DISC

หลักสูตร DISC สำหรับหัวหน้างาน (DISC for Leadership)

หลักสูตร DISC สำหรับหัวหน้างาน (DISC for Leadership)

การเป็นหัวหน้างานยุคใหม่ที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย และไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

การพัฒนาระดับความสามารถ ในด้านต่างๆ ของหัวหน้างานยุคใหม่นั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งหัวหน้างานยุคใหม่ต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะตระหนักรู้ว่าถ้าเราไม่ยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ

หลักสูตรนี้ได้นำเอาหลักของ DISC มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยให้ผู้เข้าอบรมเกิดความเข้าใจในคุณลักษณะ พฤติกรรมการแสดงออกทั้งของตนเองและของบุคคลอื่น ซึ่งจะนำไปสู่ การยอมรับตนเอง รับรู้ เข้าใจถึงความแตกต่างและความถนัดของบุคคลในแต่ละคุณลักษณะ เข้าใจถึงสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของแต่ละคุณลักษณะบุคคล  สามารถนำเอาหลักการและความเข้าใจเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นและสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพิ่มทักษะในการพัฒนาขีดความสามารถของทีมงาน ใช้ประโยชน์จากความแตกต่างบุคคล สร้างแนวทางการครองใจสมาชิกในทีมด้วยรูปแบบที่เหมาะสมของตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนเองและของทีมงานจากการที่ทุกคนในทีมมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน รู้แนวทางความถนัดของสมาชิกในทีม เกิดความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ สร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นได้อย่างสัมฤทธิ์ผล

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ด้วยรูปแบบของกลุ่มพฤติกรรมที่แตกต่างกัน – DISC Model
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ช่วยค้นหาจุดเด่น และสิ่งที่ควรพัฒนา เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองของผู้นำที่ดี ให้มีภาวะของผู้นำ
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยหลักของ DISC
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง ด้วย DISC Model อีกทั้งสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DISC Model และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม
  2. การใช้เครื่องมือ DISC Model และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

 หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย DISC Model
    • แนวคิดเรื่องพฤติกรรมมนุษย์และการแสดงออก
    • ความหมายของ D-I-S-C และความสำคัญในการเข้าใจเรื่อง D-I-S-C
    • ประเภทของพฤติกรรมมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ
    • ศึกษากรณีศึกษาของบุคคลต่างๆ กับพฤติกรรมการแสดงออกของเขา
    • สาเหตุของความแตกต่างของมนุษย์
    • การสำรวจบุคลิกความแตกต่างของพฤติกรรมแต่ละคน
    • การค้นหาความแตกต่างของแต่ละคน
    • การสื่อสารและการแสดงออกของคนในแต่ละประเภท
    • การประยุกต์ใช้ D-I-S-C กับอิริยาบถของการทำงาน
    • การจัดทำ Work Shop

 

  • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)
  • Teamwork (การทำงานเป็นทีม)
  • Achievement Motivation (แรงจูงใจสู่ความสำเร็จ)
  • Accountability (ความรับผิดชอบอย่างผู้นำ) ซึ่งประกอบไปด้วย
  • มีวิสัยทัศน์ (Visioning Goal Setting & Leading others )
  • มีทักษะการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills)
  • สอนงานเป็นและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (Coaching & Develop others)
  • กล้าตัดสินใจ (Decision Making)
  • มีทักษะการบริหารจัดการลูกน้อง (People Management Skills)
  • สามารถจูงใจลูกน้องได้ (Motivate Subordinate)

 

  • Continuous Learning (การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)
  • Creativity (ความคิดสร้างสรรค์)

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

 

1.ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ด้วยรูปแบบของกลุ่มพฤติกรรมที่แตกต่างกัน – DISC Model

2.ผู้เข้าอบรมได้ช่วยค้นหาจุดเด่น และสิ่งที่ควรพัฒนา เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาตนเองของผู้นำที่ดี ให้มีภาวะของผู้นำ

3.ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

4.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยหลักของ DISC

5.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก

6.ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง ด้วย DISC Model อีกทั้งสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน, พนักงานทั่วไป และผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง

 

วิธีการอบรม

การบรรยาย/กิจกรรมกลุ่ม, เดี่ยว/ ทำแบบ Assessment /Clip VDO

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                          40 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    60%

 

 

 

 

 

 

 

 

coaching-2738522__340

การพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับหัวหน้างาน ( Coaching for Leadership )

หลักสูตร การพัฒนาทักษะการโค้ชสำหรับหัวหน้างาน  ( Coaching for Leadership )

หลักการและเหตุผล :          

การโค้ช (Coaching) เป็นทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของผู้นำ ที่สามารถพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีทักษะ การคิดด้วยตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ (Self-Solution Thinking Skill) และนำไปสู่การลงมือทำงานให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายของตนเองได้ (High Performance) ผู้นำที่ใช้ทักษะการโค้ชอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ทีมงานให้มีความกระตือรือร้น ในการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีกำลังใจในการทำงาน (High Morale) และสร้างผลงานที่ดีขึ้น อย่างชัดเจน หลายองค์กรในประเทศไทยจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะการโค้ช ให้กับผู้นำในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ เพราะ องค์กรที่มีวัฒนธรรมการโค้ช จะนำไปสู่การสร้างผลกำไรขององค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม

การโค้ช (Coaching) เป็นเครื่องมือสำคัญ เพื่อการดึงศักยภาพของคน ออกมาใช้ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะด้วยเครื่องมือนี้มีเทคนิคที่นำมาใช้ไม่เฉพาะเป็นแค่การสอนแบบเดิมๆ (Instruction Coaching) แต่เป็นการใช้เทคนิคการตั้งคำถาม ด้วยการใช้คำถามเชิงบวก (Inquiry Coaching) และการสร้างแรงบันดาลใจ (Inspire Coaching) ให้โค้ชชี่สามารถค้นพบจุดแข็ง ศักยภาพ ทั้งในการตั้งเป้าหมายของการทำงาน หรือการแก้ปัญหาซึ่งต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในทักษะดังกล่าวเป็นอย่างดี ดังนั้นหัวหน้างาน ต้องเข้าใจศาสตร์การ Coach ที่ดี ตามแนวทางหรือหลักการโค้ชที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน โดยผสมผสานเครื่องมือการโค้ช เช่น TAPS Model/ Insight Loop/ GROW Model พร้อมทั้งการสะท้อนข้อมูล (Feedbacks) เพื่อการพัฒนา ให้กับทีมงานมีความเข้าใจ และปฏิบัติงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ถูกถ่ายทอดจากองค์กร อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจในลักษณะพฤติกรรมของโค้ชชี่ และสร้างมาตรฐานการโค้ชในองค์กรได้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เครื่องมือ (Tools) การโค้ชที่เหมาะสมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างยั่งยืนได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติทักษะการโค้ช อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างทัศนคติเชิงบวกต่องาน และความคาดหวังต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เผชิญอยู่
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ใต้บังคับบัญชา ให้พัฒนาความสามารถในการคิดของตนเอง พัฒนาตนเองในด้านอื่นๆเพื่อสร้างผลงานที่ดียิ่งขึ้น
  6. เพื่อให้ผู้อบรมได้เสริมกลยุทธ์การนำไปใช้เพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงของทีมอย่างชัดเจน และสำเร็จตามเป้าหมาย

 

หัวข้ออบรม

  1. TAPS Model เข้าใจความหมายของการโค้ช และประโยชน์ในเชิงของผู้นำ และต่อองค์กรด้วยกระบวนการ Tell-Ask-Problem-Solution
  2. บทบาทของโค้ชและเครื่องมือต่างๆ หัวใจแห่งการโค้ช และ วงจรความคิดของคน
  3. การโค้ชด้วย T-Grow Model พัฒนาทักษะการคิด เพื่อนำไปสู่การลงมือทำ ให้ประสบความสำเร็จ
  4. หลักการ และทักษะที่สำคัญของการโค้ช
  5. ความสำคัญและสิ่งที่จำเป็นของผู้นำองค์กรใน “บทบาทและหน้าที่” ที่ของโค้ช
  6. เรียนรู้การโค้ช วัตถุประสงค์ หัวใจของการโค้ช และเป้าหมายของการโค้ชที่ดี
  7. เทคนิคการโค้ชเชิงบวกเพื่อศักยภาพของบุคคลสู่องค์กร (Appreciative Inquiry Coaching)
  8. กระบวนการโค้ช เครื่องมือและแนวทางเพื่อการโค้ชที่มีมาตรฐานและคุณภาพ
    • AI Coaching Technique
    • Insight Loop Cycle
  9. การโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพหรือขยายขีดความสามารถของบุคคลอื่น
  10. การแสวงหาวิธีการจัดการและสร้างสรรค์แผนงาน

