิดบวกกับการใช้ชีวิตประจำวัน
  10. การสร้างทีมงานให้เป็นคนคิดบวกและมีความรักองค์กรของตัวเอง

 

Workshop กิจกรรมระดมความคิด

  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ
  • เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “เข้าไปดูใกล้ๆ…ถอยไปดูห่างๆ”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์”
  • เทคนิค “Mind Map”
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”
  • เทคนิค “ต้นน้ำ…ปลายน้ำ” ฯลฯ เป็นต้น

ประโยชน์ที่ไดรับ

  1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “คนเราทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน…ต้องรู้จักให้เกียรติซึ่งกันและกัน”
  2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน”
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การมีทัศนคติเชิงบวก”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม”
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการคิดอย่างเป็นระบบ”
  7. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”
  8. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์”

 

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%

achievement-3408115__340 (1)

หลักสูตร เทคนิคการสื่อสารและรับสารในองค์กร (Communication Skills)

หลักสูตร เทคนิคการสื่อสารและรับสารในองค์กร (Communication Skills)

 

หลักการและเหตุผล :

การสื่อสารภายในองค์กร – Internal Communication  ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่นำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ โดยองค์กรที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะมีรูปแบบการสื่อสารภายในองค์กร ที่หลากหลายหลายช่องทาง ไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ เพื่อให้บุคลากรทุกระดับขององค์กรมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง

โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้น จะก่อให้เกิดการประสานงานภายในองค์กรที่ดีมีประสิทธิผลอย่างยอดเยี่ยม และราบรื่น และปัจจุบันนี้องค์กรแทบทุกองค์กรในประเทศไทยพยามยามที่จะนำเอาเทคโนโลยี กิจกรรม กฎระเบียบ เทคนิคการบริหารใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในองค์กร เพียงเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แต่มักไม่ได้ปรับใช้กับองค์กรของตัวเองอย่างเหมาะสม

ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการจัดระเบียบ การสร้างประสิทธิภาพการทำงาน การเปลี่ยนรูปแบบการบริหารในองค์กร แต่สิ่งหนึ่งที่มักถูกละเลยและไม่ทุ่มเทกับสิ่งนั้นอย่างจริงจังนั่นก็คือ “เรื่องของการสื่อสาร” ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา คือ เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างบุคลากรภายในองค์กรเดียวกัน ดังนั้นสิ่งต่างๆ  ที่จะนำมาขับเคลื่อนองค์กรก็ประสบกับความล้มเหลวขาดประสิทธิภาพ เพราะไม่ได้รับความร่วมมือ หรือถูกพนักงานต่อต้าน มีอคติ ด้วยเหตุผลก็คือ พนักงานไม่ได้รับการสื่อสารหรือข้อมูลที่ชัดเจนพอ

ความไม่เข้าใจกันจึงอาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะระบบสื่อสารภายในองค์กรที่ไม่เหมาะสม และไม่ถูกต้อง รวมทั้งไม่ทันต่อเวลา จึงอาจทำให้การทำงานไม่ได้รับความร่วมมือ หรือการสนับสนุนเท่าที่ควร เมื่อไม่ได้รับความร่วมมือ หรือการสนับสนุนจากบุคลากร ก็ไม่มีทางที่จะพัฒนาองค์กรตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ได้

ดังนั้นการอบรมสัมมนาหลักสูตรนี้ จะมุ่งให้ผู้ที่จัดระบบการสื่อสารภายในองค์กร ได้เห็นภาพจุดอ่อนของการสื่อสารในองค์กรของตน เพื่อเพิ่มแนวทางในการจัดระบบสื่อสารภายในองค์กร ทั้งแบบทางการ และไม่เป็นทางการ เพื่อผสมผสานให้เหมาะสมกันในแต่ละองค์กรทำให้สามารถอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจอันดี พร้อมที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในด้านของการทำงานและด้านของความสัมพันธ์แบบเพื่อร่วมงาน

 

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเองและผู้อื่น

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ และมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานที่มีบุคลิกภาพต่างกัน

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทํางาน ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีลดความตรึงเครียดในการทํางานร่วมกับคนที่มีความแตกต่าง

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างมุมมองการอยู่ร่วมกัน ที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตัวเองและเข้าใจผู้อื่นสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดในการสื่อสาร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้เพื่อนําไปสู่การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

 

หัวข้อการอบรม

  • ทำแบบทดสอบ รู้จักตัวเองเพื่อเข้าใจคนอื่น (สัตว์สี่ทิศ)
  • THE JOHARI WINDOW
  • วิธีการขยาย OPEN AREA ให้กว้างขึ้น
  • ประโยชน์ของการเปิดหน้าต่าง OPEN AREA
  • องค์ประกอบของการสื่อสาร
  • กระบวนการสื่อสาร
  • หน้าที่ของการสื่อสาร
  • กฎเกณฑ์ในการสื่อสารที่ดี
  • วัฒนธรรมการสื่อสาร
  • เทคนิค E. I. O. U.
  • กรอบความคิดในการสื่อสาร
  • กฎแห่งการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน
  • ชื่นชมอย่างเปิดเผย
  • องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารระหว่างบุคคล
  • อุปสรรคในการสื่อสารระหว่างบุคคล
  • ขั้นตอนการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างมีประสิทธิผล
  • เทคนิคการฟังอย่างตั้งใจ
  • อุปสรรคในการฟัง
  • ระดับของการฟังอย่างตั้งใจ
  • การฟังแบบ REFLECTING
  • 5 องค์ประกอบในการฟังอย่างมีประสิทธิภาพ
  • Dialogue (พูดคุยกันแบบสบายๆในกิจกรรมที่ผ่านมา)

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเองและผู้อื่น

2.ผู้เข้าอบรมสามารถพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ และมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานที่มีบุคลิกภาพต่างกัน

3.ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้การทํางาน ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

4.ผู้เข้าอบรมทราบถึงวิธีลดความตรึงเครียดในการทํางานร่วมกับคนที่มีความแตกต่าง

5.ผู้เข้าอบรมสามารถนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6.ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างมุมมองการอยู่ร่วมกัน ที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตัวเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดในการสื่อสาร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้ เพื่อนําไปสู่การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