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจในลักษณะพฤติกรรมของโค้ชชี่ และสร้างมาตรฐานการโค้ชในองค์กรได้
  2. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เครื่องมือ (Tools) การโค้ชที่เหมาะสมเพื่อประยุกต์ใช้ในองค์กรอย่างยั่งยืนได้
  3. ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติทักษะการโค้ช อย่างเป็นลำดับขั้นตอน
  4. ผู้เข้าอบรมได้สร้างทัศนคติเชิงบวกต่องาน และความคาดหวังต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เผชิญอยู่
  5. ผู้เข้าอบรมสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ใต้บังคับบัญชา ให้พัฒนาความสามารถในการคิดของตนเอง พัฒนาตนเองในด้านอื่นๆเพื่อสร้างผลงานที่ดียิ่งขึ้น
  6. ผู้อบรมได้เสริมกลยุทธ์การนำไปใช้เพื่อให้เห็นผลการเปลี่ยนแปลงของทีมอย่างชัดเจน และสำเร็จตามเป้าหมาย

วิธีการฝึกอบรม

การโค้ชกลุ่ม การเขียน ระดมสมอง การอภิปรายกลุ่ม การสาธิต สถานการณ์จำลอง ฝึกปฏิบัติจากสถานการณ์จริง ให้ Feedback

 

ผู้เข้าอบรม

หัวหน้างาน / ผู้จัดการทุกหน่วยงาน

 

industrial-4-2470457__340

กลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 4.0 )

หลักสูตร กลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 4.0 )

ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนเร็วมากทำให้วิถีชีวิตผู้คนต่างเปลี่ยนไปหมดแม้กระทั่งการบริหารงานในองค์ธุรกิจขนาดใหญ่ ๆ ก็ยังต้องมีการปรับตัวสมัยก่อนนั้นการทำธุรกิจขององค์กรใหญ่ ๆ ความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ จะเกิดขึ้นไม่บ่อยนักอาจจะอยู่ที่ 3-5 ปีก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นสักครั้งแต่ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงในองค์กรเกิดขึ้นแทบทุกไตรมาสเลยก็ว่าได้และในยุคที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุค 4.0

เข้าสู่ยุค 4.0 แบบนี้แล้วการมีบทบาทของคนรุ่นเก่าก็ยังคงสำคัญอยู่ ในขณะเดียวกันบทบาทของคนรุ่นใหม่ก็เริ่มจะมาแรงและชัดเจนมากขึ้น เมื่อคนต่างวัยต่างประสบการณ์ต่าง Generation ต้องมาทำงานร่วมกันจึงทำให้เกิดความแตกต่างทางความคิดและวิธีการทำงานแต่เมื่อต้องลงเรือลำเดียวกันทำงานร่วมกันบนความแตกต่างแบบนี้จึงเกิดคำถามขึ้นว่า “จะทำอย่างไรที่จะเชื่อมโยงคนต่าง Generation ให้สามารถทำงานร่วมกันโดยไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมขององค์กร”

“ ช่องว่างระหว่างวัย ” เป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากต่อองค์กรคน Gen Y มักจะชอบงานหรืออะไรที่แปลกใหม่ท้าทายแต่ในขณะที่คนในยุค Baby Boomers มักจะชอบงานอะไรที่ชัวร์แน่นอนมั่นคงต้องแน่ใจก่อนแล้วค่อยทำและมักไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึงจริงอยู่ว่าแนวคิดของคนรุ่นใหม่มักจะสอดคล้องกับยุคสมัย  และสถานการณ์ปัจจุบันแต่ในอีกด้านหนึ่งคนรุ่นเก่ากับมองว่าแนวคิดแบบนั้น เป็นเรื่องอะไรที่ไร้ระเบียบวินัยไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นความฉาบฉวยเท่านั้น ดังนั้นถ้าคุณไม่ประสานเชื่อมโยงความคิดที่แตกต่างนี้ ภายในองค์กรของคุณ จะทำให้เป้าหมายที่วางไว้ของผู้บริหารไม่มีทางสำเร็จอย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้นการยอมรับประสิทธิภาพของตนเองว่าอยู่ในระดับใด และอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ให้ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสเปิดใจพูดคุยซึ่งกันและกันเพื่อการพัฒนาและก้าวเดินต่อไปของคนรุ่นใหม่อันจะช่วยให้องค์กรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ ของหัวหน้างานยุค 4.0 นั้น จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้นำในองค์กรของตัวเองโดยการทำให้ผู้นำมี 5Q ที่สูงขึ้น

 

 

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

 

การประยุกต์ใช้แนวทางกลยุทธ์บริหารคนยุค 4.0 กับการการพัฒนาระดับความสามารถ  (Quotient) ต่างๆ ของผู้นำ เพื่อให้การบริหารคนในยุค 4.0 ได้อย่างเข้าใจลึกซึ้ง กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ผู้นำสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง  รวมถึงการเป็นผู้นำที่มีจิตใจที่ดีขององค์กรและเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้ผู้นำได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ และสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดด้วยกลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 0 )
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q และกลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 0 ) ของผู้นำที่ดีที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำต่อการบริหารคนในยุค 0 เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายในยุค 0 ไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมต่างๆ และต้องสามารถบริหารความหลากหลายและแตกต่างเพื่อให้เกิดผลสูงสุดแก่องค์กร

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

 

 

ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกันกับ กลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 4.0 ) เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 40 : Work Shop กิจกรรม 60
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 5Q
  • Clip VDO และอื่นๆ

 

 หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนยุค 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพด้วย 5Q และกลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 4.0 )
  • ใครคือคนที่องค์กรต้องการในยุค 4.0
  • บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานยุค 4.0
  • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการในยุค 4.0 (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)
  • Teamwork (การทำงานเป็นทีม)
  • Achievement Motivation (แรงจูงใจสู่ความสำเร็จ)
  • Accountability (ความรับผิดชอบอย่างผู้นำ) ซึ่งประกอบไปด้วย
  • มีวิสัยทัศน์ (Visioning Goal Setting & Leading others )
  • มีทักษะการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills)
  • สอนงานเป็นและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (Coaching & Develop others)
  • มีแนวกรอบแนวคิดในการทำงาน (Conceptual Thinking)
  • มีทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรของ (Resource Management Skill)
  • กล้าตัดสินใจ (Decision Making)
  • มีทักษะการบริหารจัดการลูกน้อง (People Management Skills)
  • สามารถจูงใจลูกน้องได้ (Motivate Subordinate)
  • การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
  • การบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร (Conflict Management)

 

  • Continuous Learning (การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)
  • Creativity (ความคิดสร้างสรรค์)

 

    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศกับกลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 4.0 )

 

  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

  1. ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ และสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดด้วยกลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 0 )
  2. ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q และกลยุทธ์การบริหารคนยุค 4.0 (Management Strategy 0 ) ของผู้นำที่ดีที่ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  3. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำต่อการบริหารคนในยุค 0 เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  4. ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายในยุค 0 ไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมต่างๆ และสามารถบริหารความหลากหลายและแตกต่างเพื่อให้เกิดผลสูงสุดแก่องค์กร

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      40 %

  1. กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop             60%

 

 

 

 

 

 

 

 

network-1987209__340

ออกแบบหลักสูตรต่างๆ ได้ตามที่หน่วยงานและองค์กรต้องการ (Organization Development )

ออกแบบหลักสูตรต่างๆ ได้ตามที่หน่วยงานและองค์กรต้องการ (Organization Development )

1.หลักสูตรการแก้ปัญหาภายในองค์กร

2.หลักสูตรบูรณาการองค์ความรู้เพื่อแบ่งปันความรู้กันภายในองค์กร

3.หลักสูตรการพัฒนาองค์กรแบบไม่มีขีดจำกัด

4.หลักสูตรเครื่องมือต่างๆที่ผู้นำ ผู้บริหารต้องมี

5.และอีกมากมายแนวคิดที่จะทำให้เกิดการพัฒนากรแบบยั่งยืน

Service Mind ขั้นเทพ ในยุค 4.0

การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 (Management in Thailand 4.0)

หลักสูตร การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

 หลักการและเหตุผล :    

 ไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร?