รูปแบบการฝึกอบรม

ฝึกอบรมภายใต้บรรยากาศของความสนุกสนาน ด้วยแบบฝึกหัดและเกมส์ทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “สุนทรียะสนทนา” เน้นการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นกันเองและผ่อนคลายพร้อมทั้งให้เห็นคุณค่าของความสุข แต่ได้มีประสบการณ์ตรง (Learning by game) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว ซึ่งก่อให้เกิดประสิทธิผลตามที่องค์กรตาดหวังไว้ อีกทั้งผู้รับการฝึกอบรมจะได้มีโอกาสสำรวจพฤติกรรมของตนเองที่มีต่อผู้อื่น และความรู้สึกของตนเองที่มีต่อผู้อื่นภายใต้การเอื้ออำนวยจากทีมวิทยากร เพื่อจะได้นำการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในการทำงาน

รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย                                                          30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop     70%
hands-4040619__340

หลักสูตร การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน (Inspiration for Success)

หลักสูตร การสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน (Inspiration for Success)

หลักการและเหตุผล
เป้าหมายสูงสุดของการบริหารงานได้แก่ การจัดการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมาย สูงสุดขององค์กร ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่และภารกิจที่สำคัญ ที่สุดของผู้บริหารที่จะต้องเรียนรู้ศาสตร์ในการ บริหารบุคคล ที่เน้นเรื่องการศึกษาพฤติกรรมบุคคล กลุ่มและองค์การ ตลอดจนปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบ ต่อพฤติกรรมในองค์การ เพื่ออธิบาย ทำนายและควบคุมปรากฏการณ์ของการบริหารที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ความรู้ความเข้าใจแนวคิดเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจของบุคคล จะช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงความต้องการและ แรงจูงใจของผู้ใต้บังคับบัญชาและพร้อมที่จะสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาดังกล่าว ทำงานอย่างที่เรียกว่า “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข” ที่ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในการ บริหารงาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเกิดความรักความผูกพันองค์กร รู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมรวมทั้งมีแรงบันดาลใจในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

รายละเอียดหลักสูตร

  1. เพราะอะไรถึงต้องมีแรงบันดาลใจ
    • องค์ประกอบที่สำคัญของแรงบันดาลใจ ในการทำงานของพนักงาน
    • ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ
    • บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ของพนักงาน
    • ทฤษฎีการจูงใจ Theories of Motivation

– ทฤษฎีการจูงใจ ของ Maslow

  1. การสร้างขวัญแรงจูงใจ และวินัย ในสถานประกอบการ
    • วินัย และคุณธรรมในการทำงาน
    • ทัศนคติสำหรับพนักงาน (Employee Attitude)
    • การสร้างทัศนคติที่ดี (Attitude) ในการทำงาน
  2. จิตสำนึกในการทำงาน (Work Awareness) และจงรักภักดีต่อองค์กร
  3. แรงบันดาลใจในการทำงานและดำเนินชีวิตให้ประสบผลสำเร็จและมีความสุข
    • ความสำเร็จในการงาน และชีวิต
    • องค์ประกอบของความสำเร็จในชีวิตการงาน
    • ความปรารถนาของนายจ้างจากลูกจ้าง
    • เคล็ดลับดีๆในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (รักษาโรคเบื่องาน)
    • วิธีทำงานอย่างมีความสุข
    • สร้างและมีมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
    • การสำรวจตัวเอง เพื่อดึงศักยภาพออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง
      – เทคนิคการส่งเสริมให้ใช้จินตนาการตนเอง
      – วิธีการสร้างแนวคิดใหม่จากแรงบันดาลใจ
      – เทคนิคการสร้างแรงบันดาลใจในการทำงาน

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ
1. ผู้เข้าอบรมตระหนักและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และเตรียมพร้อมที่จะเป็นพนักงานที่องค์กรต้องการ

  1. ผู้เข้าอบรมเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองเกิดความรักความผูกพันองค์กร รู้สึกเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน
  2. ผู้เข้าอบรมทราบถึงความสำคัญ และความจำเป็นในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เพื่อการทำงานที่มีความสุขและประสบความสำเร็จ
  3. ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงจูงใจให้กับตนเองในการทำงานและการก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจและพร้อมที่จะปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  4. ผู้เข้าอบรมเรียนรู้ข้อเด่น ข้อด้อยของตนเอง และสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมรวมทั้งมีแรงบันดาลใจในการทำงาน,การใช้ชีวิต ให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาใช้ให้เต็มที่เต็มพลัง และสามารถปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างสร้างสรรค์

 

รูปแบบหลักสูตร (ปรับได้ตามความเหมาะสมของผู้เข้าอบรม)

1.การบรรยาย                                                                              30 %

2.กิจกรรมกลุ่ม /เกมส์/ ฝึกปฏิบัติ Workshop                          70%

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

  • ผู้บริหาร หัวหน้างาน
  • พนักงานทุกระดับ
craftsmen-3094035__340

หลักสูตร การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน (Excellent Attitude for Work)

หลักสูตร การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน (Excellent Attitude for Work)

หลักการและเหตุผล :

การสริมสร้างทัศนคติที่ดีและทัศนคติเชิงบวกเป็นเรื่องยาก แต่การทำให้แนวคิดนั้นอยู่กับเราไปนาน ๆ เป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า ไม่ใช่เพราะว่าการการเสริมสร้างทัศนคติและการคิดบวกเป็นสิ่งที่แกล้งทำขึ้นมา แต่เป็นเพราะว่าบางครั้งบางคราว เราไม่อาจจะที่จะคิดบวกได้ เพราะเรากำลังอยู่ในภาวะที่เครียด และกดดันทางอารมณ์จนเกินไป ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะคิดบวกและมีทัศนคติที่ดีได้ตลอดเวลา

การเป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน จะเกิดมาจากที่เราเป็นคนที่คิดบวก จะทำให้สุขภาพจิตของเราดี และยังทำให้เกิดความสามัคคีกันภายในองค์กร ถ้าทุกคนในองค์กรเป็นคนที่คิดบวก มองโลกทั้งใบสดใส และมีแสงสว่าง แนวคิดนี้ไม่ได้มีคุณค่าเฉพาะการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไปเท่านั้น แต่มีความสำคัญกับการทำงานด้วยเช่นกัน การทำงานที่รวมระหว่างทัศนคติที่ดีเข้ากับความคิดเชิงบวก จะช่วยให้คนทำงานก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างง่ายดาย จนบางครั้ง เราจะรู้สึกว่าปัญหาต่าง ๆ อยู่กับเราไม่นาน เดี๋ยวมันก็จะหายไป นั่นเป็นเพราะเรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นเอง

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าการรักษาความคิดเชิงบวกและทัศนคติที่ดีให้อยู่กับเรานาน ๆ นั้นเป็นเรื่องยาก ปฏิเสธไม่ได้ว่าบางครั้งเราก็มีทัศนคติเชิงลบแทรกเข้ามาในจิตใจบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่คิดได้ง่ายกว่า แต่นั่นย่อมไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่ใครจะคิดแต่เรื่องดี ๆ และเป็นไปในเชิงบวกได้ตลอดเวลา แต่เชื่อเถอะว่าถ้ามันเป็นไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เราก็สามารถบังคับให้มันเป็นไปได้ การที่ได้เข้าอบรมเรื่องการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน (Excellent Attitude for Work)  จะช่วยให้เราเป็นคนคิดบวกได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย และมีความสุขในการทำงานอยู่เสมอ

อีกทั้งการคิดบวกและมีทัศนคติที่ดีภายในองค์กรนั้น ยังช่วยให้เราได้เห็นคุณค่าขององค์กรของเรามากขึ้น จะทำให้เรารักองค์กรและพร้อมที่จะช่วยกันพัฒนาองค์กรของเราให้เติบโตแบบยั่งยืนยิ่งๆ ขึ้นไป

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ในเรื่องทัศนคติที่ดีในการทำงาน จะทำให้คนในองค์กรนั้นมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจว่า “ สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน ” เพราะฉะนั้นเราควรมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน”
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความสามัคคีกันภายในองค์กร” มาจากการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ ความรักต่อองค์กรนั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการระดมสมอง เพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานจะนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

 

ภาพรวมของการคิดและการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

หัวข้อการอบรม

  1. กรณีศึกษาการคิดบวก และคิดลบ
  2. ประเมินคุณลักษณะคิดบวก คิดลบ
  3. กระบวนการคิดเพื่อการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  4. ความแตกต่างของการคิดบวก คิดลบ
  5. การพัฒนาทักษะการคิดให้เป็นคนคิดบวกและเป็นคนที่มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  6. การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นชิงบวก
  7. การพัฒนาคำพูดให้เป็นคนคิดบวกและมีทัศนคติที่ดีในการทำงานเพื่อให้เกิดความสามัคคีกันภายในองค์กร
  8. ตัวอย่าง และกรณีศึกษาการคิดบวกและมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  9. การพัฒนาการคิดบวกและมีทัศนคติที่ดีในการทำงานกับการใช้ชีวิตประจำวัน
  10. การสร้างทีมงานให้เป็นคนคิดบวกและมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน อีกทั้งยังมีความรักในองค์กรของตัวเอง

 

Workshop กิจกรรมระดมความคิด

  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์เพื่อนำมาซึ่งทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ เพื่อก่อเกิดทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)
  • เทคนิค “Look Good…Look Bad” (ถ้าจะต้องดูดีและไม่ดูแย่…จะต้องทำอย่างไรบ้าง)
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “คุณสมบัติและคุณประโยชน์” ของการมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • เทคนิค “องค์ประกอบ”

 

ประโยชน์ที่ไดรับ

  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง ในเรื่องทัศนคติที่ดีในการทำงาน จะทำให้คนในองค์กรนั้นมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น
  2. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจว่า “ สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน ” เพราะฉะนั้นเราควรมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดบวกอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเริ่มต้นที่การเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน”
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความสามัคคีกันภายในองค์กร” มาจากการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  5. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ ความรักต่อองค์กรนั้นมีความสำคัญมากแค่ไหน
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการระดมสมอง เพื่อให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงานจะนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                  30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%

office-1209640__340

หลักสูตร : การประยุกต์ใช้ Daily Management กับการทำงาน

 

หลักสูตร : การประยุกต์ใช้ Daily Management กับการทำงาน
หลักการและเหตุผล :

ในการดำเนินงานของแต่ละองค์กรย่อมมีกระบวนการที่กำหนดขึ้นมาเฉพาะ และมีการกำหนดตำแหน่งงานขึ้นมาเพื่อทำให้ที่ให้กระบวนการนั้นๆบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ปัญหาของทุกองค์คือ ผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งๆนั้นๆไม่ทราบว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องทำ หรือต้องควบคุมอะไร อย่างไร เพื่ออะไร จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นในกระบวนการนั้นและกระบวนการถัดไป

การบริหารงานประจำวัน เป็นเครื่องมือหนึ่งใน TQM ที่ทรงประสิทธิภาพทำให้แต่ละตำแหน่งสามารถวิเคราะห์ บริหารการทำงานในแต่ละตำแหน่งเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในกระบวนการถัดไป

การบริหารงานประจำวัน คือ “ กิจกรรมทั้งหมดที่ทำเป็นกิจวัตรเพื่อให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน โดยพื้นฐานแล้วกิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นกิจกรรมเพื่อ การรักษาสภาพปัจจุบัน ไว้  แต่ก็ รวมถึงการปรับปรุงให้ดีขึ้น ด้วย ”

การบริหารงานประจำวัน (Daily Management) จะมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงการการบริหารนโยบาย และการบริหารกิจกรรมพื้นฐาน (Bottom up Activities) เป็นหลัก โดยการบริหารนโยบายมุ่งเน้นการดำเนินการพัฒนาปรับปรุงตามวงล้อ PDCA ส่วนการบริหารงานประจำวันจะมุ่งเน้นการรักษาสภาพและปรับปรุงงานโดยหมุนตามวงล้อ SDCA และถ้าผลลัพธ์จากการบริหารงานประจำวันที่เป็นปัญหาระดับวิกฤตก็จะถูกยกขึ้นมาปรับปรุงเป็นนโยบาย

 