       “ไทยแลนด์ 4.0”  เป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญ สามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็ว รุนแรงในศตวรรษที่ 21 ได้

        ประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมามีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ยุคแรก ขอเรียกว่า “ประเทศไทย 1.0” เน้นการเกษตรเป็นหลัก เช่น ผลิตและขาย พืชไร่ พืชสวน หมู หมา กา ไก่ เป็นต้น ยุคสอง ขอเรียกว่า “ประเทศไทย 2.0” เน้นอุตสาหกรรมแต่เป็นอุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตและขายรองเท้า  เครื่องหนัง เครื่องดื่ม  เครื่องประดับ เครื่องเขียน กระเป๋า เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น และปัจจุบัน (2559) จัดอยู่ในยุคที่สาม ขอเรียกว่า ”ประเทศไทย 3.0”  เป็นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก เช่น การผลิตและขาย ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นนำมัน แยกก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น แต่ ไทยในยุค 1.0  2.0 และ 3.0 รายได้ประเทศยังอยู่ในระดับปานกลาง อยู่อย่างนี้ไม่ได้ ต้องรีบพัฒนาเศรษฐกิจสร้างประเทศ จึงเป็นเหตุให้นำไปสู่ยุคที่สี ให้รหัสใหม่ว่า ”ประเทศไทย 4.0” ให้เป็นเศรษฐกิจใหม่ (New Engines of Growth) มีรายได้สูง โดยวางเป้าหมายให้เกิดภายใน 5-6 ปีนี้  คล้าย ๆ กับการวางภาพอนาคตทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนของประเทศที่พัฒนา เช่น สหรัฐอเมริกา “ A Nation of Makers ”  อังกฤษ “ Design of Innovation”  อินเดีย “ Made in India” หรือ ประเทศเกาหลีใต้ที่วางโมเดลเศรษฐกิจในชื่อ “ Creative Economy”

 

 

       การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม”  โดยมีฐานคิดหลัก คือ เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม  และเปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

        ดังนั้น “ประเทศไทย 4.0” จึงควรมีการเปลี่ยนวิธีการทำที่มีลักษณะสำคัญ คือ เปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิมในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่และรัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups บริษัทเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services และเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

 

   วัตถุประสงค์การบรรยาย

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขอบเขตของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้แนวคิดการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจรูปแบบการบริหารการจัดการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักวิธีการบูรณาการกรอบแนวคิดทางการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองประเด็นสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ให้ออก

 

  หัวข้อการอบรม

  ภาพรวมของการคิด

หัวข้อการบรรยาย การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

1.ทัศนคติคนไทยกับการเริ่มสร้างธุรกิจที่บิดเบี้ยว กับหลุมพรางทางความคิดที่ต้องกำจัดก่อนเริ่มธุรกิจ

2.ทำความเข้าใจการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ผ่านการตลาดเชิงคุณค่า และ การตลาดเชิงราคา

3.เหตุใดเราจึงต้องคิดใหม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

4.กรณีศึกษากลยุทธ์การบริหาร ธุรกิจไซส์ยักษ์

5.สร้างแผนธุรกิจ วางแผนการขาย กำหนดทิศทางตลาดแบบ Steve Jobs

6.Self Analysis วิเคราะห์ธุรกิจเพื่ออุดรูรั่วก่อนออกรบ

7.Innovation คืออะไร

8.แนวคิดในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

9..แนวคิดการสร้างแผนการทำงานที่ดี และ การออกแบบแผนการทำงาน

 

รายละเอียดของการอบรม

1.ทำความเข้าใจ การบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

   – ประโยชน์ของการจัดทำแผนการบริหารเชิงกลยุทธ์

2.กำหนดแผนในการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0

– กระบวนการในการจัดทำแผนการขายและการตลาด

– ภาพรวมขั้นตอนในการจัดทำแผนธุรกิจ

 

3.แผนที่ดีเริ่มจากการวิเคราะห์ที่ดี

– วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ขององค์กร (SWOT Analysis)

– วิเคราะห์ปัจจัยภายในด้วย 7S Mckinsey Frame Work

– วิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย Five Force Model

 

  1. กำหนดตลาดเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

– บริษัททำอะไร ขายอะไร ขายใคร ขายที่ไหน ขายอย่างไร (7 O’s หรือ 6W 1H)

– กำหนดตลาดเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย จาก STP Model

 

  1. การกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์

– หลักการสร้างความต้องการใช้สินค้า ใช้สินค้าซ้ำ บอกต่อและเป็นลูกค้าประจำด้วย Model 4P+4C+4E

– กรณีศึกษากลยุทธ์จากผู้ประสบความสำเร็จ Apple Computer /Walmart Supermaket/CP All/ครอบครัวข่าว3

 

  1. กลยุทธ์การวางแผนสื่อสารทางการตลาดที่สำฤทธิ์ผล

– หลักการสื่อสารทางการตลาด Integrated Marketing Communication (IMC)

– การวางแผนสื่อสารทางการตลาด

– ภายใต้งบประมาณจำกัดกับเครื่องมือที่สำฤทธิ์ผล

– การใช้ Below the line ในยุค Marketing 4.0

 

  1. การจัดทำแผนงานและตาราง Action Plan

– ลักษณะของแผนที่ดี

 

  1. กิจกรรม “ Expertise & Q/A”

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเห็นถึงความสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขอบเขตของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้แนวคิดการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจรูปแบบการบริหารการจัดการที่มีการเปลี่ยนแปลง
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รู้จักวิธีการบูรณาการกรอบแนวคิดทางการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองประเด็นสำคัญของการบริหารจัดการตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ให้ออก

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                  50 %

2.กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop            50%

การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาด้วย 8D

การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาด้วย 8D (Analytical & Problem Solving by 8D)

หลักสูตร: การวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาด้วย 8D (Analytical & Problem Solving by 8D)

 

ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งที่องค์กรต่างๆทุกประเภทธุรกิจกำลังเผชิญอยู่อย่างเข้มข้นในปัจจุบัน คือ ปัญหาในด้านทักษะความสามารถของบุคลากรในระดับต่างๆที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจและเป็นทักษะที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดและการเติบโตขององค์กร อาการหนึ่งที่แสดงให้เห็นเชิงประจักษ์ถึงปัญหาการขาดทักษะความสามารถในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจซึ่งสังเกตได้ชัด คือ ความกลัวปัญหาของบุคลากร จนทำให้บุคลากรไม่มีความสนใจหรือความกล้าที่จะนำเสนอแนวคิดหรือวิธีการใหม่ๆหรือสิ่งใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจากหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหา อุปสรรคและความยากลำบากในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้องค์กรพลาดโอกาสใหม่ๆที่อาจจะนำไปสู่การเติบโตอย่างก้าวกระโดดขององค์กรไปอย่างน่าเสียดายยิ่ง

         การจัดการและการแก้ปัญหาในงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ มิฉะนั้นแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นอาจขยายความรุนแรงหรือกลับมาเกิดซ้ำอีก หลักสูตรนี้เน้นสร้างกระบวนการคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบขั้นต่อขั้น ทันทีที่พบปัญหาโดยเน้นการป้องกันการเกิดซ้ำ ปฏิบัติการแก้ไข (Corrective Action)” และ “ปฏิบัติการป้องกัน (Preventive Action)” ตามแนวทางของ 8 D รวมถึงการเลือกใช้เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดการพัฒนาความสามารถพนักงาน เชิงระบบ ให้พนักงานแสดงความคิด หรือสร้างสรรค์ ในการบ่งชี้ปัญหาและแนวทางแก้ไขได้ด้วยตนเอง

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

1.ช่วยให้องค์กรพัฒนาระบบการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาแบบมืออาชีพ

2.ฝึกอบรมการใช้เครื่องมืออันทันสมัยเพื่อช่วยยกระดับการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น

3.ปูพื้นฐานการปรับปรุงพัฒนาองค์กรทั้งด้านคุณภาพและการบริการอย่างยั่งยืน

  1. เรียนรู้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการหาสาเหตุของปัญหาในระยะสั้น