วัตถุประสงค์

 

  1. เพื่อให้ผู้ข้าอบรม ได้รู้จักและเข้าใจ วิธีการการบริหารงานประจำวัน (Daily Management) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เทคนิคการเตรียมงานและมอบหมายงาน รวมทั้งเทคนิคการควบคุมติดตามงาน เทคนิคการแก้ไขปัญหาในงาน เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการสรุปผลงานประจำวันและเขียนออกมาเป็นรายงานได้อย่างดี
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วงจรการบริหารงานประจำวัน (SDCA) มาตรฐานงาน และวงจร PDCA เพื่อการบริหารงานที่มีมาตรฐาน.ให้กับองค์กร
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายขององค์กรและการบริหารงานประจำวัน ว่าต้องสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน

 

 

ลักษณะของการอบรม

 

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DISC Model และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม
  2. การใช้เครื่องมือ DISC Model และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

 

  • ทำไมเราต้องบริหารงานประจำวัน (Daily Management)

 

  • ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายและการบริหารงานประจำวัน

 

  • องค์ประกอบของ Daily Management
  • แนวคิดในการบริหารงานประจำวัน (Daily Management) ของหัวหน้างานที่ดี

 

  • วงจรการบริหารงานประจำวัน (SDCA)

 

  • มาตรฐานงาน และ PDCA เพื่อการบริหารงานที่มีมาตรฐาน

 

  • เทคนิคการเตรียมงานและมอบหมายงาน

 

  • เทคนิคการควบคุมกระบวนการทำงาน

 

  • จุดควบคุม วิธีควบคุมและการรายงานความผิดปกติ

 

  • เทคนิคการแก้ไขปัญหาในงาน

 

  • เทคนิคการสรุปผลงานประจำวัน

 

เทคนิคในการติดตามงานที่มีประสิทธิภาพ (Effective Follow-up)

 

  • ประโยชน์ของการติดตามงาน

 

  • หลักและวิธีการติดตามงาน

 

  • 4 เทคนิคในการติดตามงาน (Following) ให้ได้ผล

 

  • การติดตามและจัดการผลการปฏิบัติงานของพนักงานแบบวันต่อวัน

 

สรุปบทเรียน และถาม-ตอบ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

  1. ผู้ข้าอบรม ได้รู้จักและเข้าใจ วิธีการการบริหารงานประจำวัน (Daily Management) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. ผู้เข้าอบรม ได้เรียนรู้เทคนิคการเตรียมงานและมอบหมายงาน รวมทั้งเทคนิคการควบคุมติดตามงาน เทคนิคการแก้ไขปัญหาในงาน เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการสรุปผลงานประจำวันและเขียนออกมาเป็นรายงานได้อย่างดี
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ วงจรการบริหารงานประจำวัน (SDCA) มาตรฐานงาน และวงจร PDCA เพื่อการบริหารงานที่มีมาตรฐาน.ให้กับองค์กร
  5. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายขององค์กรและการบริหารงานประจำวัน ว่าต้องสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกัน

 

 

กลุ่มเป้าหมาย

 

ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง

 

วิธีการอบรม

การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม, เดี่ยว/ ทำแบบ Assessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    70%

 

 

 

mind map

หลักสูตร เทคนิคการเขียน Mind Map เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (High Performance Working by Mind Map Technique)

หลักสูตร เทคนิคการเขียน Mind Map เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

(High Performance Working by Mind Map Technique)   

 

หลักการและเหตุผล :

แผนที่ความคิด (Mind Map) เป็นแผนผัง ใช้เพื่อแสดงคำหรือแนวความคิดของมนุษย์ที่เชื่อมโยง ความคิดต่าง ๆ จากจุดศูนย์กลางเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อย ที่สัมพันธ์กัน ส่วนการการพัฒนาประสิทธิภาพ การทำงาน คือ การปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ความสามารถ และทักษะในการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ประสิทธิภาพเป็นการใช้ปัจจัยและกระบวนการ ในการดำเนินงาน โดยแบ่งประเภทของประสิทธิภาพ การทำงานได้ 2 ระดับคือ 1) ประสิทธิภาพของบุคคล และ 2) ประสิทธิภาพขององค์กร ทั้งนี้ค่าของประสิทธิภาพ การทำงานสามารถแสดงในรูปแบบเชิงตัวเลข หรือรูปแบบ การบันทึกถึงลักษณะการใช้เงิน วัสดุ คน และเวลาในการ ปฏิบัติงานอย่างคุ้มค่า ประหยัด ไม่มีการสูญเปล่า เกินความจำเป็น รวมถึงมีการใช้กลยุทธ์หรือเทคนิควิธี การปฏิบัติที่เหมาะสม แผนที่ความคิดถือเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ช่วยในการจัดระเบียบความคิด ช่วยให้การทำงาน ในด้านต่าง ๆ เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อีกทั้งเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคคลและ ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร

Mind Map เป็น เครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง ซึ่งเป็นการแสดงผลของ “ภาษาของสมอง” เป็นวิธีเดียวกับที่สมองคิด ใช้ได้ทั้งการนำข้อมูลเข้า (จดบันทึก) และออกจากสมอง (ระดมสมอง แสดงความคิด) ดังนั้นการเข้าใจหลักการทำงานของสมอง รวมทั้งการคิดอย่างเป็นระบบ เมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับเครื่องมือ Mind Map ทำให้เกิดเครื่องมือที่ง่ายและสะดวกต่อการแปลความคิดที่อยู่ในสมองออกมาเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

หากผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะการคิดด้านต่างๆ และการเขียนแผนภาพความคิดด้วย Mind Map จะช่วยเพิ่มทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ การวางแผนทรัพยากร การแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการและวิธีการเขียน Mind Map
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะและกระบวนการคิดแบบองค์รวม การคิดแบบบูรณการ และการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการคิดและการถ่ายทอดโดยใช้ Mind Map
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานทั่วไปของสมองที่นำไปสู่กระบวนการคิด
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการระดมสมอง ที่จะทำให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน จะนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน ด้วย Mind Map
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิค เครื่องมือที่ได้เรียนรู้จาก Mind Mapไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการอบรม

Module 1 เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานของสมองและการคิดประเภทต่างๆ

  • สำรวจแนวความคิดด้านทักษะการคิดของตัวเอง
  • หลักการสำคัญของการเป็นนักคิด
  • เข้าใจการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการคิด
  • ครบเครื่องเรื่องทักษะการคิด 5 แบบเพื่อจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ
    • การคิดเชิงแก้ปัญหา ( Problem Thinking )
    • การคิดเชิงวิเคราะห์ ( Analytic Thinking )
    • การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creativity Thinking )
    • การคิดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Thinking )
    • การคิดเชิงบูรณการ ( Integrated Thinking )
  • Workshop : กิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด

 

Module 2 หลักการพื้นฐานของการเขียน Mind Map

  • Mind Map คืออะไร
  • เหตุใดจึงควรใช้ Mind Map
  • การเขียน Mind Map ควรมีหลักคิดอย่างไร
  • หลักการเขียน Mind Map ได้อย่างมั่นใจ
  • ตัวอย่างการเขียน Mind Map ในการทำงานและการดำเนินชีวิตทั่วไป
  • ถอดบทเรียนตัวอย่างMind Map เพื่อเข้าใจหลักการเขียนเชิงลึก
  • Workshop : สร้าง Mind Map ในสไตล์ของตัวเองพร้อมทั้งฝึกถอดบทเรียนการคิดที่ใช้เขียน

 

Module 3 ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการทำงาน  

  • Mind Map กับการวางแผนเพื่อพิชิตเป้าหมาย
  • Mind Map กับการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
  • Mind Map กับการนำเสนอแนวคิด
  • Mind Map กับการวางผังบุคลากร
  • Mind Map กับการสอนงานและมอบหมายงาน
  • Workshop : ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการการทำงานจริง

 

Module 4 ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการใช้ในชีวิตประจำวัน

  • Mind Map กับการสร้างสมดุลชีวิต
  • Mind Map กับการช่วยในการจัดระเบียบความคิด ให้สามารถคิดได้ทั้งแบบ คิดกว้าง และคิดลึก – คิดกว้าง คือ คิดออกไปรอบ ๆ ด้าน ไม่เกี่ยวข้องกัน คนละประเด็น คนละเรื่อง
  • Mind Map กับช่วยในการจับประเด็นสำคัญ สรุปสาระสำคัญนำมาสื่อสารให้ผู้อื่นสามารถจับต้อง เข้าใจ และช่วยเหลือได้
  • Mind Map กับการช่วยในการจัดลำดับความสำคัญก่อน หลัง อะไรเป็นเรื่องหลักและอะไรเป็นเรื่องที่แตกย่อยสามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย

 

ประโยชน์ที่ไดรับ

  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการและวิธีการเขียน Mind Map
  2. ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะและกระบวนการคิดแบบองค์รวม การคิดแบบบูรณการ และการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการคิดและการถ่ายทอดโดยใช้ Mind Map
  3. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานทั่วไปของสมองที่นำไปสู่กระบวนการคิด
  4. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการระดมสมอง ที่จะทำให้ได้มาซึ่งการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์ และการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน จะนำไปพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน ด้วย Mind Map
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิค เครื่องมือที่ได้เรียนรู้จาก Mind Mapไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                  30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%

 

smiley-1041796__340

หลักสูตร EQ กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Emotional Quotient for Success)

หลักสูตร EQ กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Emotional Quotient for Success)

 

หลักการและเหตุผล

EQ คืออะไร?

องค์การที่ประสบความสำเร็จ ย่อมมาจากความสำเร็จในการทำงานของพนักงาน องค์กรจึงมีหน้าที่ส่งเสริม ให้พนักงานมีความรู้ความสามารถในการทำงาน แต่ความรู้อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เพราะเขาต้องทำงานร่วมกับคนอื่นๆ แผนกอื่นๆ  ดังนั้น การพัฒนาให้พนักงานมี”ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์” หรือที่เรียกว่า EQ (Emotional Intelligence) จึงมีความจำเป็นที่จะทำให้พนักงานทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืน

ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ (EQ  Emotional Quotient) เป็นความสามารถประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญของมนุษย์ในด้านอารมณ์ความรู้สึก ที่จะกำหนดพฤติกรรมการทำงานให้เป็นเลิศได้ รู้จักควบคุมอารมณ์ และบริหารจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ พนักงาน มีการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการทำงานเป็นทีมที่เรียกว่า“ทีมเวิร์ค จะทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจจากพนักงาน การทำงานร่วมกันเป็นเงื่อนไขแห่งความสำเร็จของการทำงานให้บรรลุถึงเป้าหมายด้วยความราบรื่น ต้องอาศัยคุณลักษณะที่เรียกว่า ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์

ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์นั้นใด้แก่การมองโลกด้านบวก การรู้จักตนเอง การเข้าใจเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา อันเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จใน การทำงาน EQ.จำเป็นต้องมุ่งเน้นในการควบคุมตนเอง โดยเฉพาะอารมณ์ของตนให้เอื้อต่อความสำเร็จในการทำงาน

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ (EQ) ของแต่ละบุคคลด้วยตัวเอง จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับบุคลากรในองค์กรของตัวเอง โดยการทำให้บุคลากรมี EQ ที่สูงขึ้น โดยที่ EQ : ความฉลาดทางด้านอารมณ์ จะเป็นตัวเชื่อมต่อกับ Q อื่น อันได้แก่

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการด้วย EQ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้บุคคลสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง รวมถึงการเป็นบุคลากรที่มีจิตใจที่ดีขององค์กร จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง EQ นั้น จะทำให้บุคลากรได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

โดยที่ EQ นั้นจะใช้ร่วมกับ Q อีก 4 ตัว และสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ EQ กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ EQ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสมโดยใช้ EQ
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วย EQ
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา EQ ของตนเอง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ ฝึกปฏิบัติ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ ด้านการสื่อสารที่สามารถลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล

 ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการ

บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 30 % : Work Shop กิจกรรม 70 %

การใช้เครื่องมือทางด้าน EQ และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น

  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย EQ
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • ความสำคัญและความหมายของความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์
  • องค์ประกอบทางจิตวิทยาของความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์
  • การสร้างความไว้วางใจ การสร้างสัมพันธ์ เพื่อบริหารความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์
  • คุณสมบัติของผู้ที่มีความสำเร็จในชีวิตจากผลงานวิจัย
  • การพัฒนา EQ
  • การเสริมสร้างความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
  • การทดสอย EQ
  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย EQ
  • แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ EQ
  • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
  • บทบาทหน้าที่ของตัวเอง
  • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ
  • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ
  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
  • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย EQ
  • ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • Work Shop
  • ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม In house
  • ระดมสมอง และแชร์ความคิด

 

ความหลากหลายของกิจกรรม

– รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย EQ

– ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)

– เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด

–  การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย EQ

–  เรียนรู้การทำงานของสมอง

– คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจ

– ความหมายที่แท้จริงของชีวิต

– Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)

– คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?