5.เรียนรู้วิธีการจัดการปัญหาเพื่อไม่ด่วนสรุปสาเหตุของปัญหา

6.สามารถใช้กระบวนการ 8D มาเชื่อมโยงกับขั้นตอนการควบคุมลูกค้าร้องเรียน เพื่อนำมาทำให้เป็นระบบและดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไข

7.เข้าใจถึงกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนด้วย 8D ทั้งในภาคทฤษฏี และ ในเชิงประยุกต์ใช้กับงานจริง

 

  หัวข้อการอบรม

Module 1: Discovery

  • ปัญหาคืออะไร และ อะไรคือปัญหาขององค์กรในปัจจุบัน
  • การจัดหมวดหมู่ของปัญหาตามกฎ 20/80 ของพาเรโต้
  • อธิบายปัญหาอย่างชัดเจน ว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งกรณีศึกษาและ workshop เพื่อให้เข้าใจปัญหาจากประสบการณ์จริง
  • แนวความคิดการแก้ปัญหาป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ
  • ประเภทปัญหาและแนวทางวิเคราะห์
  • หลักการ 5 Why ที่มาและความจำเป็น

 

 

Module 2: Dream

  • นำปัญหาที่เกิดขึ้นมาจัดลำดับผลกระทบที่ได้รับ เพื่อหาทางออกของปัญหาหรือกำหนดเป็นสิ่งที่เราอยากจะให้ปัญหานี้หายไปในอนาคต ด้วยกระบวนทัศน์และเสริมสร้างทักษะวิธีการคิดแบบระบบ (System Thinking) ซึ่งเป็นวิธีการคิดรากฐานที่สำคัญในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางธุรกิจที่ซับซ้อนวิเคราะห์มิติของการเปลี่ยนแปลง
  • กรณีศึกษาและworkshop เพื่อฝึกวางแผนการเปลี่ยนแปลงในองค์กร เช่นจากตนเอง ทีมงาน และองค์กร จากสิ่งที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริง
  • เครื่องมืออย่างง่ายในการวิเคราะห์ปัญหา เช่น พาเรโต, แผนภาพก้างปลา, Why-why Analysis
  • กระบวนการแก้ปัญหา 8D

 

Module 3: Design

  • การเขียนสาเหตุและรากเหง้าของปัญหา…ใช้อะไรดี
  • การแก้ไขปัญหาอย่างขุดรากถอนโคนไม่ให้เกิดอีกต่อไป…ทำอย่างไร
  • การป้องกันการเกิดซ้ำอย่างเป็นระบบ…ทำอย่างไร
  • การวัดผลลัพธ์การแก้ไขและป้องกันการเกิดซ้ำ…วัดอย่างไร
  • การประยุกต์ทำบทเรียนแห่งการเรียนรู้จากปัญหาให้เป็นปัญหาขององค์กร…ทำง่ายๆได้อย่างไร
  • จัดตั้งทีมงาน
  • ทำการศึกษาสภาพปัญหา
  • ทำการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
  • ทำการระบุพร้อมพิสูจน์สาเหตุรากเหง้า พร้อมระบุจุดหลบหนี
  • ทำการเลือกและทวนสอบมาตรการแก้ไขปัญหาสำหรับสาเหตุรากเหง้าและจุดหลบหนี
  • ทำการประยุกต์และทดสอบผลของมาตรการแก้ไขปัญหา
  • ทำการป้องกันการเกิดซ้ำ
  • การให้การยอมรับต่อทีมงานและรายบุคคลผู้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา

 

  

Module 4: Destiny

  • ร่วมมือกันลงมือทำในการแก้ปัญหา
  • ปัญหาที่กำลังจะแก้ ใคร ส่วนงานไหนเข้าใจและรู้ลึกที่สุด
  • กำหนดคนแก้ไข หรือส่วนงานที่ต้องรับผิดชอบ เพราะการแก้ปัญหาแบบเน้นการมีส่วนร่วม

  

 ภาพรวมของการคิดที่ใช้รับมือกับการตัดสินใจและการแก้ปัญหา

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)
  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)
  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)
  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)
  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

 

กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดดีๆ

เทคนิคในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์ เช่น

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)
  • การดักจับความคิด (Idea spotting)
  • กระบวนการจัดลำดับความคิด
  • เทคนิค “สมมุติว่าถ้ามันเป็นอย่างนั้น…ถ้ามันเป็นอย่างนี้…แล้วจะทำอย่างไร”
  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”
  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”
  • เทคนิค “Mind Map”

 

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                      40 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop    60%

 

 

การบริหารความเสี่ยง_วันแรก

การบริหารความเสียง (Risk Management)

หลักสูตร การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

หลักการและเหตุผล

“ความเสี่ยง” นิยาม หรือคำจำกัดความที่นำมาใช้ในการบริหารความเสี่ยง คือ เหตุการณ์หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น    ภายในสถานการณ์ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหาย หรือความล้มเหลวหรือลดโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือ อาจเป็นผลลัพธ์ใด ๆ จากการกระทำทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจของการตัดสินใจกระทำการ

กล่าวได้ว่า การบริหารความเสี่ยง คือ การบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม รวมทั้งกระบวนการดำเนินกิจกรรม แผนงาน หรือ โครงการต่าง ๆ โดยลดเหตุปัจจัยของโอกาสในการที่องค์กรจะเกิดความเสียหาย เพื่อให้ระดับความเสี่ยงและความรุนแรงของความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอยู่ในระดับที่องค์กรรับได้ ประเมินได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบอย่างเป็นระบบภายใต้ความต้องการการบรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์กรได้

การบริหารจัดการธุรกิจของกิจการประเภทต่าง ๆ ยอมรับแนวคิดของการตัดสินใจบนฐานความเสี่ยง (Risk-Based Approach) มากขึ้น แต่ความสําเร็จของการดําเนินธุรกิจบนฐานความเสี่ยง (Risk-Based Approach) ยังอยู่ที่กระบวนการของการนําเอาแนวคิดของการตัดสินใจบนฐานความเสี่ยงมาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมด้วย เพราะกิจการแต่ละกิจการมีโครงสร้างที่ไม่เหมือนกัน ต้องทําให้เกิดประสิทธิภาพและสร้างประสิทธิผลอย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นกิจการที่ดําเนินการอาจจะเกิดความเข้าใจผิดว่า การบริหารจัดการบนฐานความเสียงไม่ได้ผลและละเลิกไปเสียก่อน

การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ แนวทางการบริหารความเสี่ยงจึงได้รับการยอมรับและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบการบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะส่งผล ต่อการเป็นองค์กรที่มีระบบการกำกับดูแลที่ดี ซึ่งจะส่งผลต่อการก้าวไปสู่องค์กรที่มีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานการบริหารความเสี่ยง บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหาร และบุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงตามหลักการบริหารตามมาตรฐานสากล
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงกลยุทธ์ กลวิธี และระบบการจัดการความเสี่ยง
  3. เพื่อให้ผู้เข้าการอบรมได้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แนวทางการนำการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรไปปรับใช้ในองค์กรของตน อย่างเหมาะสมเทคนิคในการขยายฐานลูกค้าของสินค้าและบริการ
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสร้างความได้เปรียบและความสำเร็จด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยง
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้วิธีการทำงานเพื่อลดและขจัดความเสี่ยงในองค์กร
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบความเปลี่ยนแปลงของภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร
  8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจถึงเหตุและผลที่ถูกต้องในบริหารความเสี่ยง
  9. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้แผนที่ความเสี่ยง (Risk Map)

 

หัวข้อการอบรม (Course Outline)

  1. ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง และความจำเป็นที่องค์กรควรต้องปฏิบัติตามหลักการบริหารตามมาตรฐานสากล ด้วยกลไกและระบบการจัดการ เช่น การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise Risk Management)
  • บทบาทและหน้าที่ ที่บริษัทต้องปฏิบัติตามหลักการมาตรฐานสากล ประกอบด้วย
  • อบรมบริการ การควบคุมภายใน (Internal Control)
  • อบรมบริการ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
  • อบรมบริการ การบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรโดยรวม (Enterprise Risk Management) ฯลฯ

 

  1. ระบบงานการบริหารความเสี่ยง

2.1    การสร้างความตระหนัก ให้ความสำคัญในงานบริหารความเสี่ยงตามหลักการบริหารตามมาตรฐานสากล