 

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้อื่นได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ EQ กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ EQ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการของตนเองมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเป็นอัตโนมัติ
  3. ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสมโดยใช้ EQ
  4. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วย EQ
  5. ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา EQ ของตนเอง
  6. ผู้เข้าอบรมได้ ฝึกปฏิบัติ ความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ ด้านการสื่อสารที่สามารถลดความขัดแย้งระหว่างบุคคล

 

ใครควรเข้าร่วม?

  • บุคคลทั่วไปที่ต้องการเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของตนเอง และผู้อื่น
  • บุคคลทั่วไปที่ต้องการเตรียมพร้อมสู่การเป็นหัวหน้างาน
  • ผู้บริหาร หัวหน้างาน ระดับปฏิบัติงาน ที่ต้องการพัฒนาตนเอง

 

รูปแบบหลักสูตร

การบรรยาย                                                     30 %

เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop   70%

 

ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้ (Outcomes)

         บุคคล :

  • เรียนรู้ เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเอง และผู้อื่นด้วย EQ
  • เข้าใจตนเองและผู้อื่นด้วยแบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและ EQ
  • สามารถใช้ 5Q เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
  • เข้าใจวิธีลดความตึงเครียดในการทำงานร่วมกันด้วย EQ
  • สามารถนำความรู้เรื่อง EQ ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข

 

ครอบครัว :

  • ได้ผู้นำครอบครัวและสมาชิกของครอบครัวที่เข้าใจธรรมชาติและพื้นฐานของตนเองและคนในครอบครัวด้วย EQ
  • จุดประกายความเข้าใจภายในครอบครัว เปิดใจ เอื้ออาทร ห่วงใยดูแลและรับฟังกันมากขึ้นเพราะมี EQ
  • สมาชิกในครอบครัวรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างเอื้ออาทรกันและกัน
  • สมาชิกในครอบครัวมีความรัก ความเข้าใจ
  • ประชาธิปไตยและเสรีภาพบนความรับผิดชอบร่วมกันเริ่มต้นที่ในบ้าน

 

องค์กร :

  • ได้พนักงานที่มีทัศนคติเชิงบวกในการทำงานด้วย EQ
  • พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  • นโยบายขององค์กรถูกขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติได้เร็วขึ้น
  • ได้รับการยอมรับในเรื่ององค์กรยุคใหม่ใส่ใจในทุกๆ ด้านของผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งหมด (ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย)
  • ผลกำไรที่ยั่งยืน ส่งผลทำให้ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ผลิตวัตถุดิบให้เรา ลูกค้าเรา และสิ่งแวดล้อมที่องค์กรเราอยู่ร่วมด้วย อยู่กันอย่างเกื้อกูล
  • เป็นองค์กรที่มีความสำเร็จและความสุข
หลักสูตร Poka Yoke_บรรยาย

หลักสูตร การป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)

หลักสูตร การป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)

หลักการและเหตุผล:

          เมื่อเกิดความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจระหว่างการทำงาน ก็จะนำไปสู่ปัญหาต่างๆได้อีกมากมาย แต่อย่างไรก็ตามความผิดพลาดดังกล่าวถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นหากต้องการแก้ปัญหาให้เหลือศูนย์ (Zero Defect) หนทางเดียวที่จะทำได้ก็คือจะต้องป้องกันไม่ให้ความผิดพลาดแบบมิได้ตั้งใจมาสร้างปัญหาให้กับเรา เทคนิคนี้เรียกว่า Poka Yoke ถือเป็นระบบการป้องกันความผิดพลาดจากการพลั้งเผลอ หรือที่มักเคยได้ยินว่า Foolproof หรือ Mistake Proof ซึ่งระบบ Poka Yoke นี้ จะช่วยควบคุมให้เกิดผลงานในกระบวนการที่มีความถูกต้องเท่านั้นที่จะสามารถผ่านเข้าไปสู่กระบวนการถัดไปได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ Poka Yoke

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง POKA YOKE มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธีและทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

 

รายละเอียดหลักสูตร

1.ปัญหาด้านคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิตคืออะไร?

  1. อะไรคือ ของเสีย (Defect) Vs. ความผิดพลาด (Mistake-Error) และมีปัจจัยเกิดขึ้นได้อย่างไร?
  2. แนวคิดการควบคุมคุณภาพแบบความผิดพลาดเป็นศูนย์ (ZQC) คืออะไร?
  3. แนวคิดและหลักการที่เกี่ยวกับการปรับปรุงงาน (Improvement) และการควบคุมสภาวะต่างๆ ในงานผลิต
  • การวางแผนปรับปรุงงานด้วย PDCA และหลักการปรับปรุงงานเบื้องต้นด้วย ECRS
  • ระบบการมองเห็น (Visual System)
  1. หลัก 8 ประการเบื้องต้น (8D) สู่การป้องกันความผิดพลาดเป็นศูนย์เพื่อให้ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)
  2. กระบวนการตรวจสอบและดักจับความผิดพลาดที่ต้นเหตุ (Source inspection) ก่อนเกิดของเสีย
  3. หลักการควบคุมไม่ให้เกิดความผิดพลาดและป้องกันความผิดพลาดจากการทำงาน (Mistake-Proofing)
  4. แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับระบบการดักจับความผิดพลาด (Poka-Yoke)
  • ระบบ Poka-Yoke ช่วยควบคุมกระบวนการได้อย่างไร ?
  • หลักการและวิธีการออกแบบ Poka-Yoke
  • ชนิดและประเภทของ Poka-Yoke
  • เทคนิคการเลือกใช้งาน อุปกรณ์แบบต่างๆ ที่นำมาใช้ทำ Poka-Yoke
  1. กรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice)
  2. สรุปการเรียนรู้และถามตอบ

 

ประโยชน์ที่ผู้เข้าอบรมได้รับ
1.ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักและเข้าใจถึงการป้องกันความผิดพลาดโดยมิได้ตั้งใจ (Poka Yoke)

2.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจถึงแนวความคิด วิธีการและเทคนิคการดำเนินการของ Poka Yoke

3.ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้เรื่อง POKA YOKE มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงแนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงงานเพื่อลดความผิดพลาดอย่างต่อเนื่อง

5.ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาและแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างถูกวิธี และทราบถึงอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง

 

รูปแบบหลักสูตร

  1. การบรรยาย                                   40 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 60%

 

แนวทางการการอบรม

  1. การอบรมมีทั้งการบรรยาย และทดลองปฏิบัติกรณีศึกษาเพื่อให้เห็นจริงในการทำ Coaching ทำให้การอบรม เป็นไปอย่างสนุกสนาน
  2. การฝึกอบรมเป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่(Adult Learning) ซึ่งเน้นให้เกิดความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเล็งเห็นประโยชน์ของเนื้อหาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง

 

คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม

  • หัวหน้างาน
  • พนักงานทุกระดับ
success-2081167__340

หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ (Analysis & Systematic Thinking)

หลักสูตร การพัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

(Analysis & Systematic Thinking)

 

หลักการและเหตุผล :

             การคิดเป็นความสามารถของมนุษย์ที่มีเหนือสัตว์ชนิดอื่น   สำหรับคนเก่งทั้งหลายหากเราไปศึกษาดูจะพบว่าเขาเหล่านั้น ล้วนเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิดสูงมาก การคิดเชิงวิเคราะห์เป็นลักษณะการคิดแบบหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการดำเนินชีวิต  การเรียนรู้สิ่งต่างๆ  และการทำงาน  รวมทั้งยังเป็นพื้นฐานของการคิดแบบอื่นๆ เช่น การคิดเชิงระบบ การคิดเชิงกลยุทธ์ การคิดเชิงเปรียบเทียบ  การคิดเชิงสังเคราะห์ การคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น การคิดเชิงวิเคราะห์จะทำให้เรารู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาของสิ่งต่างๆ  รู้ว่าเรื่องนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รู้ข้อเท็จจริงซึ่งเป็นฐานความรู้สำหรับการประเมินและตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง  การที่เราไม่สามารถหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลให้กับเรื่องง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนับเป็นปัญหาที่ร้ายแรง เพราะเป็นสิ่งบ่งบอกว่าคนในสังคมของกำลังดำเนินชีวิตไปตามอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าดำเนินอย่างมีเหตุผล
        การคิดเชิงวิเคราะห์  หมายถึง ความสามารถในการจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้นเพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น  จากความหมายดังกล่าวจะเห็นว่าความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์นั้นมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราอย่างมาก     

     การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) หมายถึง การคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มองภาพรวมอย่าง เป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ โดยอาศัยการคิดในรูปแบบโดย ทางตรงและโดยทางอ้อม

ทฤษฎีระบบ ( Systems Theory ) ให้แนวคิดว่าแต่ละสิ่งย่อมอยู่ในเอกภพ (The Universe) สิ่งเล็กหรือใหญ่เพียงใดล้วนเป็นหนึ่งหน่วยระบบมีวงจรของการทำงาน มีปัจจัยนำเข้า ( ปัจจัยการผลิต ) กระบวนการ มี ผลผลิต นำไปสู่ผลลัพธ์อย่าง เป็นระบบ ผลผลิตรวมย่อมเกิดจากการประสานงานกันหลาย ๆ ระบบ แต่ละหน่วย มีระบบการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกัน ผลผลิตจะไหลจาก หน่วยการผลิต (กระบวนการ ) หนึ่งไปสู่อีกหน่วยการผลิต หรือกระบวนการ หนึ่งอย่างครบวงจร ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ละสิ่งในเอกภพมีความเป็นระบบตามมิติต่างๆ กัน ในเวลาเดียวกัน

     การคิดเชิงระบบจึงเป็นการคิดที่มีความเข้าใจเชื่อมโยง มีความเชื่อในทฤษฎีระบบเป็นพื้นฐาน คนปกติมีความเข้าใจเกี่ยวกับระบบในสรรพสิ่งที่อยู่ในในโลกที่สอดคล้องกับทฤษฎีระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ความสามารถใน การทำได้ดีในระดับที่แตกต่างกัน

 

    โดยสรุปการคิดเชิงระบบ หมายถึง เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบย่อย ๆ ที่เกิดจากความคิดเชิงวิเคราะห์ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว

 

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

 

1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ พัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมการได้ใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

4.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

5.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

Module 1 :  ความหมายของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

ความหมายที่แท้จริงการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ จะเกิดขึ้นเมื่อใด
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เชิงวิพากษ์
– การคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เชิงสร้างสรรค์

 

Module 2  : แนวคิดการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– ความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ตลอดจนทัศนะคติในเรื่องที่จะวิเคราะห์นั้นๆ 40% รวมเรียกว่าศาสตร์
– ศิลปะการใช้ภาษา การสื่อสาร การถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจมุมมอง 40% รวมเรียกว่าศิลป์
– สัญชาติญาณและความกล้าหาญอีก 20% เรียกว่าพรสวรรค์

 

Module 3 : รูปแบบของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

– จำแนกออกเป็น 3 แบบ

  1. การคิดเพื่อรู้เข้าใจหน่วยระบบ
  2. การคิดเพื่อวิเคราะห์และประเมินหน่วยของระบบ
  3. การคิดเพื่อออกแบบ และก่อตั้งหน่วยระบบ

 

Module 4 : หลักการคิดเพื่อสนับสนุนการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