2.2    ความรู้ และความเข้าใจ ในงานระบบบริหารความเสี่ยง ประกอบ การระบุความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การวิเคราะห์ผลกระทบความเสี่ยงต่อผลประกอบการด้านต่าง ๆ การจัดลำดับความเสี่ยงเพื่อการบริหารจัดการองค์กร (Risk Prioritization) และการกำหนดรูปแบบการจัดการความเสี่ยง เพื่อเผชิญกับความไม่แน่นอน (Uncertainty) และการไม่ละทิ้งโอกาส

2.3    กลยุทธ์วิธีการ กระบวนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Strategy & Treatment) หลักการ แนวปฏิบัติ และขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย

  • อบรมบริการ การวิเคราะห์ ความเสี่ยง
  • อบรมบริการ การระบุความเสี่ยง
  • อบรมบริการ การประเมินความเสี่ยง

 

  1. การจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง

การจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Plan) กลไกและระบบเพื่อประกอบ การจัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยง

การสร้างความสนใจในการบริหารความเสี่ยง

  • ระบบการบริหารความเสี่ยง
  • การประเมินความเสี่ยง
  • เทคโนโลยีใหม่ๆ และความรู้ “งูๆ ปลาๆ” เป็นที่มาของความเสี่ยง
  • องค์ประกอบของความสำเร็จที่ซ่อนอยู่ในความไม่ประมาท
  • นโยบายบริหารความเสี่ยง
  • วัตถุประสงค์การบริหารความเสี่ยง
  • กระบวนการบริหารความเสี่ยง และการทำแผนบริหารความเสี่ยง
  • การพัฒนาทัศนคติในงานที่ปฏิบัติอย่างระมัดระวังเพื่อลดความเสี่ยง
  • ปัจจัยเสี่ยงที่คอยส่งผลกระทบ สร้างความเสียหาย หรือความล้มเหลวให้แก่องค์กร
  • ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

4.การใช้แผนที่ความเสี่ยง (Risk Map)

ความเข้าใจในเรื่องของ Risk Map เพื่อหาความสัมพันธ์ของ Root Cause จากปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปัจจัยอื่น ๆ ทั้งในระดับองค์กร เช่น Stratigic Risk – S, Operational Risk – O, Financial Risk/Reporting Risk – F, Compliance Risk – C ตามแนวทางของ COSO – ERM รวมถึง Root Cause จากความเสี่ยงที่มีผลกระทบในระดับขั้นตอน + กระบวนการ + กิจกรรม ของ                 จุดอ่อนในแต่ละกรอบข้างต้น ที่เกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับกรอบการควบคุมด้านอื่น ๆ ในทุกมุมมอง ทั้งด้าน IT และ Non – IT นั้น จะมีประโยชน์ต่อการบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างมาก ถ้าผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใจและควบคุมความเสี่ยงจากต้นเหตุที่แท้จริง ก็จะสามารถควบคุมความเสี่ยงที่มีผลต่อเนื่องจากความเสี่ยงที่มาจากต้นเหตุนั้นได้เป็นอย่างมาก และบางกรณีอาจได้ทั้งหมด

 

 

 

เกณฑ์การประเมิน Risk Map

  1. การกำหนดสาเหตุของปัจจัยเสี่ยง และกำหนดระดับความรุนแรงของสาเหตุนั้น
  2. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงในระดับองค์กร และความสัมพันธ์ของสาเหตุ (ต้นเหตุ –> ปลายเหตุ)
  3. การวิเคราะห์ผลกระทบทั้งเชิงการเงิน และมิใช่เชิงการเงิน (กระทบมาก/น้อย) ระหว่าง

3.1. ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง

3.2. สาเหตุกับสาเหตุ

3.3. ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุ

  1. การนำ Risk Map ไปใช้ในการกำหนดแผนการบริหารความเสี่ยง ทุกกิจกรรมในแผนบริหารความเสี่ยง จะต้องมีความสอดคล้องกับสาเหตุและจัดลำดับตามระดับความรุนแรงของสาเหตุ รวมถึงความสัมพันธ์อื่นที่มากระทบต่อสาเหตุนั้น
  2. การสร้างความเข้าใจในเรื่อง Risk Map ให้กับบุคลากรในองค์กร และวาระการประชุมร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ฝ่ายบริหารความเสี่ยง และ Risk Owner ทุกปัจจัยเสี่ยง

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานการบริหารความเสี่ยง บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหาร และบุคลากรมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงตามหลักการบริหารตามมาตรฐานสากล

2.ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงกลยุทธ์ กลวิธี และระบบการจัดการความเสี่ยง

3.ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร

4.ผู้เข้าอบรมได้แนวทางการนำการบริหารจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรไปปรับใช้ในองค์กรของตน  อย่างเหมาะสมเทคนิคในการขยายฐานลูกค้าของสินค้าและบริการ

5.ผู้เข้าอบรมได้สร้างความได้เปรียบและความสำเร็จด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยง

6.ผู้เข้าอบรมได้รู้วิธีการทำงานเพื่อลดและขจัดความเสี่ยงในองค์กร

7.ผู้เข้าอบรมได้ทราบความเปลี่ยนแปลงของภาวะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร

8.ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ความเข้าใจถึงเหตุและผลที่ถูกต้องในบริหารความเสี่ยง

9.ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ความเข้าใจในการใช้แผนที่ความเสี่ยง (Risk Map)

 

 

 

 

 

 

 

 

workplace-1245776__180

การสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงาน

หลักสูตรการสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงาน

หลักการและเหตุผล

การทำธุรกิจในยุคแห่งการแข่งขันที่ไร้พรมแดน มีเงื่อนไขในกระบวนการทำธุรกิจที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ละองค์กรต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขัน องค์กรที่ประสบความสำเร็จได้ให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากรมากพอๆกับการสร้างผลประกอบการและการเติบโต

การสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงานและจิตสำนึกแห่งความเป็นเจ้าขององค์กร ถือเป็นอีกแนวทางปฎิบัติหนึ่งในการที่จะปรับปรุงและเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อเปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้เพราะความเข้าใจในเป้าหมายและความมีจิตสำนึก แห่งการร่วมมือร่วมใจในการทำงาน ที่เป็นหนึ่งเดียวกันจะก่อให้เกิดพลังแห่งการเรียนรู้ ผนึก กำลังในการก้าวข้ามผ่านความท้าทาย และปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนในโลกธุรกิจยุคใหม่

ผู้บริหารของสถานประกอบการทุกคน มีความประสงค์ที่จะเห็นลูกจ้างของตนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน  มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาได้ มีความรับผิดชอบ มีวินัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกในการรักองค์กร

แต่การที่จะให้ลูกจ้างมีคุณลักษณะตามที่ผู้บริหารต้องการได้นั้น จิตสำนึกส่วนบุคคลของลูกจ้างเป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่จะกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเหล่านั้นได้ แต่ลูกจ้างบางรายไม่เคยเข้าใจหรือทราบความประสงค์ของผู้บริหารและบางรายก็ยังไม่สามารถสร้างจิตสำนึกในการทำงานให้กับตนเองได้          กระบวนการในการกระตุ้นและสร้างจิตสำนึกในการทำงาน และการรักองค์กรให้กับลูกจ้างจึงเป็นสิ่งที่นายจ้างพึงกระทำ เพื่อให้ได้ลูกจ้างที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ

 

วัตถุประสงค์ :

  1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง
  2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรักในองค์กรของตัวเอง
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีจิตสำนึกคุณภาพที่ดีในการทำงาน
  4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างจิตสำนึกในตนเองในการทำงานและการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้า
  5. เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ของคนกับองค์กร
  6. เพื่อให้พนักงานทราบหลักการในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
  7. เพื่อให้พนักงานทราบวิธีการในการทำให้พนักงานรักในองค์กร
  8. เพื่อให้ทราบบทบาทของหัวหน้างานและองค์กรในการสร้างความผูกพันกับองค์กร

 

เนื้อหา :

  • การวิเคราะห์เพื่อการเข้าใจตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กร
  • เป้าหมายของการดำเนินธุรกิจขององค์กร
  • ความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง
  • ความคาดหวังของลูกจ้างที่มีต่อนายจ้าง
  • จิตสำนึกของคนทำงานและจิตสำนึกรักองค์กร
  • การสร้างจิตสำนึกคุณภาพการทำงาน
  • จิตสำนึกบริการ
  • กระบวนการเพิ่มผลิตภาพในตนเองเพื่อการเพิ่มผลผลิตขององค์กร
  • วิวัฒนาการของคนสัมพันธ์ระหว่างคนกับองค์กร
  • ความสัมพันธ์ของคนกับองค์กรในยุคปัจจุบัน
  • คนกับงานในสายตาของนักจิตวิทยา
  • ความหมายของความผูกพันกับองค์กร
  • รูปแบบของความผูกพันกับองค์กร
  • ปัจจัยบวกและลบ ที่ส่งผลต่อความผูกพัน
  • ลักษณะของงานที่สร้างความผูกพันให้เกิดขึ้น
  • ความหมายของ คำว่า “งาน”
  • บทบาทของหัวหน้างานในการสร้างความรักในองค์กร
  • บทบาทของผู้บริหารในการสร้างความรักในองค์กร
  • ความสุขจากการทำงาน
  • การสร้างแรงจูงใจให้พนักงานรักองค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าอบรม :

  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในความคาดหวังของนายจ้างที่มีต่อลูกจ้าง
  2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรักในองค์กรของตัวเองมากยิ่งขึ้น
  3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีจิตสำนึกคุณภาพที่ดีในการทำงาน
  4. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างจิตสำนึกในตนเองในการทำงานและการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้าได้เป็นอย่างดี
  5. ผู้เข้าอบรมมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนภายในองค์กรเดียวกัน
  6. ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ถึงหลักการในการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
  7. ผู้เข้าอบรมรู้ถึงวิธีการและแนวทางในการทำให้พนักงานรักในองค์กร
  8. ผู้เข้าอบรมรู้บทบาทของหัวหน้างานและองค์กรในการสร้างความผูกพันกับองค์กร
business-world-1760123__340

ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

 

หลักสูตร ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม
การเป็นผู้นำที่จะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะ ใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง

การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ ของผู้นำนั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญที่จะทำให้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต และส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพ รวมทั้งผู้นำต้องเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะตระหนักรู้ว่าถ้าเราไม่ยอมปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงยากที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่าง รวดเร็ว กว้างขวาง และมีผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม รวมถึงทุกองค์กร ที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย  สามารถแข่งขันได้ และดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน

การบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง สำหรับผู้นำในยุคปัจจุบัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องแข่งขัน ต้องวัดผลงาน เพื่อประสิทธิภาพ และคุณภาพของการปฏิบัติงาน ในขณะเดียวกันยังต้องปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆ ในองค์กร เพื่อรองรับ และ สนับสนุนให้องค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

และสิ่งที่มาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงหรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของ “นวัตกรรม”  การพัฒนาองค์กรเพื่อให้มีความยั่งยืนมั่นคงในการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้นั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีการมุ่งเน้น การสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม

ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนเป็นการเสริมสร้างทางการพัฒนาให้องค์กรมีบุคลากรที่มีทักษะทางการคิดและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น การฝึกคนในองค์กรให้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์และสรรหานวัตกรรมใหม่ ถือได้ว่าเป็นกุญแจไขไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานอย่างเป็นระบบถือเป็นกระบวนการที่สำคัญ รองรับการพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตซึ่งหลักสูตรนี้จะช่วยให้คุณได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ เหล่านั้น โดยเน้นการฝึกคิดออกจากกรอบประสบการณ์เดิมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ก่อให้เกิดผลงานและกรบวนการทำงานแนวใหม่ให้สามารถจัดการกับความคิดได้อย่างมีระบบ มีแบบแผนทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในทุกๆ ด้านในที่สุด

เพราะฉะนั้นผู้นำยุคใหม่จึงต้องเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจและให้ธุรกิจยั่งยืนต่อไป

 

การพัฒนาผู้นำ ให้มีภาวะผู้นำนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ ทั้ง 4 ด้าน  อันได้แก่

1.ความรู้ความสามารถในงาน
2.การคิดเชิงกลยุทธ์
3.การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้ผู้นำและนักบริหารมืออาชีพพัฒนาตัวเอง เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

4.มีภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

 

ผู้นำและผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม จะทำให้รู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย และเมื่อพัฒนาทีมงานโดยจัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่ทรงคุณค่า

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญ ของผู้นำนั้น จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้นำในองค์กรของตัวเองโดยการทำให้ผู้นำมี 5Q ที่สูงขึ้น

 

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

 

การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ผู้นำสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง  รวมถึงการเป็นผู้นำที่มีจิตใจที่ดีขององค์กรและเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้ผู้นำได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลัง นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้น จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผล มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพของผู้นำ และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเอง สามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนา 5Q ของตนเอง
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ใช้ทักษะต่างๆจากการอบรม มาเป็นแนวทางในการสร้างภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง

 

 

ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกัน เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 5Q
  • Clip VDO และอื่นๆ

 หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วย 5Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)
  • Teamwork (การทำงานเป็นทีม)
  • Achievement Motivation (แรงจูงใจสู่ความสำเร็จ)
  • Accountability (ความรับผิดชอบอย่างผู้นำ) ซึ่งประกอบไปด้วย
  • มีวิสัยทัศน์ (Visioning Goal Setting & Leading others )
  • มีทักษะการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills)
  • สอนงานเป็นและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (Coaching & Develop others)
  • มีแนวกรอบแนวคิดในการทำงาน (Conceptual Thinking)
  • มีทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรของ (Resource Management Skill)
  • กล้าตัดสินใจ (Decision Making)
  • มีทักษะการบริหารจัดการลูกน้อง (People Management Skills)
  • สามารถจูงใจลูกน้องได้ (Motivate Subordinate)
  • การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
  • การบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร (Conflict Management)

 

  • Continuous Learning (การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)
  • Creativity (ความคิดสร้างสรรค์)
    • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ

 

  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

หัวข้อ (Topics) ประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ (Key Points)
ช่วงที่ 1 รู้คน ·       ละลายพฤติกรรม ทำความรู้จัก Open Mind

·       นำเข้าสู่เนื้อหาหลักสูตรภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

·       5Q คืออะไร

·       การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย 5Q

·       รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q

·       ใครคือคนที่องค์กรต้องการ?

·       บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน

·       ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ

·       Work Shop เรียนรู้คน จากโมเดลสัตว์ 4 ทิศ

 

ช่วงที่ 2 : รู้งาน (เข้าใจงาน) Work Shop 1 (การมองปัญหาด้วย 5Q)

·       ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อการจัดการ

·       เรียนรู้วงจรเดมิง Deming Cycle/วงจรชูฮาร์ต (Shewhart Cycle) คือวงจรการควบคุมคุณภาพ

ช่วงที่ 3: รู้งาน (เข้าถึงงาน) Work Shop2 (การแก้ปัญหาด้วย 5Q)

·       การทำงานแบบ โฮ (HO) เรน (REN) โซ (SOU)การรายงาน-การติดต่อ-การปรึกษา

·       การวางแผน

·       การมอบหมายสั่งงาน

ช่วงที่ 4 : รู้ความต้องการขององค์กร ช่วงที่ 4 : รู้ความต้องการขององค์กร

·       อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการ

·       สรุปประเด็นสำคัญและเข้าทำความเข้าใจการบริหารแบบ 5Q อย่างลึกซึ้ง

·       Q&A พร้อมแลกเปลี่ยน แชร์ประสบการณ์จริงจากวิทยากร

·       สร้างคุณค่าการทำงานร่วมกัน Commitment อำลา

·       การประยุกต์กับการทำงานได้อย่างสัมฤทธิผลด้วย 5Q

·       ทัศนคติที่ดีในการทำงาน

·       Work Shop

·       ผ่านกิจกรรมกลุ่ม 4-5 กิจกรรม

·       ระดมสมอง และแชร์ความคิดเรื่องภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

 

 

 

กรอบการฝึกอบรม : รู้คน รู้งาน รู้ความต้องการขององค์กร

 

ความหลากหลายของกิจกรรม

 

  • รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q
  • ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)
  • เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด
  • Work Shop 5Q ฝึกเล่าเรื่องตามคำสั่งและการแก้ปัญหา
  • การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วย 5Q
  • Work Shop เดาใจเพื่อนด้วยตัวเลข (สงครามตัวเลข)
  • Clip VDO การเข้าใจตนเอง
  • เรียนรู้การทำงานของสมอง
  • “คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจ”
  • การสื่อสารแบบปากต่อปาก (Work Shop ใบ้คำ)
  • ความหมายที่แท้จริงของชีวิต
  • คำพังเพยไทย (Work Shop สนุกคลายเครียด)
  • WHO ARE YOU (Work Shop)
  • แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ 5Q
  • Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)
  • คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?
  • เกมนวัตกรรม ฟันเฟืองแห่งองค์กร เพื่อนำไปประยุกต์ให้ผู้เข้าอบรม สามารถสร้างภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง
  • ต้นไม้แห่งองค์กร ต้นไม้แห่งความสำเร็จ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