– กระบวนการคิด  เพื่อได้มาซึ่งการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ
– ภาพรวมของการคิด
– กระบวนการคิด (Thinking Process)
– ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
– ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
– ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
– ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

 

1.ผู้เข้าอบรมได้ พัฒนาศักยภาพด้านการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ผู้เข้าอบรมการได้ใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยให้การคิดเชิงวิเคราะห์และการคิดเชิงระบบมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3.ผู้เข้าอบรมได้มีพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน ด้วยหลักของการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ เพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.ผู้เข้าอบรมสามารถแยกแยะและจัดลำดับความสำคัญของงานและนำหลักการการคิดวิเคราะห์และหลักการคิดเชิงระบบ ไปประยุกต์ใช้กับงานที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

 

– Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากรสร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน

 

วิธีการนำเสนอ

  • ใช้เทคนิคการฝึกอบรมในลักษณะบูรณาการ โดยมุ่งเน้นผู้เข้าอบรมเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้เกมละลายพฤติกรรม เกมเพื่อการเรียนรู้ การระดมสมอง การอภิปราย การบรรยายประกอบตัวอย่าง Workshop และตัวอย่าง Clip

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                                   30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop                 70%

 

people-2557396__340 (1)

หลักสูตรอบรม การดำเนินกิจกรรม SGA อย่างมีประสิทธิภาพ (Effectiveness Small Group Activity)

หลักสูตรอบรม การดำเนินกิจกรรม SGA อย่างมีประสิทธิภาพ (Effectiveness Small Group Activity)

 

หลักการและเหตุผล

       การดำเนินกิจกรรม SGA เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน ในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งเหมาะสมกับสภาวะของการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงอย่างเช่นในปัจจุบัน หลายบริษัทจึงเน้นการอบรมให้ความรู้กับพนักงานทุกคนในองค์กร ให้สามารถนำเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบผ่านกิจกรรม SGA นี้ มาใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปแบบภายในหน่วยงานของตนเอง

       แต่การจะสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งคุณภาพและ การจัดตั้งคณะทำงานเพื่อการดำเนินงานของกิจกรรม SGA ได้นั้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจต่อการใช้เครื่องมือและขั้นตอนต่างๆ เป็นอย่างดีก่อน รวมทั้งยังต้องสามารถให้คำปรึกษา ชี้แนะ ให้กับพนักงานเมื่อเกิดปัญหาในระหว่างการทำกิจกรรม SGA ได้ด้วย รวมทั้งการดำเนินการตัดสิน ประกวด การให้รางวัลจูงใจ การประชาสัมพันธ์ ซึ่งหลักเกณฑ์และหลักการเหล่านี้ ได้รวบรวมนำมาไว้ในหลักสูตรนี้แล้ว

           การใช้กิจกรรม SGA ในการพัฒนาและปรับปรุงการทำงานด้วยตัวบุคคลากรภายในเองได้แล้วนั้น จะพบการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานไปในทางที่ดีขึ้น ได้อย่างแน่นอน เช่น ลดต้นทุนการผลิต ลดปัญหาความเสียหาย ลดเวลาความสูญเปล่าจากการแก้ไขงาน การรอคอยงาน การขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และยังสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับบุคลากรภายในได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งในระดับพนักงาน ช่างเทคนิค หัวหน้างานและฝ่ายบริหารได้เป็นอย่างดี

 

วัตถุประสงค์การอบรม

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
  2. 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม SGA อย่างเป็นระบบ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบด้วย 8D
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม

 

หัวข้อการอบรม

  • องค์ประกอบของดำเนินงาน ต้นทุน กำไร และรายได้
  • การเพิ่มประสิทธิภาพภายในองค์กร
  • แนวคิดของการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง
  • ความเป็นมาและความหมายของ กิจกรรม SGA
  • ประเภทของการทำกิจกรรม SGA
  • ข้อดีของการทำกิจกรรมกลุ่ม SGA
  • เรียนรู้การใช้เครื่องมือ 8D TOOLS ในการวิเคราะห์ปัญหา
  • การดำเนินการแก้ไขป้องกันตามหลักการของ PDCA
  • ขั้นตอนการจัดทำกลุ่ม SGA (SMALL GROUP ACTIVITY)
  • WORKSHOP1 การฝึกเขียนลำดับขั้นการทำงานและการวิเคราะห์จากงานตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงการทำงาน
  • WORKSHOP2 การรวมตัวเพื่อสร้างกลุ่ม SGA (ตั้งชื่อกลุ่ม / คัดเลือกหัวหน้า, เลขา แนะนำสมาชิก / คัดเลือกหัวข้อปัญหา / การวางแผน / การตั้งเป้าหมาย)
  • เทคนิคเสริมสร้างการทำกิจกรรมกลุ่ม SGA: หลักการทำงานเป็นทีม
  • เทคนิคเสริมสร้างการทำกิจกรรมกลุ่ม SGA: เทคนิคการสร้างความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • เทคนิคเสริมสร้างการทำกิจกรรมกลุ่ม SGA: เทคนิคการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เทคนิคเสริมสร้างการทำกิจกรรมกลุ่ม SGA: เทคนิคการเสนอผลงาน
  • WORKSHOP3 ระดมสมอง BRAINSTORMING (ให้ผู้เข้าอบรมผลิตสินค้าตัวอย่าง เพื่อช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา)
  • PDCA ที่อยู่ในขั้นตอนการทำกิจกรรมกลุ่ม SGA
  • ธรรมชาติของกระบวนการผลิตและหลักการในการแก้ไขปัญหาคุณภาพ
  • ตัวอย่างกิจกรรม SGA
  • WORKSHOP4 การนำเสนอผลงาน SGA ของผู้เข้าอบรม
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามตอบ

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจต่อต้นทุนการผลิต และสร้างผลกำไรให้กับบริษัท
  2. 2. ผู้เข้าอบรมได้สร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรม SGA อย่างเป็นระบบ
  3. ผู้เข้าอบรมได้เสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบด้วย 8D
  4. ผู้เข้าอบรมได้มีแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน และบริษัทอย่างต่อเนื่อง
  5. ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง
  6. ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานเป็นกลุ่ม

รูปแบบการอบรมสัมมนา

  1. การบรรยาย 30 %
  2. เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop 70%