  • ผู้เข้ารับการอบบรมได้ความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักการของ 5Q
  • ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เทคนิคของ 5Q และเข้าใจถึงวิธีการสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างสุนทรียะ
  • ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และเข้าใจทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้และลงมือทำในการทำงานเป็นทีม (Teamwork)
  • ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างแรงจูงใจ ทั้งตัวเองและลูกน้องเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร  (Achievement Motivation)
  • ผู้เข้าอบรมเข้าใจบทบาทหน้าที่และมีความรับผิดชอบอย่างผู้นำ (Accountability )
  • Accountability (ความรับผิดชอบอย่างผู้นำ) ซึ่งประกอบไปด้วย
  • มีวิสัยทัศน์ (Visioning Goal Setting & Leading others )
  • มีทักษะการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills)
  • สอนงานเป็นและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ (Coaching & Develop others)
  • มีแนวกรอบแนวคิดในการทำงาน (Conceptual Thinking)
  • มีทักษะการบริหารจัดการทรัพยากรของ (Resource Management Skill)
  • กล้าตัดสินใจ (Decision Making)
  • มีทักษะการบริหารจัดการลูกน้อง (People Management Skills)
  • สามารถจูงใจลูกน้องได้ (Motivate Subordinate)
  • การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
  • การบริหารความขัดแย้งภายในองค์กร (Conflict Management)

 

  • ผู้เข้าอบรมมีหลักการในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ (Continuous Learning)
  • ผู้เข้าอบรมกล้าที่จะคิดแตกต่างด้วย ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
  • ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างสัมพันธภาพ ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วยความคิดเชิงบวกและความรู้สึกดีๆที่มีต่อกัน ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
  • ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง

 

 

 

 

 

 

images (1)

จริยธรรมสำหรับผู้นำ (Ethical for Leadership)

 

หลักสูตร จริยธรรมสำหรับผู้นำ (Ethical for Leadership)
ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรง ทุกองค์กรธุรกิจต่างมุ่งสร้าง ผลประกอบการให้ได้มากที่สุด เพื่อการเติบโตหรือความอยู่รอด หลายครั้งที่ผู้นำองค์กร ต้องเผชิญ คือ ความกดดันซึ่งเป็นความขัดแย้ง ระหว่างผลประโยชน์ของตนหรือของบริษัทที่ต้องการกับ ความถูกต้องที่ควรเป็นซึ่งถือเป็นสิ่งที่สังคมรับรู้ และต้องการ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “Ethical dilemma” ซึ่งเป็นภาวะกดดันที่ผู้นำต้องตัดสินใจเลือก เอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างผลประโยชน์หรือคุณธรรมซึ่งไม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน สำหรับผู้นำที่ไม่มีคุณธรรมย่อมเลือกผลประโยชน์ที่ตนพึงได้ก่อนแน่นอนแล้ว กลบเกลื่อนพรางตาสังคมในเรื่องความ ไม่ถูกต้องให้ผ่านพ้นไปอย่างแนบเนียนหรือบางครั้งก็น้ำขุ่นๆ ดังจะเห็นได้บ่อยครั้งในสังคมที่ผู้บริโภค ถูกเอาเปรียบโดยรู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง

เนื่องจากเรื่องของจริยธรรมเป็นความสมัครใจและเป็นคุณธรรมชั้นสูงของคนที่จะเลือกปฏิบัติ กฎหมายไม่ได้มีส่วนบังคับจริงจัง ยกเว้นสังคมจะช่วยกันสอดส่องดูแลและบอยคอด จึงพบว่าหลายธุรกิจ ก่อเกิดมาโดยฉวยเอาความเดือดร้อนของผู้คน องค์กรที่ขาดจริยธรรมก็เกิดจากคนที่ไม่มีจริยธรรม

จะเห็นว่าผู้นำองค์กรก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน ย่อมมีคุณลักษณะประจำตัว(Attribute) ที่แตกต่างกันแล้วแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่เมื่อมาเป็นผู้นำและบริหารองค์กรแล้ว มักมีความต้องการ ที่เหมือนกันคือ ผลประโยชน์สูงสุด หากแต่คุณลักษณะที่ต่างกันซึ่งขึ้นกับสำนึกความรับผิดชอบแยกแยะ ชั่วดีไม่เท่ากันทำให้ระดับของจริยธรรมต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้นำที่แตกต่างกัน

เพราะฉะนั้นการเป็นผู้นำที่ดีและมีจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ผู้นำจะประสบความสำเร็จตามที่ได้วางไว้ได้อย่างดี มีองค์ประกอบมากมายที่จะนำมาพิจารณาการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและไปในทิศทางเดียวกันนั้นจะ ใช้ความรู้ความสามารถเพียงด้านเดียวคงจะไม่พอต่อการถึงจุดหมายปลายทาง จึงต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับการมีจริยธรรมด้วย

การพัฒนาระดับความสามารถ (Quotient) ในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเรื่องของจริยธรรมของผู้นำนั้นจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตและส่งให้ชีวิตการทำงานดีขึ้นไปด้วยจึงจะเรียกว่า การเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่มีจริยธรรมอันดีงาม

การพัฒนาผู้นำ ให้มีภาวะผู้นำนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ ทั้ง 5 ด้าน  อันได้แก่

1.ความรู้ความสามารถในงาน
2.การคิดเชิงกลยุทธ์
3.การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อให้ผู้นำและนักบริหารมืออาชีพพัฒนาตัวเอง เป็นผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

4.มีภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรม

5.มีจริยธรรมอันดีงามและรับผิดชอบต่อสังคม

 

ผู้นำและผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีในเรื่องของจริยธรรมนั้น จะทำให้รู้จักตัวเอง, รู้จักพนักงาน, รู้จักองค์กรและมีทัศนคติเชิงบวก ทำให้การบริหารงานได้ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างสัมฤทธิผลสำคัญโดยง่าย และเมื่อพัฒนาทีมงานโดยจัดการทำเอง จัดการพนักงาน จัดองค์การให้เหมาะสมและบริหารอย่างสร้างสรรค์แล้ว ก็จะกลายเป็นผู้นำและนักบริหารมืออาชีพที่ทรงคุณค่าพร้อมทั้งมีจริยธรรมอันดีงามควบคู่ไปด้วย

การพัฒนาระดับความสามารถในด้านต่างๆ ที่สำคัญและจริยธรรมของผู้นำนั้น จึงเป็นแนวทางที่องค์กรส่วนใหญ่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้นำในองค์กรของตัวเองโดยการทำให้ผู้นำมี 5Q ที่สูงขึ้น

 

IQ : ทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างฉลาด

EQ : การจัดการอารมณ์เชิงลบของตัวเอง

AQ : การเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาสที่ท้าทาย

OQ : การแสดงผลงานที่มีคุณค่า

UQ : การเป็นบุคคลที่มีจริยธรรมอันดี

 

การประยุกต์ใช้แนวทางบริหารจัดการ Q (Quotient) ต่างๆ กับเป้าหมายในชีวิตหรืองานที่ได้รับ รวมถึงสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ย่อมทำให้ผู้นำสามารถพิชิตเป้าหมายของตัวเอง และมีความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลรอบข้าง  รวมถึงการเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมที่ดีขององค์กรและเข้าใจภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงและการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

การเรียนรู้และนำแนวทางไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างเข้าใจแนวทาง 5Q นั้น จะทำให้ผู้นำได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่แล้วอย่างเต็มที่และเต็มกำลังด้วยจริยธรรมอันดีงาม นั่นก็หมายความว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลที่ดีขึ้นที่ประกอบไปด้วยศีลธรรมและจริยธรรม จึงทำให้เกิดผลงานที่มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นและมีคุณค่าต่อสังคม

โดยที่ Q แต่ละตัวจะสอดคล้องกันและทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักของสมาธิเข้าไปเป็นพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้ประกอบกับการเพิ่มในส่วนของจริยธรรมอันดีงาม จะทำให้เป็น 5Q แบบยั่งยืนแล้วเป็นต้นแบบเพื่อองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ได้นำไปปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรตัวเอง

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดโดยใช้หลักของจริยธรรมอันดีงาม เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผลและทรงคุณค่าด้วยจริยธรรมอันดีงาม มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเรื่องจริยธรรมอันดีงาม
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก
  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเองซึ่งต้องมีจริยธรรมควบคู่ไปด้วย จึงจะสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนาจริยธรรมและ 5Q ของตนเอง

 

 

ลักษณะของการอบรม

เป็นการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการ ผ่าน Work Shop และกิจกรรมต่างๆ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า 5Q (IQ EQ OQ AQ UQ ) และ OD ที่หลากหลายประเภทผสมผสานกันพร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องจริยธรรมไปตลอดทุกช่วงของการบรรยาย เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาทางวิชาการให้เข้าใจได้ง่าย สามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิธีการ

  1. บรรยายเนื้อหาวิชาการประกอบการทำ Work Shop และกิจกรรมกลุ่ม ในอัตราส่วน เนื้อหาวิชาการ 70 : Work Shop กิจกรรม 30
  2. การใช้เครื่องมือทางด้าน 5Q และ OD tools และเทคนิคการฝึกอบรมหลายประเภท เช่น
  • Ai (Appreciative Inquiry)
  • Dialogue สุนทรียะสนทนา
  • เกมพฤติกรรม
  • Work Shop
  • การระดมความคิดด้วย 5Q
  • Clip VDO และอื่นๆ

 หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้

  • หลักและวิธีการจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยจริยธรรมและ 5Q
    • ใครคือคนที่องค์กรต้องการ
    • บทบาทหน้าที่ของหัวหน้างานที่มีจริยธรรมอันดีงาม
    • ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์เพื่อการจัดการ (การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน)

 

ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของคน

  1. ปัจจัยภายใน(Intrinsic factor) ได้แก่ อารมณ์ แรงปารถนาและความต้องการ(Need) และความรู้สึกผิดชอบชั่วดี(Moral)
  2. ปัจจัยภายนอก(Extrinsic factor) ได้แก่ โอกาส (Oportunity) และระบบการควบคุมของสังคม (Law)สำนึกของความดีและอิทธิพลของสังคม มีบทบาทในการเปลี่ยนพฤติกรรมของคน ก่อให้เกิดการกระทำที่ดี และรับผิดชอบต่อผู้อื่น (Ethical behavior) หากแต่ผู้ที่มีคุณธรรมนำการกระทำจะทำให้เกิดจริยปฏิบัติ แบบยั่งยืน ส่วนผู้ที่อิงบทลงโทษของสังคมก็สามารถเกิดจริยธรรมปฏิบัติได้แต่มักจะไม่ยั่งยืน เมื่อมีโอกาส ก็จะกลับไปทำ ผิดอีก

 

4 มุมมองของของจริยปฏิบัติ (Ethical behavior)

  1. ในมุมมองที่ถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ จริยปฏิบัติส่งผลที่ดีมากต่อผู้คนจำนวนมาก
  2. ในมุมมองจองปัจเจกบุคคล จริยปฏิบัติจะให้ผลประโยชน์ระยะยาวแก่ผู้ปฏิบัติ
  3. ในมุมมองด้านคุณธรรม จริยปฏิบัติเป็นการเคารพสิทธิพื้นฐานของมนุษย์
  4. ในมุมมองของความยุติธรรม จริยปฏิบัติจะเป็นกลาง ชอบธรรม เสมอภาคต่อผู้คน

 

  • เรียนรู้คน จากโมเดลผู้นำ 4 ทิศ

 

  • การสร้างแรงผลักดันให้ลูกน้องทำงานและมุ่งมั่นทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
    • ทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจ ในการทำงาน
  • เรียนรู้ทักษะการบริหารจัดการงานโดยสามารถวางแผนงานที่รับมอบหมาย สั่งงาน ติดตาม ความคุม และแก้ไข ปัญหาเบื้องต้น และรายงานผู้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

กรอบการฝึกอบรม : รู้คน รู้งาน รู้ความต้องการขององค์กร

 

ความหลากหลายของกิจกรรม

 

  • รู้จักตนเองเพื่อเข้าใจผู้อื่นด้วย 5Q และเข้าใจเรื่องของจริยธรรม
  • ความแตกต่างของเจนเนอเรชัน (generations’ differences)
  • เราเป็นค่าเฉลี่ยของคน 5 คน ที่เราใกล้ชิดมากที่สุด
  • Work Shop 5Q ฝึกเล่าเรื่องตามคำสั่งและการแก้ปัญหา
  • การพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีด้วยจริยธรรมและ 5Q
  • Work Shop เดาใจเพื่อนด้วยตัวเลข (สงครามตัวเลข)
  • Clip VDO การเข้าใจตนเอง
  • เรียนรู้การทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเข้าใจเรื่องจริยธรรม
  • “คิดด้วยสมอง…ทำด้วยใจที่มีจริยธรรมอันดีงาม”
  • การสื่อสารแบบปากต่อปาก (Work Shop ใบ้คำ)
  • ความหมายที่แท้จริงของชีวิตและจริยธรรมอันดีงาม
  • คำพังเพยไทย (Work Shop สนุกคลายเครียด)
  • WHO ARE YOU (Work Shop)
  • แบบทดสอบสัตว์สี่ทิศและความหมายของ 5Q
  • Dialogue (พูดคุยกันแบบสบาย ๆ ในกิจกรรมที่ผ่านมา)
  • คนเราแตกต่างกันอย่างไร? และเราจะได้ประโยชน์จากความเข้าใจความแตกต่างนั้นได้อย่างไร?
  • เกมนวัตกรรม ฟันเฟืองแห่งองค์กร เพื่อนำไปประยุกต์ให้ผู้เข้าอบรม สามารถมีจิตสำนึกในเรื่องของจริยธรรมอันดีงามได้ด้วยตัวเอง
  • ต้นไม้แห่งองค์กร ต้นไม้จริยธรรมอันดีงาม

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรม

1.ผู้เข้าอบรมได้สร้างมุมมองการอยู่ร่วมกันที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยกของผู้นำ โดยรู้จักตนเองและเข้าใจผู้อื่น ผู้นำสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดโดยใช้หลักของจริยธรรมอันดีงาม เพิ่มประสิทธิผลของการสื่อสาร และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตนเองกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างลงตัว สามารถประยุกต์ใช้ 5Q กับการทำงานเพื่อการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

2.ผู้เข้าอบรมได้เกิดการเรียนรู้กระบวนการของ 5Q ของผู้นำที่ดีที่มีภาวะของผู้นำ และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีรูปแบบและเห็นผลและทรงคุณค่าด้วยจริยธรรมอันดีงาม มีมุมมองปัญหาและอุปสรรคของงานที่เจออยู่ด้วยมุมมองใหม่ๆ สามารถนำวิธีการ 5Q ของผู้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

3.ผู้เข้าอบรมได้ปรับบุคลิกภาพของผู้นำให้เข้ากับผู้อื่นอย่างเหมาะสม

4.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเรื่องจริยธรรมอันดีงาม

5.ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจว่าการมีจุดร่วม และสงวนจุดต่างของผู้นำและการอยู่ร่วมกันในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกันนั้นสำคัญมาก

6.ผู้เข้าอบรมได้ค้นพบ “ตัวตน” ของผู้นำในแบบฉบับที่แท้จริงของตนเองซึ่งต้องมีจริยธรรมควบคู่ไปด้วย จึงจะสามารถนำพาตนเองและองค์กรที่มีความหลากหลายไปสู่จุดหมายที่ตั้งไว้ รวมถึงประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจําวันและการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจหลักของ 5Q ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

– สนุกกับการใช้ IQ (Intelligence Quotient) แก้ปัญหาต่างๆ

– พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ EQ (Emotional Quotient)

– ก้าวข้ามอุปสรรค AQ (Adversity Quotient) อย่างกล้าหาญ

– แสดงผลงานอย่างมีคุณค่าด้วยความเป็นเจ้าของ OQ (Optimist Quotient)

– พัฒนาตนเองเพื่ออยู่ร่วมกับสังคม UQ (Unity Quotient)  อย่างมีความสุข

 

8.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติผ่าน Workshop: กำหนดแนวทางพัฒนาจริยธรรมและ 5Q ของตนเอง